พบผลลัพธ์ทั้งหมด 395 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย, การบอกเลิกสัญญา, การคืนเงินมัดจำและราคาที่ชำระแล้ว, สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา
การที่โจทก์จองซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์จากจำเลย 2 แปลง คือแปลงหมายเลข 1314 และ 1315 โดยวางเงินจองไว้แปลงละ 100,000 บาท ย่อมถือได้ว่าเป็นการให้มัดจำและเป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญากันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 แม้ตามใบจองซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จะมีข้อความว่าให้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน และโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำก็ตาม แต่ใบจองดังกล่าวระบุราคาขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ไว้ และระบุว่าวางเงินจองจำนวน 100,000 บาท กับระบุค่าโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยเป็นผู้ชำระ ซึ่งแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์กันต่อไป กรณีจึงมีสาระสำคัญครบถ้วนเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ระหว่างโจทก์กับจำเลย ดังนั้น ใบจองซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ทั้งสองแปลงจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
ข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างในฎีกา ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อหนี้ที่ต่างต้องชำระมิได้กำหนดเวลาไว้แน่นอน ต่างฝ่ายย่อมเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ได้โดยพลัน โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควร บอกกล่าวให้อีกฝ่ายชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ประกอบมาตรา 369 การที่จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1314 โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ชำระหนี้ แต่โจทก์เพิกเฉย จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยมีสิทธิรับเงินมัดจำ จำนวน 100,000 บาท ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) ส่วนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแปลงหมายเลข 1315 จำเลยบอกเลิกสัญญาโดยมิได้บอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ก่อนจึงไม่ชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างบอกเลิกสัญญาต่อกัน แม้ไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญาตามพฤติการณ์ แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1315 จึงไม่มีผลผูกพันกันต่อไป กรณีไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิรับเงินมัดจำจำนวน 100,000 บาท
สำหรับเงินค่าทำสัญญาที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์สองแปลง เป็นเงินแปลงละ 100,000 บาท รวมเป็นเงิน 200,000 บาท นั้น ไม่ใช่มัดจำ แต่เป็นการชำระราคาค่าที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์บางส่วน เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันแล้ว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ส่วนเงินที่จะต้องใช้คืนแก่กันให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วยคิดแต่เวลาที่ได้รับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1315 และราคาที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ทั้งสองแปลงบางส่วนดังกล่าวที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไว้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 2 เมษายน 2545 อันเป็นวันที่รับไว้เป็นต้นไป
ข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างในฎีกา ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อหนี้ที่ต่างต้องชำระมิได้กำหนดเวลาไว้แน่นอน ต่างฝ่ายย่อมเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ได้โดยพลัน โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควร บอกกล่าวให้อีกฝ่ายชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ประกอบมาตรา 369 การที่จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1314 โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ชำระหนี้ แต่โจทก์เพิกเฉย จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยมีสิทธิรับเงินมัดจำ จำนวน 100,000 บาท ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) ส่วนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแปลงหมายเลข 1315 จำเลยบอกเลิกสัญญาโดยมิได้บอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ก่อนจึงไม่ชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างบอกเลิกสัญญาต่อกัน แม้ไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญาตามพฤติการณ์ แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1315 จึงไม่มีผลผูกพันกันต่อไป กรณีไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิรับเงินมัดจำจำนวน 100,000 บาท
สำหรับเงินค่าทำสัญญาที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์สองแปลง เป็นเงินแปลงละ 100,000 บาท รวมเป็นเงิน 200,000 บาท นั้น ไม่ใช่มัดจำ แต่เป็นการชำระราคาค่าที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์บางส่วน เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันแล้ว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ส่วนเงินที่จะต้องใช้คืนแก่กันให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วยคิดแต่เวลาที่ได้รับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1315 และราคาที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ทั้งสองแปลงบางส่วนดังกล่าวที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไว้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 2 เมษายน 2545 อันเป็นวันที่รับไว้เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5281/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การยึดคืนรถที่ไม่ชอบ และสิทธิในการครอบครองใช้ประโยชน์ของผู้เช่าซื้อ
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 10 ระบุว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดก็ดี ถือว่าสัญญาเลิกกันทันทีโดยเจ้าของไม่ต้องบอกกล่าวก่อน และผู้เช่าซื้อยอมให้เจ้าของริบบรรดาเงินค่าเช่าซื้อที่ได้ชำระแล้วทั้งหมดเป็นของเจ้าของโดยผู้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกร้องคืน และผู้เช่าซื้อยอมส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนแก่เจ้าของโดยพลันในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้วโดยเรียบร้อยโดยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าซื้อเอง..." แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามเวลาที่ระบุไว้ในสัญญามาตั้งแต่ต้น แต่จำเลยที่ 1 ก็ยอมรับไว้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 มิได้ยึดถือเอาสัญญาข้อ 10 ที่ว่าหากโจทก์ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดใดงวดหนึ่งถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันที ดังนั้น หากจำเลยที่ 1 ประสงค์จะเลิกสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 1 ต้องบอกกล่าวไปยังโจทก์ก่อนโดยให้ระยะเวลาโจทก์พอสมควรในการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 การที่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 ยึดรถคืนจากโจทก์เนื่องจากโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายโดยไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อก่อนย่อมเป็นการไม่ชอบ และตามพฤติการณ์ที่โจทก์ยังคงใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องให้จำเลยทั้งสองคืนรถที่เช่าซื้อย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกสัญญากันโดยปริยาย สัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่เลิกกัน โจทก์ผู้เช่าซื้อชอบที่จะครอบครองใช้ประโยชน์รถที่เช่าซื้อต่อไป จำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์จากรถที่เช่าซื้อแต่ต้องชำระค่าเช่าซื้อเป็นการตอบแทน เมื่อโจทก์ใช้ประโยชน์โดยไม่ให้ผลตอบแทนแก่จำเลยที่ 1 ย่อมทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายเช่นกัน เป็นความเสียหายทั้งสองฝ่ายหาใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียหายแต่ฝ่ายเดียวไม่ แม้จำเลยที่ 1 ยึดรถคืนโดยที่สัญญายังไม่เลิกกันเป็นการไม่ชอบก็ตาม แต่โจทก์ก็เป็นฝ่ายผิดอยู่มากที่ค้างชำระค่าเช่าซื้อนับแต่วันที่ครบกำหนดตามสัญญาถึงวันที่ถูกยึดรถเป็นเวลา 2 ปี 2 เดือนเศษ อันเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองอาจเข้าใจผิดว่ามีสิทธิยึดรถที่เช่าซื้อคืน จึงเห็นควรให้ค่าเสียหายในส่วนนี้ของโจทก์เป็นพับ
เมื่อสัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกันและจำเลยทั้งสองยึดรถที่เช่าซื้อคืนโดยไม่ชอบดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น โจทก์ชอบที่จะครอบครองใช้ประโยชน์รถต่อไป จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ส่งมอบรถคืนแก่โจทก์เพื่อปฏิบัติตามสัญญาต่อไป หากคืนรถไม่ได้ถือว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้เพราะไม่มีวัตถุแห่งสัญญา สัญญาเช่าซื้อจึงเป็นอันเลิกกัน จำเลยทั้งสองไม่ฎีกาโต้แย้งค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนด จึงต้องชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์จากรถที่เช่าซื้อแต่ต้องชำระค่าเช่าซื้อเป็นการตอบแทน เมื่อโจทก์ใช้ประโยชน์โดยไม่ให้ผลตอบแทนแก่จำเลยที่ 1 ย่อมทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายเช่นกัน เป็นความเสียหายทั้งสองฝ่ายหาใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียหายแต่ฝ่ายเดียวไม่ แม้จำเลยที่ 1 ยึดรถคืนโดยที่สัญญายังไม่เลิกกันเป็นการไม่ชอบก็ตาม แต่โจทก์ก็เป็นฝ่ายผิดอยู่มากที่ค้างชำระค่าเช่าซื้อนับแต่วันที่ครบกำหนดตามสัญญาถึงวันที่ถูกยึดรถเป็นเวลา 2 ปี 2 เดือนเศษ อันเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองอาจเข้าใจผิดว่ามีสิทธิยึดรถที่เช่าซื้อคืน จึงเห็นควรให้ค่าเสียหายในส่วนนี้ของโจทก์เป็นพับ
เมื่อสัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกันและจำเลยทั้งสองยึดรถที่เช่าซื้อคืนโดยไม่ชอบดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น โจทก์ชอบที่จะครอบครองใช้ประโยชน์รถต่อไป จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ส่งมอบรถคืนแก่โจทก์เพื่อปฏิบัติตามสัญญาต่อไป หากคืนรถไม่ได้ถือว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้เพราะไม่มีวัตถุแห่งสัญญา สัญญาเช่าซื้อจึงเป็นอันเลิกกัน จำเลยทั้งสองไม่ฎีกาโต้แย้งค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนด จึงต้องชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารไม่สมบูรณ์ ผู้ขายผิดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืน
แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารระบุให้ผู้จะซื้อคือโจทก์ชำระเงินงวดสุดท้ายในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533 และให้ผู้จะขายคือจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารให้แก่โจทก์ภายใน 30 วัน นับจากวันที่เงื่อนไขตามสัญญาจะซื้อจะขาย ข้อ 3 สำเร็จ แต่เมื่อถึงกำหนดเวลาดังกล่าวไม่ปรากฏว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการให้เงื่อนไขตามสัญญาจะซื้อจะขาย ข้อ 3 สำเร็จลงแต่อย่างใดแสดงว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างไม่ถือเอาเงื่อนเวลาดังกล่าวเป็นข้อสำคัญของการปฏิบัติตามสัญญา แต่ยึดถือหน้าที่และความรับผิดชอบของคู่สัญญาเป็นสำคัญ นั่นคือจำเลยต้องพร้อมที่จะส่งมอบที่ดินพร้อมอาคารในสภาพสมบูรณ์เรียบร้อยให้แก่โจทก์ได้ภายในเวลาอันสมควร และโจทก์ต้องพร้อมที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวและชำระเงินให้แก่จำเลย การที่จำเลยไม่ได้ดำเนินการแก้ไขอาคารให้เรียบร้อยก่อนส่งมอบ ถือได้ว่าการซ่อมแซมแก้ไขดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญของอาคารที่ซื้อขายตามสัญญาที่จำเลยผู้จะขายมีหน้าที่ต้องก่อสร้างและส่งมอบแก่โจทก์ผู้จะซื้อในสภาพเรียบร้อยไม่มีข้อบกพร่อง เมื่อจำเลยไม่แก้ไขให้เรียบร้อยก่อนส่งมอบถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิปฏิเสธไม่ชำระเงินงวดสุดท้ายและไม่รับโอนกรรมสิทธิ์ได้
เมื่อจำเลยยังไม่ได้แก้ไขอาคารให้เรียบร้อยก่อนการส่งมอบและจำเลยยังไม่ได้ก่อสร้างสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกบางประการอีกด้วย ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วสัญญาจึงเป็นอันเลิกกัน โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง และการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่ง ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
เมื่อจำเลยยังไม่ได้แก้ไขอาคารให้เรียบร้อยก่อนการส่งมอบและจำเลยยังไม่ได้ก่อสร้างสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกบางประการอีกด้วย ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วสัญญาจึงเป็นอันเลิกกัน โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง และการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่ง ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11036/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายไม่ระบุวันชำระหนี้ชัดเจน โจทก์บอกกล่าวกำหนดเวลาได้ จำเลยผิดนัด สิทธิบอกเลิกสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายกำหนดวันชำระราคาและจดทะเบียนโอนว่าประมาณเดือนตุลาคม 2544 ไม่แน่ชัดว่าเป็นวันใดซึ่งอาจเป็นวันใดวันหนึ่งในเดือนตุลาคม จึงเป็นสัญญาที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน โจทก์จำต้องบอกกล่าวกำหนดเวลาพอสมควรให้จำเลยชำระหนี้ โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้โดยกำหนดเวลาชำระหนี้พอสมควร และจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวโดยชอบแล้ว การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ในวันกำหนดโดยที่โจทก์เตรียมพร้อมจะชำระหนี้ส่วนของตน จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10720/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: การลดเบี้ยปรับต้องพิจารณาความเสียหายจริง และความล่าช้าในการบอกเลิกสัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง วางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาลดเบี้ยปรับของศาลว่าให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน กล่าวคือ จากการที่โจทก์และจำเลยทำการซื้อขายสินค้ากันตามสัญญาซื้อขายนั้นและจำเลยส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามสัญญา ซึ่งส่งผลให้โจทก์เกิดความเสียหายจากการส่งมอบสินค้าของจำเลย ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือโจทก์และจำเลยทำการซื้อขายสินค้ากัน แต่สินค้าไม่ตรงตามสัญญา จำเลยจึงมารับคืนสินค้าไปจากโจทก์ ความเสียหายที่โจทก์อ้างว่าจำเลยส่งมอบสินค้าไม่ได้ ทำให้มหาวิทยาลัยขาดอุปกรณ์ในการเรียนการสอนทำให้นักศึกษาที่จบมาด้วยคุณภาพนั้นเป็นความเสียหายที่ไกลเกินความเป็นจริง และการที่โจทก์ทำการบอกเลิกสัญญากับจำเลยเมื่อเวลาได้ล่วงเลยมานานปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปเกือบสองปี แล้วเรียกค่าปรับจำนวน 336,801 บาทนั้น เห็นได้ชัดว่าจำนวนเงินดังกล่าวสูงกว่าราคาสินค้าตามสัญญาที่มีราคาเพียง 257,500 บาท จึงเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง สมควรที่ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7060/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาการก่อสร้าง แม้ได้รับค่าจ้างบางส่วนแล้ว โจทก์มีสิทธิเลิกสัญญาโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน
จำเลยรับจ้างก่อสร้างบ้านให้แก่โจทก์ในราคา 2,225,000 บาท และได้รับค่าจ้างจากโจทก์แล้ว 2,050,000 บาท คงเหลืออีกเพียง 175,000 บาท แม้ตามบันทึกข้อตกลงไม่ได้กำหนดระยะเวลาก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จ และจำเลยเสนอแผนการเงินให้โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่พิจารณาให้จำเลยกู้เงินก็ตาม จำเลยก็มีหน้าที่ต้องก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จ แต่จำเลยก็ไม่ก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จ หรือดำเนินการประการใดที่แสดงว่าจำเลยจะก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จ ทั้งตามแผนการเงินที่จำเลยเสนอต่อโจทก์สำหรับรายการงานส่วนที่เหลือจะต้องใช้เงินถึง 1,455,000 บาท และจำเลยก่อสร้างบ้านได้เพียงโครงสร้างบางส่วน แต่โจทก์ต้องชำระค่าก่อสร้างส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยอีกเพียง 175,000 บาท ย่อมเห็นได้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยไม่สามารถก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามสัญญา จะทิ้งงานไม่ก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จต่อไป และผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะเลิกสัญญาโดยไม่จำต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6615/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุด: สิทธิเรียกร้องเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยเมื่อจำเลยผิดสัญญา
เมื่อสัญญายังไม่เลิกกันเพราะการบอกเลิกสัญญาของจำเลย คู่สัญญาจึงยังมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา กล่าวคือ โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาส่วนที่เหลือและจำเลยมีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งสองห้องแก่โจทก์ แต่ได้ความตามคำให้การของจำเลยว่าจำเลยได้โอนขายห้องชุดทั้งสองห้องแก่บุคคลภายนอกไปแล้วก่อนโจทก์บอกเลิกสัญญา ดังนี้ การชำระหนี้ของจำเลยในการที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่โจทก์จึงกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอันเกิดจากการกระทำของจำเลยโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยอาจซื้อห้องชุดคืนมาโอนให้โจทก์ได้หรือไม่ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 389 โดยหาจำต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ตามมาตรา 387 ก่อน การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงชอบแล้ว เมื่อสัญญาเลิกกันเพราะโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญา คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม กล่าวคือ จำเลยจำต้องคืนราคาห้องชุดที่โจทก์ชำระแล้วแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่จำเลยได้รับไว้ ทั้งนี้ตามมาตรา 391 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ประกอบมาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่พร้อมในการโอนกรรมสิทธิ์และการคืนเงินมัดจำในสัญญาซื้อขาย
จำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นว่า ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2546 อันเป็นวันนัดโอนกรรมสิทธิ์และชำระเงินส่วนที่เหลือ จำเลยทั้งสองอยู่ในสภาพพร้อมที่จะโอนทาวน์เฮาส์และที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และได้ไปที่สำนักงานที่ดินจริง ทาวน์เฮาส์และที่ดินพิพาทจึงยังติดจำนองอยู่กับธนาคาร จำเลยทั้งสองไม่มีความพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ได้ หากโจทก์สามารถนำเงินส่วนที่เหลืออยู่มาชำระได้ในวันดังกล่าว อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งในสัญญาต่างตอบแทนที่จะมีสิทธิเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ตามสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้แสดงความพร้อมในส่วนของตนย่อมไม่อาจอ้างเอาแต่เพียงวันที่กำหนดในสัญญามาเป็นประโยชน์แก่ตนได้
เมื่อเลยกำหนดวันนัดโอนแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงให้โจทก์ชำระเงินค่างวดแก่ธนาคารแทนต่อมาอีกถึง 3 งวด แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้ยึดถือเอาวันนัดโอนในสัญญาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น หลังจากโจทก์ชำระเงินค่างวดแทนจำเลยทั้งสองครั้งสุดท้ายในวันที่ 5 ตุลาคม 2546 หากจำเลยทั้งสองประสงค์จะเลิกสัญญา จำเลยทั้งสองจะต้องกำหนดเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่เหลือและไปรับโอนกรรมสิทธิ์ หากโจทก์ไม่ดำเนินการภายในกำหนด จำเลยทั้งสองจึงจะสามารถบอกเลิกสัญญาโดยถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 อันจะเป็นเหตุให้มีสิทธิริบเงินมัดจำของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยทั้งสองได้นำทาวน์เฮาส์และที่ดินพิพาทไปขายให้แก่บุคคลอื่นแล้ว จำเลยทั้งสองย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินมัดจำและเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนจำเลยทั้งสองพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามกฎหมายแก่โจทก์
เมื่อเลยกำหนดวันนัดโอนแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงให้โจทก์ชำระเงินค่างวดแก่ธนาคารแทนต่อมาอีกถึง 3 งวด แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้ยึดถือเอาวันนัดโอนในสัญญาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น หลังจากโจทก์ชำระเงินค่างวดแทนจำเลยทั้งสองครั้งสุดท้ายในวันที่ 5 ตุลาคม 2546 หากจำเลยทั้งสองประสงค์จะเลิกสัญญา จำเลยทั้งสองจะต้องกำหนดเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่เหลือและไปรับโอนกรรมสิทธิ์ หากโจทก์ไม่ดำเนินการภายในกำหนด จำเลยทั้งสองจึงจะสามารถบอกเลิกสัญญาโดยถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 อันจะเป็นเหตุให้มีสิทธิริบเงินมัดจำของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยทั้งสองได้นำทาวน์เฮาส์และที่ดินพิพาทไปขายให้แก่บุคคลอื่นแล้ว จำเลยทั้งสองย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินมัดจำและเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนจำเลยทั้งสองพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามกฎหมายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4521-4522/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจองสิทธิการเช่า, เหตุสุดวิสัย, การบอกเลิกสัญญา, เบี้ยปรับ, และอำนาจศาลในการวินิจฉัยข้อตกลงที่กระทบต่อสาธารณชน
การที่เกิดเหตุเพลิงไหม้อาคาร พ. ทาวเวอร์ ซึ่งมีโครงสร้างรากฐานเดียวกันกับอาคาร พ. เพลส ที่พิพาทและใช้ใบอนุญาตก่อสร้างฉบับเดียวกัน หลังเกิดเหตุสำนักงานเขตมีคำสั่งห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุเพลิงไหม้จนกว่าจะมีการตรวจสอบแก้ไข การที่จำเลยไม่สามารถเข้าไปทำการก่อสร้างอาคารในช่วงเวลาที่มีคำสั่งห้ามดังกล่าวจึงเป็นเหตุจำเป็นอันสมควรที่จำเลยไม่สามารถก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ประมาณไว้ในสัญญาจองสิทธิการเช่าที่ทำกับโจทก์ การที่อาคารพิพาทไม่สามารถก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ประมาณไว้ในสัญญาจึงถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดของจำเลย ต่อมาหลังจากจำเลยก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์รับมอบห้องพักที่จองไว้และเข้าทำสัญญาจดทะเบียนการเช่าหลายครั้งแต่โจทก์เพิกเฉย จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญากับโจทก์ได้
แม้ข้อตกลงตามสัญญาจองสิทธิการเช่าจะผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาแต่ข้อตกลงในส่วนที่เกี่ยวกับเบี้ยปรับกระทบต่อผู้คนจำนวนมากที่เข้าทำสัญญากับจำเลยข้อตกลงดังกล่าวจึงถือเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้โจทก์จะเพิ่งยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
แม้ข้อตกลงตามสัญญาจองสิทธิการเช่าจะผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาแต่ข้อตกลงในส่วนที่เกี่ยวกับเบี้ยปรับกระทบต่อผู้คนจำนวนมากที่เข้าทำสัญญากับจำเลยข้อตกลงดังกล่าวจึงถือเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้โจทก์จะเพิ่งยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายและการริบมัดจำเมื่อฝ่ายผิดสัญญา การปฏิบัติตามขั้นตอนการบอกเลิกสัญญาตามกฎหมาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมไคโตซานและวางเงินจำนวน 200,000 บาท แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา โดยสัญญาข้อ 4 ระบุว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องขอใบอนุญาตขึ้นทะเบียนการใช้ฉลากผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้แก่โจทก์ แต่ไม่ได้กำหนดเวลาว่าจำเลยต้องขอใบอนุญาตให้แล้วเสร็จเมื่อใด จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องขอใบอนุญาตดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยโดยไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาภายในเวลาที่โจทก์กำหนดเสียก่อน จึงไม่เป็นผลให้สัญญาระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ทั้งหลังจากโจทก์บอกเลิกสัญญาเพียงสิบวัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก็ออกใบสำคัญการใช้ฉลากอาหารให้แก่โจทก์แล้ว การกระทำของโจทก์จึงเป็นการบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญาและมีผลให้โจทก์ตกเป็นผู้ผิดสัญญา การที่จำเลยมีหนังสือตอบกลับไปยังโจทก์ว่า จำเลยตกลงสนองรับการบอกเลิกสัญญาโดยไม่ยอมคืนเงินจำนวน 200,000 บาท ให้ เนื่องจากโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยอยู่เป็นจำนวนมากนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกลงเลิกสัญญาโดยไม่มีเงื่อนไข แต่เป็นการที่จำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์ อันเป็นผลมาจากการที่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาเสียก่อน เมื่อโจทก์มอบเงินให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาจึงมีผลเป็นมัดจำ จำเลยย่อมริบเงินจำนวนดังกล่าวนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2)