คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา บูรณะไทย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 307 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งของกรรมการและผู้บริหารต่อการทุจริตของลูกจ้าง, อายุความฟ้องร้อง, และความประมาทเลินเล่อ
ข้ออ้างว่าฟ้องเคลือบคลุมตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นคนละเหตุกับที่อ้างต่อสู้มาในคำให้การอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225 ตามระเบียบระบุให้ปลัดสุขาภิบาลเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับกรรมการอื่นในการเก็บและรักษาเงินหากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินโดยการปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่อจากการปฏิบัติหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้คืนจำเลยที่3เป็นปลัดสุขาภิบาลโจทก์แต่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากโจทก์ให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์ในทางปฏิบัติของโจทก์เองจำเลยที่3จึงไม่มีหน้าที่เข้าไปควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์โดยตรงดังนั้นการปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่ออันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้กรณีไม่ต้องตามระเบียบที่จะให้จำเลยที่3ชดใช้เงินแก่โจทก์ ในการถอนเงินฝากมีระเบียบให้เป็นหน้าที่ของประธานสุขาภิบาลปลัดสุขาภิบาลและหัวหน้าหน่วยการคลังลงชื่อถอนร่วมกันการไปรับหรือส่งเงินที่ธนาคารหรือที่แห่งใดห้ามมิให้เจ้าหน้าที่สุขาภิบาลไปรับหรือส่งเงินลำพังผู้เดียวต้องมีกรรมการไปรับหรือส่งเงินร่วมกันรับผิดชอบเป็นคณะกรณีจำนวนเงินเกิน30,000บาทจะต้องมีกรรมการควบคุมร่วมกันอย่างน้อย3คนระเบียบดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการผิดพลาดเกี่ยวกับตัวเงินที่อาจขาดจำนวนหรือสูญหายและเพื่อไม่ให้ผู้เกี่ยวข้องทุจริตการที่จำเลยที่1เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโจทก์ปล่อยให้ร.สมุห์บัญชีของโจทก์ถอนเงินตามลำพังและเบียดบังเอาเงินไปจึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1ต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ จำเลยที่2และที่4เป็นปลัดสุขาภิบาลโจทก์และได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินของโจทก์โดยเฉพาะจำเลยที่4ยังเป็นหัวหน้าหน่วยการคลังของโจทก์อีกตำแหน่งหนึ่งด้วยมีเงินผลประโยชน์ของโจทก์ประเภทต่างๆไม่นำส่งเป็นรายได้ของโจทก์เงินของโจทก์ที่เบิกมาใช้จ่ายในรายการต่างๆไม่มีหลักฐานการรับจ่ายและเงินที่ขาดหายไปเพราะลงบัญชีผิดพลาดจำเลยที่2และที่4เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินของโจทก์โดยหน้าที่นอกจากเป็นกรรมการเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัยแล้วยังต้องร่วมกันตรวจสอบตัวเงินและหลักฐานแทนตัวเงินและรายงานคงเหลือประจำวันตามระเบียบแต่ไม่ปรากฏว่าในช่วงเวลาที่มีการทุจริตเบียดบังเงินของโจทก์ไปได้มีกาตรวจสอบรายงานคงเหลือประจำวันรวมทั้งบัญชีต่างๆจึงเป็นช่องทางให้ร.ทำการทุจริตขึ้นได้จำเลยที่2และที่4ในฐานะผู้บังคับบัญชาของร.และมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบเงินของโจทก์เป็นรายวันจะอ้างว่าร.ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไม่ได้จำเลยที่2และที่4ปล่อยปละละเลยและประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายต้องรับผิด คณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่งรายงานผลการสอบสวนว่ามีบุคคลใดบ้างที่ต้องรับผิดทางแพ่งซึ่งรวมถึงจำเลยที่1ที่2และที่4ด้วยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบและผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้เรียกร้องแก่ผู้ต้องรับผิดทางแพ่งใช้เงินแก่โจทก์ต้องถือว่าโจทก์โดยผู้ว่าราชการจังหวัดผู้มีอำนาจสั่งการรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันที่คณะกรรมการสอบสวนได้รายงานผลการตรวจสอบสวนไม่ใช่นับแต่วันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดรู้ว่าร.เป็นผู้ทำละเมิดเพราะจำเลยที่1ที่2และที่4เป็นผู้ต้องร่วมรับผิดในทางแพ่งที่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ต่างรายไปจากร.โจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น1ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9374/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็น & ค่าทดแทน: การใช้ทางผ่านที่ดินของผู้อื่นต้องจ่ายค่าทดแทนตามกฎหมาย
ก่อนที่โจทก์จะรับโอนที่ดินโฉนดพิพาทมาจากมารดา แม้โจทก์เคยใช้ถนนพิพาทมาก่อนก็เป็นการใช้โดยอาศัยอำนาจของเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมการใช้ถนนพิพาทดังกล่าวหาก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์แต่อย่างใดไม่ ดังนั้นที่คู่ความนำสืบโต้เถียงกันว่า ถนนพิพาทมีมาแต่เดิมหรือไม่ จึงหาใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใดไม่ แต่ภายหลังที่จำเลยรับโอนที่ดินโฉนดพิพาทจากมารดาซึ่งมีถนนพิพาทผ่านแล้วตามฟ้องและทางนำสืบโจทก์อ้างว่า โจทก์ใช้ถนนพิพาทโดยอาศัยข้อตกลงยินยอมของจำเลยให้ใช้ได้ตลอดไปโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนใด แม้จำเลยจะมิได้นำสืบปฏิเสธในข้อนี้ เพียงแต่ตั้งเงื่อนไขว่าต้องไม่เป็นการก่อความเดือดร้อนรำคาญให้แก่จำเลยและครอบครัวเท่านั้น อย่างไรก็ดีลำพังข้อตกลงยินยอมของจำเลยดังกล่าว เป็นเพียงให้สิทธิแก่โจทก์ใช้ถนนพิพาทได้โดยไม่เป็นการละเมิดเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิยกเอาความยินยอมนั้นผูกพันจำเลยตลอดไป จำเลยอาจยกเลิกไม่ให้ใช้ถนนพิพาทเสียเมื่อไรก็ได้ การที่ต่อมาจำเลยทำประตูเหล็กใส่กุญแจ ปิดประกาศกำหนดเวลาผ่านเข้าออกและทำโครงไม้คร่อมถนนพิพาทดังกล่าว ซึ่งเป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้โจทก์ใช้ถนนพิพาทให้พอควรแก่ความจำเป็นเช่นที่เคยผ่านมา อันมีผลเท่ากับจำเลยได้ยกเลิกข้อตกลงยินยอมให้ใช้ถนนพิพาทโดยปริยาย ข้อตกลงยินยอมของจำเลยที่ให้โจทก์ใช้ถนนพิพาทโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนใด ๆ จึงสิ้นสุดลง แต่โดยที่ถนนพิพาทโดยสภาพยังเป็นทางจำเป็นอยู่ เพราะที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ซึ่งตามฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาว่า ที่ดินที่โจทก์ปลูกบ้านอยู่อาศัยนั้นตกอยู่ในวงล้อม ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ คงมีถนนพิพาทเท่านั้นที่ผ่านที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ ซึ่งสะดวก มีระยะทางสั้นและเสียหายแก่ที่ดินของจำเลยน้อยที่สุด ดังนั้นโจทก์จึงอาจใช้ถนนพิพาทได้ดังเดิมโดยอาศัยสิทธิดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าววรรคท้ายบัญญัติว่าผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น โจทก์จึงต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลย
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม ผู้ที่ใช้ทางผ่านต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็น กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ถ้าจำเป็น ความจำเป็นของโจทก์คือให้มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยสะดวกการที่จำเลยทำถนนพิพาทเป็นถนนคอนกรีต ทำรั้วคอนกรีตด้านที่ติดกับที่ดินบ้านโจทก์โดยเว้นช่องประตูเป็นทางเข้าออกกับทำประตูรั้วเหล็กด้านที่ติดริมซอยเหรียญทองแล้วโจทก์ก็ยังคงใช้ถนนพิพาทได้โดยสะดวกตลอดมา จนกระทั่งต่อมาจำเลยใส่กุญแจประตูรั้วเหล็กและทำโครงไม้คร่อมถนนพิพาทเป็นสาเหตุให้เกิดพิพาทกันเป็นคดีนี้จึงฟังไม่ได้ว่า การที่จำเลยทำกำแพงรั้วมีช่องประตูกว้างเพียง 2.80 เมตร กับการทำประตูรั้วเหล็กริมซอยเหรียญทองดังกล่าว ทำให้โจทก์ใช้ถนนพิพาทไม่ได้พอแก่ความจำเป็น กับทั้งได้คำนึงถึงในข้อที่ควรให้จำเลยได้รับความเสียหายน้อยที่สุดแล้ว จึงไม่สมควรบังคับให้จำเลยรื้อประตูรั้วเหล็กและขยายช่องกำแพงรั้วดังกล่าว เพียงแต่จำเลยต้องไม่กระทำการใดอันเป็นการขัดขวางโจทก์และบริวารในการใช้ถนนพิพาทให้พอแก่ความจำเป็นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9374/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางผ่านในที่ดินแปลงอื่น ต้องจ่ายค่าทดแทนตามกฎหมาย และศาลใช้ดุลยพินิจในการรื้อสิ่งกีดขวาง
ก่อนที่โจทก์จะรับโอนที่ดินโฉนดพิพาทมาจากมารดาแม้โจทก์เคยใช้ถนนพิพาทมาก่อนก็เป็นการใช้โดยอาศัยอำนาจของเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมการใช้ถนนพิพาทดังกล่าวหาก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์แต่อย่างใดไม่ดังนั้นที่คู่ความนำสืบโต้เถียงกันว่าถนนพิพาทมีมาแต่เดิมหรือไม่จึงหาใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใดไม่แต่ภายหลังที่จำเลยรับโอนที่ดินโฉนดพิพาทจากมารดาซึ่งมีถนนพิพาทผ่านแล้วตามฟ้องและทางนำสืบโจทก์อ้างว่าโจทก์ใช้ถนนพิพาทโดยอาศัยข้อตกลงยินยอมของจำเลยให้ใช้ได้ตลอดไปโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนใดแม้จำเลยจะมิได้นำสืบปฏิเสธในข้อนี้เพียงแต่ตั้งเงื่อนไขว่าต้องไม่เป็นการก่อความเดือดร้อนรำคาญให้แก่จำเลยและครอบครัวเท่านั้นอย่างไรก็ดีลำพังข้อตกลงยินยอมของจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิแก่โจทก์ใช้ถนนพิพาทได้โดยไม่เป็นการละเมิดเท่านั้นโจทก์ไม่มีสิทธิยกเอาความยินยอมนั้นผูกพันจำเลยตลอดไปจำเลยอาจยกเลิกไม่ให้ใช้ถนนพิพาทเสียเมื่อไรก็ได้การที่ต่อมาจำเลยทำประตูเหล็กใส่กุญแจปิดประกาศกำหนดเวลาผ่านเข้าออกและทำโครงไม้คร่อมถนนพิพาทดังกล่าวซึ่งเป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้โจทก์ใช้ถนนพิพาทให้พอสมควรแก่ความจำเป็นเช่นที่เคยผ่านมาอันมีผลเท่ากับจำเลยได้ยกเลิกข้อตกลงยินยอมให้ใช้ถนนพิพาทโดยปริยายข้อตกลงยินยอมของจำเลยที่ให้โจทก์ใช้ถนนพิพาทโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนใดๆจึงสิ้นสุดลงแต่โดยที่ถนนพิพาทโดยสภาพยังเป็นทางจำเป็นอยู่เพราะที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ซึ่งตามฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาว่าที่ดินที่โจทก์ปลูกบ้านอยู่อาศัยนั้นตกอยู่ในวงล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะคงมีถนนพิพาทเท่านั้นที่ผ่านที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ซึ่งสะดวกมีระยะทางสั้นและเสียหายแก่ที่ดินของจำเลยน้อยที่สุดดังนั้นโจทก์จึงอาจใช้ถนนพิพาทได้ดังเดิมโดยอาศัยสิทธิดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1349ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าววรรคท้ายบัญญัติว่าผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้นโจทก์จึงต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1349วรรคสามผู้ที่ใช้ทางผ่านต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นกับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ถ้าจำเป็นความจำเป็นของโจทก์คือให้มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยสะดวกการที่จำเลยทำถนนพิพาทเป็นถนนคอนกรีตทำรั้วคอนกรีตด้านที่ติดกับที่ดินบ้านโจทก์โดยเว้นช่องประตูเป็นทางเข้าออกกับทำประตูรั้วเหล็กด้านที่ติดริมซอยเหรียญทองแล้วโจทก์ก็ยังคงใช้ถนนพิพาทได้โดยสะดวกตลอดมาจนกระทั่งต่อมาจำเลยใส่กุญแจประตูรั้วเหล็กและทำโครงไม้คร่อมถนนพิพาทเป็นสาเหตุให้เกิดพิพาทกันเป็นคดีนี้จึงฟังไม่ได้ว่าการที่จำเลยทำกำแพงรั้วมีช่องประตูกว้างเพียง2.80เมตรกับการทำประตูรั้วเหล็กริมซอยเหรียญทองดังกล่าวทำให้โจทก์ใช้ถนนพิพาทไม่ได้พอแก่ความจำเป็นกับทั้งได้คำนึงถึงในข้อที่ควรให้จำเลยได้รับความเสียหายน้อยที่สุดแล้วจึงไม่สมควรบังคับให้จำเลยรื้อประตูรั้วเหล็กและขยายช่องกำแพงรั้วดังกล่าวเพียงแต่จำเลยต้องไม่กระทำการใดอันเป็นการขัดขวางโจทก์และบริวารในการใช้ถนนพิพาทให้พอแก่ความจำเป็นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9337/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิจารณาของศาลในชั้นร้องขัดทรัพย์: เจ้าของทรัพย์สิน vs. ข้อพิพาทเรื่องหนี้สิน
ในชั้นร้องขัดทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 กฎหมายประสงค์ให้ศาลที่ออกหมายบังคับคดีชี้ขาดเพียงว่า ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้หรือไม่เท่านั้น จะไปวินิจฉัยว่าฮ. เจ้ามรดกไม่ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ไม่ได้ ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาดังกล่าว จึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นชั้นร้องขัดทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9337/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยในชั้นร้องขัดทรัพย์: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะเจ้าของทรัพย์สิน ไม่ใช่ข้อพิพาทเรื่องหนี้สิน
ในชั้นร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288กฎหมายประสงค์ให้ศาลที่ออกหมายบังคับคดีชี้ขาดเพียงว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้หรือไม่เท่านั้น จะไปวินิจฉัยว่า ฮ.เจ้ามรดกไม่ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ไม่ได้ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาดังกล่าว จึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นชั้นร้องขัดทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8737/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปริมาณวัตถุออกฤทธิ์ที่กฎหมายกำหนดและผลต่อความผิดฐานครอบครอง
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวง-สาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1หรือประเภท 2 ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 (พ.ศ.2536) เรื่อง กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518ลงวันที่ 19 มกราคม 2536 และกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 เมื่อคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้ว สำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน 0.500 กรัม เมื่อตามคำฟ้องและตามทางพิจารณาที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า วัตถุของกลางรวมน้ำหนัก 0.740 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดหรือไม่ การที่วัตถุของกลางมีจำนวนเพียง 11 เม็ด รวมน้ำหนัก 0.740 กรัม ไม่อาจฟังว่ามีสารบริสุทธิ์เกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนด จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ เพราะประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) เป็นคุณแก่จำเลย ทั้งนี้ตาม ป.อ.มาตรา 3 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้แม้จำเลยให้การรับสารภาพว่ามีเมทแอมเฟตามีนของกลางซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวน 11 เม็ด ไว้ในครอบครองจริง จำเลยก็คงมีความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106วรรคหนึ่ง เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8737/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปริมาณเมทแอมเฟตามีนที่ครอบครองและการเปลี่ยนแปลงประกาศกระทรวงสาธารณสุขมีผลต่อความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92(พ.ศ. 2538) เรื่อง กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85(พ.ศ. 2536) เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ลงวันที่ 19 มกราคม 2536 และกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ในประเภท 1หรือประเภท 2 เมื่อคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้ว สำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน 0.500 กรัม เมื่อตามคำฟ้องและตามทางพิจารณาที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าวัตถุของกลางรวมน้ำหนัก 0.740 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดหรือไม่ การที่วัตถุของกลางมีจำนวนเพียง 11 เม็ด รวมน้ำหนัก 0.740 กรัมไม่อาจฟังว่ามีสารบริสุทธิ์เกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดจำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 106 ทวิ เพราะประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92(พ.ศ. 2538) เป็นคุณแก่จำเลยทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้แม้จำเลยให้การรับสารภาพว่ามีเมทแอมเฟตามีนของกลางซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2จำนวน 11 เม็ด ไว้ในครอบครองจริง จำเลยก็คงมีความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง,106 วรรคหนึ่ง เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8493/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาหลายกระทง ต้องผัดฟ้องทุกกระทง หากไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ สิทธิฟ้องจะขาดเสีย
กรณีที่ผู้ต้องหาถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในคราวเดียวกันโดยกล่าวหาว่าได้กระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 วรรคแรกพนักงานสอบสวนจะต้องส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้อง ภายในกำหนดเจ็ดสิบสองชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ โดยไม่มีข้อยกเว้นว่าจะเป็นกระทงความผิดใด แต่หากมีความจำเป็นไม่สามารถฟ้องผู้ต้องหาได้ทันภายในกำหนดเวลาดังกล่าวพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลขอผัดฟ้องตามมาตรา 7 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งย่อมหมายความว่าจะต้องขอผัดฟ้องในทุกกระทงความผิดด้วยโดยไม่มีข้อยกเว้นให้เลือกผัดฟ้องเฉพาะความผิดกระทงใดกระทงหนึ่งได้แม้จะเกี่ยวพันกัน กระทงความผิดใดที่ไม่ได้ขอผัดฟ้องไว้จึงต้องถือว่าพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 7 วรรคแรกซึ่งจะต้องรับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีความผิดนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8461/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายแร่ดีบุก: การหักเงินภาษีอากรในการคำนวณราคาซื้อขาย การคิดดอกเบี้ย และอายุความ
ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในการรับซื้อแร่ดีบุก ข้อ 6ได้กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคาซื้อแร่ดีบุกสุทธิไว้ว่า(ก)ให้หักค่าถลุงจากราคาซื้อแร่ดีบุกเบื้องต้น(ข) หักค่ามลทินสกปรก(ค) หักออกเป็นเงินบาทมีจำนวนค่าเท่ากับภาษีทั้งมวล (ไม่รวมภาษีเงินได้และภาษีบำรุงท้องที่)และอากรทั้งมวลที่บริษัทผู้ถลุงหรือผู้ซื้อต้องเสียให้แก่รัฐบาลไทย หรือหน่วยราชการใด ๆ โดยเหตุเนื่องในการซื้อแร่ดีบุกในการถลุงโลหะดีบุกจากแร่ดีบุกและในการขายและส่งออกนอกประเทศไทย ซึ่งโลหะดีบุกที่ผลิตได้จากแร่ดีบุกและ (ง) ราคาซื้อเบื้องต้นสำหรับแร่ดีบุกเมื่อหักรายการต่าง ๆที่คิดหักตามข้อ 6(ก)(ข)และ(ค) แล้ว ก็เป็นราคาซื้อสิทธิดังนี้ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่จะนำเงินภาษีอากรมาหักเพื่อคำนวณราคาซื้อสุทธิตามข้อ 6(ค) นั้นคือเงินที่ผู้ซื้อต้องเสียให้แก่รัฐบาลไทยหรือหน่วยราชการเนื่องในการซื้อแร่ดีบุกซึ่งมิได้กำหนดไว้ตายตัวแน่นอน แต่เป็นที่เข้าใจได้ว่าคือจำนวนที่รัฐบาลไทยหรือหน่วยราชการเรียกเก็บอยู่ในขณะที่มีการซื้อขายกัน มิฉะนั้นเงินภาษีที่จะนำมาหักได้จึงต้องเป็นเงินที่ผู้ซื้อจำเป็นต้องเสียตามจำนวนที่แท้จริงเมื่อมีประกาศกระทรวงการคลังลดค่าภาษีการค้าลงร้อยละ 2ของค่าภาษีที่ต้องเสีย จำนวนที่ลดลงนี้ผู้ซื้อจึงไม่ต้องชำระจะนำมาหักออกจากราคาซื้อเบื้องต้นไม่ได้ ข้อกำหนดและเงื่อนไขนี้ชัดแจ้งอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงหรือเจตนารมณ์ของคู่สัญญามาประกอบการตีความ จำเลยในฐานะผู้ซื้อจึงต้องรับผิดชำระเงินค่าแร่ดีบุกในส่วนที่ได้รับการลดภาษีร้อยละ 2 ของค่าภาษีการค้าคืนให้แก่โจทก์ เมื่อกรณีเป็นการโต้เถียงเกี่ยวกับการคำนวณหาราคาแร่ดีบุกสุทธิที่ซื้อขายกันอยู่ว่าตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาควรเป็นอย่างไร ก่อนฟ้องจำเลยย่อมไม่ทราบราคาที่ต้องคืนว่ามีจำนวนแน่นอนเป็นเท่าใด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระเงินคืนตั้งแต่เมื่อใดอันจะถือได้ว่าจำเลยผิดนัด ต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับแต่วันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้ซื้อปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายแร่ดีบุกโดยให้ชำระเงินที่รับเกินไปซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8461/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขายแร่ดีบุกเรื่องการหักภาษีอากร และการคิดดอกเบี้ยจากเงินที่รับเกิน
ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในการรับซื้อแร่ดีบุก ข้อ 6 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคาซื้อแร่ดีบุกสุทธิไว้ว่า (ก) ให้หักค่าถลุงจากราคาซื้อแร่ดีบุกเบื้องต้น (ข) หักค่ามลทินสกปรก (ค) หักออกเป็นเงินบาทมีจำนวนค่าเท่ากับภาษีทั้งมวล (ไม่รวมภาษีเงินได้และภาษีบำรุงท้องที่) และอากรทั้งมวลที่บริษัทผู้ถลุงหรือผู้ซื้อต้องเสียให้แก่รัฐบาลไทย หรือหน่วยราชการใด ๆ โดยเหตุเนื่องในการซื้อแร่ดีบุกในการถลุงโลหะดีบุกจากแร่ดีบุกและในการขายและการส่งออกนอกประเทศไทย ซึ่งโลหะดีบุกที่ผลิตได้จากแร่ดีบุก และ (ง) ราคาซื้อเบื้องต้นสำหรับแร่ดีบุกเมื่อหักรายการต่าง ๆ ที่คิดหักตามข้อ 6 (ก) (ข) และ (ค) แล้ว ก็เป็นราคาซื้อสุทธิ ดังนี้ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่จะนำเงินภาษีอากรมาหักเพื่อคำนวณราคาซื้อสุทธิตามข้อ 6(ค) นั้นคือเงินที่ผู้ซื้อต้องเสียให้แก่รัฐบาลไทยหรือหน่วยราชการเนื่องในการซื้อแร่ดีบุกซึ่งมิได้กำหนดไว้ตายตัวแน่นอน แต่เป็นที่เข้าใจได้ว่าคือจำนวนที่รัฐบาลไทยหรือหน่วยราชการเรียกเก็บอยู่ในขณะที่มีการซื้อขายกัน ฉะนั้นเงินภาษีที่จะนำมาหักได้จึงต้องเป็นเงินที่ผู้ซื้อจำเป็นต้องเสียตามจำนวนที่แท้จริง เมื่อมีประกาศกระทรวงการคลังลดค่าภาษีการค้าลงร้อยละ 2 ของค่าภาษีที่ต้องเสีย จำนวนที่ลดลงนี้ผู้ซื้อจึงไม่ต้องชำระ จะนำมาหักออกจากราคาซื้อเบื้องต้นไม่ได้ ข้อกำหนดและเงื่อนไขนี้ชัดแจ้งอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงหรือเจตนารมณ์ของคู่สัญญามาประกอบการตีความ จำเลยในฐานะผู้ซื้อจึงต้องรับผิดชำระเงินค่าแร่ดีบุกในส่วนที่ได้รับการลดภาษีร้อยละ 2 ของค่าภาษีการค้าคืนให้แก่โจทก์
เมื่อกรณีเป็นการโต้เถียงเกี่ยวกับการคำนวณหาราคาแร่ดีบุกสุทธิที่ซื้อขายกันอยู่ว่าตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาควรเป็นอย่างไร ก่อนฟ้องจำเลยย่อมไม่ทราบราคาที่ต้องคืนว่ามีจำนวนแน่นอนเป็นเท่าใด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระเงินคืนตั้งแต่เมื่อใด อันจะถือได้ว่าจำเลยผิดนัดต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับแต่วันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้ซื้อปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายแร่ดีบุกโดยให้ชำระเงินที่รับเกินไป ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม
of 31