พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ชี้มูลความผิดฐานชิงทรัพย์ ศาลฎีกายกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
คำเบิกความของผู้เสียหายที่ว่าวันเกิดเหตุผู้เสียหายนั่งรถจักรยานยนต์รับจ้างออกจากที่ทำงานของน้องชายไปลงที่ปากซอยประชาอุทิศ 33 ขณะที่ผู้เสียหายกำลังลงจากรถจักรยานยนต์ได้พบกับจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 บอกให้ผู้เสียหายหยุด แล้วเข้าไปจับมือผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 1กอดผู้เสียหายทางด้านหลัง จากนั้นจำเลยที่ 2 ล้วงเอาหนังสือเดินทางและเงินสด 5,800 บาทของผู้เสียหายจากกระเป๋าเสื้อ กับดึงแว่นตาและถอดนาฬิกาไป ทั้งพูดว่าจะเอาตัวผู้เสียหายไปด้วย ผู้เสียหายกลัวจึงร้องขอความช่วยเหลือและดิ้นจนหลุด วิ่งหลบหนีเข้าไปในซอยโดยถอดรองเท้าแตะทิ้งไว้นั้น คงมีแต่ตัวผู้เสียหายเท่านั้นที่ยืนยันถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น น้องชายของผู้เสียหายและ ช. ซึ่งเป็นพยานแวดล้อมที่สำคัญ โจทก์มิได้นำตัวมาเบิกความสนับสนุนเพื่อให้สมตามคำอ้างของผู้เสียหายปรากฏว่าขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวัน ทั้งสถานที่เกิดเหตุอยู่ในแหล่งชุมชนมีประชาชนเดินผ่านไปมาตลอดและเป็นคิวรถจักรยานยนต์รับจ้าง หากจำเลยทั้งสองลงมือกระทำความผิดดังที่ผู้เสียหายเบิกความก็น่าจะมีคนเห็น และสามารถอ้างบุคคลที่รู้เห็นมาเป็นพยานได้ไม่ยาก ประกอบกับผู้เสียหายแจ้งเรื่องที่เกิดขึ้นให้เจ้าพนักงานทราบและขอให้ไปจับจำเลยทั้งสองภายหลังเกิดเหตุแล้วถึง 8 วัน ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุพิเศษใดจึงปล่อยให้เนิ่นช้าถึงขนาดนั้น ทั้งที่ผู้เสียหายรับว่ารู้จักจำเลยที่ 2 เป็นอย่างดีตั้งแต่อยู่ที่ประเทศอินเดีย น่าจะทราบที่อยู่ของจำเลยที่ 2 ได้และควรรีบดำเนินการเพื่อจับจำเลยทั้งสองทันที นอกจากนี้ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายอ้างว่าถูกจำเลยทั้งสองชิงไปนั้นก็หาได้ยึดคืนมาไม่เว้นแต่รองเท้าแตะของกลาง ซึ่งตามรูปเรื่องข้อเท็จจริงอาจจะเป็นไปดังที่จำเลยทั้งสองนำสืบต่อสู้ว่าวันเกิดเหตุผู้เสียหายนัดจำเลยที่ 2 ไปรับเงินที่ยืม 5,000 บาทโดยจำเลยที่ 2 ชวนจำเลยที่ 1 ไปด้วย แต่ผู้เสียหายกลับขอผัดผ่อน จำเลยที่ 2 ไม่ตกลง และขอให้ผู้เสียหายไปเจรจากันที่บ้าน ผู้เสียหายไม่ยอมวิ่งหลบหนีไปโดยทิ้งรองเท้าแตะไว้ จำเลยทั้งสองจึงเก็บรองเท้าแตะเพื่อส่งคืนให้ผู้เสียหายในวันหลังก็ได้ เช่นนี้ เมื่อพิเคราะห์พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงยังไม่อาจเชื่อได้โดยสนิทใจว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิด กรณีมีเหตุควรสงสัยให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงขัดกับคำรับของคู่ความในคดีแรงงาน เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย
เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นการหยิบยกเอาข้อเท็จจริงแต่เพียงบางส่วนขึ้นเป็นเหตุอ้างว่าศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคำรับของคู่ความดังนี้เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง แม้ว่าการทำงานล่วงเวลากับการทำงานเกินเวลาทำงานปกติจะมีความหมายที่แตกต่างกัน แต่ต่างก็เนื่องมาจากการที่ ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้างนอกเวลาทำงานปกตินั่นเอง และแตกต่างกันเพียงแต่ค่าตอบแทนว่า หากเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาก็จะมี อัตราเท่าครึ่งในวันธรรมดาหรือสามเท่าในวันหยุดแล้วแต่กรณี แต่ถ้าการที่ลูกจ้างทำงานเกินเวลาทำงานปกติโดยนายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาตามกฎหมาย นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าทำงาน ที่ลูกจ้างทำงานเกินเวลาทำงานปกติให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้าง ตามเวลาที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกตินั้น เมื่อคดีปรากฏข้อเท็จจริง ว่าโจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติแล้ว ศาลแรงงานย่อมพิพากษาให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าทำงานที่โจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม 2 ฉบับ ไม่ขัดแย้งกัน ศาลอนุญาตให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ละฉบับ
ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกส่วนหนึ่ง ฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่ง ข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งสองฉบับจึงหาได้ขัดกันและมีผลทำให้ผู้ร้องถูกเพิกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกไม่ ผู้ร้องยังคงมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก ดังนั้น พินัยกรรมของผู้ตายทั้งสองฉบับย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมายทั้งฉบับที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อเจตนาของผู้ตายมีความประสงค์ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้แยกจากกันและไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718จึงให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อจัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรกและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อจัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับที่สอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกจากพินัยกรรม 2 ฉบับที่มิได้ขัดแย้งกัน ศาลอนุญาตให้ผู้รับตามพินัยกรรมแต่ละฉบับเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก แต่ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมทั้ง 2 ฉบับเป็นทรัพย์คนละส่วนกัน ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องเป็นบุตรคนหนึ่งของผู้ตายและมีสิทธิรับมรดกส่วนหนึ่งของผู้ตายตามสำเนาพินัยกรรมเอกสารท้ายคำร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะทายาทของผู้ตาย เมื่อปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกตามที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องขอ ผู้ร้องจึงใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอตั้งผู้จัดการมรดกได้
การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกส่วนหนึ่ง และฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่ง แต่ข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งสองฉบับมิได้ขัดกัน จึงไม่มีผลทำให้ผู้ร้องถูกเพิกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก ดังนั้น พินัยกรรมของผู้ตายทั้งสองฉบับย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย และเมื่อผู้ตายมีความประสงค์ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้แยกจากกันเช่นนี้ จึงไม่สมควรที่ศาลจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านคนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว จึงให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อจัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ละฉบับตามความประสงค์ของผู้ตาย
การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกส่วนหนึ่ง และฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่ง แต่ข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งสองฉบับมิได้ขัดกัน จึงไม่มีผลทำให้ผู้ร้องถูกเพิกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก ดังนั้น พินัยกรรมของผู้ตายทั้งสองฉบับย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย และเมื่อผู้ตายมีความประสงค์ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้แยกจากกันเช่นนี้ จึงไม่สมควรที่ศาลจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านคนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว จึงให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อจัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ละฉบับตามความประสงค์ของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธหนี้และการให้เหตุผลที่ไม่ชัดเจนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 และการยกข้ออ้างใหม่ในชั้นอุทธรณ์
จำเลยกล่าวในคำให้การในตอนแรกว่า จำเลยทำสัญญากู้เงินกับโจทก์ทั้ง 3 ฉบับ และนำที่ดินโฉนดที่พิพาทจำนองต่อโจทก์เป็นประกันหนี้ตามสัญญากู้ตามฟ้องโจทก์ทั้ง 3 ฉบับจริง แต่จำเลยไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ทั้ง 3 ฉบับนั้น การจำนองที่ดินประกันหนี้ตามสัญญากู้จึงเป็นการประกันหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ ดังนี้เป็นเพียงคำให้การที่ปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์เท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้เหตุผลว่าเหตุใดจำเลยไม่ได้รับเงินจากโจทก์จึงเป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยย่อมไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามที่กล่าวอ้างของตน
แม้คำให้การของจำเลยในตอนหลังที่ว่าหากศาลฟังว่าสัญญากู้และการจำนองที่ดินเป็นประกันสมบูรณ์ตามกฎหมายและจำเลยได้รับเงินไปครบถ้วนโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง และโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวบังคับจำนองก็ตาม กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าเป็นคำให้การที่มีเงื่อนไขไม่แจ้งชัดว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริงหรือไม่ มิใช่เป็นคำปฏิเสธเหมือนในตอนแรก คำให้การในส่วนนี้ของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่มิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย ดังนั้นที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองและการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไม่ถูกต้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
แม้คำให้การของจำเลยในตอนหลังที่ว่าหากศาลฟังว่าสัญญากู้และการจำนองที่ดินเป็นประกันสมบูรณ์ตามกฎหมายและจำเลยได้รับเงินไปครบถ้วนโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง และโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวบังคับจำนองก็ตาม กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าเป็นคำให้การที่มีเงื่อนไขไม่แจ้งชัดว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริงหรือไม่ มิใช่เป็นคำปฏิเสธเหมือนในตอนแรก คำให้การในส่วนนี้ของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่มิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย ดังนั้นที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองและการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไม่ถูกต้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: หลักฐานไม่ชัดเจน ผู้ต้องสงสัยได้รับประโยชน์แห่งความสงสัย
ทรัพย์สินของผู้เสียหายที่แจ้งสูญหายไว้ต่อประชาสัมพันธ์ศูนย์การค้ามีเงินสด 2,000 บาท และทรัพย์สินอื่นอีก 3 รายการโดยไม่มีบัตรโทรศัพท์แต่อย่างใดแต่ทรัพย์สินของกลางที่ค้นได้จากตัวจำเลยมีเพียงเงินสด 5,000 บาท กับบัตรโทรศัพท์และใบมีดโกน เท่านั้น ผู้เสียหายรับว่าเงินสด 5,000 บาทจะใช่ของผู้เสียหายหรือไม่ก็ไม่แน่ใจ ส่วนบัตรโทรศัพท์นั้นผู้เสียหายมิได้ทำตำหนิไว้เป็นพิเศษเป็นบัตรโทรศัพท์ที่ประชาชนสามารถหาซื้อโดยทั่วไป เช่นนี้ เงินสดและบัตรโทรศัพท์ของกลางที่ค้นได้จากตัวจำเลยหาได้มีหลักฐานใดที่ยืนยันได้ชัดแจ้งว่าเป็นของผู้เสียหายไม่ แม้ผู้เสียหายอ้างว่าบัตรโทรศัพท์ดังกล่าวผู้เสียหายใช้ไปแล้ว 1 ครั้ง เป็นเงิน 23 บาทยังเหลืออยู่ 77 บาทและเจ้าพนักงานตำรวจนำไปตรวจสอบดูปรากฏว่ามีจำนวนเงินเหลือตรงกันก็ตาม ก็มิอาจเชื่อได้โดยสนิทใจว่าบัตรโทรศัพท์ดังกล่าวเป็นของผู้เสียหาย เพราะในข้อนี้จำเลยนำสืบต่อสู้ว่าจำเลยใช้บัตรโทรศัพท์ไป 1 ครั้ง เป็นเงิน 23 บาทเช่นกัน พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังฟังไม่ได้แน่ชัดว่าเงินสดและบัตรโทรศัพท์ของกลางเป็นของผู้เสียหาย กรณีมีเหตุควรสงสัยว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดในข้อหารับของโจรต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโกงเจ้าหนี้ต้องระบุชัดว่าเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิทางศาลเพื่อเรียกทรัพย์คืน
การโอนทรัพย์ไปให้แก่ผู้อื่นเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้อันเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 นั้น จะต้องปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้วหรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ และผู้กระทำก็ต้องรู้ว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ตกลงให้ค่าจ้าง ว่าความแก่โจทก์ถึงกำหนดแล้วไม่ชำระ โจทก์ทวงถาม จำเลยที่ 1 หลบหน้า ต่อมาโจทก์จึงรู้ว่า จำเลยที่ 1 โอนที่ดินแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 2 และขายที่ดินอีกแปลงหนึ่ง ให้จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้แก่โจทก์ อันเป็นการโอนโดยเจตนาทุจริต ประสงค์มิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งที่ตะหนักดีว่าโจทก์ ต้องฟ้องบังคับคดีอย่างแน่นอน เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มี ทรัพย์สินใดพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์นั้น จึงเป็นคำฟ้องที่ มิได้ระบุว่าโจทก์ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาล ให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำ ทั้งที่ตระหนักดีว่าโจทก์ต้องฟ้องบังคับคดีอย่างแน่นอนเป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำไปทั้งที่คาดหมายว่าโจทก์ ฟ้องบังคับคดี ส่วนตัวโจทก์เองจะฟ้องร้องหรือไม่โจทก์ ไม่ได้กล่าวถึง คำฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ขาดสาระสำคัญ ไม่ครบองค์ประกอบแห่งความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม น้ำหนักสารบริสุทธิ์เป็นข้อนำสืบ โทษจำคุกเหมาะสมแล้ว
ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158(5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว สำหรับน้ำหนักเฮโรอีนของกลางที่เป็นสารบริสุทธิ์จะมีน้ำหนักเท่าใดนั้นเป็นเรื่องที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ประกอบกับจำเลยเองก็ฎีกายอมรับว่าเป็นเรื่องประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลเท่านั้น คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องคดีจำหน่ายยาเสพติด: การระบุปริมาณสารบริสุทธิ์ไม่จำเป็นต้องระบุในคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 3 หลอด น้ำหนัก 2.98 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและได้จำหน่ายเฮโรอีนดังกล่าวให้แก่ผู้มีชื่อเป็นเงิน 1,800 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยให้การรับสารภาพ แม้โจทก์มิได้ระบุน้ำหนักเฮโรอีนของกลางว่ามีสารบริสุทธิ์หนักเท่าไร แต่ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158 (5) แห่ง ป.วิ.อ. ซึ่งทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว สำหรับน้ำหนักเฮโรอีนของกลางที่เป็นสารบริสุทธิ์จะมีน้ำหนักเท่าใดนั้นเป็นเรื่องที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ จำเลยเองก็ฎีกายอมรับว่าเป็นเรื่องประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลเท่านั้น คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้ระบุน้ำหนักสารบริสุทธิ์ของยาเสพติด ศาลยืนตามโทษเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติด ให้โทษในประเภท 1 จำนวน 3 หลอด น้ำหนัก 2.98 กรัมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและได้จำหน่ายเฮโรอีนดังกล่าวให้แก่ผู้มีชื่อเป็นเงิน 1,800 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายจำเลยให้การรับสารภาพ แม้โจทก์มิได้ระบุน้ำหนักเฮโรอีนของกลางว่ามีสารบริสุทธิ์หนักเท่าไร แต่ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158(5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว สำหรับน้ำหนักเฮโรอีนของกลางที่เป็นสารบริสุทธิ์จะมีน้ำหนักเท่าใดนั้น เป็นเรื่องที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ จำเลยเองก็ฎีกายอมรับว่าเป็นเรื่องประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลเท่านั้นคำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม