คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา บูรณะไทย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 307 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อห้ามโอนที่ดินและสิทธิครอบครอง: สัญญาฝ่าฝืนเป็นโมฆะ แม้พ้นกำหนดห้ามโอนก็ยังต้องพิสูจน์การสละสิทธิ
ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมีข้อกำหนดห้ามโอนสิบปีนับแต่วันที่ 25สิงหาคม 2520 สัญญาขายฝากทำกันเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2523 จึงอยู่ในระยะเวลาห้ามโอน เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา113 เดิม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่จำเลยทำสัญญาและมอบให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โจทก์ก็หาได้สิทธิครอบครองตามกฎหมายไม่ เพราะอยู่ในกำหนดห้ามโอน หลังจากนั้นต่อมาเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้ว แม้โจทก์จะได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแต่ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้สละสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์แต่อย่างใด กลับได้ความว่าโจทก์ได้ให้เงินจำเลยทั้งสองไปชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ทุกปี และมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ถือไม่ได้ว่าภายหลังพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วจำเลยทั้งสองสละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องโจทก์เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นเจตนายึดถือเพื่อตนยังไม่ครบ 1 ปี ขึ้นวินิจฉัยเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นนั้น กรณีของโจทก์นี้จะได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทต่อเมื่อได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาจากจำเลยทั้งสองโดยการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ แต่เมื่อโจทก์ฎีกาว่าไม่มีประเด็นนี้เสียแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น แม้การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงทำให้โจทก์ชนะคดีแต่ประการใด ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมสัดส่วนเท่ากัน-การโอนสิทธิโดยไม่สุจริต-ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเหนือผู้โอน
การจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่ 1 จำเลยที่ 1 และ จ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน มิได้บรรยายส่วนสัดไว้แต่ต้นว่าแต่ละคนมีส่วนถือกรรมสิทธิ์แตกต่างกันเป็นเช่นนี้มาตลอดนับแต่ซื้อมาจนกระทั่งมีการจดทะเบียนโอนขายให้จำเลยที่ 2นับรวมได้เป็นเวลา 20 ปีเศษ แสดงว่าเจ้าของรวมแต่ละคนไม่ติดใจในส่วนสัดของที่ดินพิพาทที่ปรากฏทางทะเบียนโฉนดที่ดินแต่อย่างใด จึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 1357 แห่ง ป.พ.พ.ที่บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน
จำเลยที่ 1 รู้ว่าโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดายังมีชีวิตและมีที่อยู่แน่นอนมาแต่ต้น ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ไปร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าโจทก์ที่ 1เป็นคนสาบสูญและตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก ตลอดจนไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการที่ทำไปโดยไม่สุจริต แม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อไว้โดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตก็ตามก็หาทำให้จำเลยที่ 2 ได้ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่ 1 ไม่ เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินโดยไม่สุจริตของผู้จัดการมรดก และสิทธิในที่ดินร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่1จำเลยที่1และจ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันมิได้บรรยายส่วนสัดไว้แต่ต้นว่าแต่ละคนมีส่วนถือกรรมสิทธิ์แตกต่างกันมาเช่นนี้มาตลอดนับแต่ซื้อมาจนกระทั่งมีการจดทะเบียนโอนขายให้จำเลยที่2นับรวมได้เป็นเวลา20ปีเศษแสดงว่าเจ้าของรวมแต่ละคนไม่ติดใจในส่วนสัดของที่ดินพิพาทที่ปรากฎทางทะเบียนโฉนดที่ดินแต่อย่างใดจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา1357แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน จำเลยที่1รู้ว่าโจทก์ที่1ซึ่งเป็นมารดายังมีชีวิตและมีที่อยู่แน่นอนมาแต่ต้นดังนั้นการที่จำเลยที่1ไปร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าโจทก์ที่1เป็นคนสาบสูญและตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตลอดจนไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่1ให้แก่จำเลยที่2จึงเป็นการที่ทำไปโดยไม่สุจริตแม้จำเลยที่2จะรับซื้อไว้โดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตก็ตามก็หาทำให้จำเลยที่2ได้ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่1ไม่เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนจำเลยที่2ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยเคยต้องโทษคดีลักษณะเดียวกัน ขัดต่อการรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนในความผิดลักษณะเดียวกันซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา56ที่ศาลจะใช้ดุลพินิจให้รอการลงโทษแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการโอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอม แม้ที่ดินจะไม่อยู่ในเขตโฉนด ศาลฎีกาชี้ว่าต้องปฏิบัติตามเจตนาเดิม
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จำเลยตกลงโอนที่ดินโฉนดเลขที่5322ตามแผนที่ท้ายสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งกำหนดความกว้างความยาวและเขตติดต่อกับถนนสาธารณะกับเขตทางหลวงไว้ชัดเจนดังนี้แม้ที่ดินตามแผนที่ท้ายสัญญาจะเป็นที่ดินอยู่นอกเขตโฉนดเลขที่5322ก็ตามแต่โจทก์จำเลยก็มีเจตนาประสงค์ที่จะโอนที่ดินตามแผนที่ดังกล่าวติดต่อกันเป็นสำคัญเหตุที่ระบุว่าเป็นที่ดินของโฉนดดังกล่าวนั้นก็เพราะเป็นผลมาจากที่กำหนดกันไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายนั่นเองแสดงว่าในขณะที่โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายกันก็ดีและขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันก็ดีต่างเข้าใจว่าเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตโฉนดเลขที่5322ดังนี้เมื่อปรากฏว่าความจริงเป็นที่ดินอยู่นอกเขตโฉนดดังกล่าวซึ่งจำเลยครอบครองอยู่และโจทก์จำเลยตกลงยินยอมโอนให้แก่กันจำเลยจึงต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามแผนที่ท้ายสัญญาให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินระหว่างคู่สัญญาประนีประนอมกับบุคคลภายนอกที่อายัดไว้ก่อน
คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยยอมชำระเงินให้แก่โจทก์ หากไม่ชำระจำเลยยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์นั้น ไม่ใช่คำพิพากษาที่แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ที่ดินว่าเป็นของโจทก์ เมื่อ ว.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและได้ขออายัดที่ดินพิพาทไว้ก่อนที่โจทก์และจำเลยจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน สิทธิของโจทก์กับของ ว.ใครจะดีกว่ากันจึงยังไม่แน่นอน หากศาลมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ผลแห่งการบังคับคดีย่อมไปกระทบกระเทือนสิทธิของ ว.ซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วยอันเป็นการไม่ชอบ โจทก์จึงขอบังคับคดีให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีโอนที่ดินขัดแย้งกับสิทธิบุคคลภายนอก
คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยยอมชำระเงินให้แก่โจทก์หากไม่ชำระจำเลยยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์นั้นไม่ใช่คำพิพากษาที่แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ที่ดินว่าเป็นของโจทก์เมื่อว.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและได้ขออายัดที่ดินพิพาทไว้ก่อนที่โจทก์และจำเลยจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันสิทธิของโจทก์กับของว.ใครจะดีกว่ากันจึงยังไม่แน่นอนหากศาลมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ผลแห่งการบังคับคดีย่อมไปกระทบกระเทือนสิทธิของว.ซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วยอันเป็นการไม่ชอบโจทก์จึงขอบังคับคดีให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบเงินโดยสำคัญผิด ยักยอก และความรับผิดของพนักงานธนาคาร
คำเบิกความของพยานคนใดจะรับฟังได้หรือไม่ต้องแล้วแต่เหตุผลในคำพยานนั้นเองแม้เป็น พยานคู่กันก็ไม่จำต้องรู้เห็นเหตุการณ์หรือเบิกความได้ตรงกันหมดทุกคนจึงจะรับฟังได้พยานอาจเบิกความสนับสนุนบางตอนเท่าที่ตนรู้เห็นจริงเท่านั้นก็ได้ เอกสารที่พยานโจทก์เป็นผู้จัดทำตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและเป็นไปตามลำดับขั้นตอนตามหน้าที่ซึ่งพยานรับผิดชอบทั้งจำเลยก็มิได้โต้แย้งว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงกับความจริงจึงมีน้ำหนักและการเบิกความของพยานโจทก์เป็นการเบิกความประกอบเอกสารและเอกสารก็มีรายละเอียดชัดเจนอยู่แล้วเมื่อฟังประกอบกับพยานบุคคลจึงเชื่อได้ว่าข้อเท็จจริงเป็นดัง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา พนักงานของโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้แก่จำเลยที่นำเช็คมาเบิกเงินเกินจำนวนไปเนื่องจากมิได้ดูจำนวนเงินในเช็คให้รอบคอบถือว่าเป็นการส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปเมื่อจำเลยเบียดบังเอาเป็นของตนจึงเป็นความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายต่อเนื่องจากการวิวาท การป้องกันตัว และเจตนาในการกระทำความผิด ศาลลดโทษตามอายุและให้รอการลงโทษ
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้สมัครใจวิวาทกับผู้เสียหายนั้นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยสมัครใจวิวาทกับผู้เสียหายจำเลยมิได้อุทธรณ์ปัญหาข้อนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วแต่ในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15 หลังจากวิวาทชกต่อยกันแล้วผู้เสียหายได้วิ่งไล่ตามและเข้าไปชกต่อยจำเลยในร้านของป. อีกจำเลยจึงแทงเอาอันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในการวิวาทกันนั่นเองหาใช่การวิวาทได้ขาดตอนลงแล้วไม่จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายได้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยแทงผู้เสียหายขณะผู้เสียหายปล้ำชกต่อยจำเลยจำเลยย่อมไม่มีโอกาสเลือกแทงเนื่องจากเป็นระยะประชิดตัวอาวุธที่ใช้ก็เป็นเพียงเหล็กกลมปลายแบนด้านหนึ่งที่ใช้แทนไขควงไม่มีความแหลมคมเหมือนมีดปลายแหลมบาดแผลเป็นเพียงบาดแผลฉีดขาดขอบเรียบแพทย์ผู้ตรวจรักษาลงความเห็นว่าบาดแผลจะหายได้ภายในเวลาประมาณ10วันเท่านั้นแสดงว่าจำเลยแทงผู้เสียหายไม่รุนแรงมากนักเมื่อแทงแล้วก็ผลักผู้เสียหายล้มแล้ววิ่งหนีไปโดยไม่แทงซ้ำอีกพฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ชัดเจนว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา295เท่านั้นซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในข้อหานี้ตามที่พิจารณาได้ความมาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความชำรุดบกพร่อง: การซ่อมแซมต่อเนื่องทำให้อายุความสะดุดหยุดลง จนจำเลยปฏิเสธความรับผิดจึงเริ่มนับอายุความใหม่
โจทก์ผู้ซื้อพบ เสื้อเกียร์แตกครั้งแรกเมื่อวันที่27มีนาคม2532และจำเลยที่1ผู้ขายได้รับไปซ่อมเมื่อวันที่29มีนาคม2532แล้วนำมาส่งคืนถือว่าจำเลยที่1กระทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์แล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ได้รับไปซ่อมแต่เมื่อเสื้อเกียร์ก็ยังแตกอีกหลายครั้งโดยจำเลยที่1ไม่สามารถแก้ไขความ ชำรุดบกพร่องในจุดเดิมได้อายุความจึงยังคงสะดุดหยุดลงอยู่ต่อมาโจทก์แจ้งให้จำเลยที่1ส่งช่างไปแก้ไขแต่จำเลยที่1ปฏิเสธความรับผิดเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นได้สิ้นสุดลงต้อง เริ่มนับอายุความ 1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา474ใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว
of 31