คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 77

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ของมัสยิด การยกที่ดินให้โดยไม่ทำหนังสือ และการครอบครองโดยสงบและเปิดเผย
พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 บัญญัติให้การดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดเป็นไปตามเสียงข้างมากอิหม่ามกับกรรมการอื่นๆ ซึ่งเป็นเสียงข้างมากจึงมีอำนาจดำเนินคดีในนามของมัสยิดโจทก์ได้
ผู้มีชื่อยกที่พิพาทให้โจทก์โดยมิได้ทำเป็นหนังสือ แล้วเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทให้โจทก์ตลอดมาจำเลยซึ่งเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมก็มิได้คัดค้านการกระทำของผู้มีชื่อนั้นเมื่อผู้มีชื่อตายทายาทก็เข้ารับเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทนำส่งโจทก์ตลอดมาย่อมถือได้ว่าโจทก์เข้าถือสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของที่พิพาทโดยทายาทของผู้มีชื่อนั้นเป็นผู้ดูแลแทนเมื่อทายาทงดเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทนำส่งโจทก์ โจทก์ก็เข้าเก็บทำเอง โดยจำเลยหรือบุคคลอื่นใดมิได้ขัดขวาง ดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยสงบและเปิดเผยตลอดมา และเมื่อได้ครอบครองเกินกว่า10 ปี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ของมัสยิด: การครอบครองโดยสงบและเปิดเผยต่อเนื่องเกิน 10 ปี
พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 บัญญัติให้การดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดเป็นไปตามเสียงข้างมาก อิหม่ามกับกรรมการอื่น ๆ ซึ่งเป็นเสียงข้างมากจึงมีอำนาจดำเนินคดีในนามของมัสยิดโจทก์ได้
ผู้มีชื่อยกที่พิพาทให้โจทก์โดยมิได้ทำเป็นหนังสือ แล้วเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทให้โจทก์ตลอด จำเลยซึ่งเป็นซึ่งผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมก็มิได้คัดค้านการกระทำของผู้มีชื่อนั้น เมื่อผู้มีชื่อตายทายาทก็เข้ามารับเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทนำส่งโจทก์ตลอดมา ย่อมถือได้ว่าโจทก์เข้าถือสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของที่พิพาทโดยทายาทของผู้มีชื่อนั้นเป็นผู้ดูแลแทน เมื่อทายาทงดเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทนำส่งโจทก์ โจทก์ก็เข้าเก็บทำเอง โดยจำเลยหรือบุคคลอื่นใดมิได้ขัดขวางดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยสงบและเปิดเผยตลอดมา และเมื่อได้ครอบครองเกินกว่า 10 ปี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการฟ้องคดีอาญาแทนกันได้ ผู้เสียหายมอบอำนาจได้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา
ผู้เสียหายไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ย่อมมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอาญาแทนได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2503) (ดูเทียบกับฎีกาที่ 755/2502 ซึ่งวินิจฉัยว่า การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้)
้เมื่อผู้เสียหายมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอาญาแล้ว ผู้ที่รับมอบอำนาจก็ย่อมลงชื่อในฟ้องแทนโจทก์ได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 158 ข้อ (7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจมอบอำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดามีสิทธิมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องแทนได้
ผู้เสียหายไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาย่อมมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอาญาแทนได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2503) (ดูเทียบกับฎีกาที่ 755/2502 ซึ่งวินิจฉัยว่า การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้)
เมื่อผู้เสียหายมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอาญาแล้วผู้ที่รับมอบอำนาจก็ย่อมลงชื่อในฟ้องแทนโจทก์ได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158ข้อ(7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของบริษัท: ผู้จัดการต้องได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการก่อนจึงจะฟ้องแทนบริษัทได้
ข้อบังคับของบริษัทมีว่า 'คณะกรรมการมีอำนาจตั้งตัวแทนกำหนดอำนาจตัวแทนได้ตามที่เห็นสมควรและให้คณะกรรมการเป็นโจทก์จำเลยในคดีแพ่งหรืออาญาโดยกรรมการ 2 นายมีอำนาจลงนามและประทับตราและให้คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินการของบริษัทโดยความควบคุมของที่ประชุมใหญ่' ดังนี้เมื่อคณะกรรมการยังไม่ได้มอบอำนาจให้ผู้จัดการฟ้องคดีผู้จัดการจะอ้างนามบริษัทฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนบริษัท: คณะกรรมการต้องมอบอำนาจก่อน
ข้อบังคับของบริษัทมีว่า "คณะกรรมการมีอำนาจตั้งตัวแทน กำหนดอำนาจตัวแทนได้ตามที่เห็นสมควรและให้คณะกรรมการเป็นโจทก์จำเลยในคดีแพ่งหรืออาญา โดยกรรมการ 2 นายมีอำนาจลงนามและประทับตราและให้คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินการของบริษัท โดยความควบคุมของที่ประชุมใหญ่" ดังนี้ เมื่อคณะกรรมการยังไม่ได้มอบอำนาจให้ผู้จัดการฟ้องคดีผู้จัดการจะอ้างนามบริษัทฟ้องไม่ได้
of 25