พบผลลัพธ์ทั้งหมด 307 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจก่อนทำสัญญาเช่าซื้อเพียงพอให้ฟังได้ว่ามีการมอบอำนาจโดยชอบ แม้ไม่มีหลักฐานอื่นเพิ่มเติม
ตามหนังสือมอบอำนาจซึ่งทำขึ้นก่อนมีการทำสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ส. และ ม. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้แม้โจทก์จะไม่มีพยานหลักฐานอื่นอันแสดงว่า ม. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์มานำสืบเพิ่มเติมอีกก็ตามแต่การที่จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์โดยถือเอาประโยชน์ตามสัญญาด้วยการรับเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์และผ่อนชำระค่าเช่าซื้อตลอดมาจนกระทั่งผิดนัด ย่อมเป็นการผูกพันระหว่างโจทก์และ จำเลยที่ 1 แล้ว จึงเป็นการเพียงพอให้ฟังได้ว่ามีการมอบอำนาจโดยชอบแล้ว เมื่อ ว.และร.ได้รับมอบอำนาจจาก ม. จึงมีอำนาจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้ สัญญาเช่าซื้อจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์มรดก: การซื้อที่ดินแทนบุคคลอื่น การแบ่งทรัพย์มรดก และการนำสืบพยานเพื่อแสดงความเป็นมาของทรัพย์สิน
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระบุว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อการที่โจทก์จะนำสืบว่าจำเลยทำแทนหรือถือกรรมสิทธิ์แทนก็เพื่อแสดงถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของส. จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินแทนส. การนำสืบเช่นนี้เป็นการนำสืบถึงการเป็นตัวการตัวแทนอีกส่วนหนึ่งหาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารไม่กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข) ที่จำเลยฎีกาว่าบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมายจ.4เป็นคำมั่นจะให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับได้นั้นจำเลยมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบความเป็นมาของกรรมสิทธิ์ที่ดิน: ไม่เป็นการแก้ไขเอกสาร, ข้อตกลงไม่จดทะเบียน
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระบุว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อ การที่โจทก์จะนำสืบว่า จำเลยทำแทนหรือถือกรรมสิทธิ์แทนก็เพื่อแสดงถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นของ ส. จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินแทน ส. การนำสืบเช่นนี้เป็นการนำสืบถึงการเป็นตัวการตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง หาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารไม่ กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
ที่จำเลยฎีกาว่า บันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.4เป็นคำมั่นจะให้ ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับได้นั้น จำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า บันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.4เป็นคำมั่นจะให้ ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับได้นั้น จำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: หลักฐานมัดตัวจำเลยจากสายลับ, การรับสารภาพ, และความน่าเชื่อถือของคำให้การ
สถานีรถไฟที่เกิดเหตุเป็นสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่านหากเจ้าพนักงานตำรวจไม่ได้รับข้อมูลจากสายลับแล้วก็ยากที่จะจับคนร้ายได้เมื่อจำเลยเป็นผู้หิ้วกระเป๋าหนังสีดำซึ่งภายในมีเสื้อผ้าของจำเลยและเฮโรอีนของกลางบรรจุอยู่โดยเฉพาะม้านั่งที่จำเลยนั่งและนำกระเป๋าไปวางนั้นไม่มีบุคคลอื่นใดนั่งปะปนอยู่ด้วยประกอบกับหลังจากทำบันทึกการจับกุมแล้วได้มีการถ่ายรูปจำเลยพร้อมของกลางไว้เป็นหลักฐานจึงน่าเชื่อว่าจำเลยได้ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมด้วยความสมัครใจหาใช่ถูกเจ้าพนักงานตำรวจบังคับให้ลงชื่อในบันทึกจับกุมโดยยังไม่ได้กรอกข้อความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารและลักทรัพย์นายจ้าง การมีอำนาจฟ้องของโจทก์ที่รับฝากเงิน
โจทก์ร่วมเป็นผู้รับฝากเงินเป็นอาชีพโดยหวังผลประโยชน์ในบำเหน็จค่าฝากหรือจากการเอาเงินของผู้ฝากไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีเฉพาะการฝากเงินไว้ตามมาตรา672ว่าผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกับที่ฝากแต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวนดังนั้นเงินที่ฝากไว้ย่อมได้ชื่อว่าเป็นเงินของโจทก์ร่วมโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยเป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของส. ในใบคำขอใช้บริการบัตรเอ.ที.เอ็ม.แล้วนำมายื่นต่อโจทก์ร่วมเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมออกบัตรกรุงศรีเอ.ที.เอ็ม. ส่งมาให้ธนาคารโจทก์ร่วมสาขาท. แล้วจำเลยลักบัตรนั้นรวมทั้งซองบรรจุรหัสเพื่อใช้กับบัตรกรุงศรีเอ.ที.เอ็ม. ในชื่อของส.ไปต่อจากนั้นจำเลยจึงได้นำบัตรกรุงศรีเอ.ที.เอ็ม.ดังกล่าวไปถอนเงินของโจทก์ร่วมที่เป็นนายจ้างของจำเลยจากเครื่องฝาก-อัตโนมัติครั้งละ10,000บาทรวม16ครั้งการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา264วรรคแรก,268วรรคแรก,335(11)วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารและลักทรัพย์โดยใช้บัตรเอทีเอ็ม ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
โจทก์ร่วมเป็นผู้รับฝากเงินเป็นอาชีพ โดยหวังผลประโยชน์ในบำเหน็จค่าฝากหรือจากการเอาเงินของผู้ฝากไปใช้ประโยชน์ได้ ทั้ง ป.พ.พ.ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีเฉพาะการฝากเงินไว้ตามมาตรา 672 ว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกับที่ฝาก แต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวน ดังนั้นเงินที่ฝากไว้ย่อมได้ชื่อว่าเป็นเงินของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยเป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของ ส.ในใบคำขอใช้บริการบัตรเอ.ที.เอ็ม. แล้วนำมายื่นต่อโจทก์ร่วม เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมออกบัตรกรุงศรีเอ.ที.เอ็ม.ส่งมาให้ธนาคารโจทก์ร่วม สาขา ท. แล้วจำเลยลักบัตรนั้นรวมทั้งซองบรรจุรหัสเพื่อใช้กับบัตรกรุงศรี เอ.ที.เอ็ม.ในชื่อของ ส.ไปต่อจากนั้นจำเลยจึงได้นำบัตรกรุงศรี เอ.ที.เอ็ม.ดังกล่าวไปถอนเงินของโจทก์ร่วมที่เป็นนายจ้างของจำเลยจากเครื่องฝาก-ถอนอัตโนมัติครั้งละ 10,000บาท รวม 16 ครั้ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264วรรคแรก, 268 วรรคแรก, 335 (11) วรรคสอง
จำเลยเป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของ ส.ในใบคำขอใช้บริการบัตรเอ.ที.เอ็ม. แล้วนำมายื่นต่อโจทก์ร่วม เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมออกบัตรกรุงศรีเอ.ที.เอ็ม.ส่งมาให้ธนาคารโจทก์ร่วม สาขา ท. แล้วจำเลยลักบัตรนั้นรวมทั้งซองบรรจุรหัสเพื่อใช้กับบัตรกรุงศรี เอ.ที.เอ็ม.ในชื่อของ ส.ไปต่อจากนั้นจำเลยจึงได้นำบัตรกรุงศรี เอ.ที.เอ็ม.ดังกล่าวไปถอนเงินของโจทก์ร่วมที่เป็นนายจ้างของจำเลยจากเครื่องฝาก-ถอนอัตโนมัติครั้งละ 10,000บาท รวม 16 ครั้ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264วรรคแรก, 268 วรรคแรก, 335 (11) วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีลักทรัพย์นายจ้างจากผู้รับฝากเงิน และความผิดฐานปลอมใช้เอกสาร
โจทก์ร่วมเป็นผู้รับฝากเงินเป็นอาชีพโดยหวังผลประโยชน์ในบำเหน็จค่าฝากหรือจากการเอาเงินของผู้ฝากไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีเฉพาะการฝากเงินไว้ตามมาตรา672ว่าผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกับที่ฝากแต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวนดังนั้นเงินที่ฝากไว้ย่อมเป็นเงินของโจทก์ร่วมโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องในความผิดเกี่ยวกับเงินดังกล่าว จำเลยเป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของส. ในใบคำขอใช้บริการบัตรเอ.ที.เอ็ม.แล้วนำมายื่นต่อโจทก์ร่วมเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมออกบัตรเอ.ที.เอ็ม.ส่งมาให้ธนาคารโจทก์ร่วมสาขาท่าพระ แล้วจำเลยลักบัตรนั้นรวมทั้งซองบรรจุรหัสเพื่อใช้กับบัตรเอ.ที.เอ็ม.ในชื่อของส. จากนั้นจำเลยนำบัตรเอ.ที.เอ็ม.ดังกล่าวไปถอนเงินของโจทก์ร่วมที่เป็นนายจ้างของจำเลยจากเครื่องฝาก-ถอนอัตโนมัติครั้งละ10,000บาทรวม16ครั้งการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา335(11)17กระทงและความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา264และ268อีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินค่าภาษีและการผิดสัญญา ค่าจ้าง โดยพิจารณาจากประเภทของสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนเงินค่าภาษีการค้าที่โจทก์มอบให้ไปชำระแก่กรมสรรพากรแทนแต่จำเลยไม่นำไปชำระเป็นการฟ้องเพื่อใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือทรัพย์ของโจทก์ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์ใช้สิทธิเช่นนี้เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิส่วนเงินค่าจ้างที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนนั้นเป็นการฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยที่รับเงินไปจากโจทก์แล้วผิดสัญญาไม่กระทำการที่จ้างมิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงใช้อายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์และเงินค่าจ้าง: การใช้สิทธิเรียกร้องทรัพย์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิ และการฟ้องผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนเงินค่าภาษีการค้าที่โจทก์มอบให้ไปชำระแก่กรมสรรพากรแทน แต่จำเลยไม่นำไปชำระ เป็นการฟ้องเพื่อใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือทรัพย์ของโจทก์ไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์ใช้สิทธิเช่นนี้ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ ส่วนเงินค่าจ้างที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนนั้น เป็นการฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยที่รับเงินไปจากโจทก์แล้วผิดสัญญาไม่กระทำการที่จ้าง มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิด กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาสินค้าไม่ได้มาตรฐาน: คืนราคาสินค้า & ความรับผิดของหุ้นส่วน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าสินค้าคืนจากจำเลยทั้งสามโดยอ้างว่าได้ส่งสินค้าคืนจำเลยทั้งสามแล้ว แม้โจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า สินค้าของจำเลยไม่ได้มาตรฐานตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดและไม่ผ่านการทดสอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และจำเลยให้การว่าไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า สินค้าของจำเลยชำรุดบกพร่องหรือไม่ ทั้งได้มีการหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยตลอดมาถึงศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าโจทก์นำสินค้าไปคืนจำเลยโดยอ้างว่าสินค้าไม่ได้มาตรฐานและจำเลยที่ 1 ก็ยินยอมรับสินค้าคืนจากโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามยินยอมรับคืนโดยมีเงื่อนไขอย่างไร ย่อมฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 กล่าวคือ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าคืนจากโจทก์แล้วจึงจำต้องคืนราคาสินค้าแก่โจทก์ด้วย กรณีมิใช่พิพาทกันในเรื่องความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์ที่ซื้อขายกัน
โจทก์ซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 3,164,684 บาทแต่ในการชำระราคา เมื่อโจทก์ทราบว่าสายไฟฟ้าที่ซื้อจากจำเลยที่ 1 มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานจึงสั่งอายัดเช็คจำนวน 350,000 บาท และโจทก์ยังค้างชำระราคาสินค้าจำนวน 350,000 บาท ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากราคาสินค้าทั้งหมดก่อน คงเหลือราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 ต้องคืนแก่โจทก์จำนวน2,814,684 บาท จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ในการเจรจาติดต่อนำสินค้าไปคืนแก่จำเลยที่ 1 รวมทั้งการทวงถามค่าสินค้าคืนจากจำเลยที่ 1โจทก์ได้ติดต่อโดยตรงกับจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
โจทก์ติดต่อซื้อสายไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 โดยติดต่อผ่าน ส.โดยไม่ระบุยี่ห้อ และไม่มีข้อตกลงกำหนดมาตรฐานคุณภาพของสินค้าไว้ โดยการสั่งซื้อ โจทก์ไม่ได้ระบุว่าสินค้าจะผลิตจากโรงงานใด โจทก์เพียงแต่ระบุขนาดของสายไฟฟ้าที่จะใช้เท่านั้น นอกจากนี้ก็เป็นความผิดของโจทก์เองที่นำสายไฟฟ้าไปติดตั้งก่อนโดยไม่ผ่านการทดสอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใหม่จึงเป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ล่วงหน้า จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมรับผิดคืนราคาสินค้าและให้ชดใช้ค่าเสียหายอีกส่วนหนึ่งแก่โจทก์ มิได้พิพาทกันเกี่ยวกับความรับผิดในการรอนสิทธิ ที่จำเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ก็ไม่ได้ความชัดแจ้งว่าขาดอายุความในเรื่องใด อย่างไร ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสองคดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 3,164,684 บาทแต่ในการชำระราคา เมื่อโจทก์ทราบว่าสายไฟฟ้าที่ซื้อจากจำเลยที่ 1 มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานจึงสั่งอายัดเช็คจำนวน 350,000 บาท และโจทก์ยังค้างชำระราคาสินค้าจำนวน 350,000 บาท ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากราคาสินค้าทั้งหมดก่อน คงเหลือราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 ต้องคืนแก่โจทก์จำนวน2,814,684 บาท จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ในการเจรจาติดต่อนำสินค้าไปคืนแก่จำเลยที่ 1 รวมทั้งการทวงถามค่าสินค้าคืนจากจำเลยที่ 1โจทก์ได้ติดต่อโดยตรงกับจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
โจทก์ติดต่อซื้อสายไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 โดยติดต่อผ่าน ส.โดยไม่ระบุยี่ห้อ และไม่มีข้อตกลงกำหนดมาตรฐานคุณภาพของสินค้าไว้ โดยการสั่งซื้อ โจทก์ไม่ได้ระบุว่าสินค้าจะผลิตจากโรงงานใด โจทก์เพียงแต่ระบุขนาดของสายไฟฟ้าที่จะใช้เท่านั้น นอกจากนี้ก็เป็นความผิดของโจทก์เองที่นำสายไฟฟ้าไปติดตั้งก่อนโดยไม่ผ่านการทดสอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใหม่จึงเป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ล่วงหน้า จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมรับผิดคืนราคาสินค้าและให้ชดใช้ค่าเสียหายอีกส่วนหนึ่งแก่โจทก์ มิได้พิพาทกันเกี่ยวกับความรับผิดในการรอนสิทธิ ที่จำเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ก็ไม่ได้ความชัดแจ้งว่าขาดอายุความในเรื่องใด อย่างไร ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสองคดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย