คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา บูรณะไทย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 307 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยมูลหนี้ หากจำเลยมีทรัพย์สินเพียงพอ ชำระหนี้ได้
เมื่อจำเลยมิใช่เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวกรณีก็ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 9 ที่โจทก์จะฟ้องขอให้พิพากษาว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายได้ ศาลหาจำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามมูลหนี้ในฟ้องหรือไม่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2776/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การยึดทรัพย์สินลูกหนี้ และข้อสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่จำเลยถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี และจำเลยไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้นั้นเข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 8(5) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวที่จำเลยนำสืบว่า ปัจจุบันห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งจำเลยค้ำประกันหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ยังประกอบกิจการค้ามีทรัพย์สินมูลค่าประมาณ 40,000,000บาท มาเป็นเหตุผลประกอบพยานหลักฐานอื่นของจำเลยว่าจำเลยอยู่ในฐานะที่สามารถขวนขวายและมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายก็ตาม แต่ที่จำเลยอยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. นั้น โจทก์ก็มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดแก่โจทก์โดยสิ้นเชิงโดยไม่ต้องคำนึงว่าหากลูกหนี้ร่วมคนอื่นชำระหนี้แก่โจทก์ด้วยจะสามารถชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งหมดหรือไม่ เพราะการพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน จึงต้องพิจารณาเฉพาะตัวลูกหนี้ร่วมผู้นั้นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ใช้สิทธิบังคับเอาแก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก็มิได้เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ประการใด จึงนำมาเป็นเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายหาได้ไม่เมื่อจำเลยได้รับเงินเดือนจากบริษัท 3 แห่ง แห่งละ 6,000 บาท แต่เงินเดือนดังกล่าวก็นำมาเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของจำเลยเดือนละ 3,000 บาท ส่วนที่เหลือให้แก่ภริยาและบุตร จึงไม่มีเงินเดือนเหลือชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ ศาลชอบที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก: ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโดยอ้างคำพิพากษาเดิม ศาลฎีกาแก้ ให้สืบพยานใหม่
ก่อนคดีนี้จำเลยเคยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 3 ออกจากบ้านเลขที่ 39 ส่วนโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านเลขที่ 38/2 คดีทั้งสองสำนวนศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษา และคดีถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวน โดยคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ส.หรือของจำเลย ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวว่า แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า บ้านเลขที่ 39 เป็นของจำเลย ส่วนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยกึ่งหนึ่งในฐานะที่ครอบครองร่วมกันมา ส. ก็ยังเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท ส่วนบ้านเลขที่ 39 ตกเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท เมื่อ ส. ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทพร้อมบ้านเลขที่ 39 จึงเป็นทรัพย์มรดกของ ส. โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเท่าใดดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ส.หรือไม่ จึงหายุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ แม้คำพิพากษาในคดีก่อนจะผูกพันโจทก์จำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นคู่ความรายเดียวกันแต่ข้อเท็จจริงที่รับฟังมาในคดีก่อนยังหาเพียงพอแก่การวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ ศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินการสืบพยานต่อไปและพิพากษาใหม่ตามรูปคดียังไม่ควรงดสืบพยานคู่ความ จำเลยฎีกาเพียงแต่ขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี มิได้ฎีกาขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 ข้อ 2(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดก: ศาลฎีกาอนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ความเป็นเจ้าของที่ดิน
ก่อนคดีนี้จำเลยเคยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ที่3ออกจากบ้านเลขที่39ส่วนโจทก์ที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านเลขที่38/2คดีทั้งสองสำนวนศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาและคดีถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวนโดยคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของส.หรือของจำเลยซึ่งศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวว่าแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าบ้านเลขที่39เป็นของจำเลยส่วนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยกึ่งหนึ่งในฐานะที่ครอบครองร่วมกันมาส. ก็ยังเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทส่วนบ้านเลขที่39ตกเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทเมื่อส. ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทพร้อมบ้านเลขที่39จึงเป็นทรัพย์มรดกของส. โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเท่าใดดังนี้ข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของส.หรือไม่จึงหายุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่แม้คำพิพากษาในคดีก่อนจะผูกพันโจทก์จำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นคู่ความรายเดียวกันแต่ข้อเท็จจริงที่รับฟังมาในคดีก่อนยังหาเพียงพอแก่การวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินการสืบพยานต่อไปและพิพากษาใหม่ตามรูปคดียังไม่ควรงดสืบพยานคู่ความ จำเลยฎีกาเพียงแต่ขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีมิได้ฎีกาขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล200บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1ข้อ2(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: ความรับผิดของผู้เช่าซื้อต่อความเสียหายของทรัพย์สิน แม้เกิดจากอุบัติเหตุ
ตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า "ผู้เช่าซื้อสัญญาว่าจะใช้ทรัพย์สินที่เช่าซื้อนี้ด้วยความระมัดระวังอย่างดีที่สุด... หากเกิดความเสียหายขึ้นจะโดยเหตุเพราะผู้เช่าซื้อหรือบุคคลภายนอก หรือโดยอุบัติเหตุสุดวิสัยก็ตาม อันเป็นเหตุให้ทรัพย์สินสูญหายไป หรือเสียหายจนไม่อาจจะแก้ไขให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ หรือการซ่อมแซมแก้ไขนั้นคิดเป็นเงินเกินกว่าครึ่งหนึ่งของราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อแล้วผู้เช่าซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินให้แก่เจ้าของ..." ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปประสบอุบัติเหตุเสียหายทั้งคันและถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้จำเลยที่ 1 ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดีคืนโจทก์หรือใช้ราคาแทนตามสัญญาที่ตกลงกันดังกล่าวข้างต้น การที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบถึงอุบัติเหตุดังกล่าวหาทำให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลาย ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้ มิเช่นนั้นต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุม
การที่ผู้ร้องเสนอขอชดใช้เงินและขอลดดอกเบี้ยคดีนี้เท่ากับเป็นการประนีประนอมยอมความซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะปรานีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา145(5)ประกอบด้วยมาตรา41การที่ผู้คัดค้านนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับข้อเสนอของผู้ร้องหรือไม่เป็นการขอความเห็นของที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าวและเป็นการปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของผู้ล้มละลายในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นตามมาตรา32เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับข้อเสนอและมีมติตามข้อเสนอของผู้ร้องแล้วก็เท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการประนีประนอมยอมความหากผู้คัดค้านเห็นว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้เกิดโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมเป็นโมฆะขัดต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลของให้ศาลสั่งห้ามตามมาตรา36ซึ่งบัญญัติให้ผู้คัดค้านยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้นและถ้าไม่มีคำสั่งศาลห้ามมิให้ปฏิบัติตามมติก็ต้องปฏิบัติตามมตินั้นกรณีไม่มีทางที่ผู้คัดค้านจะปฏิบัติเป็นอย่างอื่นผิดไปจากมติที่ประชุมเจ้าหนี้ได้เมื่อมติที่ประชุมเจ้าหนี้ส่วนที่ลดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ร้องยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ผู้คัดค้านต้องปฏิบัติตามนั้นเมื่อผู้ร้องได้นำเงินไปชำระตามมติดังกล่าวครบถ้วนแล้วผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้เพิ่มเติมอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลายต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้ มติที่ประชุมเจ้าหนี้มีผลผูกพัน
การที่ผู้ร้องเสนอขอชดใช้เงินและขอลดดอกเบี้ยคดีนี้เท่ากับเป็นการประนีประนอมยอมความ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (5) ประกอบด้วยมาตรา 41 การที่ผู้คัดค้านนัดประชุมเจ้าหนี้ก็เพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับข้อเสนอของผู้ร้องหรือไม่ เป็นการขอความเห็นของที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าว และเป็นการปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของผู้ล้มละลายในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น ตามมาตรา 32 เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับข้อเสนอ และมีมติตามข้อเสนอของผู้ร้องแล้ว ก็เท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการประนีประนอมยอมความ หากผู้คัดค้านเห็นว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้เกิดโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมเป็นโมฆะขัดต่อกฎหมายตาม ป.พ.พ. ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งห้าม ตามมาตรา 36 ซึ่งบัญญัติให้ผู้คัดค้านยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้น และถ้าไม่มีคำสั่งศาลห้ามมิให้ปฏิบัติตามมติ ก็ต้องปฏิบัติตามมตินั้น กรณีไม่มีทางที่ผู้คัดค้านจะปฏิบัติเป็นอย่างอื่นผิดไปจากมติที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ เมื่อมติที่ประชุมเจ้าหนี้ส่วนที่ลดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ร้องยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ ผู้คัดค้านต้องปฏิบัติตามนั้น เมื่อผู้ร้องได้นำเงินไปชำระตามมติดังกล่าวครบถ้วนแล้ว ผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้เพิ่มเติมอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกมรดก: นับแต่วันสิ้นสุดการจัดการมรดก ไม่ใช่วันที่รู้
โจทก์ซึ่งเป็นทายาทรับมรดกแทนที่ต้องฟ้องเรียกมรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ซึ่งอายุความฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกนั้นป.พ.พ.มาตรา 1733 วรรคสอง เป็นบทจำกัดอายุความฟ้องร้องเป็นกรณีพิเศษให้นับอายุความ 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง หาใช่นับแต่วันที่รู้ถึงการจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่
ทรัพย์มรดกคงมีที่ดินเพียงแปลงเดียว จำเลยได้โอนที่ดินมรดกโดยจดทะเบียนใส่ชื่อตนและ ท.เป็นผู้รับมรดกเสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2527โดยมิได้จัดการแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ และเจ้ามรดกไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดที่จะจัดการต่อไปอีก ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวแล้ว เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเห็นว่าการจัดการมรดกไม่ชอบ โจทก์ก็ต้องฟ้องภายในเวลาไม่เกิน5 ปี นับแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2527 เมื่อโจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม2534 เกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1733 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกมรดก: การจัดการมรดกสิ้นสุดเมื่อใด และเริ่มนับอายุความเมื่อใด
โจทก์ซึ่งเป็นทายาทรับมรดกแทนที่ต้องฟ้องเรียกมรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งอายุความฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสองเป็นบทจำกัดอายุความฟ้องร้องเป็นกรณีพิเศษให้นับอายุความ5ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงหาใช่นับแต่วันที่รู้ถึงการจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่ ทรัพย์มรดกคงมีที่ดินเพียงแปลงเดียวจำเลยได้โอนที่ดินมรดกโดยจดทะเบียนใส่ชื่อตนและท.เป็นผู้รับมรดกเสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่24ตุลาคม2527โดยมิได้จัดการแบ่งมรดกให้แก่โจทก์และเจ้ามรดกไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดที่จะจัดการต่อไปอีกถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวแล้วเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเห็นว่าการจัดการมรดกไม่ชอบโจทก์ก็ต้องฟ้องภายในเวลาไม่เกิน5ปีนับแต่วันที่24ตุลาคม2527เมื่อโจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่16ตุลาคม2534เกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงคดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อ การตรวจสอบอำนาจกรรมการ และผลของการทำสัญญาโดยผู้ไม่มีอำนาจ
ตามหนังสือมอบอำนาจซึ่งทำขึ้นก่อนมีการทำสัญญาเช่าซื้อระบุว่าส. และม. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้แม้โจทก์จะไม่มีพยานหลักฐานอื่นอันแสดงว่าม. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์มานำสืบเพิ่มเติมอีกก็ตามแต่การที่จำเลยที่1เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์โดยถือเอาประโยชน์ตามสัญญาด้วยการรับเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์และผ่อนชำระค่าเช่าซื้อตลอดมาจนกระทั่งผิดนัดย่อมเป็นการผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยที่1แล้วจึงเป็นการเพียงพอให้ฟังได้ว่ามีการมอบอำนาจโดยชอบแล้วเมื่อว. และร.ได้รับมอบอำนาจจากม. จึงมีอำนาจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้สัญญาเช่าซื้อจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
of 31