คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 387

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 395 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การตีความเจตนา, วันชำระหนี้, และขอบเขตของสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยใช้แบบพิมพ์ที่ใช้กันโดยทั่วไป โจทก์ผู้ซื้อเป็นผู้กรอกข้อความในแบบพิมพ์ด้วยหมึกสีดำก่อนจึงให้จำเลยผู้ขายเติมข้อความอื่นในภายหลังด้วยหมึกสีน้ำเงิน สำหรับกำหนดวันโอนและชำระเงินส่วนที่เหลือโจทก์กรอกข้อความเฉพาะเดือนและปีคือเดือนเมษายน 2531 ไว้โดยไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายใดเติมวันที่ลงไปในช่องว่าง การที่สัญญาจะซื้อขายไม่ได้ระบุวันที่จะไปจดทะเบียนโอนและจ่ายเงินตามสัญญาส่วนที่เหลือไว้เช่นนี้จึงจะถือว่าวันที่กำหนดตามสัญญาเป็นวันที่ 29 เมษายน 2531 ซึ่งตรงกับวันศุกร์อันเป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 ไม่ได้ ทั้งยังถือว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาได้แสดงไว้จะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนดตามมาตรา 388 ก็ไม่ได้ เพราะมิได้ระบุชัดแจ้งว่าหากผู้ซื้อผิดนัดไม่นำเงินที่เหลือมาชำระให้แก่ผู้ขายตามกำหนด สัญญาจะซื้อขายเป็นอันเลิกกันทันทีสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทจึงต้องบังคับตามมาตรา 387 คือจำเลยผู้ขายจะต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนิ้ภายในเวลาสมควรก่อน การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาโดยมิได้บอกกล่าวให้โจทก์ชำระเงินก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์มิใช่ผู้ผิดสัญญาสัญญายังไม่เลิกกัน โจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
เดิมที่ดินที่ซื้อขายเป็นแปลงเดียวกัน แต่ต่อมาได้จดทะเบียนแบ่งแยกเป็น 2 โฉนด คือโฉนดเลขที่ 6470 เดิม ฉบับหนึ่ง และเลขที่ 12473 อีกฉบับหนึ่ง แม้สัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทจะระบุเฉพาะโฉนดที่ 6470 แต่ได้ระบุเนื้อที่โดยประมาณว่า 30 ไร่ จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งว่าที่ดินตามสัญญามีเนื้อที่ไม่ถึง 30 ไร่ ทั้งยังนำสืบว่าที่ดินพิพาทมี 2 แปลง คือตามโฉนดเลขที่ 6470 และ12473 แสดงว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาจะซื้อที่ดินกันเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ โดยโจทก์ไปดูที่ดินนั้นแล้ว แต่โจทก์ไม่ทราบว่าที่ดินมีกี่โฉนด จึงเว้นช่องว่างไว้ในสัญญาจะซื้อขายในช่องเลขโฉนดเพื่อให้ฝ่ายจำเลยเป็นผู้กรอก โดยโจทก์กรอกข้อความส่วนที่เป็นเนื้อที่และจำนวนเงินไว้ เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้ขายก็มิได้ทักท้วงเรื่องเนื้อที่ที่ดิน ทั้ง ๆ ที่จำเลยเป็นฝ่ายทราบเรื่องนี้เพราะเป็นผู้เก็บรักษาโฉนด เชื่อว่าจำเลยมีเจตนาตรงกับโจทก์ที่จะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินประมาณ 30 ไร่ ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 132 (เดิม) ซึ่งการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร จำเลยจึงต้องโอนที่ดินทั้งสองโฉนดแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทันที พร้อมทั้งรับชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลืออีก 250,000 บาทจากโจทก์ โดยโจทก์จะชำระเงินส่วนที่เหลือทันทีในวันที่จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ยอมไปดำเนินการดังกล่าวขอให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ดังนี้ ศาลจะพิพากษาให้โจทก์วางเงินค่าที่ดิน 250,000 บาท ต่อศาลเพื่อชำระหนี้แก่จำเลยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด มิฉะนั้นโจทก์หมดสิทธิซื้อที่ดินพิพาทหาได้ไม่เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การตีความกำหนดเวลาชำระหนี้ และขอบเขตการบังคับตามสัญญา
ผู้จะซื้อได้กรอกข้อความในสัญญาจะซื้อขายที่ดินว่ากำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ภายในเดือนเมษายน 2531 และให้ผู้จะขายกรอกวันที่ลงไป แต่ผู้จะขายก็หาได้กรอกวันที่ไม่ ทั้งภายหลังผู้จะซื้อและผู้จะขายก็มิได้กำหนดวันที่โอนกันอีก จึงจะถือว่าสัญญาดังกล่าวได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 มิได้ ทั้งยังถือว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาได้แสดงว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนดตามมาตรา 388 ก็ไม่ได้ การที่ผู้จะขายบอกเลิกสัญญาโดยมิได้บอกกล่าวให้ผู้จะซื้อชำระเงินก่อนจึงไม่ชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 สัญญาจึงยังไม่เลิกกัน ในสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ผู้จะซื้อกรอกเฉพาะโฉนดที่ดินเลขที่ 6470 เนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ ซึ่งผู้จะขายมิได้ทักท้วงเรื่องเนื้อที่ที่ดิน ความจริงที่ดินดังกล่าวได้แบ่งเป็นโฉนดเลขที่ 12473อีก 1 โฉนด ทั้งผู้จะขายก็มิได้ให้การโต้แย้งว่าที่ดินตามสัญญามีเนื้อที่ไม่ถึง 30 ไร่ และยังนำสืบรับว่าที่ดินพิพาทมี 2 แปลงดังกล่าว ถือว่าคู่สัญญาตกลงกันที่จะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินประมาณ 30 ไร่ นั่นเอง ซึ่งเป็นการตีความตามเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาดังนั้น แม้ว่าผู้จะซื้อฟ้องขอบังคับให้ผู้จะขายโอนที่ดินเฉพาะโฉนดเลขที่ 6470 แต่ศาลก็สามารถพิพากษาให้โอนที่ดินทั้งสองโฉนดได้ โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์โดยโจทก์จะชำระเงินส่วนที่เหลือแก่จำเลยทันทีในวันจดทะเบียน ศาลจะพิพากษาให้โจทก์วางเงินค่าที่ดินต่อศาลเพื่อชำระหนี้แก่จำเลยภายใน 30 วันนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด มิฉะนั้นจะหมดสิทธิซื้อที่ดินพิพาทหาได้ไม่เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลิกสัญญาซื้อขายและการใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับ: ข้อจำกัดในการเลือกใช้สิทธิ
ตามวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับโดยสภาพหรือโดยเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่อาจระบุได้ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 388 เนื่องจากสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับมิได้ระบุให้ชัดแจ้งและเด็ดขาดว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งสินค้าให้โจทก์ภายในกำหนด สัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับเป็นอันเลิกกันทันที ฉะนั้น การที่โจทก์จะใช้สิทธิเลิกสัญญาก็ต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ซึ่งบัญญัติเป็นหลักทั่วไปว่าถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาซื้อขายโดยไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ให้ถูกต้อง โจทก์ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 วรรคแรก และทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเงินหลักประกันจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 และถ้าโจทก์จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญานี้ด้วยตามสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกจากสิทธิตามสัญญาข้อ 8 โจทก์ยังอาจใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 9 วรรคแรก กล่าวคือ ในกรณีที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันที่ถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยที่ 1 ผู้ขายได้นำสินค้ามาส่งให้แก่โจทก์ผู้ซื้อและตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง ระบุว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จะใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 8ทั้งสองวรรคนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ ดังนี้ เมื่อข้อความตามหนังสือทวงหนี้ และหนังสือบอกเลิกสัญญาทั้งสองฉบับแสดงว่าโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาทั้งสองฉบับข้อ 8 วรรคแรก โจทก์ก็ต้องรับผลของสัญญาข้อ 8 วรรคสอง โจทก์จะเลือกรับผลคนละเหตุโดยอาศัยสัญญาข้อ 9 วรรคแรกกับวรรคสองตามที่โจทก์ต้องการนั้นไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเลิกสัญญาซื้อขายและการเลือกใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับหรือค่าชดใช้ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นตามสัญญา
ตามวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับโดยสภาพหรือโดยเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่อาจระบุได้ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 เนื่องจากสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับมิได้ระบุให้ชัดแจ้งและเด็ดขาดว่าหากจำเลยที่ 1ไม่ส่งสินค้าให้โจทก์ภายในกำหนด สัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับเป็นอันเลิกกันทันที ฉะนั้น การที่โจทก์จะใช้สิทธิเลิกสัญญาก็ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ซึ่งบัญญัติเป็นหลักทั่วไปว่าถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาซื้อขายโดยไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ให้ถูกต้อง โจทก์ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 วรรคแรก และทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเงินหลักประกันจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 และถ้าโจทก์จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญานี้ด้วยตามสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกจากสิทธิตามสัญญาข้อ 8 โจทก์ยังอาจใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 9 วรรคแรก กล่าวคือในกรณีที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันที่ถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยที่ 1 ผู้ขายได้นำสินค้ามาส่งให้แก่โจทก์ผู้ซื้อและตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง ระบุว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้โจทก์จะใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 8 ทั้งสองวรรคนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ ดังนี้ เมื่อข้อความตามหนังสือทวงหนี้ และหนังสือบอกเลิกสัญญาทั้งสองฉบับแสดงว่าโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาทั้งสองฉบับข้อ 8 วรรคแรก โจทก์ก็ต้องรับผลของสัญญาข้อ 8 วรรคสอง โจทก์จะเลือกรับผลคนละเหตุโดยอาศัยสัญญาข้อ 9 วรรคแรกกับวรรคสองตามที่โจทก์ต้องการนั้นไม่ได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาละทิ้งการถือเอาสาระสำคัญของสัญญาเช่าซื้อ ทำให้การผิดนัดไม่ถึงขั้นบอกเลิกสัญญาได้
จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาและบางครั้งชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบจำนวน โจทก์ยินยอมรับไว้โดยมิได้ทักท้วงแสดงว่าโจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อรวมทั้งจำนวนเงินค่าเช่าซื้อแต่ละงวดตามสัญญาเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ถือได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างเจตนาระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระค่าเช่าซื้อล่าช้าหรือไม่ตรงตามจำนวนเงินว่าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว ดังนั้นหากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ก่อน เมื่อโจทก์มิได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระแก่โจทก์จะถือว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันยังไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4337/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าซื้อ: การรับชำระหนี้ล่าช้าโดยไม่บอกกล่าวถือมิได้เป็นการเลิกสัญญา
ผู้เช่าซื้อไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาและตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญา ถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อชอบที่จะใช้สิทธิเลิกสัญญาเสียได้ตามสัญญาเช่าซื้อแต่ผู้ให้เช่าซื้อยังคงรับชำระหนี้ค่าเช่าซื้อต่อมา แสดงให้เห็นว่าผู้ให้เช่าซื้อมิได้ถือเอาข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญ และไม่ถือว่าการไม่ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อตรงตามเวลาและตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญานั้นเป็นการผิดสัญญาผู้ให้เช่าซื้อจะเลิกสัญญาได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าซื้อจากพฤติการณ์การชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนด และการยึดรถยนต์ ย่อมทำให้เกิดผลผูกพันตามสัญญา
การที่จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เกินกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อตลอดมาทุกงวด โจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิได้ทักท้วง ตามพฤติการณ์แสดงว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดในการชำระค่าเช่าซื้อแล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสำคัญอีกต่อไป จึงนำเอาข้อกำหนดในสัญญาเช่าซื้อมาใช้บังคับโดยถือว่าโจทก์ยอมผ่อนผันเวลาที่สัญญาจะเลิกกันออกไปอีก และถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีในวันที่ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อหาได้ไม่ ในกรณีดังกล่าวหากโจทก์ต้องการจะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1ชำระค่าเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ก่อนโจทก์เพียงแต่มีหนังสือถึงจำเลยทั้งสามชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อเกี่ยวกับค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาล่าช้าเท่านั้น หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายโดยอ้างว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันก่อนแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าซื้อแต่การที่โจทก์ได้ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งการยึดแต่อย่างใดเลยเป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1ต่างประสงค์หรือสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันแล้วนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ถึงแม้ว่าโจทก์จะได้ติดตามยึดรถยนต์คืนจากจำเลยที่ 1 มาครั้งหนึ่งแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์อยู่แสดงว่าช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังคงผูกพันกันตามสัญญาเช่าซื้ออยู่ สัญญายังมิได้เลิกกันในช่วงนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน จึงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อจะต้องคืนรถยนต์เพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อกลับคืนสู่ฐานะเดิมและจะต้องใช้เงินเป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ในการใช้รถยนต์ของโจทก์ในระหว่างที่ตนยังไม่ส่งมอบรถยนต์คืนตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าซื้อและการผ่อนผันเวลาชำระหนี้ การยึดรถและการกลับสู่สภาพเดิม
การที่จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เกินกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อตลอดมาทุกงวด โจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิได้ทักท้วง ตามพฤติการณ์แสดงว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดในการชำระค่าเช่าซื้อแล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสำคัญอีกต่อไป จึงนำเอาข้อกำหนดในสัญญาเช่าซื้อมาใช้บังคับโดยถือว่าโจทก์ยอมผ่อนผันเวลาที่สัญญาจะเลิกกันออกไปอีก และถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีในวันที่ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อหาได้ไม่ ในกรณีดังกล่าวหากโจทก์ต้องการจะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ก่อน โจทก์เพียงแต่มีหนังสือถึงจำเลยทั้งสาม ให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อเกี่ยวกับค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาล่าช้าเท่านั้น หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายโดยอ้างว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันก่อนแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าซื้อ แต่การที่โจทก์ได้ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งการยึดแต่อย่างใดเลยเป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างประสงค์หรือสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันแล้วนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ถึงแม้ว่าโจทก์จะได้ติดตามยึดรถยนต์คืนจากจำเลยที่ 1 มาครั้งหนึ่งแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์อยู่แสดงว่าช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังคงผูกพันกันตามสัญญาเช่าซื้ออยู่ สัญญายังมิได้เลิกกันในช่วงนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน จึงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อจะต้องคืนรถยนต์เพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อกลับคืนสู่ฐานะเดิม และจะต้องใช้เงินเป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ในการใช้รถยนต์ของโจทก์ในระหว่างที่ตนยังไม่ส่งมอบรถยนต์คืนตามควรค่าแห่งการนั้น ๆด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3468/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การบอกเลิกสัญญาและการปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทน
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ระบุชัดแจ้งว่าหากโจทก์ผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองผู้ขายตามกำหนดสัญญาจะซื้อจะขายเป็นอันเลิกกันทันที แม้เช็คที่โจทก์สั่งจ่ายให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นการชำระราคาที่เหลือจะถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็ตาม แต่วัตถุประสงค์แห่งสัญญานั้นเห็นได้ว่า โดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้ มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 388 สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 กล่าวคือ จำเลยทั้งสองจะต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระราคาที่เหลือภายในระยะเวลาพอสมควรก่อนถ้าโจทก์ไม่ชำระภายในระยะเวลาดังกล่าวนั้น จำเลยทั้งสองจึงจะบอกเลิกสัญญาเสียได้ การที่จำเลยทั้งสองทราบว่า ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วจำเลยทั้งสองไม่ไปที่สำนักงานที่ดินในวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และต่อมาได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายนั้นจำเลยทั้งสองยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา การซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานะพร้อมที่จะสามารถชำระหนี้ได้จะถือว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาในอันที่จะต้องชำระเบี้ยปรับและใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3468/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การบอกเลิกสัญญา, การชำระหนี้, และฐานผิดสัญญา
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ระบุแจ้งชัดว่าหากโจทก์ผิดนัดไม่ชำระเงินให้แก่จำเลยตามกำหนด สัญญาเป็น อันเลิกกันทันทีแม้เช็คที่โจทก์สั่งจ่ายให้แก่จำเลยเป็นการ ชำระราคาส่วนที่เหลือซึ่งสั่งจ่ายเงินตรงกับวันนัดจดทะเบียน ได้ถูกธนาคารปฏิเสธการสั่งจ่ายเงินก็ตาม แต่วัตถุประสงค์ แห่งสัญญานั้น โดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้ มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่ กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 จึงต้อง บังคับตามมาตรา 387 กล่าวคือ จำเลยจะต้องบอกกล่าวให้โจทก์ ชำระเงินส่วนที่เหลือภายในระยะเวลาพอสมควรก่อน ถ้าโจทก์ ไม่ชำระจำเลยจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนการที่โจทก์และจำเลยผู้ขายไม่ไปสำนักงานที่ดินในวันที่จำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินให้โจทก์ โดยโจทก์ไม่อยู่ในฐานะ พร้อมที่จะชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ จะถือว่าจำเลยผิดสัญญาอันจะต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับ และใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ยังไม่ได้ คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ว่า หากไม่อาจถือเอาคำพิพากษา แทนการแสดงเจตนาของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขายในการจดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อขายให้โจทก์ได้ ก็ให้ใช้ ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์นั้น เป็นคำขอที่อาศัย ข้อตกลงในสัญญาเกี่ยวกับเบี้ยปรับเป็นเกณฑ์เมื่อจำเลยผิดสัญญา เมื่อไม่มีการตกลงกันไว้เช่นนั้นและข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยไม่ได้ผิดสัญญา จึงพิพากษากำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ไว้ล่วงหน้าไม่ได้
of 40