คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อร่าม หุตางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ค่าจ้างกับค่าเสียหายจากทรัพย์สินหาย: สิทธิเรียกร้องที่มีข้อต่อสู้ไม่อาจนำมาหักกลบได้
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ทำหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของจำเลยและในช่วงเวลาที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของโจทก์ทำหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยที่โชว์รูมของจำเลย รถจักรยานยนต์ 1 คัน ของ ก.พนักงานของจำเลยซึ่ง ก.เช่าซื้อมาและจอดไว้ที่บริเวณหน้าโชว์รูมดังกล่าวได้หายไป ต่อมาโจทก์มีหนังสือชี้แจงแก่จำเลยว่าโจทก์ไม่อาจชดใช้ค่ารถจักรยานยนต์ให้ได้เนื่องจากเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพนักงานจำเลย และมิได้เก็บไว้ในสถานที่แน่นหนา หรือได้แจ้งส่งมอบโดยลงบันทึกในสมุดรายงานประจำวันของพนักงานรักษาความปลอดภัยตามเงื่อนไขในสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย จากนั้นโจทก์และจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อกัน โดยจำเลยไม่ได้ชำระค่าจ้างก่อนบอกเลิกสัญญาให้โจทก์ การที่โจทก์ได้โต้แย้งจำเลยว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดชดใช้ราคารถจักรยานยนต์ดังกล่าวแก่จำเลยสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของ ก.ที่หายไป จึงเป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยผู้ว่าจ้างจึงไม่อาจเอามาหักกลบลบหนี้กับค่าจ้างค้างจ่ายต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 344 และจำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของ ก.ที่หายไปหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องฟ้องร้องกันเป็นคดีต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1796/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรโชกทรัพย์: การข่มขู่เพื่อให้จ่ายเงินเพื่อป้องกันความเสียหายต่อรถยนต์ ถือเป็นความผิดสำเร็จ
พฤติการณ์ของจำเลยที่ขับรถจักรยานยนต์เข้าไปสอบถามโจทก์ร่วมเกี่ยวกับการเฝ้ารถ เมื่อโจทก์ร่วมไม่ยอมให้เฝ้าจำเลยกลับเร่ง เครื่องยนต์ให้ดังกว่าปกติและพูดในลักษณะไม่รับรองความเสียหายของรถยนต์ของโจทก์นั้น ย่อมชี้ชัดให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่ต้องการจะข่มขืนใจโจทก์ร่วมให้ยอมให้ซึ่งค่าจอดรถแก่จำเลยนั่นเอง แม้ในครั้งแรกโจทก์ร่วม จะปฏิเสธไม่ให้จำเลยเฝ้ารถแต่เมื่อโจทก์ร่วมถูกจำเลยข่มขู่ ในภายหลังจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมเกิดความกลัวว่าจะเกิด ความเสียหายแก่รถยนต์ของตน โจทก์ร่วมจึงยินยอมจ่ายเงิน ให้แก่ ศ. พวกของจำเลยไป นับได้ว่าเป็นผลต่อเนื่องโดยตรง จากการถูกจำเลยข่มขู่ ซึ่งเหตุที่เกิดขึ้นยังไม่ขาดตอน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสำเร็จในข้อหากรรโชกแล้ว แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะมิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหา ความผิดสำเร็จ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้เองโดยลงโทษ ไม่เกินกว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ เงินที่โจทก์ร่วมจ่ายให้แก่จำเลยมีจำนวนเพียง 10 บาทนับว่าเป็นจำนวนเล็กน้อยทั้งได้ความว่าโจทก์ร่วมไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยรับโทษถึงจำคุก เนื่องจากหลังเกิดเหตุคดีนี้แล้วจำเลยได้แก้ไขพฤติกรรมของตนเองให้ดีขึ้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยรับโทษจำคุกมาก่อน เพื่อให้โอกาสแก่จำเลยในการ ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีต่อไป ศาลฎีกาเห็นสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม/ทางจำเป็น: ระยะเวลาการใช้ทาง, การใช้เพื่อประโยชน์ตนเอง, และทางออกอื่น
โจทก์ซื้อที่ดินเมื่อปี 2531 จาก ส. หลังจากที่โจทก์ซื้อมาโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนแก้ววรวุฒินับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี ทางพิพาทจึงยังไม่ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ แม้เจ้าของที่ดินอื่นได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของตนเกิน 10 ปีแต่เมื่อมิได้ใช้เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโจทก์ จึงจะนำระยะเวลาที่เจ้าของที่ดินอื่นใช้ประโยชน์ทางพิพาทดังกล่าวเพื่อทำให้ที่ดินของโจทก์ได้ภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ศาลฎีกามีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจโทษได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี ซึ่งในกรณีนี้มาตรา 221 ไม่ได้ให้อำนาจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาได้ คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี ฎีกาของจำเลยที่ขอให้ศาลรอการลงโทษหรือลงโทษปรับจำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และการอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและการแก้ไขโทษโดยศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรีซึ่งในกรณีนี้มาตรา 221 ไม่ได้ให้อำนาจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาได้
คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219ตรี ฎีกาของจำเลยที่ขอให้ศาลรอการลงโทษหรือลงโทษปรับจำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และการอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม หากเป็นเรื่องละเมิดต่างหาก ศาลไม่รับฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า สัญญาเช่าเลิกกันดังที่ระบุไว้ในสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่อยู่ในห้องเช่าพิพาทอีกต่อไป ดังนี้การที่จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์จงใจหรือกลั่นแกล้งจำเลยให้ได้รับความเดือดร้อน โดยไม่ให้ความร่วมมือเซ็นเอกสารต่างๆที่จำเลยต้องนำไปใช้ในการจดทะเบียนประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ยินยอมมอบตราประทับสำหรับจอดรถฟรีของลูกค้าให้แก่จำเลย ทำให้ได้รับความเสียหาย อันเป็นเรื่องละเมิด ทั้งข้ออ้างของจำเลยมิได้มีข้อกำหนดให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าประการใด จึงไม่เป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความ: จำเลยต้องเป็นผู้รับทราบ ไม่ใช่ทนายความ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 182 วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติให้ศาลอ่านคำพิพากษาในศาลต่อหน้าคู่ความโดยเปิดเผย เมื่ออ่านแล้วให้คู่ความลงลายมือชื่อไว้ และมาตรา 2(15) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่ความ"ไว้ว่าหมายถึงโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมาตรา 2(3) บัญญัติคำว่า "จำเลย"หมายถึงบุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้ว โดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด ฉะนั้นทนายจำเลยจึงมิได้เป็นจำเลยหรือเป็นคู่ความตามความหมายดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีฟัง โดยมีล่ามแปลให้จำเลยเข้าใจผลแห่งคำพิพากษานั้น และให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้แล้วเช่นนี้ เป็นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการอ่านคำพิพากษาโดยชอบแล้ว ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ทนายจำเลยทราบจะขัดต่อระเบียบหรือวิธีปฏิบัติหรือไม่อย่างไร ก็หาเป็นเหตุให้การอ่านคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็นไม่ชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความ และการแจ้งวันนัดให้ทนายจำเลยทราบ
ป.วิ.อ. มาตรา 182 วรรคสอง และวรรคสาม บัญญัติให้ศาลอ่านคำพิพากษาในศาลต่อหน้าคู่ความโดยเปิดเผย เมื่ออ่านแล้วให้คู่ความลงลายมือชื่อไว้ และมาตรา 2 (15) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่ความ"ไว้ว่าหมายถึงโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมาตรา 2 (3) บัญญัติคำว่า"จำเลย" หมายถึงบุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้ว โดยข้อหาว่าได้กระทำความผิดฉะนั้นทนายจำเลยจึงมิได้เป็นจำเลยหรือเป็นคู่ความตามความหมายดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีฟัง โดยมีล่ามแปลให้จำเลยเข้าใจผลแห่งคำพิพากษานั้น และให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้แล้วเช่นนี้ เป็นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการอ่านคำพิพากษาโดยชอบแล้ว ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ทนายจำเลยทราบ จะขัดต่อระเบียบหรือวิธีปฏิบัติหรือไม่อย่างไร ก็หาเป็นเหตุให้การอ่านคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็นไม่ชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความระเบียบข้อบังคับการทำงานเรื่องเงินสมทบ: 'จะสมทบ' ไม่ใช่ดุลพินิจ
ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยในหมวดสวัสดิการพนักงานกำหนดหลักเกณฑ์เงินสะสมไว้ว่า พนักงานที่มีอายุงานครบ 6 ปี จำเลยจะจ่ายเงินสมทบให้อีก 60 เปอร์เซ็นต์ของเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยเมื่อลาออกก็ตามแต่ระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยมีข้อความที่แสดงเจตนารมณ์ไว้ว่า เพื่อให้พนักงานมีหลักประกันว่าจะได้รับเงินจำนวนหนึ่งเมื่อสิ้นสุดการเป็นพนักงานของบริษัทจำเลย ไม่ว่าเพราะลาออกหรือเกษียณอายุ ซึ่งไม่ใช่การพ้นสภาพเป็นพนักงานเนื่องจากกระทำความผิด เพื่อให้พนักงานได้รับเงินจำนวนหนึ่งคือเงินสะสมซึ่งเป็นของพนักงานเองที่จำเลยหักเก็บไว้ให้คืนพร้อมดอกเบี้ย และจำเลยจะสมทบตอบแทนให้อีกจำนวนหนึ่ง โดยคิดเป็นอัตราส่วนของเงินสะสมที่หักไว้ตามจำนวนปีที่พนักงานทำงานให้แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยของจำนวนเงินดังกล่าวด้วย และสำหรับพนักงานที่ทำงานให้แก่จำเลยยังไม่ครบ 5 ปี ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ พนักงานนั้นก็ยังคงมีสิทธิได้รับแต่เพียงเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ย โดยยังไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบตามที่กำหนดไว้ ดังนี้คำว่า "จะสมทบ" ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยจึงมีความหมายเพียงบอกเวลาภายหน้าเท่าที่อายุงานของพนักงานยังไม่ครบตามหลักเกณฑ์ที่ระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกเอาคำว่า"จะสมทบ" มาแปลความหมายบิดเบือนให้ผิดแผกแตกต่างไปจากความหมายที่แท้จริงเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่จำเลยว่าเป็นดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินสมทบให้แก่โจทก์หรือไม่จ่ายสมทบให้ก็ได้ แล้วแต่จำเลยจะพิจารณาเห็นสมควรเป็นราย ๆ ไปหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาของระเบียบข้อบังคับบริษัท: เงินสมทบต้องจ่ายเมื่อพนักงานลาออกตามหลักเกณฑ์ ไม่ใช่ดุลพินิจ
ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยในหมวดสวัสดิการ พนักงานกำหนดหลักเกณฑ์เงินสะสมไว้ว่า พนักงานที่มีอายุงาน ครบ 6 ปี จำเลยจะจ่ายเงินสมทบให้อีก 60 เปอร์เซ็นต์ของเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยเมื่อลาออกก็ตามแต่ระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยมีข้อความที่แสดงเจตนารมณ์ไว้ว่า เพื่อให้พนักงานมีหลักประกันว่าจะได้รับเงินจำนวนหนึ่งเมื่อสิ้นสุดการเป็นพนักงานของบริษัทจำเลยไม่ว่าเพราะลาออกหรือเกษียณอายุ ซึ่งไม่ใช่การพ้นสภาพเป็นพนักงานเนื่องจากกระทำความผิด เพื่อให้พนักงานได้รับเงินจำนวนหนึ่งคือเงินสะสมซึ่งเป็นของพนักงานเองที่จำเลยหักเก็บไว้ให้คืนพร้อมดอกเบี้ย และจำเลยจะสมทบตอบแทนให้อีกจำนวนหนึ่ง โดยคิดเป็นอัตราส่วนของเงินสะสมที่หักไว้ตามจำนวนปีที่พนักงานทำงานให้แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยของจำนวนเงินดังกล่าวด้วย และสำหรับพนักงานที่ทำงานให้แก่จำเลยยังไม่ครบ 5 ปี ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ พนักงานนั้นก็ยังคงมีสิทธิได้รับแต่เพียงเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ย โดยยังไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบตามที่กำหนดไว้ ดังนี้คำว่า "จะสมทบ" ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยจึงมีความหมายเพียงบอกเวลาภายหน้าเท่าที่อายุงานของพนักงานยังไม่ครบตามหลักเกณฑ์ที่ระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะ หยิบยกเอาคำว่า "จะสมทบ" มาแปลความหมายบิดเบือนให้ผิดแผกแตกต่างไปจากความหมายที่แท้จริงเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่จำเลยว่าเป็นดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินสมทบให้แก่โจทก์หรือไม่จ่ายสมทบให้ก็ได้ แล้วแต่จำเลยจะพิจารณาเห็นสมควรเป็นราย ๆ ไปหาได้ไม่
of 94