คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515 ม. 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6232-6234/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้าง และการจ่ายค่าชดเชยโดยพิจารณาจากพฤติการณ์ที่แท้จริง
การจะพิจารณาว่าโจทก์เป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอนหรือไม่ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่โจทก์ กับจำเลยปฏิบัติต่อกันประกอบด้วย มิใช่พิจารณาเฉพาะข้อความในเอกสารสัญญาจ้างเท่านั้น แม้สัญญาจ้างจะมีกำหนดระยะเวลาไว้ แต่โจทก์จำเลยปฏิบัติต่อกันโดยโจทก์บางคนทำงานกับจำเลยเป็นเวลานาน มีการทำสัญญาจ้างหลายครั้งหลายหน มีการทำย้อนหลัง โจทก์จำเลยมิได้ถือตามสัญญาจ้างอย่างจริงจัง จำเลยมีเจตนาจ้างโจทก์ไว้เป็นประจำแสดงว่าโจทก์มิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
การเล่นการพนันแม้จะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่ในสภาพที่โจทก์ต้องประจำอยู่ในเรือเดินทะเลตลอดเวลา การเล่นการพนันระหว่างเพื่อนพนักงานด้วยกันเป็นบางครั้งบางคราวโดยจำเลยมิได้เสียงานทั้งไม่ปรากฏว่าเป็นการพนันประเภทใด ได้เสียกันมากน้อยเท่าใดและมิได้เล่นเป็นอาจิณ ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3)
จำเลยจ่ายค่าอาหารให้พนักงานเฉพาะที่อยู่บนเรือทุกคนโดยกำหนดจำนวนไว้แต่ละคน แต่มิได้จ่ายเหมาเป็นเงินให้โดยตรง พนักงานจะได้รับเงินส่วนแบ่งเฉพาะกรณีที่ใช้เป็นค่าอาหารไม่หมดเท่านั้น โดยนำส่วนที่เหลือมาเฉลี่ยกันทุกคน แม้พนักงานคนใดจะไม่ได้รับประทานอาหารก็จะมิได้รับค่าอาหารเต็มจำนวนที่กำหนดไว้ให้แต่ละคน คงได้รับเฉพาะส่วนเฉลี่ยสำหรับเงินที่เหลือจากค่าอาหารเช่นเดียวกับพนักงานอื่นที่รับประทานอาหาร แต่หากจ่ายเป็นค่าอาหารหมดก็ไม่ได้รับเงินนั้น เงินค่าอาหารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ แต่เป็นสวัสดิการเฉพาะกรณีที่พนักงานอยู่บนเรือเท่านั้น ค่าอาหารจึงมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344-4345/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลความน่าเชื่อถือและผลการสอบสวน
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามคำสั่งเลิกจ้างของจำเลย แต่จากการ สอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนได้ความว่าโจทก์ทั้งสองมีพฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัยในความซื่อสัตย์สุจริต ไม่น่าไว้วางใจ และมีมลทินมัวหมอง เป็นการพิจารณาถึงเหตุที่เลิกจ้างหย่อนลงไปจาก ข้ออ้างที่ว่าทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงว่าจำเลย จะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองหรือไม่ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเป็นไปตามผลการสอบสวน ซึ่งมีเหตุที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจโจทก์ทั้งสองให้ทำงานกับจำเลยต่อไป แม้จะมิใช่ ความผิดร้ายแรง แต่ก็มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำให้การของ อ. และโจทก์ที่ 1 ต่อคณะกรรมการสอบสวนเป็นการบอกเล่าข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่มีการลงนามหรือปฏิญาณตามแบบวิธีการเบิกความต่อศาลเป็นเพียงพยานบอกเล่า รับฟังได้เพียงประกอบคำเบิกความของตัวพยานซึ่งได้มาเบิกความต่อศาล เท่านั้นเมื่อ อ. และโจทก์ที่ 1 มาเบิกความต่อศาลศาลจึงต้องรับฟัง คำเบิกความของพยานทั้งสองอันเป็นประจักษ์พยานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3886/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้าง: การกระทำผิดระเบียบงาน แม้มิเจตนาทุจริต ก็เป็นเหตุเลิกจ้างได้
จำเลยให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กับพวกร่วมกันทุจริตลักรถยนต์ของจำเลย โดยมอบกุญแจรถยนต์และชุดโอนทะเบียนให้ บุคคลอื่นไปโดยมิได้ทำหนังสือรับรถยนต์ไว้ จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายแล้วยังให้การต่อไปด้วยว่า โจทก์กระทำการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับคำสั่งและระเบียบการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรงด้วย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับข้อเท็จจริงในตอนต้นว่า โจทก์มิได้ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งในการจำหน่ายและส่งมอบรถยนต์ให้แก่บุคคลอื่นนั่นเอง ซึ่งตามข้อเท็จจริงนั้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็เพราะ โจทก์กระทำการดังกล่าวแต่ประการเดียว หามีเหตุการณ์อื่นที่จำเลยอาศัยเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างไม่ การที่จำเลยใช้ถ้อยคำในคำสั่งเลิกจ้างว่าโจทก์บกพร่องต่อหน้าที่และทำให้จำเลยได้รับความเสียหายนั้น ก็เกิดจากการกระทำของโจทก์ดังกล่าว การกระทำที่เป็นการบกพร่องนั้นอาจเกิดจากการกระทำโดยเจตนาที่จะฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่ง ของจำเลยหรือไม่ก็ได้ และย่อมหมายถึงไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เต็มตามหน้าที่ที่ตนพึงต้องปฏิบัติโดยมีเจตนาทุจริตหรือไม่ก็ได้เช่นเดียวกัน สาเหตุแห่งการเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นสาเหตุอันเดียวกันกับที่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีแล้วนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การตักเตือนและลงชื่อรับทราบผลงานตามข้อบังคับบริษัท
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยกำหนดว่า ลูกจ้างไม่พึงทำงานต่ำกว่า เกณฑ์ทำงานขั้นต่ำแต่ละวัน หากลูกจ้างคนใดทำงานต่ำกว่าเกณฑ์จำเลยมีสิทธิตักเตือนให้ปรับปรุงการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและมีสิทธิให้ลูกจ้างลงชื่อรับทราบผลงานและรับทราบการตักเตือนซึ่งอาจเป็นการตักเตือนให้ปรับปรุงการทำงาน หรือตักเตือนเพื่อเป็นการลงโทษแล้วแต่กรณีเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดดังกล่าวอยู่ในวิสัยของลูกจ้างทั่วไปกระทำได้เพราะไม่ปรากฏว่ามีลูกจ้างอื่นทำไม่ได้ นอกจากโจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป้าหมายของเกณฑ์ขั้นต่ำหรือวัตถุประสงค์ของจำเลยที่จะให้ลูกจ้างทำงานไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้จึงไม่เป็นการพ้นวิสัยไม่เป็นการขัดขวางต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานทั้งการว่ากล่าวตักเตือนลูกจ้างการให้ลงชื่อรับทราบผลงานเป็นสิทธิทั่วไปที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้ไม่ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้การที่ โจทก์ทั้งสิบเอ็ด ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อรับทราบสรุปผลงานตามข้อบังคับของจำเลยเมื่อปรากฏว่าตามข้อบังคับดังกล่าวกำหนดไว้ว่า 'นายจ้าง ต้องเรียกลูกจ้างมาเพื่อทำการตักเตือนการทำงานพร้อมกับให้เซ็นชื่อ รับทราบผลงานของตนไว้ด้วย'นั้น เป็นข้อบังคับที่กล่าวถึงด้านนายจ้าง แต่ฝ่ายเดียวไม่ได้กล่าวถึงด้านลูกจ้างด้วยไม่อาจแปลได้ว่าเป็นการบังคับ ลูกจ้างจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แม้จำเลยจะตักเตือนโจทก์ทั้งสิบเอ็ดแล้วก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ด ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285-3289/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงโทษทางวินัยจากไล่ออกเป็นตัดเงินเดือน และสิทธิการได้รับเงินเดือนและนับอายุงานของลูกจ้าง
เมื่อข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่า ในกรณีที่มีการร้องทุกข์เพราะออกงานถ้าผู้ร้องทุกข์ได้รับการพิจารณากลับเข้าทำงานตามเดิม ผู้ได้กลับเข้าทำงานตามเดิมนั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ถูกออกจากงานโจทก์ซึ่งเดิมถูกไล่ออกจากงานแต่ภายหลังคณะกรรมการจำเลยมีมติเปลี่ยนแปลงระดับโทษจากไล่ออกเป็นให้กลับเข้าทำงานแต่ให้ตัดเงินเดือน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างที่ถูกไล่ออก และโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้นับอายุการทำงานในระหว่างถูกไล่ออก เพราะโจทก์มิได้ทำงานและมิได้มีฐานะเป็นลูกจ้างในระหว่างนั้นประกอบกับคณะกรรมการจำเลยซึ่งมีอำนาจควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการรถไฟตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ได้มีมติว่าสำหรับการนับเวลาทำการก็ให้ตัดเวลาที่ถูกไล่ออกจากงานไป การที่จำเลยออกคำสั่งตัดเงินเดือนโจทก์โดยไม่จ่ายเงินเดือนและให้ตัดเวลาการทำงานในระหว่างที่ไล่ออกจึงเป็นคำสั่งที่ชอบและไม่ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานแต่ประการใด
of 2