พบผลลัพธ์ทั้งหมด 395 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายยางพาราจากเหตุบุคคลภายนอกคัดค้านการตัดโค่น ศาลไม่ถือว่าเป็นการยอมตามบุคคลภายนอกทำให้ฟ้องไม่ขาดอายุความ
จำเลยทำสัญญาขายต้นยางพาราซึ่งอ้างว่าปลูกอยู่ในที่ดินจำเลยให้โจทก์ โจทก์จึงสั่งจ่ายเช็คสองฉบับให้จำเลยฉบับแรกเรียกเก็บเงินได้ โจทก์จึงเข้าตัดโค่นต้นยางพาราแต่ผู้ใหญ่บ้านได้คัดค้านและสั่งห้ามโจทก์ตัดโค่นต้นยางพาราในที่ดินพิพาท โดยอ้างว่าเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์โดยใช้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ โจทก์จึงมีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คฉบับที่สอง แล้วบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย ดังนั้น กรณีไม่ว่าที่ดินซึ่งปลูกต้นยางพาราจะเป็นของจำเลยจริงหรือไม่และกรรมสิทธิ์ในต้นยางพาราทั้งหมดหรือแต่บางส่วนจะได้โอนไปยังโจทก์แล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ในเมื่อหลังจากนั้นจำเลยมิได้ดำเนินการใดหรือแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่ผู้ใหญ่บ้านผู้เข้ามารบกวนขัดขวางการตัดโค่นต้นยางพาราของโจทก์เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่โจทก์ว่าการตัดโค่นต้นยางพาราจะได้รับความสะดวกและจะไม่ถูกดำเนินคดี แต่จำเลยก็ยังมิได้ดำเนินการประการใดจำเลยจึงต้องตกเป็นผู้ผิดสัญญาซื้อขายต้นยางพารา การยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481 นั้น มีความหมายว่าต้องเป็นการยอมโดยสมัครใจ แต่การยอมตามข้อคัดค้านหรือการเรียกร้องในทางอาญาหรือในทางปกครองอันมีรูปเรื่องเป็นเชิงมีสภาพบังคับให้บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือโจทก์ต้องจำยอมปฏิบัติตาม มิฉะนั้นอาจถูกดำเนินคดีในทางอาญาได้นั้น กรณีย่อมไม่อยู่ในความหมายและในบังคับอายุความแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุดเนื่องจากผู้ขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ตามกำหนด ผู้ซื้อมีสิทธิได้รับมัดจำคืน
สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุด ระบุวันเดือนปีในการชำระเงินมัดจำไว้ 6 งวด เริ่มงวดแรกวันที่ 15 มีนาคม 2533 งวดสุดท้ายวันที่ 15สิงหาคม 2533 ส่วนที่เหลือ 358,800 บาท กำหนดชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ และหมายเหตุว่าโอนกันเดือนพฤศจิกายน ตามข้อสัญญาดังกล่าวได้กำหนดเวลาในการชำระหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ไว้แล้ว ผู้จะซื้อย่อมบอกเลิกสัญญาได้เลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 388 การที่ผู้จะซื้อปล่อยเวลาไว้นานเกือบ 5 ปี จึงบอกเลิกสัญญา และขอมัดจำคืนก็มิใช่กรณีที่คู่สัญญาผู้จะซื้อจะขายมิได้ถือเอาระยะเวลาเป็นสาระสำคัญในการชำระหนี้ การเลิกสัญญาจึงมิต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้ตาม มาตรา 387 การที่จำเลยผู้จะขายมีปัญหากับบริษัท ท.ผู้รับจำนอง แล้วโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาไม่ได้ เป็นความผิดของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว แม้โจทก์มิได้ดำเนินการอย่างไร จะถือว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้จำเลยไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ได้ตามกำหนดเวลาในสัญญา จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว
หนังสือนัดโอนห้องชุดที่จำเลยมีไปถึงโจทก์หลังจากจำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามวันที่กำหนดไว้ในสัญญา เป็นการกระทำของจำเลยหลังจากที่กำหนดเป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว หนังสือที่จำเลยนัดให้โจทก์มารับโอนห้องชุดพิพาทหลังจากจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์แล้วย่อมไม่มีผลทำให้โจทก์กลับมาเป็นผู้ผิดสัญญาแทนจำเลยไปได้
หนังสือนัดโอนห้องชุดที่จำเลยมีไปถึงโจทก์หลังจากจำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามวันที่กำหนดไว้ในสัญญา เป็นการกระทำของจำเลยหลังจากที่กำหนดเป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว หนังสือที่จำเลยนัดให้โจทก์มารับโอนห้องชุดพิพาทหลังจากจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์แล้วย่อมไม่มีผลทำให้โจทก์กลับมาเป็นผู้ผิดสัญญาแทนจำเลยไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุด: การผิดสัญญาจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ และผลของการนัดโอนหลังผิดสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุด ระบุวันเดือนปีในการชำระเงินมัดจำไว้ 6 งวด เริ่มงวดแรกวันที่15 มีนาคม 2533 งวดสุดท้ายวันที่ 15 สิงหาคม 2533ส่วนที่เหลือ 358,800 บาท กำหนดชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์และหมายเหตุว่าโอนกันเดือนพฤศจิกายน ตามข้อสัญญาดังกล่าวได้กำหนดเวลาในการชำระหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ไว้แล้ว ผู้จะซื้อย่อมบอกเลิกสัญญาได้เลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 การที่ผู้จะซื้อปล่อยเวลาไว้นานเกือบ 5 ปี จึงบอกเลิกสัญญา และขอมัดจำคืนก็มิใช่กรณีที่คู่สัญญาผู้จะซื้อจะขายมิได้ถือเอาระยะเวลาเป็นสาระสำคัญในการชำระหนี้การเลิกสัญญาจึงมิต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้ตามมาตรา 387 การที่จำเลยผู้จะขายมีปัญหากับบริษัทท.ผู้รับจำนอง แล้วโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาไม่ได้ เป็นความผิดของจำเลยเพียงฝ่ายเดียวแม้โจทก์มิได้ดำเนินการอย่างไร จะถือว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้จำเลยไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ได้ตามกำหนดเวลาในสัญญาจึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว หนังสือนัดโอนห้องชุดที่จำเลยมีไปถึงโจทก์หลังจากจำเลย ไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามวันที่กำหนด ไว้ในสัญญา เป็นการกระทำของจำเลยหลังจากที่กำหนด เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว หนังสือที่จำเลยนัดให้โจทก์ มารับโอนห้องชุดพิพาทหลังจากจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์ แล้วย่อมไม่มีผลทำให้โจทก์กลับมาเป็นผู้ผิดสัญญาแทนจำเลยไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: กำหนดเวลาส่งมอบทรัพย์เป็นสาระสำคัญ, สิทธิบอกเลิกสัญญาและการคืนเงินค่าเช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อที่ดินพิพาทเป็นสัญญาที่จำเลยผู้ให้เช่าซื้อตกลงให้โจทก์เช่าซื้อที่ดินและบ้านพักอาศัย จำเลยผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อที่จะต้องสร้างบ้านให้เสร็จและโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว ฉะนั้น กำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์จึงเป็นสาระสำคัญที่โจทก์และจำเลยต้องตกลงกัน การที่โจทก์กับจำเลยตกลงเวลากันไว้แล้วว่าจำเลยต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเมื่อใด เพียงแต่ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อให้ชัดแจ้งฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธินำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงการส่งมอบที่ดินและบ้านดังกล่าวได้ว่าจำเลยจะต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จภายในเวลาเท่าใด ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาให้เช่าซื้อ ไม่สามารถสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา โจทก์ผู้เช่าซื้อจึงไม่ต้องชำระค่างวดต่อไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 และมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ตามมาตรา 388โดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดพอสมควรตามมาตรา 387 ก่อน และเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแล้วพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ตามมาตรา 391
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาให้เช่าซื้อ ไม่สามารถสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา โจทก์ผู้เช่าซื้อจึงไม่ต้องชำระค่างวดต่อไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 และมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ตามมาตรา 388โดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดพอสมควรตามมาตรา 387 ก่อน และเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแล้วพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ตามมาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อสร้างบ้าน: การกำหนดเวลาส่งมอบเป็นสาระสำคัญ การบอกเลิกสัญญาและการคืนเงิน
สัญญาเช่าซื้อที่ดินพิพาทเป็นสัญญาที่จำเลยผู้ให้เช่าซื้อตกลงให้โจทก์เช่าซื้อที่ดินและบ้านพักอาศัยจำเลยผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อจะต้อง สร้างบ้านให้เสร็จและโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว ฉะนั้น กำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์จึงเป็นสาระสำคัญที่โจทก์และจำเลยต้องตกลงกัน การที่โจทก์กับจำเลยตกลงเวลากันไว้แล้วว่าจำเลยต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเมื่อใดเพียงแต่ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อให้ชัดแจ้งฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธินำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงการส่งมอบที่ดินและบ้านดังกล่าวได้ว่าจำเลยจะต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จภายในเวลาเท่าใด ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ ไม่สามารถสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา โจทก์ผู้เช่าซื้อจึงไม่ต้องชำระค่างวดต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 และมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ตามมาตรา 388 โดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดพอสมควรตามมาตรา 387 ก่อน และเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องค้นเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแล้วพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ตามมาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5408/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย และการใช้สิทธิโดยสุจริตหลังครบกำหนดส่งมอบ
การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าปรับและค่าเสียหายที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าในสัญญาอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั้น ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่เวลาที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม (ตรงกับมาตรา 193/30 ปัจจุบัน) หลังจากครบกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบสิ่งของตามสัญญาซื้อขายในวันที่ 17 ตุลาคม 2527 แล้วจำเลยที่ 1 ได้ทยอยส่งมอบสิ่งของแก่โจทก์อีกแสดงว่าโจทก์พยายามให้โอกาสจำเลยที่ 1 ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาแก่โจทก์โดยไม่บอกเลิกสัญญา จนครั้งสุดท้ายโจทก์แจ้งแก่จำเลยที่ 1 ว่า ให้โอกาสส่งมอบสิ่งของจนถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2528 ซึ่งจำเลยที่ 1 ทำหนังสือขอผัดผ่อนต่อไปอีกจนถึงวันที่ 25 กันยายน 2528 ฉะนั้นการที่โจทก์บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 ภายหลังครบกำหนดส่งมอบของตามสัญญาซื้อขายเป็นเวลานานนับปีนั้นจึงไม่มีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นโมฆะ แม้มีข้อกำหนดขัดประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แต่การบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ
ข้อกำหนดในการเลิกสัญญาเช่าซื้อและการกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าซื้อ แม้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนจะกำหนดวิธีการเลิกสัญญาและการกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อไว้โดยเฉพาะเพื่อควบคุมธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ไม่ให้เอาเปรียบลูกค้าในการเลิกสัญญาเช่าซื้อ หากผู้ให้เช่าซื้อฝ่าฝืน เมื่อผู้ให้เช่าซื้อชำระค่าปรับตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 แล้วผู้ให้เช่าซื้อก็ยังสามารถที่จะกลับมาปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อกำหนดได้ ดังนั้น แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุเงื่อนไขในการเลิกสัญญาแตกต่างไปจากประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ก็คงไม่มีผลใช้บังคับเฉพาะข้อกำหนดในการเลิกสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น เพราะสามารถแยกส่วนที่สมบูรณ์ออกจากส่วนที่ไม่สมบูรณ์ได้หาทำให้สัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะทั้งฉบับแต่อย่างใดไม่ ส่วนค่าเสียหายที่สัญญาเช่าซื้อระบุว่า "เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดนอกจากยอมให้ริบเงินที่ชำระไปแล้วยังต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดด้วยนั้น" เป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาเช่าซื้อจึงไม่เป็นโมฆะ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนออกตามความในมาตรา 31 แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ข้อ 3(7) ก. กำหนดวิธีการเลิกสัญญาว่าบริษัทเงินทุนจะเลิกสัญญาต่อเมื่อมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระนั้นภายในเวลาอย่างน้อยสามสิบวันและผู้เช่าซื้อละเลยเสียไม่ปฏิบัติตาม เพื่อเป็นการควบคุมธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ไม่ให้เอาเปรียบลูกค้าในการเลิกสัญญาเช่าซื้อ และได้กำหนดโทษในการฝ่าฝืน การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือและบอกเลิกสัญญา จึงไม่เป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบและไม่มีผลทำให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแต่อย่างใด เมื่อสัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกันโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนออกตามความในมาตรา 31 แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ข้อ 3(7) ก. กำหนดวิธีการเลิกสัญญาว่าบริษัทเงินทุนจะเลิกสัญญาต่อเมื่อมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระนั้นภายในเวลาอย่างน้อยสามสิบวันและผู้เช่าซื้อละเลยเสียไม่ปฏิบัติตาม เพื่อเป็นการควบคุมธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ไม่ให้เอาเปรียบลูกค้าในการเลิกสัญญาเช่าซื้อ และได้กำหนดโทษในการฝ่าฝืน การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือและบอกเลิกสัญญา จึงไม่เป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบและไม่มีผลทำให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแต่อย่างใด เมื่อสัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกันโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย การชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงงวด และค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์
สัญญาเช่าซื้อกำหนดว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกันหรือปฏิบัติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดให้สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกัน หรือโจทก์มีสิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ แต่โจทก์ยอมรับชำระค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระไม่ตรงตามงวดโดยที่โจทก์มิได้โต้แย้ง แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอางวดหรือระยะเวลาการชำระค่าเช่าซื้อเป็นสิ่งสำคัญในการชำระค่าเช่าอันเป็นการทำให้ผิดสัญญาเช่าซื้อ ถือว่าจำเลยที่ 1 ยังมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลยที่ 1 ก่อนที่โจทก์ยึดรถยนต์สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่เลิกกัน ต่อมาโจทก์ยึดรถยนต์คืนโดยจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายคู่สัญญาต้องคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยที่ 1 รับผิดเพียงชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4385/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิปรับตามสัญญาซื้อขายเมื่อผู้ขายผิดนัดส่งมอบของ และการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา
สัญญาซื้อขาย ข้อ 10 มีว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาเป็นต้นไปจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน" และวรรคสามของสัญญาข้อเดียวกันระบุว่า "ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าไม่อาจจะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้" ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ส่งมอบสิ่งของให้โจทก์ โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองส่งมอบสิ่งของและได้สงวนสิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันด้วย และเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่อาจส่งมอบสิ่งของตามสัญญาได้ จึงบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกัน เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 10 วรรคหนึ่งและวรรคสามนั่นเอง โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ไม่ได้ส่งมอบได้ ส่วนสัญญาซื้อขายข้อ 9 ที่ระบุให้ผู้ซื้อสามารถเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยนั้นหมายถึงว่า เมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ส่งมอบสิ่งของที่ซื้อ โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยไม่ให้เวลาผู้ขายที่จะส่งมอบสิ่งของและสงวนสิทธิในการที่จะปรับเป็นรายวัน เมื่อโจทก์ใช้สิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวัน จำเลยทั้งสองจะต้องชำระค่าปรับพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันผิดนัดให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4385/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิปรับรายวัน-บอกเลิกสัญญาซื้อขาย: การใช้สิทธิของผู้ซื้อเมื่อผู้ขายผิดนัด
สัญญาซื้อขายข้อ 10 มีข้อความว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 9 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่จากวันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาเป็นต้นไปจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน" และวรรคสามของสัญญาข้อเดียวกันระบุว่า "ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าไม่อาจจะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 8 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 9วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้" ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ส่งมอบสิ่งของให้โจทก์ โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองส่งมอบสิ่งของและได้สงวนสิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันด้วย และในที่สุดโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่อาจส่งมอบสิ่งของตามสัญญาได้ จึงบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 10 วรรคหนึ่งและวรรคสามนั่นเอง โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ไม่ได้ส่งมอบได้ ส่วนสัญญาข้อ 9 นั้น หมายถึงว่า เมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ส่งมอบสิ่งของที่ซื้อ โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยไม่ให้เวลาผู้ขายที่จะส่งมอบสิ่งของและสงวนสิทธิในการที่จะปรับเป็นรายวัน
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2540)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2540)