คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา บูรณะไทย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 307 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์: หนี้จากการซื้อขาย, อัตราดอกเบี้ย, และอายุความ 10 ปี
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่าจำเลยได้ทำคำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับโจทก์และแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์แทนจำเลยแล้วโจทก์ได้ซื้อขายหลักทรัพย์ให้จำเลยหลายครั้งเมื่อหักทอนบัญชีกันแล้วจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระโดยได้แนบสำเนารายละเอียดการสั่งซื้อหุ้นการสั่งขายหุ้นยอดเงินสุทธิการซื้อขายให้แก่จำเลยเป็นเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นมูลแห่งคำฟ้องไว้เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสอง ตามสัญญาตั้งตัวแทนเอกสารหมายจ.4ขณะนั้นโจทก์ใช้ชื่อว่า"บริษัทไทยค้าหลักทรัพย์จำกัด"ต่อมาโจทก์ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น"บริษัทหลักทรัพย์ไทยค้าจำกัด"การทำเอกสารตั้งตัวแทนตามเอกสารหมายจ.16ขึ้นใหม่จึงเป็นเพราะโจทก์เปลี่ยนชื่อใหม่นั่นเองถือไม่ได้ว่าการตั้งตัวแทนตามเอกสารหมายจ.4ได้สิ้นสุดลงไปแล้วแต่เป็นการยืนยันตั้งโจทก์ซึ่งเปลี่ยนชื่อใหม่ให้เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ให้จำเลยต่อไปเช่นเดิมแม้ทั้งเอกสารหมายจ.4หรือจ.16มิได้กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ต้องแจ้งหรือมีหนังสือเลิกสัญญาเป็นตัวแทนกับโจทก์แต่การเลิกสัญญาต้องกระทำด้วยการแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยหรือโจทก์ได้แสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่อีกฝ่ายหนึ่งและไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยกับโจทก์ได้เลิกสัญญากันโดยปริยายสัญญาตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังไม่เลิกกันจนกระทั่งโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระเงินส่วนที่ขาดอยู่ตามหนังสือทวงถามจึงถือได้ว่าโจทก์เพิ่งบอกเลิกสัญญาตัวแทนกับจำเลยในวันที่จำเลยได้รับหนังสือทวงถามฉะนั้นการที่โจทก์ทำการเป็นตัวแทนให้จำเลยในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในช่วงเวลาที่จำเลยแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนจนถึงวันบอกเลิกสัญญาการกระทำดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนกระทำแทนตัวการภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนตามที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยซึ่งเป็นตัวการจำเลยจึงต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดจากการดำเนินการดังกล่าวให้แก่โจทก์การที่โจทก์เคยเรียกให้จำเลยไปชำระเงินเพิ่มแต่จำเลยแจ้งว่าไม่มีเงินที่จะชำระโจทก์จึงได้ทำการขายหุ้นที่โจทก์สั่งซื้อให้จำเลยเพื่อชำระค่าหุ้นยังไม่พอแสดงว่ามีการหักกลบลบหนี้กันเสร็จสิ้นไปแล้ว วิธีปฏิบัติระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการปฏิบัติต่อกันตามสัญญาตัวแทนโดยจำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้นหรือหลักทรัพย์โดยให้โจทก์จ่ายเงินทดรองแทนจำเลยไปก่อนโจทก์ได้ผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยจากเงินที่ทดรองจ่ายแทนจำเลยและในการขายหุ้นตามคำสั่งของจำเลยเมื่อขายได้กำไรก็หักภาษีกำไรที่เหลือมอบให้จำเลยและในการที่โจทก์ซื้อขายแทนจำเลยโจทก์ได้รับค่าธรรมเนียมจากจำเลยวัตถุประสงค์ของโจทก์จำเลยจึงเป็นการค้าเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ขึ้นลงมากกว่าประสงค์จะลงทุนอย่างแท้จริงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์จำเลยมิได้ยึดถือเอาระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ที่ว่าจำเลยต้องวางเงินประกันร้อยละ30ของวงเงินที่จำเลยมีสิทธิสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นในแต่ละวันหากซื้อเกินจำนวนเงินดังกล่าวจำเลยก็จะต้องส่งเงินประกันร้อยละ30ภายใน7วันมาเป็นสาระสำคัญของสัญญาดังนั้นไม่ว่าโจทก์จำเลยจะได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าวหรือไม่ก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามหลักฐานที่โจทก์นำสืบจำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ คดีนี้เป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ออกทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา816ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ10ปีตามมาตรา164เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เมื่อจำเลยแต่งตั้งโจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อวันที่16กุมภาพันธ์2521แล้วต่อมาโจทก์ได้ดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์และออกเงินทดรองให้แก่จำเลยหลายคราวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่2เมษายน2530ยังไม่ถึง10ปีนับแต่โจทก์ได้ออกเงินทดรองแต่ละคราวไปคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5932/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขสัญญากู้ยืมเงิน การรับรองลายมือชื่อ และผลต่อการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารท้ายฟ้องจำนวน 20,200 บาท จำเลยให้การต่อสู้เรื่องสัญญากู้เป็นเอกสารปลอมเป็นประเด็นสำคัญ โดยอ้างเหตุว่าที่เป็นเอกสารปลอมเนื่องจากโจทก์ได้แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ฝ่ายเดียว แม้จำเลยจะอ้างในคำให้การด้วยว่าจำเลยไม่เคยกู้เงินจากโจทก์ตามฟ้องก็ตาม แต่จำเลยก็หาได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลยไม่ทั้งที่เป็นข้อสาระสำคัญที่จำเลยอาจยกขึ้นปฏิเสธในคำให้การได้ จึงเท่ากับจำเลยอ้างเหตุตั้งประเด็นไว้เฉพาะสัญญากู้ตามฟ้องเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้นบางส่วนเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย จึงต้องถือว่าจำเลยรับว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้เป็นลายมือชื่อของจำเลย จำเลยย่อมไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อผู้กู้เป็นลายมือชื่อปลอม และที่จำเลยนำสืบว่าได้ชำระเงินกู้ตามสัญญาโดยมีการเวนคืนเอกสารแล้วนั้น จำเลยก็ให้การว่า วันดังกล่าวจำเลยไม่เคยกู้และรับเงินจากโจทก์ หาได้ให้การเป็นประเด็นว่า มีการกู้เงินและชำระเงินกู้คืนแล้วไม่ จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบเช่นเดียวกัน
การที่โจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้โดยการขีดฆ่าตัวเลขและตัวอักษรจากจำนวน 25,700 บาท เป็นจำนวน 20,200 บาท และลงชื่อกำกับไว้เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริง ไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่จำเลย และคดีนี้โจทก์แก้ไขจำนวนเงินที่กู้ให้ลดลงจากเดิม กลับจะเป็นประโยชน์แก่จำเลย สัญญากู้จึงไม่เป็นเอกสารปลอมและเป็นเอกสารที่สมบูรณ์รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5932/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ยืมหลังทำสัญญาไม่ทำให้สัญญาเป็นเอกสารปลอม หากไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารท้ายฟ้องจำนวน 20,200 บาท จำเลยให้การต่อสู้เรื่องสัญญากู้เป็นเอกสารปลอมเป็นประเด็นสำคัญ โดยอ้างเหตุว่าที่เป็นเอกสารปลอมเนื่องจากโจทก์ได้แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ฝ่ายเดียว แม้จำเลยจะอ้างในคำให้การ ด้วยว่าจำเลยไม่เคยกู้เงินจากโจทก์ตามฟ้องก็ตาม แต่จำเลยก็หาได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าลายมือชื่อ ในช่องผู้กู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลยไม่ทั้งที่เป็นข้อสาระสำคัญ ที่จำเลยอาจยกขึ้นปฏิเสธในคำให้การได้ จึงเท่ากับจำเลยอ้างเหตุตั้งประเด็นไว้เฉพาะสัญญากู้ตามฟ้องเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้น บางส่วนเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลยจึงต้องถือว่าจำเลยรับว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้เป็นลายมือชื่อของจำเลย จำเลยย่อมไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อผู้กู้เป็นลายมือชื่อปลอม และที่จำเลยนำสืบว่าได้ชำระเงินกู้ตามสัญญาโดยมีการเวนคืนเอกสารแล้วนั้น จำเลยก็ให้การว่า วันดังกล่าวจำเลยไม่เคยกู้และรับเงินจากโจทก์ หาได้ให้การเป็นประเด็นว่ามีการกู้เงินและชำระเงินกู้คืนแล้วไม่ จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบเช่นเดียวกัน การที่โจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้โดยการขีดฆ่าตัวเลขและตัวอักษรจากจำนวน 25,700 บาท เป็นจำนวน20,200 บาท และลงชื่อกำกับไว้เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริงไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่จำเลย และคดีนี้โจทก์แก้ไขจำนวนเงินที่กู้ให้ลดลงจากเดิม กลับจะเป็นประโยชน์แก่จำเลย สัญญากู้จึงไม่เป็นเอกสารปลอม และเป็นเอกสารที่สมบูรณ์รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5628/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องจัดการมรดก: เริ่มนับเมื่อการจัดการมรดกสิ้นสุด แม้มีการโอนทรัพย์สินและถอนเงินแล้ว
แม้การกระทำของจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกจะเป็นกรณีที่ศาลอาจถอดถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตามแต่ตราบใดที่ยังมิได้มีคำสั่งถอดถอนจำเลยที่1ก็ยังคงมีอำนาจในการจัดการมรดกได้เมื่อทรัพย์มรดกมีเพียงที่ดินกับเงินฝากธนาคารและจำเลยที่1ได้โอนที่ดินดังกล่าวและถอนเงินออกมาทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี2528จึงถือได้ว่าการจัดการมรดกได้สิ้นสุดแล้วตั้งแต่ปี2528โจทก์ฟ้องคดีนี้ในปี2535เกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกเสร็จคดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5628/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องจัดการมรดก: สิ้นสุดเมื่อจัดการทรัพย์สินมรดกเสร็จสิ้น แม้มีการโอนให้ทายาท
แม้การกระทำของจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกจะเป็นกรณีที่ศาลอาจถอดถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตามแต่ตราบใดที่ยังมิได้มีคำสั่งถอดถอนจำเลยที่1ก็ยังคงมีอำนาจในการจัดการมรดกได้เมื่อทรัพย์มรดกมีเพียงที่ดินกับเงินฝากธนาคารและจำเลยที่1ได้โอนที่ดินดังกล่าวและถอนเงินออกมาทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี2528จึงถือได้ว่าการจัดการมรดกได้สิ้นสุดแล้วตั้งแต่ปี2528โจทก์ฟ้องคดีนี้ในปี2535เกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกเสร็จคดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5628/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องจัดการมรดก: นับแต่วันจัดการมรดกเสร็จสิ้น แม้มีเหตุอาจถอดถอนผู้จัดการมรดก
แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจะเป็นกรณีที่ศาลอาจถอดถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตาม แต่ตราบใดที่ยังมิได้มีคำสั่งถอดถอน จำเลยที่ 1 ก็ยังคงมีอำนาจในการจัดการมรดกได้ เมื่อทรัพย์มรดกมีเพียงที่ดินกับเงินฝากธนาคารและจำเลยที่ 1ได้โอนที่ดินดังกล่าวและถอนเงินออกมาทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี 2528จึงถือได้ว่าการจัดการมรดกได้สิ้นสุดแล้วตั้งแต่ปี 2528 โจทก์ฟ้องคดีนี้ในปี 2535 เกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จคดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่: หนังสือแจ้งให้วางเงินไม่ใช่หนังสือให้รับโอนสิทธิ
แม้ศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตามที่โจทก์ขอและจำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น ซึ่งมีผลทำให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุดก็ตาม แต่การที่จำเลยยื่นคำร้องในภายหลังต่อมาว่า จำเลยมิได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ และเหตุที่จำเลยไม่ได้มาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีของโจทก์ เพราะจำเลยจำวันนัดคลาดเคลื่อนไป ขอให้ไต่สวนคำร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีของโจทก์และมีคำสั่งยกหมายบังคับคดี พร้อมกับจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อน ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวเท่ากับเป็นกรณีที่จำเลยกล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติป.วิ.พ. ลักษณะ 2 การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเพราะเหตุที่จำเลยมิได้ปฏิบัติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งต้องด้วยมาตรา 296 วรรคแรกที่ให้อำนาจแก่ศาลที่จะมีคำสั่งให้ยกหรือแก้ไขหมายบังคับคดีนั้นเสียได้
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า โจทก์จะดำเนินการให้จำเลยได้รับสิทธิการเช่าห้องเลขที่ 191 จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงในอาคารห้องเลขที่ดังกล่าวหรือผู้ที่ได้รับสิทธิการเช่าช่วงหรือจากโจทก์ หากสามารถโอนสิทธิการเช่าได้เมื่อใดภายในก่อนวันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 จำเลยยอมชำระเงินส่วนที่เหลือ690,000 บาท ทั้งหมดในคราวเดียว แต่ให้หักชำระจากเงินที่ชำระไว้เดือนละ5,000 บาท นับแต่วันทำสัญญานี้ออกเสียก่อน แก่โจทก์ภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือให้ทำการรับโอนสิทธิ การชำระเงินจำนวนดังกล่าวจำเลยต้องนำมาวางต่อศาล ผิดนัดในข้อนี้ ยอมให้บังคับคดีและจำเลยจะต้องออกจากห้องพิพาท และขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกจากห้องพิพาททันที แต่ตามหนังสือบอกกล่าวของทนายโจทก์ถึงจำเลยระบุให้จำเลยนำเงินไปวางต่อศาลฝ่ายเดียวภายใน 2 เดือน โดยไม่ระบุว่าฝ่ายโจทก์จะโอนสิทธิการเช่าให้จำเลยเมื่อใดเพียงแต่กล่าวว่าหลังจากจำเลยวางเงินต่อศาลครบถ้วนแล้ว โจทก์ก็จะได้เร่งดำเนินการให้จำเลยรับโอนสิทธิการเช่าเท่านั้น จึงมิใช่หนังสือให้ทำการรับโอนสิทธิดังโจทก์อ้าง แม้จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวและมิได้นำเงินมาวางศาลจนล่วงพ้น 2 เดือน นับแต่วันรับ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าของอาคารจอดรถต่อการโจรกรรมรถยนต์ของผู้ใช้บริการ และขอบเขตความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้าง
ตามฟ้องของโจทก์มิได้ให้จำเลยรับผิดตามสัญญาฝากทรัพย์ ฟ้องโจทก์มีแต่เรื่องละเมิด เรื่องฝากทรัพย์จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ศาลจะพิพากษาให้ชำระหนี้ตามสัญญาฝากทรัพย์ไม่ได้ เรื่องฝากทรัพย์จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องฝากทรัพย์ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ อาคารจอดรถของบริษัทจำเลยที่ 5 มีทางเข้า 1 ทางทางออก 1 ทาง ปากทางเข้ามีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยเก็บเงินพร้อมกับออกบัตรค่าเช่าที่จอดรถราคา 5 บาท โดยจดทะเบียนรถไว้ในบัตรด้วยด้านหน้าบัตรมีข้อความว่า บริการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัย ด้านหลังมีข้อความว่า ผู้ขับขี่ต้องเก็บบัตรไว้กับตัว เพื่อป้องกันรถหาย กรุณาคืนบัตรทุกครั้งก่อนออกจากบริเวณที่จอดรถ บัตรสูญหายหรือไม่นำมาแสดงบริษัทจะไม่อนุญาตให้นำรถออกจนกว่าจะหาหลักฐานมาแสดงจนเป็นที่พอใจ และในที่จอดรถมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนเดินตรวจตรา ที่กำแพงบริเวณลานจอดรถก็มีคำเตือนว่ากรุณาอย่าลืมบัตรจอดรถเพราะรถยนต์อาจสูญหาย สำหรับทางขาออก มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยตรวจรับ บัตรและปล่อยรถออก แม้ผู้มาใช้บริการที่จอดรถจะเป็น ผู้เลือกที่จอดรถเอง ดูแลปิดประตูรถและเก็บกุญแจรถไว้เอง อีกทั้งที่ด้านหลังบัตรมีข้อความว่า หากมีการสูญหายหรือ เสียหายใด ๆ เกิดขึ้นทุกกรณี ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบเอง ทุกประการก็ตาม แต่ก็ย่อมจะทำให้ผู้ใช้บริการจอดรถ โดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าที่อาคารจอดรถของจำเลยที่ 5 นี้มีบริการรักษาความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ที่จะนำเข้ามาจอดขณะมาติดต่อธุรกิจหรือซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 5 ซึ่งผู้ที่มิใช่เจ้าของรถจะลักลอบนำรถออกไปไม่ได้ ทั้งนี้โดยที่ผู้ใช้บริการที่จอดรถจะต้องเสียเงิน 5 บาทเป็นค่าตอบแทน การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำก่อน ๆของจำเลยทั้งห้า ก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยทั้งห้าต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่รถยนต์ที่นำเข้ามาจอด จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับ อาคารสถานที่ตลอดจนรถยนต์ที่เข้ามาจอดและความเรียบร้อยโดยทั่วไป ไม่มีหน้าที่โดยเฉพาะในการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์และเหตุโจรกรรมรถยนต์ของโจทก์ไม่ได้เกิดต่อหน้าจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 งดเว้นป้องกันการโจรกรรมรถยนต์นั้น ดังนี้ การที่รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปจะถือว่าเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 งดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันผลการโจรกรรมรถยนต์นั้นไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยืนเก็บเงิน ออกบัตร จดทะเบียนรถลงในบัตรและตรวจบัตรขณะที่รถยนต์ออกจากลานจอดรถอยู่ที่คอกกั้นตรงทางเข้าออกลานจอดรถ หน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถออกไปจากลานจอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์โดยตรง เมื่อทางเข้าออกลานจอดรถมีอยู่ทางเดียว หากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งอยู่ที่คอกกั้นตรวจบัตรอย่างเคร่งครัดก็ยากที่รถยนต์ของโจทก์จะถูกลักไปได้ การที่รถยนต์ของโจทก์สูญหายไปจึงเนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัดอันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการ โจรกรรมรถยนต์ เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 5 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5จำเลยที่ 5 ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ต่อโจทก์ด้วยตามมาตรา 425 คดีละเมิด แม้ว่าจำเลยจะไม่ได้ฎีกาในเรื่องจำนวนความเสียหายตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ ศาลฎีกาก็วินิจฉัยถึงจำนวนความเสียหายของโจทก์และกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดเสียใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อในการรักษาความปลอดภัยรถยนต์ในลานจอดรถ และความรับผิดของนายจ้าง
ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายให้จำเลยรับผิดตามสัญญาฝากทรัพย์ ฟ้องโจทก์มีแต่เรื่องละเมิด เรื่องฝากทรัพย์จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ศาลจะพิพากษาให้บังคับชำระหนี้ตามสัญญาฝากทรัพย์ไม่ได้ และเรื่องฝากทรัพย์มิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ขึ้นวินิจฉัยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ แต่พยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดี ศาลฎีกาจึงเห็นควรพิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่แต่งกายเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ยืนเก็บบัตรจอดรถและปล่อยรถยนต์ออกจากอาคารจอดรถ จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าของอาคารจอดรถ อาคารจอดรถของจำเลยที่ 5 มีทางเข้า 1 ทาง ทางออก 1 ทาง ปากทางมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยเก็บเงิน 5 บาท พร้อมกับออกบัตรค่าเช่าที่จอดรถราคา5 บาท โดยจดทะเบียนรถไว้ในบัตรด้วย ซึ่งที่ด้านหน้าบัตรตอนล่างมีข้อความว่าบริการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัย ด้านหลังของบัตรมีข้อความว่า1. ผู้ขับขี่ต้องเก็บบัตรไว้กับตัว เพื่อป้องกันรถหาย 2. กรุณาคืนบัตรทุกครั้ง ก่อนออกจากบริเวณที่จอดรถ ฯลฯ 6. บัตรสูญหายหรือไม่นำมาแสดง บริษัทจะไม่อนุญาตให้นำรถออกจนกว่าจะหาหลักฐานมาแสดงจนเป็นที่พอใจ และในที่จอดรถมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนเดินตรวจตรา ที่กำแพงบริเวณลานจอดรถก็มีคำเตือนว่า กรุณาอย่าลืมบัตรจอดรถเพราะรถยนต์อาจสูญหาย สำหรับทางขาออกมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยตรวจรับบัตรและปล่อยรถออก พฤติการณ์ดังกล่าวแม้จะปรากฏว่าผู้มาใช้บริการที่จอดรถจะเป็นผู้เลือกที่จอดรถเอง ดูแลปิดประตูรถและเก็บกุญแจรถไว้เอง และที่บัตรค่าเช่าจอดรถด้านหลังจะมีข้อความว่า หากมีการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นทุกกรณี ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบเองทุกประการก็ตาม แต่ก็ย่อมจะทำให้ผู้ใช้บริการจอดรถโดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าที่อาคารจอดรถของจำเลยที่ 5 นี้ มีบริการรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ที่จะนำรถเข้ามาจอดขณะมาติดต่อธุรกิจหรือซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 5 โดยรับดูแลความเรียบร้อยความปลอดภัยทั้งขณะที่รถจอดอยู่ในอาคารและขณะที่รถจะออกจากอาคาร ซึ่งผู้ที่มิใช่เจ้าของรถและถือบัตรค่าเช่าที่จอดรถจะลักลอบนำรถออกไปไม่ได้ เพราะจะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบก่อนทั้งนี้โดยที่ผู้ใช้บริการที่จอดรถจะต้องเสียเงิน 5 บาทเป็นค่าตอบแทน การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำก่อน ๆ ของจำเลยทั้งห้า ก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยทั้งห้าต้องดูแลรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยแก่รถยนต์ที่นำเข้ามาจอดจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารสถานที่ตลอดจนรถยนต์ที่เข้ามาจอดและความเรียบร้อยโดยทั่วไป ไม่ปรากฏว่ามีหน้าที่โดยเฉพาะในการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ และไม่ปรากฏว่าเหตุโจรกรรมรถยนต์ของโจทก์ได้เกิดต่อหน้าจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 งดเว้นป้องกันการโจรกรรมรถยนต์นั้น การที่รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปจะถือว่าเกิดจากการที่จำเลยที่ 1งดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันผลการโจรกรรมรถยนต์นั้นไม่ได้ จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยืนเก็บเงิน ออกบัตร จดทะเบียนรถลงในบัตร และตรวจบัตรขณะที่รถยนต์ออกจากลานจอดรถอยู่ที่คอกกั้นตรงทางเข้าออกลานจอดรถ หน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4จึงเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถออกไปจากลานจอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์โดยตรง ซึ่งที่ลานจอดรถและที่ด้านหลังบัตรจอดรถ มีข้อความว่า ผู้ใช้บริการลานจอดรถจะต้องเก็บรักษาบัตรไว้เพื่อตรวจขณะจะนำรถออกจากลานจอดรถ มิฉะนั้น บริษัทจะไม่ยอมให้นำรถออกไปจนกว่าจะหาหลักฐานอื่นมาแสดงยืนยัน เมื่อทางเข้าออกลานจอดรถมีอยู่ทางเดียว หากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งอยู่ที่คอกกั้นตรวจบัตรอย่างเคร่งครัดก็ยากที่รถยนต์ของโจทก์จะถูกลักไปได้ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 5 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 5 นายจ้างย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อโจทก์ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425
คดีนี้ไม่ใช่เป็นคดีข้อหาฝากทรัพย์ แต่เป็นคดีข้อหาละเมิด แม้ว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จะไม่ฎีกาในเรื่องจำนวนความเสียหายตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ในฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์ ศาลฎีกาก็เห็นควรวินิจฉัยถึงความเสียหายของโจทก์ในฐานละเมิดตามที่ได้ยกขึ้นวินิจฉัยไว้แล้วต่อไป ซึ่งค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามป.พ.พ. มาตรา 438

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของอาคารจอดรถต่อการโจรกรรมรถยนต์: หน้าที่ดูแลความปลอดภัยและมาตรฐานความระมัดระวัง
ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายให้จำเลยรับผิดตามสัญญาฝากทรัพย์ฟ้องโจทก์มีแต่เรื่องละเมิดเรื่องฝากทรัพย์จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีศาลจะพิพากษาให้บังคับชำระหนี้ตามสัญญาฝากทรัพย์ไม่ได้และเรื่องฝากทรัพย์มิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ขึ้นวินิจฉัยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบแต่พยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีศาลฎีกาจึงเห็นควรพิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่ จำเลยที่1เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจำเลยที่2ที่3และที่4เป็นเจ้าหน้าที่แต่งกายเช่นเดียวกับจำเลยที่1ยืนเก็บบัตรจอดรถและปล่อยรถยนต์ออกจากอาคารจอดรถจำเลยที่5เป็นเจ้าของอาคารจอดรถอาคารจอดรถของจำเลยที่5มีทางเข้า1ทางทางออก1ทางปากทางมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยเก็บเงิน5บาทพร้อมกับออกบัตรค่าเช่าที่จอดรถราคา5บาทโดยจดทะเบียนรถไว้ในบัตรด้วยซึ่งที่ด้านหน้าบัตรตอนล่างมีข้อความว่าบริการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยด้านหลังของบัตรมีข้อความว่า1.ผู้ขับขี่ต้องเก็บบัตรไว้กับตัวเพื่อป้องกันรถหาย2.กรุณาคืนบัตรทุกครั้งก่อนออกจากบริเวณที่จอดรถฯลฯ6.บัตรสูญหายหรือไม่นำมาแสดงบริษัทจะไม่อนุญาตให้นำรถออกจนกว่าจะหาหลักฐานมาแสดงจนเป็นที่พอใจและในที่จอดรถมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนเดินตรวจตราที่กำแพงบริเวณลานจอดรถก็มีคำเตือนว่ากรุณาอย่าลืมบัตรจอดรถเพราะรถยนต์อาจสูญหายสำหรับทางขาออกมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยตรวจรับบัตรและปล่อยรถออกพฤติการณ์ดังกล่าวแม้จะปรากฏว่าผู้มาใช้บริการที่จอดรถจะเป็นผู้เลือกที่จอดรถเองดูแลปิดประตูรถและเก็บกุญแจรถไว้เองและที่บัตรค่าเช่าจอดรถด้านหลังจะมีข้อความว่าหากมีการสูญหายหรือเสียหายใดๆเกิดขึ้นทุกกรณีผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบเองทุกประการก็ตามแต่ก็ย่อมจะทำให้ผู้ใช้บริการจอดรถโดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าที่อาคารจอดรถของจำเลยที่5นี้มีบริการรักษาความเรียบร้อยความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ที่จะนำรถเข้ามาจอดขณะมาติดต่อธุรกิจหรือซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่5โดยรับดูแลความเรียบร้อยความปลอดภัยทั้งขณะที่รถจอดอยู่ในอาคารและขณะที่รถจะออกจากอาคารซึ่งผู้ที่มิใช่เจ้าของรถและถือบัตรค่าเช่าที่จอดรถจะลักลอบนำรถออกไปไม่ได้เพราะจะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบก่อนทั้งนี้โดยที่ผู้ใช้บริการที่จอดรถจะต้องเสียเงิน5บาทเป็นค่าตอบแทนการกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำก่อนๆของจำเลยทั้งห้าก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยทั้งห้าต้องดูแลรักษาความเรียบร้อยความปลอดภัยแก่รถยนต์ที่นำเข้ามาจอดจำเลยที่1มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารสถานที่ตลอดจนรถยนต์ที่เข้ามาจอดและความเรียบร้อยโดยทั่วไปไม่ปรากฏว่ามีหน้าที่โดยเฉพาะในการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์และไม่ปรากฏว่าเหตุโจรกรรมรถยนต์ของโจทก์ได้เกิดต่อหน้าจำเลยที่1แล้วจำเลยที่1งดเว้นป้องกันการโจรกรรมรถยนต์นั้นการที่รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปจะถือว่าเกิดจากการที่จำเลยที่1งดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันผลการโจรกรรมรถยนต์นั้นไม่ได้จำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420 จำเลยที่2ถึงที่4ยืนเก็บเงินออกบัตรจดทะเบียนรถลงในบัตรและตรวจบัตรขณะที่รถยนต์ออกจากลานจอดรถที่อยู่ที่คอกกั้นตรงทางเข้าออกลานจอดรถหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่2ถึงที่4จึงเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถออกไปจากลานจอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์โดยตรงซึ่งที่ลานจอดรถและที่ด้านหลังบัตรจอดรถมีข้อความว่าผู้ใช้บริการลานจอดรถจะต้องเก็บรักษาบัตรไว้เพื่อตรวจขณะจะนำรถออกจากลานจอดรถมิฉะนั้นบริษัทจะไม่ยอมให้นำรถออกไปจนกว่าจะหาหลักฐานอื่นมาแสดงยืนยันเมื่อทางเข้าออกลานจอดรถมีอยู่ทางเดียวหากจำเลยที่2ถึงที่4ซึ่งอยู่ที่คอกกั้นตรวจบัตรอย่างเคร่งครัดก็ยากที่รถยนต์ของโจทก์จะถูกลักไปได้การที่จำเลยที่2ถึงที่4ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัดอันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปและเป็นการประมาทเลินเล่อจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420จำเลยที่2ถึงที่4ต้องรับผิดต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่2ถึงที่4เป็นลูกจ้างของจำเลยที่5กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่5จำเลยที่5นายจ้างย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่2ถึงที่4ต่อโจทก์ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา425 คดีนี้ไม่ใช่เป็นคดีข้อหาฝากทรัพย์แต่เป็นคดีข้อหาละเมิดแม้ว่าจำเลยที่3ถึงที่5จะไม่ฎีกาในเรื่องจำนวนความเสียหายตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ในฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์ศาลฎีกาก็เห็นควรวินิจฉัยถึงความเสียหายของโจทก์ในฐานละเมิดตามที่ได้ยกขึ้นวินิจฉัยไว้แล้วต่อไปซึ่งค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา438
of 31