คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ม. 30

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบของโจทก์: การพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง
เมื่อศาลกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ แต่โจทก์ส่งเพียงเอกสารที่แนบท้ายคำฟ้องโดยมิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสิบห้าคนดำเนินการเลือกกำนันโดยมิชอบด้วยกฎหมายดังที่โจทก์ฟ้อง โจทก์จึงไม่อาจชนะคดีได้
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนันพ.ศ. 2524 เป็นระเบียบที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา30 แห่ง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่ศาลรู้เองนั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบในประเด็นที่ตนมีหน้าที่นำสืบข้างต้นฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบของโจทก์: การส่งเอกสารไม่อาจทดแทนการสืบพยานหลักฐานในประเด็นที่ฟ้อง
เมื่อศาลกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ แต่โจทก์ส่งเพียงเอกสารที่แนบท้ายคำฟ้องโดยมิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสิบห้าคนดำเนินการเลือกกำนันโดยมิชอบด้วยกฎหมายดัง ที่โจทก์ฟ้อง โจทก์จึงไม่อาจชนะคดีได้ ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนัน พ.ศ. 2524 เป็นระเบียบที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ. 2457 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่ศาลรู้เองนั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบในประเด็นที่ตนมีหน้าที่นำสืบข้างต้นฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3436/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนัน: ผู้สมัครถูกโต้แย้งสิทธิ ต้องฟ้องคดีมีข้อพิพาท ไม่ใช่คดีไม่มีข้อพิพาท
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกกำนัน อ้างว่าคณะกรรมการเลือกประจำหน่วยเลือกกำนันไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเลือกกำนัน พ.ศ.2524 ทำให้คะแนนของผู้ร้องน้อยกว่าคะแนนของผู้คัดค้าน ผู้ได้รับเลือกเป็นกำนัน ซึ่งถ้าปฏิบัติโดยถูกต้องแล้วคะแนนของผู้ร้องจะมากกว่าผู้คัดค้านและเป็นผลให้ผู้ร้องได้รับเลือกเป็นกำนัน ดังนี้ ผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายแพ่งแล้วเมื่อนายอำเภอซึ่งเป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งและแต่งตั้งคณะกรรมการเลือกกำนันรายงานผลการนับคะแนนของคณะกรรมการเลือกกำนันว่าผู้ใดได้คะแนนเสียงส่วนมากไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด โดยเชื่อคะแนนที่คณะกรรมการตรวจนับนายอำเภอและคณะกรรมการเลือกตั้ง จึงเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนันไม่ได้ให้สิทธิผู้ร้องที่จะร้องคัดค้านการเลือกกำนันต่อศาลได้ ผู้ร้องจะขอให้มีการเลือกกำนันใหม่หรือให้นับคะแนนการเลือกกำนันใหม่ก็ต้องฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิของผู้ร้องเป็นคดีมีข้อพิพาทต่อศาล ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอต่อศาลอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3436/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งสิทธิเลือกกำนัน: ผู้สมัครไม่มีสิทธิฟ้องคดีไม่มีข้อพิพาท ต้องฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาท
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกกำนันอ้างว่าคณะกรรมการเลือกประจำหน่วยเลือกกำนันไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนันพ.ศ.2524ทำให้คะแนนของผู้ร้องน้อยกว่าคะแนนของผู้คัดค้านผู้ได้รับเลือกเป็นกำนันซึ่งถ้าปฏิบัติโดยถูกต้องแล้วคะแนนของผู้ร้องจะมากกว่าผู้คัดค้านและเป็นผลให้ผู้ร้องได้รับเลือกเป็นกำนันดังนี้ผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายแพ่งแล้วเมื่อนายอำเภอซึ่งเป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งและแต่งตั้งคณะกรรมการเลือกกำนันรายงานผลการนับคะแนนของคณะกรรมการเลือกกำนันว่าผู้ใดได้คะแนนเสียงส่วนมากไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดโดยเชื่อคะแนนที่คณะกรรมการตรวจนับนายอำเภอและคณะกรรมการเลือกตั้งจึงเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนันไม่ได้ให้สิทธิผู้ร้องที่จะร้องคัดค้านการเลือกกำนันต่อศาลได้ผู้ร้องจะขอให้มีการเลือกกำนันใหม่หรือให้นับคะแนนการเลือกกำนันใหม่ก็ต้องฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิของผู้ร้องเป็นคดีมีข้อพิพาทต่อศาลผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอต่อศาลอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3436/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้สมัครรับเลือกตั้งกำนันถูกโต้แย้งจากผลการนับคะแนนที่ไม่ชอบ ผู้สมัครมีสิทธิฟ้องคดีมีข้อพิพาทต่อศาลเท่านั้น
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกกำนันอ้างว่าคณะกรรมการเลือกประจำหน่วยเลือกกำนันไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนันพ.ศ.2524ทำให้คะแนนของผู้ร้องน้อยกว่าคะแนนของผู้คัดค้านผู้ได้รับเลือกเป็นกำนันซึ่งถ้าปฏิบัติโดยถูกต้องแล้วคะแนนของผู้ร้องจะมากกว่าผู้คัดค้านและเป็นผลให้ผู้ร้องได้รับเลือกเป็นกำนันดังนี้ผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายแพ่งแล้วเมื่อนายอำเภอซึ่งเป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งและแต่งตั้งคณะกรรมการเลือกกำนันรายงานผลการนับคะแนนของคณะกรรมการเลือกกำนันว่าผู้ใดได้คะแนนเสียงส่วนมากไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดโดยเชื่อคะแนนที่คณะกรรมการตรวจนับนายอำเภอและคณะกรรมการเลือกตั้งจึงเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ตามพ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนันไม่ได้ให้สิทธิผู้ร้องที่จะร้องคัดค้านการเลือกกำนันต่อศาลได้ผู้ร้องจะขอให้มีการเลือกกำนันใหม่หรือให้นับคะแนนการเลือกกำนันใหม่ก็ต้องฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิของผู้ร้องเป็นคดีมีข้อพิพาทต่อศาลผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอต่อศาลอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่ของนายอำเภอในการส่งต่อเรื่องร้องเรียนไปยังผู้ว่าฯ ไม่ถือเป็นการละเว้นหน้าที่ตาม ม.157
โจทก์เป็นกำนัน ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอได้รับหนังสือร้องเรียนจากราษฎรกล่าวหาว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แล้วเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดโดยมิได้สืบสวนข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าราษฎรที่ร้องเรียนมีภูมิลำเนาอยู่ตามหนังสือร้องเรียนจริง เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่นั้น โจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับหนังสือร้องเรียนดังกล่าวอย่างไร ซึ่งจะเป็นการแสดงให้เห็นว่า จำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 157 อนึ่ง หน้าที่ในการดำเนินการตามหนังสือร้องเรียนนั้น ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะพิจารณาสั่งการต่อไป การที่จำเลยเสนอหนังสือร้องเรียนโดยมิได้สืบสวนเรื่องภูมิลำเนาของผู้ร้องเรียน จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่นายอำเภอในการเสนอเรื่องร้องเรียนต่อผู้ว่าฯ ไม่ถือเป็นการละเว้นหน้าที่ตามมาตรา 157
โจทก์เป็นกำนันปัญหาที่ว่าการที่จำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอได้รับหนังสือร้องเรียนจากราษฎรกล่าวหาว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแล้วเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดโดยมิได้สืบสวนข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าราษฎรที่ร้องเรียนมีภูมิลำเนาอยู่ตามหนังสือร้องเรียนจริงเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่นั้นโจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องว่าจำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับหนังสือร้องเรียนดังกล่าวอย่างไรซึ่งจะเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามมาตรา157อนึ่งหน้าที่ในการดำเนินการตามหนังสือร้องเรียนนั้นก็เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะพิจารณาสั่งการต่อไปการที่จำเลยเสนอหนังสือร้องเรียนโดยมิได้สืบสวนเรื่องภูมิลำเนาของผู้ร้องเรียนจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่นายอำเภอและการส่งเรื่องร้องเรียนต่อผู้ว่าฯ ไม่ถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
โจทก์เป็นกำนันปัญหาที่ว่าการที่จำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอได้รับ หนังสือร้องเรียนจากราษฎรกล่าวหาว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แล้วเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดโดยมิได้สืบสวนข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ราษฎรที่ร้องเรียนมีภูมิลำเนาอยู่ตามหนังสือร้องเรียนจริงเป็นการละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่นั้น โจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับหนังสือร้องเรียนดังกล่าวอย่างไร ซึ่งจะเป็นการแสดงให้เห็นว่า จำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 157 อนึ่งหน้าที่ในการดำเนินการตามหนังสือร้องเรียนนั้นก็เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะพิจารณาสั่งการต่อไปการที่จำเลยเสนอ หนังสือร้องเรียนโดยมิได้สืบสวนเรื่องภูมิลำเนาของผู้ร้องเรียนจึงเป็น การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้สมัครเลือกตั้งกำนัน ร้องคัดค้านการเลือกตั้งที่ไม่ชอบตามระเบียบ
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 มาตรา 30 มิได้กำหนดให้การเลือกตั้งกำนันเป็นอำนาจสิทธิขาดของนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดโดยเฉพาะ ดังนั้นเมื่อการเลือกตั้งมิได้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ซึ่งจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งด้วยผู้หนึ่งถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายแพ่งผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะใช้สิทธิทางศาลร้องขอให้สั่งว่าการเลือกตั้งดังกล่าวเป็นการมิชอบ และขอให้ศาลสั่งให้จัดให้มีการเลือกตั้งกำนันใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2515 ข้อ 17 กำหนดไว้ว่า บัตรเลือกตั้งซึ่งมิใช่ คณะกรรมการเลือกตั้งจัดทำขึ้นให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย จึงมีความหมายรวมถึงบัตรปลอมด้วย และถือได้ว่าบัตรปลอมเป็นบัตรเลือกตั้งฉะนั้นเมื่อการตรวจนับคะแนนปรากฏว่ามีบัตรเลือกตั้งเกินกว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งแม้จะมีบัตรปลอมรวมอยู่ด้วย คณะกรรมการเลือกตั้งก็ต้องจัดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ทันทีตามข้อ 16 แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้สมัครเลือกตั้งกำนันถูกโต้แย้ง & การเลือกตั้งใหม่เมื่อบัตรเกินจำนวนผู้ใช้สิทธิ
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 มาตรา 30มิได้กำหนดให้การเลือกตั้งกำนันเป็นอำนาจสิทธิขาดของนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดโดยเฉพาะ ดังนั้นเมื่อการเลือกตั้งมิได้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ซึ่งจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งด้วยผู้หนึ่งถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายแพ่งผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะใช้สิทธิทางศาลร้องขอให้สั่งว่าการเลือกตั้งดังกล่าวเป็นการมิชอบ และขอให้ศาลสั่งให้จัดให้มีการเลือกตั้งกำนันใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านพ.ศ. 2515 ข้อ 17 กำหนดไว้ว่า บัตรเลือกตั้งซึ่งมิใช่ คณะกรรมการเลือกตั้งจัดทำขึ้นให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย จึงมีความหมายรวมถึงบัตรปลอมด้วย และถือได้ว่าบัตรปลอมเป็นบัตรเลือกตั้งฉะนั้นเมื่อการตรวจนับคะแนนปรากฏว่ามีบัตรเลือกตั้งเกินกว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งแม้จะมีบัตรปลอมรวมอยู่ด้วย คณะกรรมการเลือกตั้งก็ต้องจัดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ทันทีตามข้อ 16 แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว
of 2