คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อร่าม หุตางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการสะสมวันหยุดพักผ่อนและผลของการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คดีแรงงาน
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ข้อบังคับในการทำงานกำหนดว่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีผู้ปฏิบัติงานจะสะสมไม่ได้ และผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยจะถือว่าผู้นั้นสละสิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปี โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ จาก จำเลย เมื่อเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งซึ่งอนุโลมมาใช้บังคับแก่คดีแรงงานด้วยตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลแรงงานเห็นว่า พยานจำเลยที่นำสืบมาไม่มีเหตุผลให้รับฟังดีกว่าพยานโจทก์ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยให้ อำนาจนายส.บอกเลิกจ้างโจทก์มิใช่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ดังจำเลยให้การ โดยศาลแรงงานได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาศัย คำเบิกความของโจทก์และพยานโจทก์ประกอบพฤติการณ์ที่ปรากฏ ในสำนวนทั้งสิ้น กรณีจึงมิใช่ศาลแรงงานหยิบยกข้อเท็จจริง นอกสำนวนมาตัดสินคดี เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ยินยอมในการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือไม่ เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบให้ปรากฏ เพื่อให้จำเลยพ้นความรับผิด แต่จำเลยไม่นำสืบ การที่ ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ หรือไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้ความยินยอม เช่นนี้ จึงมิใช่ศาลแรงงาน ฟังข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏในสำนวนขึ้นมาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพจ้าง: เงินช่วยเหลือพิเศษจ่ายเฉพาะลูกจ้างรายวันเกษียณอายุหรือถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด การใช้คำว่า 'และ' ทำให้สิทธิลูกจ้างรายวันถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไม่ครอบคลุม
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อเรียกร้องที่ 9ระบุว่า "บริษัทฯ ตกลงจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายและเงินช่วยเหลือพิเศษในกรณีที่ลูกจ้างเกษียณอายุและถูกเลิกจ้าง โดยไม่มีความผิดสำหรับลูกจ้างรายวันตามอายุงาน" เห็นได้ว่าตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว จำเลยตกลงจ่ายเงินทั้งสองประเภทคือค่าชดเชยและ เงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่กลุ่มลูกจ้าง เฉพาะค่าชดเชย เป็นการจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับตามกฎหมายส่วนเงินช่วยเหลือพิเศษเป็นการจ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าชดเชย แต่จำเลยตกลงจ่ายเพิ่มให้เฉพาะลูกจ้างรายวันซึ่งมีอายุงานครบ 15 ปีขึ้นไปที่เกษียณอายุและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเท่านั้น เมื่อจำเลยกำหนดให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เกษียณอายุ แม้โจทก์ทั้งห้าร้อยหกสิบสองเป็นลูกจ้างรายวันซึ่งมีอายุงานครบ15 ปีขึ้นไปและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดแต่เมื่อโจทก์ทั้งห้าร้อยหกสิบสองมิใช่ลูกจ้างที่เกษียณอายุจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว หากสหภาพแรงงาน ท. กับจำเลยมีเจตนาจะให้จำเลยจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษแก่ลูกจ้างรายวันซึ่งทำงานครบ15 ปีขึ้นไปในกรณีที่ลูกจ้างดังกล่าวเกษียณอายุประเภทหนึ่งและในกรณีที่ลูกจ้างดังกล่าวถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดอีกประเภทหนึ่ง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อเรียกร้องที่ 9 ควรใช้คำว่า "หรือ" แทนที่จะใช้คำว่า "และ"ตามที่ระบุไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงสภาพการจ้างสำหรับลูกจ้างรายวันที่มีอายุงานครบ 15 ปีขึ้นไป
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ระบุว่า "จำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายและเงินช่วยเหลือพิเศษในกรณีที่ลูกจ้างเกษียณอายุและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดสำหรับลูกจ้างรายวัน ตามอายุงานดังนี้ อายุงานครบ 15 ปี ไม่ครบ20 ปี เพิ่มให้ 2 เดือน อายุงานครบ 20 ปี ไม่ครบ 25 ปี เพิ่มให้ 3 เดือนอายุงานครบ 25 ปี ไม่ครบ 30 ปี เพิ่มให้ 4 เดือน อายุงานครบ 30 ปี เพิ่มให้5 เดือน " จึงเห็นได้ว่า จำเลยตกลงจ่ายเงินทั้ง 2 ประเภท คือ ค่าชดเชยและเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่ลูกจ้างเฉพาะค่าชดเชยเป็นการจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย ส่วนเงินช่วยเหลือพิเศษเป็นการจ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าชดเชยจำเลยตกลงจ่ายเงินเพิ่มให้เฉพาะลูกจ้างรายวันซึ่งมีอายุงานครบ 15 ปีขึ้นไปที่เกษียณอายุและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเท่านั้น ดังนี้ เมื่อโจทก์มิใช่ลูกจ้างที่เกษียณอายุ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงสภาพการจ้างเฉพาะลูกจ้างรายวันเกษียณอายุหรือถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ระบุว่า "จำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายและเงินช่วยเหลือพิเศษในกรณีที่ลูกจ้างเกษียณอายุและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดสำหรับลูกจ้างรายวันตามอายุงานดังนี้ อายุงานครบ 15 ปี ไม่ครบ 20 ปี เพิ่มให้ 2 เดือน อายุงานครบ 20 ปี ไม่ครบ 25 ปี เพิ่มให้ 3 เดือน อายุงานครบ 25 ปี ไม่ครบ 30 ปี เพิ่มให้ 4 เดือน อายุงานครบ 30 ปี เพิ่มให้ 5 เดือน" เห็นได้ว่า จำเลยตกลง จ่ายเงินทั้ง 2 ประเภท คือ ค่าชดเชยและเงินช่วยเหลือพิเศษ ให้แก่ลูกจ้าง เฉพาะค่าชดเชยเป็นการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย ส่วนเงินช่วยเหลือพิเศษเป็นการ จ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าชดเชย จำเลยตกลงจ่ายเงินเพิ่ม เฉพาะลูกจ้างรายวันซึ่งมีอายุงานครบ 15 ปีขึ้นไปที่เกษียณอายุ และถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเท่านั้น ดังนี้ เมื่อโจทก์ มิใช่ลูกจ้างที่เกษียณอายุ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับ เงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางร่วม (ทางพิพาท) โดยถือวิสาสะ ไม่ทำให้เกิดภาระจำยอม แม้ใช้เป็นเวลานาน
โจทก์และจำเลยที่ 3 เป็นบุตร ค. และ พ. โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3924 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5458 ที่ดินทั้งสามแปลงเดิมเป็นที่ดินผืนเดียวกัน มี ค.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ในที่ดินทั้งสามแปลงมีบ้านปลูกอยู่4 หลัง รวมทั้งบ้านของ ค. บ้านของ ค.อยู่ติดแม่น้ำ ถ้าจะออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะก็เดินผ่านทางพิพาทที่อยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งหกซึ่งเป็นบุตรหลานและญาติของตน ลักษณะเป็นการขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติอันเป็นการเดินโดยถือวิสาสะโจทก์เป็นบุตรผู้อาศัยอยู่ในบ้าน ค.ก็เดินผ่านทางพิพาทในลักษณะเดียวกัน หลังจากค.ตายก็มิได้เปลี่ยนเจตนาเป็นการใช้ทางพิพาทด้วยเจตนาเป็นทางภาระจำยอมการที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้จะใช้เป็นเวลานานเท่าใดโจทก์ก็ไม่ได้ภาระจำยอมในทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 และ 5458 ของจำเลยทั้งหก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางโดยถือวิสาสะ ไม่ก่อให้เกิดภารจำยอม แม้ใช้เป็นเวลานาน
โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้ใช้เป็นเวลานานเท่าใดก็ไม่ได้ภารจำยอมในทางพิพาท โจทก์และจำเลยที่ 3 เป็นบุตร ค.และพ. โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3924 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 จำเลยที่ 5 ที่ 6เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5458 ที่ดินทั้งสามแปลงเดิมเป็นที่ดินผืนเดียวกัน มี ค. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทั้งสามแปลงมีบ้านปลูกอยู่ 4 หลัง รวมทั้งบ้านของ ค.บ้านของค. อยู่ติดแม่น้ำ ถ้าจะออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะก็เดินผ่านทางพิพาทที่อยู่ในที่ดินของจำเลย ทั้งหกซึ่งเป็นบุตรหลานและญาติของตน ลักษณะเป็นการขออาศัย กันในระหว่างหมู่ญาติอันเป็นการเดินโดยถือวิสาสะ โจทก์ เป็นบุตรผู้อาศัยอยู่ในบ้าน ค. ก็เดินผ่านทางพิพาทในลักษณะเดียวกัน หลังจาก ค. ตายก็มิได้เปลี่ยนเจตนาเป็นการใช้ทางพิพาทด้วยเจตนาเป็นทางภารจำยอม การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้จะใช้เป็นเวลานานเท่าใดโจทก์ก็ไม่ได้ภารจำยอมในทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 และ 5458 ของจำเลยทั้งหก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางร่วมในที่ดินมรดกโดยถือวิสาสะ ไม่ถือเป็นภารจำยอม แม้ใช้ต่อเนื่องนานปี
โจทก์และจำเลยที่ 3 เป็นบุตร ค.และพ.โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3924 จำเลยที่ 1ถึงที่ 4 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5458 ที่ดินทั้งสามแปลง เดิมเป็นที่ดินผืนเดียวกัน มีค. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทั้งสามแปลงมีบ้านปลูกอยู่ 4 หลัง รวมทั้งบ้านของค.บ้านของค.อยู่ติดแม่น้ำ ถ้าจะออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะก็เดินผ่านทางพิพาทที่อยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งหกซึ่งเป็น บุตรหลายและญาติของตน ลักษณะเป็นการขออาศัยกันใน ระหว่างหมู่ญาติอันเป็นการเดินโดยถือวิสาสะโจทก์เป็นบุตร ผู้อาศัยอยู่ในบ้านค. ก็เดินผ่านทางพิพาทในลักษณะเดียวกันหลังจากค. ตายก็มิได้เปลี่ยนเจตนาเป็นการใช้ทางพิพาทด้วยเจตนาเป็นทางภารจำยอมการที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้จะใช้เป็นเวลานานเท่าใดโจทก์ก็ไม่ได้ภารจำยอม ในทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 และ 5458 ของจำเลยทั้งหก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญา ใบโฆษณาไม่ผูกพัน หากมีข้อพิพาท พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคเป็นเรื่องต่างหาก
ข้อตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายเป็นเรื่องระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 มีผลผูกพันเฉพาะโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 เท่านั้น แม้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 22 (1) บัญญัติห้ามโฆษณาข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง หากมีการฝ่าฝืนก็เป็นเรื่องผิดต่อ พ.ร.บ. ดังกล่าว และอาจถูกห้ามมิให้กระทำการโฆษณาที่ผิดความจริงเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในกรณีอื่น การโฆษณาข้อความดังกล่าวจึงหาทำให้สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบังคับศาลแรงงานและการพิจารณาใหม่ การปิดคำบังคับมีผลเมื่อเวลาที่กำหนดล่วงพ้น
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มิได้กำหนดระยะเวลาให้คู่ความฝ่ายซึ่งศาลมีคำสั่งขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ไว้ กรณีจึงต้องนำ ป.วิ.พ.มาตรา 208 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ศาลแรงงานได้ออกคำบังคับและให้ส่งคำบังคับแก่จำเลยโดยสั่งว่าการส่งหากไม่มีผู้รับแทนให้ปิดและให้มีผลทันที แต่คำบังคับของศาลระบุข้อความไว้เพียงว่า ให้การปิดคำบังคับมีผลตามกำหนดระยะเวลาในหมายนี้ และให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับคำบังคับเป็นต้นไป ข้อความที่ระบุไว้ในคำบังคับดังกล่าวหาได้มีความหมายว่า การปิดคำบังคับให้มีผลทันที จำเลยจึงไม่อาจทราบได้ว่าศาลแรงงานมีคำสั่งให้การส่งคำบังคับมีผลทันทีในกรณีที่มีการปิดคำบังคับกรณีจึงต้องอยู่ในบังคับ ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่กำหนดว่า การส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยวิธีอื่นแทนนั้นให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่เวลาที่คำบังคับได้ปิดไว้ จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน การส่งคำบังคับทางปิด และผลของการสั่งให้มีผลทันที
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มิได้กำหนดระยะเวลาให้คู่ความฝ่ายซึ่งศาลมีคำสั่งขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ไว้กรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208มาใช้บังคับโดยอนุโลม ศาลแรงงานได้ออกคำบังคับและให้ส่งคำบังคับแก่จำเลยโดยสั่งว่า การส่งหากไม่มีผู้รับแทนให้ปิดและให้มีผลทันทีแต่คำบังคับของศาลระบุข้อความไว้เพียงว่า ให้การปิดคำบังคับมีผลตามกำหนดระยะเวลาในหมายนี้ และให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับคำบังคับเป็นต้นไป ข้อความที่ระบุไว้ในคำบังคับดังกล่าวหาได้มีความหมายว่า การปิดคำบังคับให้มีผลทันที จำเลยจึง ไม่อาจทราบได้ว่าศาลแรงงานมีคำสั่งให้การส่งคำบังคับ มีผลทันทีในกรณีที่มีการปิดคำบังคับกรณีจึงต้องอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่กำหนดว่า การส่งคำบังคับ ให้แก่จำเลยโดยวิธีอื่นแทนนั้นให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อ กำหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาล เห็นสมควรกำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่เวลาที่คำบังคับ ได้ปิดไว้ จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลย
of 94