พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ที่เกิดจากการยักยอกเงินและการฟ้องเรียกคืนจากผู้กระทำละเมิด
หนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำกับ ส. ระบุว่าจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป จึงตกลงคืนเงินที่ยักยอกไปให้แก่ ส. นั้น เป็นเพียงหนังสือที่จำเลยที่ 1 รับว่าเป็นหนี้ ส. และยอมรับชำระหนี้แก่ ส. ไม่มีข้อความที่จำเลยที่ 1 กับ ส. ตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะทำให้หนี้จากมูลละเมิดระงันสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ถึง 852
โจทก์เป็นธนาคารซึ่งรับฝากเงินของ ส. ผู้เป็นลูกค้า ย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ ส. ฝากไว้เมื่อ ส. ทวงถาม การที่จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป ทำให้เงินในบัญชีเงินฝากของ ส. ขาดหายไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่หายไปให้แก่ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 การที่โจทก์คืนเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปให้แก่ ส. จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าไม่มีหนี้ต้องชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ที่เกิดจากจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ให้แก่ ส. ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินที่ชำระไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
โจทก์เป็นธนาคารซึ่งรับฝากเงินของ ส. ผู้เป็นลูกค้า ย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ ส. ฝากไว้เมื่อ ส. ทวงถาม การที่จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป ทำให้เงินในบัญชีเงินฝากของ ส. ขาดหายไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่หายไปให้แก่ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 การที่โจทก์คืนเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปให้แก่ ส. จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าไม่มีหนี้ต้องชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ที่เกิดจากจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ให้แก่ ส. ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินที่ชำระไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีจากหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงาน vs. ละเมิด: การพิจารณาจากคำบรรยายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของโจทก์ ร่วมกันอาศัยอำนาจหน้าที่ของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ไม่ระวังรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ และระบุว่ากรณีจำเลยทั้งสามฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวทำให้ข้าวเปลือกที่โจทก์รับฝากไว้ในคลังสินค้าขาดหายไป ดังนี้คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญยาจ้างแรงงานอันมีอายุความฟ้องร้อง 10ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 หาใช่เป็นการฟ้องให้รับผิดฐานกระทำละเมิดตามมาตรา 420 อันมีอายุความฟ้องร้อง 1ปีตามมาตรา 448 วรรคแรกไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: การขยายอายุความเมื่อศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่มีอำนาจพิจารณา และการฟ้องคดีใหม่ต่อศาลที่มีอำนาจ
โจทก์รู้ถึงการละเมิดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527 และได้ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดรายนี้ต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2528 ภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2529 เพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง จึงเป็นกรณีอายุความฟ้องร้องดังกล่าวได้สิ้นไปในระหว่างพิจารณาของศาลแพ่ง ต้องขยายอายุความนั้นออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำพิพากษาของศาลแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2529 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องในคดีละเมิด: การขยายอายุความเมื่อคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล
โจทก์รู้ถึงการละเมิดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527 และได้ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดรายนี้ต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2528ภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2529 เพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง จึงเป็นกรณีอายุความฟ้องร้องดังกล่าวได้สิ้นไปในระหว่างพิจารณาของศาลแพ่ง ต้องขยายอายุความนั้นออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำพิพากษาของศาลแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2529 จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853-4854/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายจ้างในการโยกย้ายงาน และขอบเขตการพิจารณาของศาลแรงงานในกรณีละเมิด
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามโยกย้างสับเปลี่ยนตำแหน่งของโจทก์ จำเลยนายจ้างย่อมมีอำนาจโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ได้ ไม่เป็นการผิดสัญญาเกี่ยวกับสภาพการจ้างและไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ทั้งโจทก์ยังมิได้ถูกเลิกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49 การโยกย้ายเช่นนี้หามีกฎหมายให้อำนาจแก่ศาลที่จะพิจารณาเป็นประการใดไม่
หากผลของการโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ก่อให้เกิดการดูหมิ่นเกลียวชัง เสียชื่อเสียง ขาดความเชื่อถือแก่โจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการละเมิดจริง ก็ไม่เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดที่เกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน การละเมิดเช่นว่านี้หาอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานที่จะพิจารณาพิพากษาไม่
หากผลของการโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ก่อให้เกิดการดูหมิ่นเกลียวชัง เสียชื่อเสียง ขาดความเชื่อถือแก่โจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการละเมิดจริง ก็ไม่เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดที่เกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน การละเมิดเช่นว่านี้หาอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานที่จะพิจารณาพิพากษาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853-4854/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโยกย้ายตำแหน่งและการละเมิด: สิทธิของนายจ้างและขอบเขตอำนาจศาลแรงงาน
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามโยกย้างสับเปลี่ยนตำแหน่งของโจทก์ จำเลยนายจ้างย่อมมีอำนาจโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ได้ ไม่เป็นการผิดสัญญาเกี่ยวกับสภาพการจ้างและไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ทั้งโจทก์ยังมิได้ถูกเลิกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา49 การโยกย้ายเช่นนี้หามีกฎหมายให้อำนาจแก่ศาลที่จะพิจารณาเป็นประการใดไม่
หากผลของการโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ก่อให้เกิดการดูหมิ่นเกลียวชัง เสียชื่อเสียง ขาดความเชื่อถือแก่โจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการละเมิดจริง ก็ไม่เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดที่เกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน การละเมิดเช่นว่านี้หาอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานที่จะพิจารณาพิพากษาไม่.
หากผลของการโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ก่อให้เกิดการดูหมิ่นเกลียวชัง เสียชื่อเสียง ขาดความเชื่อถือแก่โจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการละเมิดจริง ก็ไม่เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดที่เกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน การละเมิดเช่นว่านี้หาอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานที่จะพิจารณาพิพากษาไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างและลูกจ้างจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้าง ทั้งในส่วนของคดีอาญาและละเมิด
ลูกจ้างกระทำความผิดอาญา ศาลพิพากษาปรับ นายจ้างได้ชำระค่าปรับและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแทนลูกจ้าง แล้วลูกจ้างทำสัญญาประนีประนอมผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวแก่นายจ้างแต่ไม่ชำระ ดังนี้แม้จะมีข้อสัญญาในสัญญาจ้างข้อ 11 ว่า หากลูกจ้างทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายไม่ว่ากรณีใด ๆ ลูกจ้างยอมชดใช้จนครบถ้วน ก็ตามคดีที่นายจ้างฟ้องลูกจ้างให้ชำระหนี้ดังกล่าวก็มิใช่เป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 8(1) ทั้งมิใช่เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 8(5) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 เพราะการชำระค่าปรับเป็นหน้าที่ของลูกจ้าง นายจ้างหาจำต้องรับโทษปรับร่วมกับลูกจ้างไม่ นายจ้างจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้ชำระหนี้ดังกล่าวเป็นคดีแรงงาน ลูกจ้างขับรถยนต์ชนรถยนต์ของบุคคลภายนอกโดยละเมิดตามทางการที่จ้างนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 จึงเป็นเรื่องที่ลูกจ้างได้กระทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายตามข้อ 11 ของสัญญาจ้างดังกล่าวแล้วคดีที่นายจ้างฟ้องเรียกเงินที่ตนได้ชำระแก่บุคคลภายนอกแทนลูกจ้างไปจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 8(1) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แม้ลูกจ้างยอมรับผิดและได้ทำสัญญาประนีประนอมและผ่อนชำระหนี้รายนี้ให้นายจ้างไว้ นายจ้างก็มีอำนาจฟ้องเป็นคดีแรงงานได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของทายาทในหนี้สินจากละเมิดของลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน
บ.ลูกจ้างของโจทก์ขับรถด้วยความประมาทชนขบวนรถไฟเป็นเหตุให้รถโจทก์และรถไฟเสียหาย ต่อมา บ.ถึงแก่กรรม โจทก์ย่อมฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ บ.ในฐานะทายาทโดยธรรมให้รับผิดในความเสียหายดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600 และมาตรา 1629 วรรคสองและเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างกับ บ.ลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8(5).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของทายาทในหนี้ที่เกิดจากละเมิดของลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน
บ. ลูกจ้างของโจทก์ขับรถด้วยความประมาทชนขบวนรถไฟเป็นเหตุให้รถโจทก์และรถไฟเสียหาย ต่อมา บ. ถึงแก่กรรม โจทก์ย่อมฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ บ. ในฐานะทายาทโดยธรรมให้รับผิดในความเสียหายดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599,1600และ มาตรา 1629 วรรคสอง และเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างกับ บ. ลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8(5).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทรับผิดหนี้จากการละเมิดของลูกจ้าง: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา
บ.ลูกจ้างของโจทก์ขับรถด้วยความประมาทชนขบวนรถไฟเป็นเหตุให้รถโจทก์และรถไฟเสียหาย ต่อมา บ.ถึงแก่กรรม โจทก์ย่อมฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ บ.ในฐานะทายาทโดยธรรมให้รับผิดในความเสียหายดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599, 1600 และมาตรา 1629 วรรคสอง และเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างกับ บ.ลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8(5)