พบผลลัพธ์ทั้งหมด 307 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7615/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ต้องมีหนี้จริงเกิดขึ้นก่อน หากยังไม่มีหนี้ แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ก็ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
การออกเช็คที่จะมีมูลความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔ ต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ ตามกฎหมาย เมื่อปรากฎว่าวันที่ประกาศกระทรวงมอบเงินให้แก่ จำเลยตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นวันหลังจากวันที่จำเลย ออกเช็คให้ประกาศกระทรวง ขณะที่ออกเช็คให้ประกาศกระทรวง จึงยังไม่มีหนี้ต้องชำระต่อกัน แม้ต่อมาธนาคารตามเช็ค จะปฏิเสธการจ่ายเงิน การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิด ตามกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7615/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ต้องมีหนี้อยู่จริง การออกเช็คก่อนได้รับเงินไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
การออกเช็คที่จะมีมูลความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4ต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อปรากฎว่าวันที่ประกาศกระทรวงมอบเงินให้แก่จำเลยตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นวันหลังจากวันที่จำเลยออกเช็คให้ประกาศกระทรวงขณะที่ออกเช็คให้ประกาศกระทรวงจึงยังไม่มีหนี้ต้องชำระต่อกันแม้ต่อมาธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินการกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7226/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดคดี: ผู้มีส่วนได้เสียแม้ไม่มีข้อพิพาทเดิมก็ร้องสอดได้ เพื่อให้พิจารณาคดีรวมกัน
ในคดีที่ไม่มีข้อพิพาทผู้มีส่วนได้เสียและถูกโต้แย้งสิทธิก็ร้องสอดเข้ามาในคดีได้ เพราะบทบัญญัติเกี่ยวกับการร้องสอด มีความมุ่งหมายทำนองเดียวกับการเข้าเป็นคู่ความร่วม การฟ้องแย้งและการรวมพิจารณานั่นเอง เรื่องราวทั้งหลายที่พิพาทกันนั้นหากมีใครเกี่ยวข้องที่จะต้องพิพาทกันด้วย ก็ควรจะได้พิจารณาไปเสียในคราวเดียวกัน หาจำต้องมีโจทก์และจำเลยเป็นคู่ความเดิมอยู่ก่อนเสมอไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7226/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดในคดีไม่มีข้อพิพาท: ผู้มีส่วนได้เสียและถูกโต้แย้งสิทธิสามารถร้องสอดได้
ในคดีไม่มีข้อพิพาทบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียและถูกโต้แย้งสิทธิก็ร้องสอดเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วัตถุออกฤทธิ์ปลอม: โจทก์ฟ้องไม่ชัดเจน, ยาผสมไม่เข้าข่าย, จำเลยไม่มีเจตนา
จำเลยมียาไว้ในครอบครองเพื่อขายที่กล่องบรรจุ ระบุว่ามีส่วนผสมของเฟเนทิลลีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2แต่ที่จริงมีสารเพโมลีน ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2แต่ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา37กำหนดให้วัตถุที่ออกฤทธิ์ที่แสดงชื่อว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์อื่นเป็นวัตถุออกฤทธิ์ปลอมเมื่อกล่องบรรจุยาระบุว่ามีส่วนผสมของสารเฟเนทิลลีน กลับมีสารเพโมลีนผสมอยู่ไม่ตรงกับชื่อวัตถุออกฤทธิ์ที่ระบุไว้ที่กล่องบรรจุยาจึงถือได้ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ปลอมแต่จำเลยไม่ทราบว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ปลอมจึงเป็นความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ปลอมไว้ในครอบครองเพื่อขายโดยไม่รู้ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ปลอมตามมาตรา36(1,98วรรคสามประกอบมาตรา4 โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยมีเพโมลีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท2ไว้ในครอบครองเพื่อขายแสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ประเภท2ไว้ในครอบครองเพื่อขายเท่านั้นโจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ปลอมไว้ในครอบครองเพื่อขายโดยไม่รู้ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ปลอมตามที่พิจารณาได้ความจึงลงโทษจำเลยไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสี่ จำเลยมียาไว้ในครอบครองเพื่อขายที่กล่องบรรจุยาระบุว่ามีส่วนผสมของเฟเนทิลลีน ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2แต่ที่จริงมีสารอีเฟดรีนและสารธีโอฟิลลีนผสมอยู่แต่สารธีโอฟิลลีนเป็นตัวยาไม่ใช่วัตถุออกฤทธิ์ส่วนสารอีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ได้ต่อเมื่อไม่ได้ผสมกับตัวยาชนิดอื่นเมื่อสารอีเฟดรีนผสมกับตัวยาชนิดอื่นแล้วจะไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์แต่จะมีสภาพเป็นยาซึ่งนอกเหนือการควบคุมตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่51(พ.ศ.2531)ข้อ4(5)แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่71(พ.ศ.2534)ระบุว่าอีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท3เฉพาะวัตถุตำรับเดียวเมื่อยาดังกล่าวมีสารอีเฟดรีนและสารธีโอฟิลลีนผสมอยู่จึงเป็นยาเท่านั้นไม่ใช่วัตถุออกฤทธิ์ปลอมการที่จำเลยมีไว้เพื่อขายจึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ฯ จำเลยต้องไม่รู้ว่าเป็นของปลอม โจทก์ต้องระบุเหตุผลในการฟ้องให้ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยมีเพโมลีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท2ไว้ในครอบครองเพื่อขายแสดงให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ประเภท2ไว้ในครอบครองเพื่อขายเท่านั้นโจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ปลอมไว้ในครอบครองเพื่อขายโดยไม่รู้ว่าเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ปลอมตามที่พิจารณาได้ความแต่อย่างใดจึงลงโทษจำเลยไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสี่ อีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท3เฉพาะวัตถุตำรับเดียวหมายความว่ายานั้นจะมีเฉพาะอีเฟดรีนเป็นตัวยาเพียงสารเดียวเมื่อปรากฏว่ายาของกลางส่วนนี้มีสารอีเฟดรีนและสารธีโอฟิลลีนผสมอยู่จึงเป็นยาเท่านั้นไม่ใช่วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทการที่จำเลยมียาของกลางส่วนนี้ไว้เพื่อขายจึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6971/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้า: การต่อสายไฟฟ้าผิดพลาดไม่ใช่ละเมิด แต่เป็นหนี้ค่าไฟฟ้า
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้า โดยอ้างว่า การต่อสายไฟฟ้าผิดพลาดเป็นเหตุให้เครื่องวัดไฟฟ้าแสดง หน่วยการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าความเป็นจริง จึงเรียกส่วนที่ยัง ขาดอยู่ ไม่ใช่เป็นการฟ้องจำเลยว่าละเมิดต่อโจทก์และไม่มี กฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้ อายุความทั่วไปบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม ซึ่งมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6971/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าจากการติดตั้งมิเตอร์ผิดพลาด ใช้หลักอายุความทั่วไป 10 ปี
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้าโดยอ้างว่าการต่อสายไฟฟ้าผิดพลาดเป็นเหตุให้เครื่องวัดไฟฟ้าแสดงหน่วยการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าความเป็นจริงจึงเรียกส่วนที่ยังขาดอยู่ไม่ใช่เป็นการฟ้องจำเลยว่าละเมิดต่อโจทก์และไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมซึ่งมีอายุความ10ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6928/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบสิทธิสัญญาเช่าและขอบเขตการอุทธรณ์ค่าเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาเช่าและเรียกค่าเสียหาย แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องว่า หากโจทก์นำไปให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท และโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องค่าเสียหายตามอัตรานั้นเดือนละ 10,000 บาท ก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าของที่ดินพิพาทในขณะยื่นคำฟ้อง เพราะเป็นแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น
ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันได้ความว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และ ค.ผู้เช่าเดิมตกลงอัตราค่าเช่าปีละ 10,000 บาทและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ค.สัญญาเช่ามีข้อตกลงให้ผูกพันถึงทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรม และสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และ ค.เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจึงเป็นสิทธิในทรัพย์สินย่อมตกเป็นมรดกแก่จำเลยในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ค. ดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็นผู้สืบสิทธิการเช่าจาก ค. และต้องฟังว่าที่ดินพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องปีละ 10,000 บาท จึงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง
การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของโจทก์ที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์หามีผลบังคับแก่คดีไม่ การที่ฎีกาจำเลยฎีกาต่อมาในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และ ค.เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย และพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกฎีกาจำเลย
ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันได้ความว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และ ค.ผู้เช่าเดิมตกลงอัตราค่าเช่าปีละ 10,000 บาทและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ค.สัญญาเช่ามีข้อตกลงให้ผูกพันถึงทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรม และสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และ ค.เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจึงเป็นสิทธิในทรัพย์สินย่อมตกเป็นมรดกแก่จำเลยในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ค. ดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็นผู้สืบสิทธิการเช่าจาก ค. และต้องฟังว่าที่ดินพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องปีละ 10,000 บาท จึงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง
การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของโจทก์ที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์หามีผลบังคับแก่คดีไม่ การที่ฎีกาจำเลยฎีกาต่อมาในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และ ค.เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย และพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกฎีกาจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6928/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีเช่าและมรดก: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเกินขอบเขต
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาเช่าและเรียกค่าเสียหาย แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องว่า หากโจทก์นำไปให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท และโจทก์ได้ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องค่าเสียหายตามอัตรานั้นเดือนละ 10,000 บาท ก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าของที่ดินพิพาทในขณะยื่นคำฟ้อง เพราะเป็นแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันได้ความว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และ ค. ผู้เช่าเดิมตกลงอัตราค่าเช่าปีละ 10,000 บาท และศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ค. สัญญาเช่ามีข้อตกลงให้ผูกพันถึงทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรม และสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และ ค. เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจึงเป็นสิทธิในทรัพย์สินย่อมตกเป็นมรดกแก่จำเลยในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ค. ดังนี้ถือว่าจำเลยเป็นผู้สืบสิทธิการเช่าจาก ค. จะต้องฟังว่าที่ดินพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องปีละ 10,000 บาทจึงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของโจทก์ที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์คำพิพากษาศาลอุทธรณ์หามีผลบังคับแก่คดีไม่ การที่ฎีกาจำเลยฎีกาต่อมาในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และ ค. เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย และพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกฎีกาจำเลย