คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. 47 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ที่ไม่สุจริตในคดีแรงงานและการตีความคำว่า 'ทุจริต' เพื่อปฏิเสธค่าชดเชย
โจทก์แพ้คดีและต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างโจทก์ตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานจำเลยตามคำพิพากษาศาลแรงงานในคดีนี้ แต่โจทก์กลับมาอุทธรณ์เสียเองว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องอันจะมีผลให้โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามคำพิพากษาศาลแรงงาน จึงเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จะอ้างความไม่สุจริตมาอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่
โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์ในคดีแรงงานโดยไม่สุจริต ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องข้อนี้ของโจทก์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1) ที่บัญญัติให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่นั้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต"ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) กรณีจึงต้องใช้ความหมายความคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือ หมายความว่า ความประพฤติชั่ว โกงไม่ซื่อตรง
ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยได้รับค่าจ้างวันละ 190 บาทละทิ้งงานไปเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แม้ว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในระยะเวลาที่ส.ละทิ้งงาน แต่ก็เกิดโทษแก่นายจ้างน้อย ยังไม่พอถือว่า ส. มีความประพฤติชั่วโกง ไม่ซื่อตรง จึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริต และการตีความคำว่า 'ทุจริต'
โจทก์บรรยายฟ้องว่าคำเตือนที่ 14/2541 ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นคำสั่งตามมาตรา 124 เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมี อำนาจฟ้อง แต่โจทก์อุทธรณ์ว่คำเตือนที่ 14/2541 ออกตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 77 ไม่ได้ออกตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 139 และมาตรา 140 ซึ่ง เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่า คำเตือนที่ 14/2541 ไม่ใช่คำสั่งหรือคำวินิจฉัยให้โจทก์ ปฏิบัติตามไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิ โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอน จึงเป็น อุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31โจทก์แพ้คดีต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ ส. ลูกจ้างโจทก์ตามคำเตือนที่ 14/2541 แต่โจทก์กลับมาอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง เป็นการ ใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 ปัญหาการใช้ สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ประกาศกระทรวงมหาดไทยมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้และมิได้ใช้ คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัตไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1) จึงต้อง ใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต"ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่วโกง ไม่ซื่อตรงส. เป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยได้รับค่าจ้างวันละ 190 บาทละทิ้งงานไปเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แม้ว่าโจทก์จะต้องจ่ายค่าจ้างในระยะเวลาที่ ส.ละทิ้งงานแต่ก็เกิดโทษแก่โจทก์น้อย ยังไม่พอถือว่า ส. มีความประพฤติชั่วโกง ไม่ซื่อตรง อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5994/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรายเดือน กรณีรายงานเวลาทำงานเท็จ แม้ไม่ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเดือนละตามจำนวนที่ได้กำหนดไว้แน่นอน และการคิดค่าจ้างรายเดือนมิได้นำจำนวนวันหรือจำนวนชั่วโมงที่โจทก์เข้าปฏิบัติงานจริงเป็นเกณฑ์คำนวณค่าจ้าง ถ้าโจทก์ขาดงานหรือไปปฏิบัติงานสายบ้าง โจทก์ก็มิได้ถูกลดหรือถูกตัดค่าจ้างในวันดังกล่าว โจทก์ยังคงได้รับค่าจ้างรายเดือนเต็มจำนวน การที่โจทก์ไปปฏิบัติงานจริงเวลา 8.20นาฬิกา แต่ลงเวลาปฏิบัติงานตั้งแต่ 6 นาฬิกา แม้เป็นเท็จ แต่เมื่อไม่ทำให้โจทก์ได้รับค่าจ้างหรือประโยชน์อย่างอื่นจากจำเลยเพิ่มขึ้น จึงไม่เป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ เป็นเพียงการไปปฏิบัติงานสายและรายงานเท็จเกี่ยวกับเวลาเริ่มปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชาเท่านั้น ซึ่งไม่ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงการที่เลิกจ้างจำเลยโดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (1) จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
โจทก์ไปปฏิบัติงานสายของโจทก์แล้วโจทก์ยังรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาอีก ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและจำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างให้โจทก์ กับไม่ต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำทรัพย์นายจ้างไปใช้โดยมิชอบถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และจำเลยมีสิทธิสืบพยานเพื่อพิสูจน์
การนำทรัพย์ของนายจ้างไปใช้โดยปราศจากสิทธิโดยชอบเป็นการกระทำที่มุ่งแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเป็นการทุจริตอยู่ในตัว จึงอยู่ในประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่
คำให้การจำเลยได้ให้การถึงข้อเท็จจริงที่ละเอียดเพิ่มเติมจากคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์ได้กระทำการใดที่เป็นการทุจริต เป็นการขยายความตามคำสั่งเลิกจ้างให้สามารถเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้น โดยมิได้มีส่วนใดขัดหรือแตกต่างจากคำสั่งเลิกจ้างแต่ประการใด จำเลยย่อมมีสิทธิโดยชอบที่จะสืบพยานตามข้อเท็จจริงที่ได้ให้การไว้ และศาลแรงงานย่อมรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวได้โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4699/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของตนเอง และความรับผิดต่อการทุจริตของลูกจ้าง
จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาน่าน จำเลยจึงมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารงานของสาขาโจทก์ที่จำเลยเป็นผู้จัดการทั้งหมด ทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่ในสาขาเดียวกันกับจำเลยจำเลยจะต้องควบคุมดูแลให้พนักงานปฏิบัติงานตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์โดยเคร่งครัดรวมทั้งตัวจำเลยด้วย ทั้งนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยเป็นผู้เก็บรักษากุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงและตู้นิรภัยชุดหนึ่งซึ่งจำเลยสามารถจะเข้าไปเปิดห้องมั่นคง และตู้นิรภัยได้ตลอดเวลาโดยลำพังผู้เดียวส่วนกุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงและตู้นิรภัยอีกชุดหนึ่งมีการแยกเก็บรักษา โดย ร.เป็นผู้เก็บรักษากุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคง ส่วน พ.ผู้เก็บรักษากุญแจและรหัสตู้นิรภัยลำพังเพียง ร.หรือ พ.คนใดคนหนึ่งไม่สามารถจะเปิดตู้นิรภัยได้ ก่อนวันเกิดเหตุและระหว่างวันเกิดเหตุ พ.กลับจากลาพักผ่อนประจำปีเข้ามาทำงานตามปกติ และได้รับมอบกุญแจและรหัสตู้นิรภัยมาเก็บรักษาแล้ว ดังนั้น ระหว่างวันเกิดเหตุผู้เก็บรักษากุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงคือ ร.และผู้เก็บรักษากุญแจและรหัสตู้นิรภัยคือ พ.เมื่อเป็นเช่นนี้ในขณะเกิดเหตุ ร.หรือ พ.จึงไม่อาจจะเข้าไปเปิดตู้นิรภัยตามลำพังเพียงคนเดียวได้ แต่จำเลยเพียงผู้เดียวสามารถที่จะเข้าไปเปิดได้ เมื่อพิจารณาพฤติการณ์แห่งคดีที่ส่วนหนึ่งของเงินที่หายไปอยู่ในลิ้นชักโต๊ะทำงานของ พ.ซึ่งศาลแรงงานกลางฟังว่าเงินของโจทก์หายไปเกิดจากการกระทำของผู้เก็บรักษากุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงกับตู้นิรภัยแล้ว สำหรับ ร.และ พ.นั้นต่างคนต่างเก็บรักษากุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงและตู้นิรภัยอันเป็นการแยกเก็บรักษาตามหน้าที่ของตนตามปกติ จึงถือมิได้ว่าปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้เงินของโจทก์หายส่วนกรณีเงินที่หายไปจากตู้นิรภัยส่วนหนึ่ง กับเงินที่มิได้เก็บไว้ในตู้นิรภัย แต่ไปอยู่ที่ลิ้นชักโต๊ะทำงานของ พ.นั้นก็ไม่ทำให้เห็นว่า พ.ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่อ เพราะเงินที่หายไปเป็นเงินที่ได้นำไปเก็บไว้ในตู้นิรภัยเรียบร้อยแล้วหาก พ.ทำการทุจริตก็คงจะไม่นำเงินที่ตนเอาไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะในที่ทำงานเช่นนี้ สำหรับจำเลยนั้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารงานสาขาโจทก์ที่จังหวัดน่านให้ดำเนินไปด้วยดี โดยจำเลยจะต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่โจทก์วางไว้อย่างเคร่งครัด การที่จำเลยปฏิบัติหน้าที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยไม่เปลี่ยนรหัสประตูห้องมั่นคงและรหัสตู้นิรภัยเมื่อมีการสับเปลี่ยนพนักงานระดับบริหารที่เก็บรักษากุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงกับตู้นิรภัย และจำเลยเองก็เป็นผู้เก็บรักษาทั้งกุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงกับตู้นิรภัย ซึ่งจำเลยสามารถเข้าไปเปิดตู้นิรภัยตามลำพังได้ตลอดเวลา เมื่อเงินของโจทก์ที่เก็บไว้ในตู้นิรภัยหายไปก็ไม่สามารถที่จะสอบหาตัวผู้ทุจริตได้เช่นนี้ ถือได้ว่าความเสียหายเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินที่หายแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6715/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งออกจากงานเนื่องจากมีมลทิน - สิทธิรับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบ
โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกหรือปลดออกจากงาน จำเลยได้ตั้งกรรมการสอบสวนการกระทำของโจทก์ ทางสอบสวนไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะฟังว่า โจทก์กระทำผิดวินัยที่จะต้องถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากงาน แต่มีมลทินมัวหมอง และมีพฤติการณ์อันไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ หากจะให้ปฏิบัติงานต่อไปอาจเป็นการเสียหายแก่จำเลย จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยระเบียบพนักงาน พ.ศ.2517 ข้อ 34 (3) และให้ถือว่าออกจากงานเพราะกระทำผิด ไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบตามข้อ 36 แห่งข้อบังคับฉบับเดียวกัน แต่เมื่อข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยระเบียบพนักงานเอกสารหมาย ล.7 ข้อ 36 มีข้อความว่า"พนักงานผู้ใดต้องพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ตามข้อ 34 ซึ่งไม่ใช่เป็นการออกจากตำแหน่งหน้าที่เพราะการกระทำผิดมีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบตามข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ และการสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค" และข้อ 34 แห่งข้อบังคับฉบับเดียวกันมีข้อความว่า"การสั่งให้พนักงานผู้ใด พ้นจากตำแหน่งหน้าที่โดยการให้ออกให้พิจารณาโดยเหตุดังนี้"... (3) มีข้อความว่า "พนักงานผู้นั้นต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและการสอบสวนไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่าได้กระทำผิดที่จะถูกไล่ออกหรือปลดออกแต่มีมลทินหรือมัวหมอง หรือมีพฤติการณ์อันไม่น่าเป็นที่ไว้วางใจ ซึ่งจะให้ปฏิบัติงานต่อไปอาจเป็นการเสียหายแก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค" ดังนี้ ผลการสอบสวนที่สรุปว่าจำเลยไม่มีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อกล่าวหาที่จะต้องมีโทษถูกไล่ออกหรือปลดออกจากงาน แต่มีมลทินหรือมัวหมอง หรือมีพฤติการณ์อันไม่น่าเป็นที่ไว้วางใจฯ ซึ่งต้องด้วยข้อบังคับฉบับดังกล่าวข้อ 34 (3) นั้น ซึ่งตามเนื้อหาแล้วไม่ได้เป็นการระบุว่าโจทก์กระทำผิดวินัยในข้อใด แต่เป็นเรื่องที่ตามทางสอบสวนปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวนว่ามีเหตุสงสัยตามสมควรว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ ในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยจะอาศัยข้อบังคับฉบับดังกล่าวสั่งให้โจทก์ออกจากงานได้ก็ตาม แต่จะถือว่าโจทก์ออกจากตำแหน่งหน้าที่เพราะกระทำผิดยังไม่ได้ คำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ออกจากงานโดยให้ถือว่าได้กระทำผิด จึงเป็นเรื่องเกินเลยไปจากที่ข้อบังคับกำหนดไว้ โจทก์ยังคงมีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบตามข้อ 36 แห่งข้อบังคับฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่จากการรับงานนอกและเบียดบังทรัพย์สินของนายจ้าง
จำเลยได้ให้การด้วยวาจาต่อสู้คดีว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย รับงานนอกมาทำในระหว่างการทำงานโดยใช้อุปกรณ์ของจำเลย แม้จะมิได้ระบุว่าฝ่าฝืนในข้อใด แต่จำเลยก็ได้บรรยายการกระทำของโจทก์ชัดเจนอยู่ในตัวพอที่จะปรับกับระเบียบข้อบังคับของจำเลยได้ว่า การกระทำของโจทก์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่
โจทก์ทำงานออกแบบเสื้อให้จำเลย โดยหน้าที่โจทก์ย่อมต้องปฏิบัติงานให้จำเลยในระหว่างทำงานให้ลุล่วงไปตามสมควรเพื่อหวังให้เกิดผลคุ้มค่ากับค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทน การที่โจทก์รับงานนอกเข้ามาทำในระหว่างทำงานโดยใช้อุปกรณ์ของจำเลยอันได้แก่ พู่กัน สี และกระดาษเป็นการเบียดบังทั้งเวลาและทรัพย์สินของจำเลยโดยมิชอบต่อหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง จำเลยย่อมได้รับความเสียหาย การกระทำของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5959/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงเวลาทำงานไม่ตรงตามความเป็นจริง ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับร้ายแรง หรือทุจริตต่อหน้าที่ หากนายจ้างไม่ถือเป็นสาระสำคัญ
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ลูกจ้างจะต้องมาทำงานระหว่าง 8 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา การที่ลูกจ้างลงเวลาทำงานไว้ว่าได้มาทำงานและเลิกงานตามเวลาดังกล่าว โดยมีลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ควบคุมการทำงานลงชื่อกำกับความถูกต้องในช่องหมายเหตุทุกวัน แสดงว่านายจ้างไม่ได้ถือว่าการลงเวลามาทำงานและเลิกงานเป็นสาระสำคัญ แม้จะลงเวลาไม่ตรงกับความเป็นจริง ผู้ควบคุมการทำงานลูกจ้างก็ลงชื่อกำกับความถูกต้องให้ ไม่ปรากฎว่า ลูกจ้างถูกหักค่าจ้างจากการมาทำงานสายและเลิกงานก่อนเวลา จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ร้ายแรง และการกระทำดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทุจริตต่อหน้าที่ของลูกจ้างธนาคาร การลดโทษทางวินัย และสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายแรงงาน
จำเลยให้โจทก์นำเอกสารที่เป็นความลับของธนาคารจำเลยที่ไม่ต้องการใช้และไม่มีประโยชน์ไปเผาทำลาย แต่โจทก์กลับนำเอกสารบางส่วนไปขายโดยไม่นำไปเผา และเอาเงินที่ขายได้เป็นของตนเอง จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยที่สิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์กระทำความผิดซึ่งจะต้องถูกลงโทษไล่ออก และครั้งแรกจำเลยก็ได้ลงโทษโจทก์ด้วยการไล่ออกแล้ว แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ต่อผู้จัดการของจำเลย ผู้จัดการได้พิจารณาลดโทษให้โจทก์ เป็นให้ลดโทษด้วยการให้ออก การลดโทษดังกล่าวหาได้หมายความว่าจำเลยเห็นว่าการกระทำของโจทก์ไม่เป็นการกระทำผิดข้อบังคับของจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่จากการใช้ลูกจ้างในบังคับบัญชาทำงานส่วนตัว
โจทก์ใช้สอยลูกจ้างของจำเลยซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของโจทก์ไปจ่ายกับข้าวให้แก่ร้านขายอาหาร ในเวลาทำงานช่วงเช้าคนหนึ่งและช่วงบ่ายคนหนึ่ง เป็นเวลานานประมาณ 10 วัน เป็นการแสวงหาประโยชน์จากหน้าที่การงานเพื่อประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่น เกินสมควรที่ผู้บังคับบัญชาจะพึงกระทำและเสียหายแก่นายจ้าง ถือว่าทุจริตต่อหน้าที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเป็นการเลิกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่ตามข้อ 47(1) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และกรณีลูกจ้างกระทำการไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
of 2