พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย การให้ความยินยอมของคู่สมรสไม่ถือเป็นการรับบุตรบุญธรรม
สามีผู้ตายได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ตายให้ความยินยอมและลงชื่อท้ายบันทึกทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมว่าเป็นคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม สามีผู้ตายแต่ผู้เดียวจึงเป็นผู้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม แม้บันทึกดังกล่าวจะมีข้อความว่าผู้ตายได้รับเป็นมารดาผู้ร้องด้วย ก็ไม่เป็นการรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย เมื่อผู้ตายมิได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ดังนี้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่บุตรบุญธรรมของผู้ตาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย การยินยอมของภริยาไม่ถือเป็นการรับบุตรบุญธรรม
นาย ป.สามีแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม นาง ส.ภรรยาของนาย ป.ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมแต่อย่างใด บันทึกต่อท้ายทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเป็นเพียงหลักฐานที่นายทะเบียนได้ทำขึ้นเพื่อแสดงว่า นาง ส.ได้ยินยอมให้นาย ป.จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเท่านั้น แม้บันทึกดังกล่าวมีข้อความว่า นาง ส.ได้รับเป็นมารดาของผู้ร้องด้วย ก็ไม่มีผลเป็นการรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย เพราะการรับบุตรบุญธรรมจะมีผลตามกฎหมายเมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อนาง ส.ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ร้องจึงไม่ใช่บุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายของนาง ส. และไม่ใช่ทายาทของนาง ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1386/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานเอกสารและการเบิกความรับรองความถูกต้องของเอกสารในการพิสูจน์การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
การที่จำเลยไม่อาจนำต้นฉบับเอกสารของทางราชการมาแสดง แต่มีสำเนาเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบมาเบิกความรับรองความมีอยู่และถูกต้องของเอกสารดังกล่าว จึงเพียงพอที่จะรับฟังเป็นหลักฐานให้เชื่อได้ว่าเจ้ามรดกได้จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมจริง.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4240/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยาน การนำสืบ การรับรองเอกสาร และค่าฤชาธรรมเนียมในคดีมรดก
โจทก์ขอเลื่อนคดีโดยแถลงยอมผูกมัดตนเองว่าหากนัดหน้าไม่ได้พยานมาก็จะไม่ติดใจสืบ ดังนี้ เมื่อถึงวันนัดโจทก์ยังไม่ได้ตัวพยานมาศาลอีกก็ต้องถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานปากนี้ตามที่เคยแถลงไว้ ไม่ว่าพยานจะได้รับหมายเรียกไว้แล้วหรือไม่ก็ตาม
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน และโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้โดยชอบแล้ว แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวจะไม่ชอบไม่ถูกต้องจริงหรือไม่ก็ตาม หากคู่ความได้สืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว และการกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวก็ไม่ทำให้เหตุผลแห่งการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นได้ กรณีจึงไม่สมควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานใหม่
คดีมีประเด็นข้อพิพาทกันมาแต่ต้น โดยโจทก์สามารถนำพยานมาเบิกความต่อศาลได้ แต่ก็ไม่ได้นำมา การที่โจทก์ขอนำพยานดังกล่าวมาเบิกความหลังจากสืบพยานจำเลยเสร็จแล้ว ย่อมเป็นการเพิ่มเติมคดีของโจทก์ที่บกพร่องอยู่และพ้นเวลาที่โจทก์จะนำพยานเข้าสืบตามกฎหมายแล้ว จึงไม่สมควรอนุญาตให้โจทก์สืบพยาน
แม้ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมและคำร้องขอจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมจะเป็นเอกสารมหาชน แต่คู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันก็นำพยานหลักฐานอื่นมาสืบหักล้างได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127
การได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถา โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 157 นั้น เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถาแล้ว แต่ถ้าแพ้คดี ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน และโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้โดยชอบแล้ว แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวจะไม่ชอบไม่ถูกต้องจริงหรือไม่ก็ตาม หากคู่ความได้สืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว และการกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวก็ไม่ทำให้เหตุผลแห่งการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นได้ กรณีจึงไม่สมควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานใหม่
คดีมีประเด็นข้อพิพาทกันมาแต่ต้น โดยโจทก์สามารถนำพยานมาเบิกความต่อศาลได้ แต่ก็ไม่ได้นำมา การที่โจทก์ขอนำพยานดังกล่าวมาเบิกความหลังจากสืบพยานจำเลยเสร็จแล้ว ย่อมเป็นการเพิ่มเติมคดีของโจทก์ที่บกพร่องอยู่และพ้นเวลาที่โจทก์จะนำพยานเข้าสืบตามกฎหมายแล้ว จึงไม่สมควรอนุญาตให้โจทก์สืบพยาน
แม้ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมและคำร้องขอจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมจะเป็นเอกสารมหาชน แต่คู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันก็นำพยานหลักฐานอื่นมาสืบหักล้างได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127
การได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถา โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 157 นั้น เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถาแล้ว แต่ถ้าแพ้คดี ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4240/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยาน การเปลี่ยนแปลงหน้าที่นำสืบ เอกสารมหาชน และค่าฤชาธรรมเนียมในคดีมรดก
โจทก์ขอเลื่อนคดีโดยแถลงยอมผูกมัดตนเองว่าหากนัดหน้าไม่ได้พยานมาก็จะไม่ติดใจสืบ ดังนี้ เมื่อถึงวันนัดโจทก์ยังไม่ได้ตัวพยานมาศาลอีกก็ต้องถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานปากนี้ตามที่เคยแถลงไว้ ไม่ว่าพยานจะได้รับหมายเรียกไว้แล้วหรือไม่ก็ตาม
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน และโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้โดยชอบแล้ว แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวจะไม่ชอบไม่ถูกต้องจริงหรือไม่ก็ตาม หากคู่ความได้สืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว และการกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวก็ไม่ทำให้เหตุผลแห่งการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นได้ กรณีจึงไม่สมควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานใหม่
คดีมีประเด็นข้อพิพาทกันมาแต่ต้น โดยโจทก์สามารถนำพยานมาเบิกความต่อศาลได้ แต่ก็ไม่ได้นำมา การที่โจทก์ขอนำพยานดังกล่าวมาเบิกความหลังจากสืบพยานจำเลยเสร็จแล้ว ย่อมเป็นการเพิ่มเติมคดีของโจทก์ที่บกพร่องอยู่และพ้นเวลาที่โจทก์จะนำพยานเข้าสืบตามกฎหมายแล้ว จึงไม่สมควรอนุญาตให้โจทก์สืบพยาน
แม้ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมและคำร้องขอจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมจะเป็นเอกสารมหาชน แต่คู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันก็นำพยานหลักฐานอื่นมาสืบหักล้างได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127
การได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถา โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 157 นั้น เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถาแล้ว แต่ถ้าแพ้คดี ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้.
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน และโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้โดยชอบแล้ว แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวจะไม่ชอบไม่ถูกต้องจริงหรือไม่ก็ตาม หากคู่ความได้สืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว และการกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวก็ไม่ทำให้เหตุผลแห่งการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นได้ กรณีจึงไม่สมควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานใหม่
คดีมีประเด็นข้อพิพาทกันมาแต่ต้น โดยโจทก์สามารถนำพยานมาเบิกความต่อศาลได้ แต่ก็ไม่ได้นำมา การที่โจทก์ขอนำพยานดังกล่าวมาเบิกความหลังจากสืบพยานจำเลยเสร็จแล้ว ย่อมเป็นการเพิ่มเติมคดีของโจทก์ที่บกพร่องอยู่และพ้นเวลาที่โจทก์จะนำพยานเข้าสืบตามกฎหมายแล้ว จึงไม่สมควรอนุญาตให้โจทก์สืบพยาน
แม้ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมและคำร้องขอจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมจะเป็นเอกสารมหาชน แต่คู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันก็นำพยานหลักฐานอื่นมาสืบหักล้างได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127
การได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถา โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 157 นั้น เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถาแล้ว แต่ถ้าแพ้คดี ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมที่ไม่จดทะเบียนหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า และมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/27 ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานอัยการในการร้องขอเพิกถอนทะเบียนรับบุตรบุญธรรม: ต้องมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจชัดเจน
พนักงานอัยการจะร้องขอใช้สิทธิทางศาลได้ก็ต่อเมื่อกฎหมายบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ไว้เท่านั้น การร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเพราะผู้ให้ความยินยอมใช้สูติบัตรกับสำเนาทะเบียนบ้านปลอมมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่แก้ไขใหม่มิได้บัญญัติ ให้อำนาจแก่พนักงานอัยการไว้ พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจ ยื่นคำร้องต่อศาล