คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 ม. 37

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาในคดีรุกล้ำพื้นที่ชลประทาน: การบรรยายรายละเอียดสถานที่เกิดเหตุเพียงพอหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุที่จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำชานคลองเขตคันคลองชลประทานว่า อยู่บริเวณถนนสุขุมวิท หลักกิโลเมตรที่ 40 จำนวนเนื้อที่ 60 ตารางเมตรตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการเป็นการบรรยายถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิดพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวงพ.ศ. 2485 มาตรา 23 พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2507 มาตรา 12 ส่วนพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485มาตรา 37 พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2507มาตรา 17 และพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2518 มาตรา 7 เป็นมาตราที่กำหนดโทษในการกระทำความผิดตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มิใช่มาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดที่โจทก์จะต้องบรรยายไว้ในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5768/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรุกล้ำที่ดินชลประทาน แม้ไม่ได้อ้างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม ศาลยังลงโทษได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างบ้านพักอาศัยรุกล้ำที่ดินราชพัสดุเขตชานคลองชลประทานโดยละเมิดกฎหมายและคำขอท้ายฟ้องได้ระบุอ้างพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช2485 มาตรา 23 วรรค 1 ซึ่งเป็นบทความผิดและมาตรา 37 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษกับอ้างพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2507 มาตรา 17 ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2497 ทั้งได้ขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำนั้นด้วย เพียงแต่โจทก์มิได้อ้างพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2507 มาตรา 12 ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวงพุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2497 ทั้งมิได้อ้างพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2518 มาตรา 7 ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2507 แล้วบัญญัติความใหม่ขึ้นแทนเท่านั้น ตามความที่บัญญัติขึ้นใหม่ ยังคงเรียกว่ามาตรา 23 และมาตรา 37 อยู่นั่นเองการที่จำเลยกระทำความผิดหลังจากใช้กฎหมายซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมใหม่แล้ว แต่โจทก์มิได้ระบุอ้างพระราชบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว จึงมิทำให้ฟ้องโจทก์ขาดความสมบูรณ์
เมื่อฟังว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 23 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2507 มาตรา 12 และมีบทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 มาตรา37 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 4)พ.ศ.2518 มาตรา 7 ศาลก็ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2518 มาตรา 7 ได้ และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำนั้นได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5768/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรุกล้ำที่ดินชลประทาน แม้มีการแก้ไขกฎหมาย โจทก์ยังสามารถใช้กฎหมายเดิมอ้างได้ หากเนื้อหาความผิดยังคงอยู่
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างบ้านพักอาศัยรุกล้ำที่ดินราชพัสดุเขตชานคลองชลประทานโดยละเมิดกฎหมายและคำขอท้ายฟ้องได้ระบุอ้างพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 มาตรา 23 วรรค 1 ซึ่งเป็นบทความผิดและมาตรา 37 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษกับอ้างพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2507 มาตรา 17 ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2497 ทั้งได้ขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำนั้นด้วย เพียงแต่โจทก์มิได้อ้างพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2507 มาตรา 12 ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวงพุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2497 ทั้งมิได้อ้างพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2518 มาตรา 7 ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2507 แล้วบัญญัติความใหม่ขึ้นแทนเท่านั้น ตามความที่บัญญัติขึ้นใหม่ ยังคงเรียกว่ามาตรา 23 และมาตรา 37 อยู่นั่นเองการที่จำเลยกระทำความผิดหลังจากใช้กฎหมายซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมใหม่แล้วแต่โจทก์มิได้ระบุอ้างพระราชบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว จึงมิทำให้ฟ้องโจทก์ขาดความสมบูรณ์
เมื่อฟังว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 23 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2507 มาตรา 12 และมีบทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 มาตรา 37 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2518 มาตรา 7 ศาลก็ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2518 มาตรา 7 ได้ และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำนั้นได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาถึงที่สุด: จำเลยต้องปฏิบัติตาม แม้จะอ้างสิทธิบุคคลภายนอกมิได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในเขตทางน้ำชลประทานโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยและให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนออกไปจากเขตชลประทานภายใน 1 เดือน คดีถึงที่สุด จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องรื้อถอนโรงเรือนซึ่งจำเลยรับว่าได้ปลูกสร้างรุกล้ำโดยผิดกฎหมายออกไป จำเลยจะอ้างสิทธิของบุคคลภายนอกมาเป็นข้อแก้ตัวในการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาหาได้ไม่ เพราะเท่ากับเป็นการโต้แย้งว่าจำเลยมิได้ปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเขตทางน้ำชลประทานอันเป็นการโต้เถียงขัดกับข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้ว แม้จะเป็นในชั้นบังคับคดีก็ไม่อาจกระทำได้ ข้ออ้างของจำเลยมิใช่ข้อแก้ตัวอันดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาถึงที่สุด แม้มีการอ้างสิทธิบุคคลภายนอกก็ไม่อาจใช้เป็นข้อแก้ตัวได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในเขตทางน้ำชลประทานโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยและให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนออกไปจากเขตชลประทานภายใน 1 เดือน คดีถึงที่สุด จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องรื้อถอนโรงเรือนซึ่งจำเลยรับว่าได้ปลูกสร้างรุกล้ำโดยผิดกฎหมายออกไปจำเลยจะอ้างสิทธิของบุคคลภายนอกมาเป็นข้อแก้ตัวในการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาหาได้ไม่ เพราะเท่ากับเป็นการโต้แย้งว่าจำเลยมิได้ปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเขตทางน้ำชลประทานอันเป็นการโต้เถียงขัดกับข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้ว แม้จะเป็นในชั้นบังคับคดีก็ไม่อาจกระทำได้ข้ออ้างของจำเลยมิใช่ข้อแก้ตัวอันดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนอาคารรุกล้ำทางน้ำชลประทาน แม้มีข้อพิพาทเรื่องสิทธิในที่ดิน
ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนออกไปจากเขตชลประทาน คำพิพากษาดังกล่าวเป็นยุติว่าที่พิพาทเป็นทางน้ำชลประทาน จำเลยถูกผูกพันมิให้โต้แย้งว่าที่พิพาทเป็นของผู้อื่น จำเลยไม่สามารถแสดงข้อแก้ตัวที่จะไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งจับกุมและกักขังจำเลย