คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57 (3) (ก)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2240/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีสัญญาเช่าและการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาฉบับใหม่
คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลหมายเรียกบริษัทบ.เข้ามาเป็นจำเลยร่วมนั้นอ้างเหตุว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าโรงแรมพิพาทจากบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผู้จะซื้อโรงแรมพิพาทจากโจทก์โดยโจทก์มอบอำนาจให้บริษัทบ.เป็นตัวแทนในการที่จะให้บุคคลภายนอกเช่าโรงแรมพิพาทได้จำเลยได้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าและค่าเช่าประจำเดือนให้แก่บริษัทดังกล่าวไปแล้วหากจำเลยแพ้คดีโจทก์จำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยจากบริษัทบ.ในฐานะที่เป็นผู้ผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลยได้ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าต่อไปโดยอาศัยสัญญาเช่าฉบับใหม่ที่ทำขึ้นระหว่างบริษัทบ.กับจำเลยมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์กรณีมีเหตุสมควรที่จะเรียกบริษัทบ. เข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(3)(ก) จำเลยฎีกาขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง200บาทตามตาราง1(2)ผขแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยร่วมที่เข้ามาตามมาตรา 57: การต่อสู้คดีเรื่องอำนาจฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้หมายเรียกบริษัท อ.เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ก) เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาต บริษัท อ.จึงเข้ามาในคดีโดยเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ซึ่งตามมาตรา58 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ร้องสอดที่เข้ามาตามมาตราดังกล่าวมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ บริษัท อ.จำเลยร่วมจึงให้การต่อสู้คดีได้ทั้งโจทก์และจำเลยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 177 วรรคท้าย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้น จำเลยร่วมจึงมีสิทธิที่จะให้การต่อสู้ในเรื่องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของจำเลยร่วมที่ถูกเรียกเข้ามาในคดีตามมาตรา 57(3)(ก) และสิทธิในการต่อสู้คดี
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้หมายเรียกบริษัท อ.เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(3)(ก)เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตบริษัท อ.จึงเข้ามาในคดีโดยเป็นคู่ความฝ่ายที่สามซึ่งตามมาตรา58วรรคหนึ่งบัญญัติให้ผู้ร้องสอดที่เข้ามาตามมาตราดังกล่าวมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่บริษัท อ.จำเลยร่วมจึงให้การต่อสู้คดีได้ทั้งโจทก์และจำเลยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา177วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังนั้นจำเลยร่วมจึงมีสิทธิที่จะให้การต่อสู้ในเรื่องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเจ้าหนี้กองมรดก: การฟ้องทายาทคนแรกภายในกำหนดสะดุดอายุความ แม้เรียกทายาทอื่นร่วมภายหลัง
เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทคนใดก็ได้เมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้ฟ้องภริยาของเจ้ามรดกซึ่งนับได้ว่าเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งเป็นคดีขอให้ชำระหนี้ภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ย่อมถือได้ว่าเจ้าหนี้กองมรดกใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกภายในอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้ว การฟ้องคดีเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ แม้ต่อมาเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะขอให้เรียกทายาทคนอื่น ๆ เข้ามาเป็นจำเลยร่วมอีกด้วย เมื่อพ้น1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย ก็ไม่เป็นเหตุให้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีเจ้าหนี้กองมรดก: การฟ้องทายาทคนแรกภายในกำหนดอายุความย่อมสะดุดหยุดอายุความ แม้จะขอเพิ่มทายาทอื่น
เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทคนใดก็ได้เมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้ฟ้องภริยาของเจ้ามรดกซึ่งนับได้ว่าเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง เป็นคดีขอให้ชำระหนี้ภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ย่อมถือได้ว่าเจ้าหนี้กองมรดกใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกภายในอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้ว การฟ้องคดีเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ แม้ต่อมาเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะขอให้เรียกทายาทคนอื่น ๆ เข้ามาเป็นจำเลยร่วมอีกด้วย เมื่อพ้น1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย ก็ไม่เป็นเหตุให้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม
of 2