พบผลลัพธ์ทั้งหมด 307 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจอนุมัติต่ออายุสัญญาถูกต้อง ไม่ถือเป็นการละเมิด
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุข้อ 52(2) ได้กำหนดให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างในกรณีการจ้างเหมาเกินกว่า2,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 8,000,000 บาท และ ข้อ 64กำหนดให้มีการต่ออายุสัญญาสำหรับวงเงินสั่งซื้อหรือสั่งจ้างที่เกิดอำนาจหน้าที่หัวหน้าส่วนราชการให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ดังนั้น การแสดงความเห็นของจำเลยที่ 1 ถึง 7 เกี่ยวกับขอต่ออายุสัญญา จึงเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของ การพิจารณาว่าจะต่ออายุสัญญาให้หรือไม่เท่านั้น จำเลยที่ 1 ถึง 7เป็นเพียงอาจารย์ของวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง จึงมิใช่ผู้มีอำนาจในการนี้การเสนอความเห็นดังกล่าวขึ้นมาก็เพราะโจทก์เป็นผู้สั่งให้ทำความเห็นผู้มีอำนาจอนุญาตหาจำต้องเห็นด้วยเสมอไปไม่ในเมื่อการปฏิบัติตามหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการตรวจการจ้างของจำเลยที่ 1 ถึง 7 นั้นได้ดำเนินการตรวจสอบอาคารโดยเคร่งครัดอยู่แล้ว และไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 ถึง 7 ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อให้โจทก์เสียหาย เพราะในการพิจารณา ให้ความเห็นอาศัยข้อมูลที่พบเห็นในการควบคุมดูแลการก่อสร้างและข้อมูลที่ผู้รับจ้างส่งมา ส่วนเรื่องไม้แบบนั้นเมื่อตามสัญญาจ้าง มิได้ระบุชัดแจ้งว่าต้องใช้ไม้ใดทำแบบ และกรณีเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงรายการไม้วงกบ เป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างที่ จะต้องขออนุมัติเปลี่ยนแปลงชนิดไม้เอง ดังนี้จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึง 7 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 8 ซึ่งมาช่วยราชการกองคลังของโจทก์ฝ่ายพัสดุจำเลยที่ 9 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานพัสดุของโจทก์ จำเลยที่ 10เป็นเจ้าหน้าที่บริการการเงินและบัญชีของโจทก์ จำเลยที่ 11เป็นผู้อำนวยการกองคลังของโจทก์เมื่อจำเลยที่ 8 ถึง 11เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ผู้กลั่นกรองงานเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับนั้น โดยหาข้อเท็จจริงและนำเสนอรายละเอียดของเรื่องราวต่าง ๆ ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือให้สั่งการพร้อมความเห็นตามที่ที่ประชุมมีมติให้ต่ออายุสัญญาซึ่งมิใช่การอนุญาตให้ต่ออายุสัญญา และเหตุเปลี่ยนแปลงไม้เนื้อแข็งก็มีความเห็นให้เสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาเท่านั้น มิได้ลงความเห็นว่าควรต่ออายุสัญญาหรือไม่แล้วจำเลยที่ 11 ได้รายงาน เสนอผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป พร้อมด้วยหลักฐานและที่ว่า มีเหตุผลเพียงพอที่จะอนุญาตได้ก็เป็นการลงความเห็นตาม พยานหลักฐานที่ปรากฏ มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 8 ถึง 11 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 12 เป็นรองอธิบดีฝ่ายวิชาการ ขณะเกิดเหตุรองอธิบดีผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงไม่อยู่ จำเลยที่ 12 จึงได้ตรวจงานแทนแล้วเสนอผ่านขึ้นไปยังอธิบดีเพื่อให้พิจารณาข้อเสนอ ตามที่กองคลังเสนอมาตามลำดับชั้น จึงไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 12 จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 13 เพิ่งมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมโจทก์ภายหลังอธิบดีคนเดิมซึ่งได้เคยพิจารณาการต่ออายุสัญญาจ้างรายนี้มาก่อนและเคยมีหนังสือหารือไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องไปให้กรมอัยการพิจารณา กรมอัยการแจ้งผลการพิจารณาว่าการต่ออายุสัญญาอยู่ในอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการหรือปลัดกระทรวงแล้วแต่กรณีตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2521 ข้อ 64 และการต่ออายุสัญญากระทำได้เฉพาะกรณีเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเพราะความผิดของผู้ว่าจ้างเท่านั้น กรณีตามข้อหารือคงมีปัญหาแต่เพียงว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อกรณีถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้างได้และเมื่อจำเลยที่ 13 ได้รับเรื่องราวดังกล่าวเสนอมาเมื่อมาดำรงตำแหน่งอธิบดีแล้ว ยังได้ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมาประชุมชี้แจงอีกครั้งหนึ่ง หลังจากได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีข้อหักล้างเหตุผลของผู้รับจ้างเป็นอย่างอื่น จึงได้เสนอเรื่องต่อไปยังปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่ออนุญาตให้ต่อสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างตามที่คณะกรรมการตรวจการจ้างเสนอและจำเลยที่ 13 ยังได้มีความเห็นที่ไม่ควรต่ออายุสัญญากรณีเปลี่ยนแปลงรายการไม้เนื้อแข็งเพื่อใช้ทำวงกบประตูหน้าต่างด้วย ซึ่งเป็นการใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบและพิจารณาคำขออย่างรอบคอบตามสมควรแล้ว มิใช่การจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายเช่นกัน จำเลยที่ 14 ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการเมื่อจำเลยที่ 13 เสนอความเห็นมาเป็น 2 ข้อ คือข้อแรกควรอนุญาตให้ต่ออายุสัญญาก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 138 วันข้อสองกรณีขออนุมัติเปลี่ยนแปลงไม้เนื้อแข็งเพื่อใช้ทำวงกบประตูหน้าต่างว่าน่าจะถือเป็นความบกพร่องของผู้รับจ้างเองที่ไม่ขออนุญาติให้ถูกต้องก่อนนำมาใช้ น่าจะไม่อนุญาต จำเลยที่ 14 ก็ได้ตรวจสอบเรื่องราวที่ขออนุญาตในเอกสารที่เกี่ยวข้องและพบว่ากรมโจทก์เคยมีหนังสือหารือเรื่องเหตุสุดวิสัยไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักนายกรัฐมนตรี ได้หารือเรื่องดังกล่าวไปยังกรมอัยการกรมอัยการตอบมาว่าหากผู้รับจ้างได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรและไม่อาจป้องกันได้ และกรมโจทก์ไม่อาจหักล้างเหตุผลของผู้รับจ้างให้รับฟังเป็นอย่างอื่นกรณีก็ถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะต่ออายุสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างการต่ออายุสัญญาเนื่องจากเหตุสุดวิสัยซึ่งทำได้ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและมติคณะรัฐมนตรีก่อนตัดสินใจจำเลยที่ 14 ยังได้เชิญผู้อำนวยการกองคลัง และนิติกรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มาร่วมปรึกษาหารือแล้วจึงมีความเห็นอนุมัติ ส่วนข้อสองจำเลยที่ 14 คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ผู้รับจ้างอ้างว่ารายการไม้กำหนดไว้ไม่ชัดแจ้ง และสัญญาในเรื่องเกี่ยวกับไม้ที่ใช้ทำวงกบนั้นไม่ชัดแจ้งจริง และก่อนที่จะพิจารณาได้รับแจ้งจากโจทก์ว่าอาคารตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างนั้น โจทก์ได้ใช้ประโยชน์เรียบร้อยแล้ว จึงเชื่อว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ประกอบกับได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการขอเปลี่ยนแปลงวงกบประตูหน้าต่าง เป็นงานที่ได้ดำเนินการในงวดที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายแล้ว การรอให้มีการอนุญาตก่อนแล้วจึงเปลี่ยนทำให้ผู้รับจ้างต้องรอเรื่องอนุญาตจากโจทก์นานถึง 86 วัน โดยไม่อาจดำเนินการก่อสร้างต่อไปได้ และไม่ใช่ความผิดของผู้รับจ้างเป็นเหตุสุดวิสัย จึงสมควรต่ออายุสัญญาให้โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามหนังสือเวียนของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และโจทก์ได้ยอมรับว่าสัญญาในเรื่องเกี่ยวกับไม้ทำวงกบไม่ชัดแจ้ง ทั้งก่อนตัดสินใจได้เชิญผู้อำนวยการกองคลังและนิติกรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมาร่วมปรึกษาหารือแล้ว จึงมีความเห็น เมื่อจำเลยที่ 14 มิได้ดำเนินการโดยพลการ แต่ได้ติดต่อประสานงานกับสำนักนายกรัฐมนตรีกรมอัยการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสิบสี่มิได้ทุจริต ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในการก่อสร้างตามสัญญาหากซื้อเก็บไว้นานเกิน 30 วัน ก็จะเสื่อมคุณภาพ ประกอบกับการขอต่ออายุสัญญาภายหลังสัญญาสิ้นสุดลงแล้วก็อาจกระทำได้ตามหนังสือเวียนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และแม้ไม่อยู่ในช่วงที่คณะรัฐมนตรีอนุญาตให้ต่อสัญญาได้เพราะขาดแคลนปูนซีเมนต์ แต่ก็อาจมีปัญหาด้านการกักตุนและเก็งกำไรในบางท้องที่ได้ ซึ่งย่อมอยู่ในดุลพินิจของส่วนราชการคู่สัญญาที่จะได้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป ผู้มีอำนาจตามระเบียบการพัสดุย่อมสามารถพิจารณาวินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่ของตนได้เมื่อมีเหตุสุดวิสัย ตามหนังสือของสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ จำเลยที่ 14 ใช้ดุลพินิจสั่งการตามอำนาจหน้าที่ไปโดยสุจริต มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่ออายุสัญญาจ้างก่อสร้างและการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐในการพิจารณาเหตุสุดวิสัยและความเสียหาย
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุข้อ 52 (2)ได้กำหนดให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างในกรณีการจ้างเหมาเกินกว่า 2,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 8,000,000 บาทและ ข้อ 64 กำหนดให้การต่ออายุสัญญาสำหรับวงเงินสั่งซื้อหรือสั่งจ้างที่เกินอำนาจหน้าที่หัวหน้าส่วนราชการให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ดังนั้น การแสดงความเห็นของจำเลยที่ 1 ถึง 7 เกี่ยวกับขอต่ออายุสัญญา จึงเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของการพิจารณาว่าจะต่ออายุสัญญาให้หรือไม่เท่านั้น จำเลยที่ 1 ถึง 7 เป็นเพียงอาจารย์ของวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง จึงมิใช่ผู้มีอำนาจในการนี้ การเสนอความเห็นดังกล่าวขึ้นมาก็เพราะโจทก์เป็นผู้สั่งให้ทำความเห็นผู้มีอำนาจอนุญาตหาจำต้องเห็นด้วยเสมอไปไม่ ในเมื่อการปฏิบัติตามหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการตรวจการจ้างของจำเลยที่ 1 ถึง 7 นั้นได้ดำเนินการตรวจสอบอาคารโดยเคร่งครัดอยู่แล้ว และไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 ถึง 7ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อให้โจทก์เสียหาย เพราะในการพิจารณาให้ความเห็นอาศัยข้อมูลที่พบเห็นในการควบคุมดูแลการก่อสร้าง และข้อมูลที่ผู้รับจ้างส่งมา ส่วนเรื่องไม้แบบนั้นเมื่อตามสัญญาจ้างมิได้ระบุชัดแจ้งว่าต้องใช้ไม้ใดทำแบบ และกรณีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรายการไม้วงกบ เป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างที่จะต้องขออนุมัติเปลี่ยนแปลงชนิดไม้เอง ดังนี้จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึง 7 กระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 8 ซึ่งมาช่วยราชการกองคลังของโจทก์ฝ่ายพัสดุจำเลยที่ 9 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานพัสดุของโจทก์ จำเลยที่ 10 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารการเงินและบัญชีของโจทก์ จำเลยที่ 11 เป็นผู้อำนวยการกองคลังของโจทก์เมื่อจำเลยที่ 8 ถึง 11 เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ผู้กลั่นกรองงานเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น โดยหาข้อเท็จจริงและนำเสนอรายละเอียดของเรื่องราวต่าง ๆ ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือให้สั่งการ พร้อมความเห็นตามที่ที่ประชุมมีมติให้ต่ออายุสัญญาซึ่งมิใช่การอนุญาตให้ต่ออายุสัญญา และเหตุเปลี่ยนแปลงไม้เนื้อแข็งก็มีความเห็นให้เสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาเท่านั้น มิได้ลงความเห็นว่าควรต่ออายุสัญญาหรือไม่แล้วจำเลยที่ 11 ได้รายงานเสนอผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป พร้อมด้วยหลักฐานและที่ว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะอนุญาตได้ก็เป็นการลงความเห็นตามพยานหลักฐานที่ปรากฏ มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 8 ถึง 11 กระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 12 เป็นรองอธิบดีฝ่ายวิชาการ ขณะเกิดเหตุรองอธิบดีผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงไม่อยู่ จำเลยที่ 12 จึงได้ตรวจงานแทนแล้วเสนอผ่านขึ้นไปยังอธิบดีเพื่อให้พิจารณาข้อเสนอตามที่กองคลังเสนอมาตามลำดับชั้น จึงไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 12 จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย
จำเลยที่ 13 เพิ่งมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมโจทก์ภายหลังอธิบดีคนเดิมซึ่งได้เคยพิจารณาการต่ออายุสัญญาจ้างรายนี้มาก่อน และเคยมีหนังสือหารือไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องไปให้กรมอัยการพิจารณา กรมอัยการแจ้งผลการพิจารณาว่าการต่ออายุสัญญาอยู่ในอำนาจของหัวหน้า-ส่วนราชการหรือปลัดกระทรวงแล้วแต่กรณีตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 ข้อ 64 และการต่ออายุสัญญากระทำได้เฉพาะกรณีเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเพราะความผิดของผู้ว่าจ้างเท่านั้น กรณีตามข้อหารือคงมีปัญหาแต่เพียงว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อกรณีถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้างได้ และเมื่อจำเลยที่ 13 ได้รับเรื่องราวดังกล่าวเสนอมาเมื่อมาดำรงตำแหน่งอธิบดีแล้ว ยังได้ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมาประชุมชี้แจงอีกครั้งหนึ่ง หลังจากได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่มีข้อหักล้างเหตุผลของผู้รับจ้างเป็นอย่างอื่น จึงได้เสนอเรื่องต่อไปยังปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่ออนุญาตให้ต่อสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างตามที่คณะกรรมการตรวจการจ้างเสนอ และจำเลยที่ 13ยังได้มีความเห็นที่ไม่ควรต่ออายุสัญญากรณีเปลี่ยนแปลงรายการไม้เนื้อแข็งเพื่อใช้ทำวงกบประตูหน้าต่างด้วย ซึ่งเป็นการใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบและพิจารณาคำขออย่างรอบคอบตามสมควรแล้ว มิใช่การจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายเช่นกัน
จำเลยที่ 14 ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อจำเลยที่ 13 เสนอความเห็นมาเป็น 2 ข้อ คือข้อแรกควรอนุญาตให้ต่ออายุสัญญาก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 138 วัน ข้อสองกรณีขออนุมัติเปลี่ยนแปลงไม้เนื้อแข็งเพื่อใช้ทำวงกบประตูหน้าต่างว่าน่าจะถือเป็นความบกพร่องของผู้รับจ้างเองที่ไม่ขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนนำมาใช้ น่าจะไม่อนุญาต จำเลยที่ 14 ก็ได้ตรวจสอบเรื่องราวที่ขออนุญาตในเอกสารที่เกี่ยวข้อง และพบว่ากรมโจทก์เคยมีหนังสือหารือเรื่องเหตุสุดวิสัยไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักนายกรัฐมนตรี ได้หารือเรื่องดังกล่าวไปยังกรมอัยการกรมอัยการตอบมาว่าหากผู้รับจ้างได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรและไม่อาจป้องกันได้ และกรมโจทก์ไม่อาจหักล้างเหตุผลของผู้รับจ้างให้รับฟังเป็นอย่างอื่นกรณีก็ถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะต่ออายุสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างการต่ออายุสัญญาเนื่องจากเหตุสุดวิสัยซึ่งทำได้ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและมติคณะรัฐมนตรีก่อนตัดสินใจจำเลยที่ 14 ยังได้เชิญผู้อำนวยการกองคลัง และนิติกรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มาร่วมปรึกษาหารือแล้วจึงมีความเห็นอนุมัติ ส่วนข้อสองจำเลยที่ 14 คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ผู้รับจ้างอ้างว่ารายการไม้กำหนดไว้ไม่ชัดแจ้ง และสัญญาในเรื่องเกี่ยวกับไม้ที่ใช้ทำวงกบนั้นไม่ชัดแจ้งจริงและก่อนที่จะพิจารณาได้รับแจ้งจากโจทก์ว่าอาคารตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างนั้น โจทก์ได้ใช้ประโยชน์เรียบร้อยแล้ว จึงเชื่อว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ประกอบกับได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการขอเปลี่ยนแปลงวงกบประตูหน้าต่าง เป็นงานที่ได้ดำเนินการในงวดที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายแล้ว การรอให้มีการอนุญาตก่อนแล้วจึงเปลี่ยนทำให้ผู้รับจ้างต้องรอเรื่องอนุญาตจากโจทก์นานถึง 86 วัน โดยไม่อาจดำเนินการก่อสร้างต่อไปได้ และไม่ใช่ความผิดของผู้รับจ้างเป็นเหตุสุดวิสัย จึงสมควรต่ออายุสัญญาให้โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามหนังสือเวียนของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และโจทก์ได้ยอมรับว่าสัญญาในเรื่องเกี่ยวกับไม้ทำวงกบไม่ชัดแจ้ง ทั้งก่อนตัดสินใจได้เชิญผู้อำนวยการกองคลังและนิติกรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมาร่วมปรึกษา-หารือแล้ว จึงมีความเห็น เมื่อจำเลยที่ 14 มิได้ดำเนินการโดยพลการ แต่ได้ติดต่อประสานงานกับสำนักนายกรัฐมนตรี กรมอัยการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสิบสี่มิได้ทุจริต ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในการก่อสร้างตามสัญญาหากซื้อเก็บไว้นานเกิน 30 วัน ก็จะเสื่อมคุณภาพ ประกอบกับการขอต่ออายุสัญญาภายหลังสัญญาสิ้นสุดลงแล้วก็อาจกระทำได้ตามหนังสือเวียนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และแม้ไม่อยู่ในช่วงที่คณะรัฐมนตรีอนุญาตให้ต่อสัญญาได้เพราะขาดแคลนปูนซีเมนต์ แต่ก็อาจมีปัญหาด้านการกักตุนและเก็งกำไรในบางท้องที่ได้ ซึ่งย่อมอยู่ในดุลพินิจของส่วนราชการคู่สัญญาที่จะได้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป ผู้มีอำนาจตามระเบียบการพัสดุย่อมสามารถพิจารณาวินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่ของตนได้เมื่อมีเหตุสุดวิสัย ตามหนังสือของสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ จำเลยที่ 14 ใช้ดุลพินิจสั่งการตามอำนาจหน้าที่ไปโดยสุจริต มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 8 ซึ่งมาช่วยราชการกองคลังของโจทก์ฝ่ายพัสดุจำเลยที่ 9 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานพัสดุของโจทก์ จำเลยที่ 10 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารการเงินและบัญชีของโจทก์ จำเลยที่ 11 เป็นผู้อำนวยการกองคลังของโจทก์เมื่อจำเลยที่ 8 ถึง 11 เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ผู้กลั่นกรองงานเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น โดยหาข้อเท็จจริงและนำเสนอรายละเอียดของเรื่องราวต่าง ๆ ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือให้สั่งการ พร้อมความเห็นตามที่ที่ประชุมมีมติให้ต่ออายุสัญญาซึ่งมิใช่การอนุญาตให้ต่ออายุสัญญา และเหตุเปลี่ยนแปลงไม้เนื้อแข็งก็มีความเห็นให้เสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาเท่านั้น มิได้ลงความเห็นว่าควรต่ออายุสัญญาหรือไม่แล้วจำเลยที่ 11 ได้รายงานเสนอผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป พร้อมด้วยหลักฐานและที่ว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะอนุญาตได้ก็เป็นการลงความเห็นตามพยานหลักฐานที่ปรากฏ มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 8 ถึง 11 กระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 12 เป็นรองอธิบดีฝ่ายวิชาการ ขณะเกิดเหตุรองอธิบดีผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงไม่อยู่ จำเลยที่ 12 จึงได้ตรวจงานแทนแล้วเสนอผ่านขึ้นไปยังอธิบดีเพื่อให้พิจารณาข้อเสนอตามที่กองคลังเสนอมาตามลำดับชั้น จึงไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 12 จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย
จำเลยที่ 13 เพิ่งมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมโจทก์ภายหลังอธิบดีคนเดิมซึ่งได้เคยพิจารณาการต่ออายุสัญญาจ้างรายนี้มาก่อน และเคยมีหนังสือหารือไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องไปให้กรมอัยการพิจารณา กรมอัยการแจ้งผลการพิจารณาว่าการต่ออายุสัญญาอยู่ในอำนาจของหัวหน้า-ส่วนราชการหรือปลัดกระทรวงแล้วแต่กรณีตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 ข้อ 64 และการต่ออายุสัญญากระทำได้เฉพาะกรณีเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเพราะความผิดของผู้ว่าจ้างเท่านั้น กรณีตามข้อหารือคงมีปัญหาแต่เพียงว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อกรณีถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้างได้ และเมื่อจำเลยที่ 13 ได้รับเรื่องราวดังกล่าวเสนอมาเมื่อมาดำรงตำแหน่งอธิบดีแล้ว ยังได้ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมาประชุมชี้แจงอีกครั้งหนึ่ง หลังจากได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่มีข้อหักล้างเหตุผลของผู้รับจ้างเป็นอย่างอื่น จึงได้เสนอเรื่องต่อไปยังปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่ออนุญาตให้ต่อสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างตามที่คณะกรรมการตรวจการจ้างเสนอ และจำเลยที่ 13ยังได้มีความเห็นที่ไม่ควรต่ออายุสัญญากรณีเปลี่ยนแปลงรายการไม้เนื้อแข็งเพื่อใช้ทำวงกบประตูหน้าต่างด้วย ซึ่งเป็นการใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบและพิจารณาคำขออย่างรอบคอบตามสมควรแล้ว มิใช่การจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายเช่นกัน
จำเลยที่ 14 ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อจำเลยที่ 13 เสนอความเห็นมาเป็น 2 ข้อ คือข้อแรกควรอนุญาตให้ต่ออายุสัญญาก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 138 วัน ข้อสองกรณีขออนุมัติเปลี่ยนแปลงไม้เนื้อแข็งเพื่อใช้ทำวงกบประตูหน้าต่างว่าน่าจะถือเป็นความบกพร่องของผู้รับจ้างเองที่ไม่ขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนนำมาใช้ น่าจะไม่อนุญาต จำเลยที่ 14 ก็ได้ตรวจสอบเรื่องราวที่ขออนุญาตในเอกสารที่เกี่ยวข้อง และพบว่ากรมโจทก์เคยมีหนังสือหารือเรื่องเหตุสุดวิสัยไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักนายกรัฐมนตรี ได้หารือเรื่องดังกล่าวไปยังกรมอัยการกรมอัยการตอบมาว่าหากผู้รับจ้างได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรและไม่อาจป้องกันได้ และกรมโจทก์ไม่อาจหักล้างเหตุผลของผู้รับจ้างให้รับฟังเป็นอย่างอื่นกรณีก็ถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะต่ออายุสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างการต่ออายุสัญญาเนื่องจากเหตุสุดวิสัยซึ่งทำได้ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและมติคณะรัฐมนตรีก่อนตัดสินใจจำเลยที่ 14 ยังได้เชิญผู้อำนวยการกองคลัง และนิติกรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มาร่วมปรึกษาหารือแล้วจึงมีความเห็นอนุมัติ ส่วนข้อสองจำเลยที่ 14 คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ผู้รับจ้างอ้างว่ารายการไม้กำหนดไว้ไม่ชัดแจ้ง และสัญญาในเรื่องเกี่ยวกับไม้ที่ใช้ทำวงกบนั้นไม่ชัดแจ้งจริงและก่อนที่จะพิจารณาได้รับแจ้งจากโจทก์ว่าอาคารตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างนั้น โจทก์ได้ใช้ประโยชน์เรียบร้อยแล้ว จึงเชื่อว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ประกอบกับได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการขอเปลี่ยนแปลงวงกบประตูหน้าต่าง เป็นงานที่ได้ดำเนินการในงวดที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายแล้ว การรอให้มีการอนุญาตก่อนแล้วจึงเปลี่ยนทำให้ผู้รับจ้างต้องรอเรื่องอนุญาตจากโจทก์นานถึง 86 วัน โดยไม่อาจดำเนินการก่อสร้างต่อไปได้ และไม่ใช่ความผิดของผู้รับจ้างเป็นเหตุสุดวิสัย จึงสมควรต่ออายุสัญญาให้โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามหนังสือเวียนของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และโจทก์ได้ยอมรับว่าสัญญาในเรื่องเกี่ยวกับไม้ทำวงกบไม่ชัดแจ้ง ทั้งก่อนตัดสินใจได้เชิญผู้อำนวยการกองคลังและนิติกรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมาร่วมปรึกษา-หารือแล้ว จึงมีความเห็น เมื่อจำเลยที่ 14 มิได้ดำเนินการโดยพลการ แต่ได้ติดต่อประสานงานกับสำนักนายกรัฐมนตรี กรมอัยการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสิบสี่มิได้ทุจริต ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในการก่อสร้างตามสัญญาหากซื้อเก็บไว้นานเกิน 30 วัน ก็จะเสื่อมคุณภาพ ประกอบกับการขอต่ออายุสัญญาภายหลังสัญญาสิ้นสุดลงแล้วก็อาจกระทำได้ตามหนังสือเวียนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และแม้ไม่อยู่ในช่วงที่คณะรัฐมนตรีอนุญาตให้ต่อสัญญาได้เพราะขาดแคลนปูนซีเมนต์ แต่ก็อาจมีปัญหาด้านการกักตุนและเก็งกำไรในบางท้องที่ได้ ซึ่งย่อมอยู่ในดุลพินิจของส่วนราชการคู่สัญญาที่จะได้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป ผู้มีอำนาจตามระเบียบการพัสดุย่อมสามารถพิจารณาวินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่ของตนได้เมื่อมีเหตุสุดวิสัย ตามหนังสือของสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ จำเลยที่ 14 ใช้ดุลพินิจสั่งการตามอำนาจหน้าที่ไปโดยสุจริต มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจมติที่ประชุมเจ้าหนี้และการร้องคัดค้านมติในคดีล้มละลาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 37 บัญญัติให้ที่ประชุมเจ้าหนี้อาจลงมติตั้งกรรมการเจ้าหนี้ไว้เพื่อแทนเจ้าหนี้ทั้งหลายในกิจการเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ กรรมการเจ้าหนี้ย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของเจ้าหนี้ทั้งหลายในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ เมื่อที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ประการใดแล้ว มติดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายนั้นเอง ดังนั้น คำร้องของผู้ร้องที่ขอให้แก้ไขมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ซึ่งตามมาตรา 36ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นได้ โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติ ผู้ร้องหามีสิทธิเช่นว่านั้นไม่ และหากถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตาม มาตรา 146 ผู้ร้องก็มิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรจากการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดให้มีการประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงมิใช่กรณีที่ผู้ร้องอาจใช้สิทธิตาม มาตรา 146 ได้ ดังนี้ จึงไม่มีเหตุแก้ไขมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการแก้ไขมติที่ประชุมเจ้าหนี้: บทบาทของกรรมการเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 37 บัญญัติให้ที่ประชุมเจ้าหนี้อาจลงมติตั้งกรรมการเจ้าหนี้ไว้เพื่อแทนเจ้าหนี้ทั้งหลายในกิจการเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้กรรมการเจ้าหนี้ย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของเจ้าหนี้ทั้งหลายในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ เมื่อที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ประการใดแล้วมติดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายนั้นเอง ดังนั้น คำร้องของผู้ร้องที่ขอให้แก้ไขมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ซึ่งตามมาตรา 36ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นได้ โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติ ผู้ร้องหามีสิทธิเช่นว่านั้นไม่ และหากถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตาม มาตรา 146 ผู้ร้องก็มิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรจากการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดให้มีการประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงมิใช่กรณีที่ผู้ร้องอาจใช้สิทธิตาม มาตรา 146 ได้ ดังนี้ จึงไม่มีเหตุแก้ไขมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการเจ้าหนี้และสิทธิในการคัดค้านมติ – เจ้าหนี้ต้องใช้อำนาจตามกม.ผ่านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา37บัญญัติให้ที่ประชุมเจ้าหนี้อาจลงมติตั้งกรรมการเจ้าหนี้ไว้เพื่อแทนเจ้าหนี้ทั้งหลายในกิจการเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้กรรมการเจ้าหนี้ย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของเจ้าหนี้ทั้งหลายในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ประการใดแล้วมติดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายนั้นเองดังนั้นคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้แก้ไขมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลายซึ่งตามมาตรา36ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นได้โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายใน7วันนับแต่วันที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติผู้ร้องหามีสิทธิเช่นว่านั้นไม่และหากถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา146ผู้ร้องก็มิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรจากการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดให้มีการประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงมิใช่กรณีที่ผู้ร้องอาจใช้สิทธิตามมาตรา146ได้ดังนี้จึงไม่มีเหตุแก้ไขมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3163/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุเบียดบังเงินค่าเช่ารายการ ถือเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2533 ไม่ได้บัญญัติให้สถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตรเป็นส่วนราชการของกรมส่งเสริมการเกษตรแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8วิทยุการเกษตรตามคำสั่งแต่งตั้งของอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรมิใช่ถูกแต่งตั้งอย่างข้าราชการไม่มีการสอบคัดเลือกและไม่ต้องรับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) การถอดถอนหรือให้ออกจากตำแหน่งก็เป็นไปตามที่อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเห็นสมควร ดังนี้ ฐานะของจำเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ดำเนินงานของสถานีวิทยุปชส.8 วิทยุการเกษตร ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร จำเลยที่ 1จึงไม่ใช่เจ้าพนักงาน โจทก์ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 รวมอยู่ด้วย ทั้งความผิดตามมาตรา 353 ก็มีโทษเบากว่าความผิดตามมาตรา 151 และ 157ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และหากทางพิจารณาได้ข้อเท็จจริงเช่นนั้น ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามมาตรา 353 หรือไม่ ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลการจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตรกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตนำเอาเวลาออกอากาศให้บ.เช่าจัดรายการ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรและเบียดบังเอาเงินค่าเช่าจาก บ.ไปเป็นของตนโดยไม่นำเงินส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของสถานีวิทยุดังกล่าว โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้รับมอบหมายและมิได้มีหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 แต่ได้ช่วยเหลือและให้ความสะดวกก่อนและขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 และการกระทำของจำเลยที่ 2เป็นความผิดตามมาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3163/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตหน้าที่ - การเบียดบังผลประโยชน์สถานีวิทยุ - ความผิด ป.อ.มาตรา 353
ตาม พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2533 ไม่ได้บัญญัติให้สถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตรเป็นส่วนราชการของกรมส่งเสริมการเกษตรแต่อย่างใด จำเลยที่ 1เป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตรตามคำสั่งแต่งตั้งของอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร มิใช่ถูกแต่งตั้งอย่างข้าราชการไม่มีการสอบคัดเลือก และไม่ต้องรับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) การถอดถอนหรือให้ออกจากตำแหน่งก็เป็นไปตามที่อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเห็นสมควร ดังนี้ ฐานะของจำเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ดำเนินงานของสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงาน
โจทก์ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามป.อ.มาตรา 353 รวมอยู่ด้วย ทั้งความผิดตามมาตรา 353 ก็มีโทษเบากว่าความผิดตามมาตรา 151 และ 157 ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และหากทางพิจารณาได้ข้อเท็จจริงเช่นนั้น ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามมาตรา 353 หรือไม่ ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลการจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตนำเอาเวลาออกอากาศให้ บ.เช่าจัดรายการ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร และเบียดบังเอาเงินค่าเช่าจาก บ.ไปเป็นของตนโดยไม่นำเงินส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของสถานีวิทยุดังกล่าว โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้รับมอบหมายและมิได้มีหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 แต่ได้ช่วยเหลือและให้ความสะดวกก่อนและขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 353 และการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามมาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 86
โจทก์ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามป.อ.มาตรา 353 รวมอยู่ด้วย ทั้งความผิดตามมาตรา 353 ก็มีโทษเบากว่าความผิดตามมาตรา 151 และ 157 ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และหากทางพิจารณาได้ข้อเท็จจริงเช่นนั้น ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามมาตรา 353 หรือไม่ ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลการจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตนำเอาเวลาออกอากาศให้ บ.เช่าจัดรายการ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร และเบียดบังเอาเงินค่าเช่าจาก บ.ไปเป็นของตนโดยไม่นำเงินส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของสถานีวิทยุดังกล่าว โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้รับมอบหมายและมิได้มีหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 แต่ได้ช่วยเหลือและให้ความสะดวกก่อนและขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 353 และการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามมาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2889/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่ชอบ หากไม่วางค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ตามกฎหมาย
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นและให้สืบพยานต่อไป เท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้สืบพยานต่อไป จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องมีหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อจำเลยมิใช่เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว กรณีก็ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 ที่โจทก์จะฟ้องขอให้พิพากษาว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายได้ ศาลหาจำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามมูลหนี้ในฟ้องหรือไม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีล้มละลาย: ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยมูลหนี้ หากจำเลยมีทรัพย์สินเพียงพอ ชำระหนี้ได้
เมื่อจำเลยมิใช่เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวกรณีก็ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา9ที่โจทก์จะฟ้องขอให้พิพากษาว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายได้ศาลหาจำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามมูลหนี้ในฟ้องหรือไม่อีก