คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57 (3) (ก)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดเรือชน: เจ้าของเรือต้องรับผิดแม้ความผิดเกิดจากผู้นำร่องหรือนายเรือลูกจ้าง
ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองเรือโอเชียน เฟลเวอร์ และเหตุเรือโดนกันเกิดจากความผิดของเรือโอเชียน เฟลเวอร์ เพียงฝ่ายเดียว จำเลยย่อมต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อโจทก์ทั้งสองซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้เอาประกันภัยทั้งสี่แล้วตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางแพ่งและค่าเสียหายจากเรือโดนกัน พ.ศ. 2548 มาตรา 12 ทั้งตามบทบัญญัติดังกล่าว และพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยาม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) มาตรา 11 ต่างบัญญัติว่า ไม่ว่าเหตุเรือโดนกันดังกล่าวจะเกิดจากความผิดของนายเรือของเรือโอเชียน เฟลเวอร์ หรือเกิดจากความผิดของผู้นำร่องตามที่จำเลยกล่าวอ้าง จำเลยในฐานะเจ้าของและผู้ครอบครองเรือโอเชียนเฟลเวอร์ ก็ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นได้คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ทั้งสองได้ชำระให้แก่ผู้เอาประกันภัยทั้งสี่ไป จำเลยยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) แสดงเหตุว่า จำเลยอาจฟ้องจำเลยร่วมเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้จำเลยแพ้คดี ดังนี้ เมื่อจำเลยต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อโจทก์ทั้งสองตามที่วินิจฉัยไว้ข้างต้นแล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนได้ ส่วนจำเลยร่วมจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยหรือไม่ ก็มีผลเพียงให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกให้จำเลยกับจำเลยร่วมร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเรียกร้องให้จำเลยหรือจำเลยร่วมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชดใช้เต็มจำนวนได้เท่านั้น ไม่มีผลให้ความรับผิดที่จำเลยมีต่อโจทก์ทั้งสองต้องเปลี่ยนแปลงไปแม้ในการนำร่องผู้นำร่องอาจให้คำบอก คำแนะนำ หรือคำสั่งการในบังคับเรือได้ แต่ในการทำหน้าที่ดังกล่าวของผู้นำร่องเป็นการดำเนินการโดยอยู่ในความรับรู้และเห็นชอบของนายเรือ โดยนายเรือมีอำนาจที่จะระงับคำสั่งการของผู้นำร่องหรือไม่ปฏิบัติตามคำบอกหรือคำแนะนำของผู้นำร่องได้หากเห็นว่าไม่ปลอดภัยหรือจะทำให้เกิดอันตรายหรือเกิดความเสียหาย จึงถือได้ว่านายเรือยังคงมีอำนาจในการควบคุมเรืออยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ที่ผู้นำร่องเป็นผู้กล่าวออกคำสั่งการต่าง ๆ โดยผู้นำร่องจะสั่งคำสั่งไปยังลูกเรือซึ่งรับผิดชอบในแต่ละหน้าที่ กล่าวคือ สั่งคำสั่งเกี่ยวกับเครื่องยนต์ไปยังผู้ช่วยต้นเรือ และคำสั่งเกี่ยวกับหางเสือไปที่ผู้บังคับหางเสือ ลูกเรือผู้รับผิดชอบจะทวนคำสั่ง ปฏิบัติ และทวนคำสั่งอีกครั้งหลังปฏิบัติแล้ว แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้นำร่องถือว่าเป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำแก่ลูกเรือว่าจะให้ปฏิบัติตามอย่างไรเท่านั้น ผู้นำร่องจะไม่สั่งการไปที่กัปตันเรือ แต่จะสั่งการไปที่ลูกเรือที่ปฏิบัติหน้าที่แต่ละจุดโดยตรง ซึ่งสอดคล้องกับกฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่องฯ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 56 (พ.ศ. 2534) ข้อ 37 ที่กำหนดให้ผู้นำร่องต้องแนะนำนายเรือให้ปฏิบัติตามกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และวรรคสองกำหนดคำว่า "ทำการนำร่อง" หมายความว่า เข้าทำการช่วยเหลือหรือทำหน้าที่แทนนายเรือโดยนายเรือรับรู้และเห็นชอบด้วยกับคำบอก คำแนะนำ หรือคำสั่งการของผู้นำร่อง และข้อ 47 ที่นายเรือยังคงมีอำนาจที่จะระงับคำสั่งการ หรือไม่ปฏิบัติตามคำบอกหรือคำแนะนำของผู้นำร่องได้ ดังนั้น ลำพังเพียงการที่ผู้นำร่องออกคำสั่งการต่าง ๆ ไปยังลูกเรือโดยตรง จึงไม่อาจถือเป็นการบังคับควบคุมเรือได้ เนื่องจากคำสั่งการต่าง ๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4632/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริตของผู้รับโอน & การหักกลบลบหนี้ระหว่างผู้ซื้อกับผู้รับเหมา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยทั้งสองให้การว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินและบ้านพิพาท แต่รับโอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทมาจากจำเลยร่วมโดยไม่สุจริต เนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทกับจำเลยร่วมอยู่ในฐานะจดทะเบียนโอนได้ก่อน การทำนิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมเป็นการฉ้อฉลทำให้จำเลยทั้งสองเสียเปรียบเสียหาย ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองเป็นการต่อสู้ว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์ จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองที่ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและให้จำเลยร่วมโอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองนั้น จำเลยทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) โดยอ้างว่าได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทกับจำเลยร่วมอยู่ก่อน แต่โจทก์กับจำเลยร่วมร่วมกันฉ้อฉลทำให้จำเลยทั้งสองเสียหาย จึงมีเหตุสมควรที่จะเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) และถือว่าจำเลยร่วมเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 58 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้ร้องสอดที่เข้ามาตามมาตราดังกล่าวมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ จำเลยร่วมจึงเป็นคู่ความในคดีที่จำเลยทั้งสองสามารถฟ้องแย้งและถูกบังคับคดีได้ หาใช่จำเลยร่วมเป็นคู่ความฝ่ายเดียวกับจำเลยทั้งสองและไม่อาจถูกฟ้องแย้งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8818/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล, สัญญาเช่าซื้อที่ไม่เป็นธรรม, และดุลพินิจการเรียกบุคคลภายนอกเข้าสู่คดี
แม้โจทก์จะลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อที่สำนักงานโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครก่อนแล้วจึงส่งสัญญาเช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในฐานะผู้เช่าซื้อที่จังหวัดสงขลา ก็ย่อมถือได้ว่าสำนักงานโจทก์เป็นสถานที่ที่ทำสัญญาเช่าซื้ออันเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดอีกแห่งหนึ่งด้วย เมื่อสำนักงานโจทก์ตั้งอยู่เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) และมาตรา 5
ปัญหาว่าข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อที่มีใจความเพื่อยกเว้นความรับผิดตามกฎหมายอันเป็นการให้ประโยชน์แก่โจทก์ฝ่ายเดียว ย่อมตกเป็นโมฆะตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ถือเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จำเลยที่ 1 ย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดว่าศาลจะต้องอนุญาตตามคำร้องขอของคู่ความในทุกกรณี ศาลย่อมมีดุลพินิจที่จะพิจารณาว่าสมควรให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี หรือไม่เรียกเข้ามาในคดีหากจะไม่เป็นการสะดวกแก่การพิจารณา ทั้งนี้หากศาลไม่อนุญาตคู่ความที่ยื่นคำร้องก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องบุคคลภายนอกดังกล่าวต่างหากจากคดีนี้ได้ เมื่อปรากฏว่าประเด็นพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมีเฉพาะในเรื่องเช่าซื้อและค้ำประกัน การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้หมายเรียกบริษัท ว. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อให้ใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาประกันภัย จึงเป็นดุลพินิจในการสั่งคดีของศาลชั้นต้น คำสั่งดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในความรับผิดของจำเลยร่วม เนื่องจากไม่ได้เป็นคู่ความต่างฝ่ายกัน และเรียกจำเลยร่วมมาเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ย
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยต่อไปในภายหลังหากศาลพิจารณาให้ตนเป็นฝ่ายแพ้คดี การเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีก็เพื่อให้ผูกพันในผลแห่งคดี จำเลยทั้งสองมิได้อยู่ในฐานะเป็นคู่ความคนละฝ่ายกับจำเลยร่วม จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยร่วม โดยที่โจทก์มิได้ฎีกา แม้จำเลยร่วมจะยื่นคำแก้ฎีกา ก็ไม่มีประเด็นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมายเรียกตัวการเข้ามาในคดีแทนตัวแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3)(ก)
จำเลยอ้างว่ามูลหนี้ตามฟ้องเป็นการที่จำเลยได้กระทำไปในฐานะตัวแทนของบริษัท ช. และ บริษัท ป. จำเลยไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวต่อโจทก์ คำร้องของจำเลยที่ขอให้เรียกบริษัททั้งสองเข้ามาเป็นจำเลยร่วมย่อมเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) เนื่องจากเป็นการขอให้ศาลหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีโดยอ้างว่าถ้าหากศาลพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีตามฟ้อง จำเลยในฐานะตัวแทนย่อมฟ้องบุคคลภายนอกซึ่งเป็นตัวการเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมายเรียกจำเลยร่วมในฐานะตัวการ เมื่อจำเลยอ้างว่าเป็นตัวแทนและมีสิทธิไล่เบี้ย
ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกบริษัท ช. และบริษัท ป. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม โดยอ้างว่ามูลหนี้ตามฟ้องที่เกิดจากการติดตั้งเต้าปูน และใส่ระบบลากจูงเป็นรถพ่วงเต้าปูนที่จำเลยทำกับโจทก์นั้น จำเลยได้กระทำไปในฐานะตัวแทนของบริษัท ช. และบริษัท ป. ผู้เช่าซื้อ จำเลยไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวต่อโจทก์ ดังนี้ คำร้องของจำเลยดังกล่าวย่อมเข้าเกณฑ์ตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) เนื่องจากเป็นอันเข้าใจว่า เป็นการขอให้ศาลหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีโดยอ้างว่า ถ้าหากศาลพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีตามฟ้อง จำเลยในฐานะตัวแทนย่อมฟ้องบริษัท ช. และบริษัท ป. ซึ่งเป็นตัวการเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7556/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อและประกันภัย กรณีรถยนต์สูญหาย ศาลอนุญาตให้เรียกคู่สัญญาประกันภัยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้
รถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อและรถยนต์ที่เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยเป็นรถยนต์คันเดียวกันและสิทธิเรียกร้องตามสัญญาทั้งสองเกิดจากการสูญหายของรถยนต์คันเดียวกัน เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งจำเลยที่ 1 เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยร่วมสูญหาย จำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดี เพื่อให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประกันภัยร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3)(ก) โดยโจทก์ไม่จำต้องฟ้องจำเลยร่วมเป็นจำเลยในคดีนี้ และไม่จำต้องเป็นคู่สัญญาหรือมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยร่วมแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7556/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกบริษัทประกันภัยเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อรับผิดตามสัญญาประกันภัยร่วมกับผู้เช่าซื้อ
รถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อและรถยนต์ที่เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยเป็นรถยนต์คันเดียวกัน และสิทธิเรียกร้องตามสัญญาทั้งสองเกิดจากการสูญหายของรถยนต์คันเดียวกัน เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งจำเลยที่ 1 เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยร่วมสูญหาย จำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดี เพื่อให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประกันภัยร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) โดยโจทก์ไม่จำต้องฟ้องจำเลยร่วมเป็นจำเลยในคดีนี้และไม่จำต้องเป็นคู่สัญญาหรือมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยร่วมแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อมีการครอบครองโดยเจ้าของ
จำเลยร่วมที่ 2 ได้ทำหนังสือร้องเรียนต่อนายอำเภอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ เจ้าพนักงานที่ดินได้เรียกโจทก์ไปสอบปากคำไว้โดยโจทก์ให้ถ้อยคำว่า โจทก์ขอรับรองว่าได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ดินของจำเลยร่วมที่ 2 จริง เพราะโจทก์เข้าใจว่าที่ดินที่โจทก์ทำประโยชน์อยู่นั้นโจทก์มีสิทธิอยู่ด้วย เพราะตามบันทึกของนายอำเภอระบุว่าบุตรโจทก์มีส่วนแบ่งในที่ดินรายนี้ด้วย แต่บุตรยังเยาว์อยู่ โจทก์จึงได้ปกครองแทนและขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าว โจทก์ขอยอมรับผิดว่าได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ดินของจำเลยร่วมที่ 2 และนำไปจำนองไว้แก่ธนาคาร หากจะมีการเพิกถอนโจทก์ก็ยินยอม แต่ต้องช่วยไถ่ถอนใช้หนี้ธนาคารด้วย ส่วนที่ดินรายนี้โจทก์ขอมีสิทธิครึ่งหนึ่งเพราะเมื่อครั้งประนีประนอมยอมความโจทก์มีส่วนเพียง 1 ส่วน เท่านั้น ตามข้อความดังกล่าวโจทก์รับว่าที่พิพาทบางส่วนเป็นของจำเลยที่ 2 และยอมให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)แต่โจทก์ยังสงวนสิทธิที่จะให้จำเลยร่วมที่ 2 ช่วยชำระหนี้แก่ธนาคาร ไม่ได้ยอมรับว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยร่วมที่ 2 ทั้งหมดโดยไม่ได้โต้แย้ง เมื่อปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์แต่อย่างใด และโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาททั้งแปลงตลอดมาจนพิพาทกันเป็นคดีนี้ การครอบครองที่พิพาทของโจทก์จึงเป็นการครอบครองอย่างเจ้าของ และเป็นการแย่งการครอบครองที่พิพาทจากจำเลยร่วมที่ 2 การที่จำเลยร่วมที่ 2 ทราบดีว่า โจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ของจำเลยร่วมที่ 2 และจำเลยร่วมที่ 2ไปร้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ แต่จำเลยร่วมที่ 2ก็มิได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้คืนมาซึ่งการครอบครอง เมื่อเกิน 1 ปีจำเลยร่วมที่ 2 จึงสิ้นสิทธิที่จะเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง จำเลยร่วมที่ 2 จึงไม่มีสิทธินำไปขายให้แก่จำเลยร่วมที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 1 ไม่มีสิทธินำไปขายให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งให้โจทก์ออกไปจากที่พิพาท
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) (ก) เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยต่อไปในภายหลัง ถ้าหากศาลพิจารณาให้ตนเป็นฝ่ายแพ้คดี การเรียกจำเลยร่วมเข้ามาก็เพื่อผูกพันในผลแห่งคดีเท่านั้น สำหรับในคดีนี้ไม่มีประเด็นโต้แย้งระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมทั้งสอง จึงไม่อาจขอให้บังคับให้จำเลยร่วมทั้งสองชำระเงินค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ยคืนให้แก่จำเลยได้
เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และโจทก์ได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) สำหรับที่พิพาทแล้วหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ของจำเลย ย่อมไม่มีผลตามกฎหมายต่อไป จึงเป็นการสมควรที่จะสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ของจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2240/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกบริษัทเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีเช่า กรณีมีสิทธิไล่เบี้ยตามสัญญาเช่า
คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลหมายเรียกบริษัท บ.เข้ามาเป็นจำเลยร่วมนั้นอ้างเหตุว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าโรงแรมพิพาทจากบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผู้จะซื้อโรงแรมพิพาทจากโจทก์ โดยโจทก์มอบอำนาจให้บริษัท บ.เป็นตัวแทนในการที่จะให้บุคคลภายนอกเช่าโรงแรมพิพาทได้ จำเลยได้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าและค่าเช่าประจำเดือนให้แก่บริษัทดังกล่าวไปแล้ว หากจำเลยแพ้คดีโจทก์ จำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยจากบริษัท บ.ในฐานะที่เป็นผู้ผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลยได้ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าต่อไปโดยอาศัยสัญญาเช่าฉบับใหม่ที่ทำขึ้นระหว่างบริษัท บ.กับจำเลย มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ กรณีมีเหตุสมควรที่จะเรียกบริษัท บ.เข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ก)
จำเลยฎีกาขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามตาราง 1(2) (ข) แห่ง ป.วิ.พ. จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่จำเลย
of 2