คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา บูรณะไทย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 307 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาประนีประนอมต้องดำเนินการในคดีเดิม ห้ามฟ้องเป็นคดีใหม่
ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมต้องขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา7(2),302วรรคแรกจะนำมาฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องดำเนินการในคดีเดิม
ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิม ต้องขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 7(2),302 วรรคแรก จะนำมาฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาประนีประนอม - กระบวนการบังคับคดี
การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิม ข้อโต้แย้งของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีดังกล่าว โจทก์ชอบที่จะต้องขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7 (2), 302 วรรคแรก โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้ ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้และมิได้ยกขึ้นมาในฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาและการขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องดำเนินการภายในกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยจำเลยต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาภายใน15วันนับแต่วันฟังคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา224แต่ตามคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของจำเลยกลับขอให้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อเป็นองค์คณะในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงถือได้ว่าจำเลยมิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาผลคือคดีย่อมยุติลงตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น การขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องยื่นเสียก่อนพ้นระยะเวลายื่นฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาต้องทำภายใน 15 วัน และต้องเป็นคำร้องอุทธรณ์ ไม่ใช่คำขออนุญาตฎีกา
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย จำเลยต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาภายใน 15 วัน นับแต่วันฟังคำสั่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา224 แต่ตามคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของจำเลย กลับขอให้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อเป็นองค์คณะในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงถือได้ว่าจำเลยมิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาผลคือคดีย่อมยุติลงตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
การขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องยื่นเสียก่อนพ้นระยะเวลายื่นฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3497/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซื้อสินค้าผ้าอนามัยไปจากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระราคา เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่า โจทก์ทำสัญญาตั้งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในประเทศไทยโดยจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินการโฆษณาสินค้าและส่งเสริมการขายและโจทก์บอกเลิกสัญญาไม่ชอบ ขอให้โจทก์ชำระค่าเสียหาย เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาตัวแทน ดังนี้ฟ้องแย้งเป็นคนละเรื่องกับที่โจทก์ฟ้อง ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตามป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3497/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม หากไม่เกี่ยว ศาลชอบที่จะไม่รับฟ้องแย้งได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซื้อสินค้าผ้าอนามัยไปจากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระราคาเป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายส่วนฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาตั้งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในประเทศไทยโดยจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินการโฆษณาสินค้าและส่งเสริมการขายและโจทก์บอกเลิกสัญญาไม่ชอบขอให้โจทก์ชำระค่าเสียหายเป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาตัวแทนดังนี้ฟ้องแย้งเป็นคนละเรื่องกับที่โจทก์ฟ้องไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3497/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต่างกรรมต่างวาระ: สัญญาซื้อขายกับสัญญาตัวแทนเป็นคนละเรื่องกัน จำเลยมีสิทธิฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยซื้อสินค้าผ้าอนามัยไปจากโจทก์แล้วไม่ชำระราคาค่าสินค้าให้แก่โจทก์ เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาตั้งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในประเทศไทยโดยจำเลยต้องดำเนินการโฆษณาสินค้าและส่งเสริมการขาย จำเลยได้เสียค่าใช้จ่ายไปเป็นมูลค่ารวม355,312 บาท โจทก์บอกเลิกสัญญาไม่ชอบต้องชำระค่ายกเลิกสัญญาให้แก่จำเลยจำนวน 1,000,000 บาท เป็นการฟ้องบังคับให้โจทก์รับผิดตามสัญญาตัวแทน ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับที่โจทก์ฟ้องฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ชอบที่จำเลยจะฟ้องเป็นคดีต่างหากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาข้อเท็จจริงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด และการกระทำความผิดหลายบทเป็นกรรมเดียว
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา230จะให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดังศาลเดิมแต่ก็จำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้นส่วนมาตรา221ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ก็เฉพาะแก่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่จะรับประเด็นอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่าการที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ป่าไม้ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงโดยละเว้นการตรวจสอบไม้ดังกล่าวตามระเบียบของทางราชการกับกรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ในวันเดียวกันเพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงโดยผู้พิพากษาที่รับประเด็น และการพิจารณาว่าการกระทำหลายอย่างเป็นกรรมเดียว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, 69 วรรคสอง (2), 73 วรรคสอง (2) รวม2 กระทง จำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 4 ปี เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อยซึ่งโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157, 160, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) (ข) และ (ค) ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดรวม 3 กระทง จำคุกกระทงละ2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ข) และมาตรา 157, 160ตามฟ้องข้อ 2 (ค) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 2 ปี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) ดังนั้นเฉพาะความผิดตามฟ้องข้อ 2 (ข) และ (ค) เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อย คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230 ที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนนั้น แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมีข้อความระบุให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดั่งศาลเดิม และศาลที่รับประเด็นมีอำนาจส่งประเด็นไปยังศาลอื่นอีกต่อหนึ่งได้ก็ตาม ความหมายก็คงจำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้น และตามป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ก็โดยมุ่งหมายให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาในศาลที่พิจารณาคดีนั้นเอง เพราะเป็นผู้ทราบดีว่าควรจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ส่วนผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นนั้นเป็นเพียงสืบแทนเฉพาะพยานหลักฐานที่ศาลที่พิจารณาคดีส่งมา หาได้ทราบถึงข้อเท็จจริงทั้งสำนวนไม่ ตลอดทั้งการวินิจฉัยคดีก็มิได้เกี่ยวข้องด้วย การที่จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นอนุญาตให้ฎีกานั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามระเบียบปฏิบัติของกรมป่าไม้ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งการใช้ตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่า ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงหน้าที่ว่าการอำเภอท้องที่โดยละเว้นการตรวจสอบไม้ของกลางตามระเบียบปฏิบัติดังกล่าวกับการที่จำเลยที่ 2 กรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ซึ่งทำขึ้นในวันเดียวกันก็เพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบปฏิบัติที่ทางราชการวางไว้และเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จลุล่วงไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 2 (ข)และ (ค) จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นสองกรรมต่างกันไม่
of 31