คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 387

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 395 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายและการบอกเลิกสัญญา สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ตามสัญญาซื้อขายข้าวโพดได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนตามวันแห่งปฏิทินคือภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 ปรากฏว่าในวันที่ 24พฤษภาคม 2527 ก่อนจะครบกำหนดระยะเวลาโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบทางโทรพิมพ์มีข้อความว่า หากข้าวโพดส่วนที่ยังไม่รับมอบตามสัญญาถูกยกเลิกไปจำเลยจะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,033,333.50 บาท กับมีข้อความตอนท้ายว่า การชำระหนี้เต็มจำนวนต้องกระทำภายในวันที่ 31 พฤษภาคม2527 เท่ากับโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญา แสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดและผิดสัญญา แต่ตามสัญญาไม่ได้ระบุว่า หากจำเลยผิดนัดผิดสัญญา สัญญาซื้อขายเป็นอันเลิกกันทันที ดังนั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ จำเลยมีสิทธิขอชำระหนี้ตามสัญญาได้
โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายข้าวโพดเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา ระหว่างที่โจทก์ยังไม่บอกเลิกสัญญา จำเลยติดต่อขอรับข้าวโพดจำนวน10,000 เมตริกตัน จากโจทก์โดยจำเลยเพียงแต่มีหนังสือถึงโจทก์ว่าจำเลยจะส่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยและเจ้าหน้าที่ของธนาคารไปตรวจสินค้าที่ไซโลเพื่อจำเลยจะขอเบิกเงินจากธนาคารมาชำระค่าข้าวโพดให้โจทก์เท่านั้น ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ขอชำระราคาข้าวโพดทั้งหมดก่อนที่จำเลยจะมารับมอบข้าวโพดจากโจทก์ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์และฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อปรากฏในเวลาต่อมาว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายข้าวโพด และผลของการบอกเลิกสัญญา
ตามสัญญาซื้อขายข้าวโพดได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนตามวันแห่งปฏิทินคือภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 ปรากฎว่าในวันที่ 24 พฤษภาคม 2527 ก่อนจะครบกำหนดระยะเวลาโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบทางโทรพิมพ์ข้อความว่า หากข้าวโพดส่วนที่ยังไม่รับมอบตามสัญญาถูกยกเลิกไปจำเลยจะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,033,333.50 บาท กับมีข้อความตอนท้ายว่า การชำระหนี้เต็มจำนวนต้องกระทำภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 เท่ากับโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญา แสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดและผิดสัญญา แต่ตามสัญญาไม่ได้ระบุว่าหากจำเลยผิดนัดผิดสัญญา สัญญาซื้อขายเป็นอันเลิกกันทันทีดังนั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ จำเลยมีสิทธิขอชำระหนี้ตามสัญญาได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายข้าวโพดเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา ระหว่างที่โจทก์ยังไม่บอกเลิกสัญญา จำเลยติดต่อขอรับข้าวโพดจำนวน 10,000 เมตริกตัน จากโจทก์โดยจำเลยเพียงแต่มีหนังสือถึงโจทก์ว่าจำเลยจะส่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยและเจ้าหน้าที่ของธนาคารไปตรวจสินค้าที่ไซโล เพื่อจำเลยจะขอเบิกเงินจากธนาคารมาชำระค่าข้าวโพดให้โจทก์เท่านั้นยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ขอชำระราคาข้าวโพดทั้งหมดก่อนที่จำเลยจะมารับมอบข้าวโพดจากโจทก์ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์และฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อปรากฎในเวลาต่อมาว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเลิกกันได้เมื่อผู้ซื้อไม่ชำระหนี้ตามกำหนด และจำเลยส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามหนี้ชอบแล้ว
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ในราคา 1,350,000 บาท ชำระเงินมัดจำ 50,000 บาทส่วนที่เหลือแบ่งชำระโดยจะชำระ 800,000 บาทเมื่อโจทก์ได้นำทรัพย์พิพาทเข้าสถาบันการเงินได้และจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ในวันนั้น เงินอีก500,000 บาท ผ่อนชำระเป็นรายเดือน เดือนละ 30,000 บาทนับถัดจากเดือนที่นำทรัพย์พิพาทเข้าสถาบันการเงินได้จนกว่าจะครบ การชำระหนี้ของโจทก์ไม่ได้กำหนดเวลากันไว้ แต่ตามข้อตกลงที่ว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์เข้าปรับปรุงซ่อมแซมตกแต่งทรัพย์พิพาทได้ทันทีหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายย่อมแสดงว่าโจทก์ก็มีหน้าที่ชำระหนี้ในส่วนที่ค้างในทันทีเช่นกันแต่การที่โจทก์ชำระหนี้ดังกล่าวได้นั้น ตามสัญญากำหนดให้โจทก์เป็นผู้ติดต่อขอกู้เงินจากสถาบันการเงินซึ่งจะต้องมีการติดต่อกับบุคคลหลายคนหลายฝ่าย และยังจะต้องใช้เอกสารเป็นหลักฐานมิใช่น้อย จึงควรให้เวลาพอสมควร แต่โจทก์เพิ่งจะไปติดต่อขอกู้เงินจากธนาคาร เมื่อเวลาผ่านพ้นไปถึง 4 เดือนเศษหากโจทก์ขวนขวายเพื่อจะชำระหนี้ให้จำเลยอย่างจริงจังโจทก์ก็ น่าจะดำเนินการเสียแต่โดยเร็ว หรืออย่างช้าก็ในช่วงที่โจทก์เข้าไปปรับปรุงซ่อมแซมตกแต่งทรัพย์พิพาทเพื่อให้จำเลยเห็นว่าโจทก์อยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ให้จำเลยได้ แต่โจทก์ก็หาได้กระทำไม่ กลับได้ความว่ามีเจ้าหนี้ของโจทก์ที่ซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อไปซ่อมแซมตกแต่งบ้านพิพาทไปทวงหนี้ให้จำเลยชำระหลายราย ดังนั้นเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์พิพาทมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ในส่วนที่ค้างอยู่ และกรณีมีเหตุอันสมควรที่จะทำให้จำเลยเชื่อว่าโจทก์อยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ไม่ได้จำเลยจึงมีสิทธิบอกกล่าวให้ชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ทนายจำเลยได้มีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้โดยส่งหนังสือดังกล่าวไปทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และในวันรุ่งขึ้นได้ส่งถึงผู้รับแล้ว ซึ่งผู้รับไปรษณีย์ภัณฑ์ลงทะเบียนหาได้จำกัดเฉพาะผู้มีชื่อผู้รับจะต้องเป็นผู้รับด้วยตนเองเสมอไปไม่ แม้บุคคลอื่นซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดียวกันและมีอายุเกินกว่า 7 ปี ก็รับแทนกันได้ ดังนั้นเมื่อมีบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดียวกัน และมีอายุกว่า 7 ปีเป็นผู้รับแทนไว้ ก็ต้องถือว่าจำเลยได้ส่งคำบอกกล่าวทวงถามและเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว จำเลยได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว โจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าซื้อที่ชำระให้จำเลยไปบางส่วนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3944/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าซื้อ: การผ่อนผันการชำระหนี้และการเลิกสัญญาโดยปริยาย
สัญญาเช่าซื้อกำหนดว่า ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนดเวลารวม 36 งวด ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด ให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1ชำระค่าเช่าซื้อในงวดที่ 1 ถึงที่ 10 ล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาตลอดมา แต่โจทก์ก็ยอมรับชำระโดยมิได้ทักท้วง แสดงว่าในทางปฏิบัติโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำคัญต่อไป ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 11 จะถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญาและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันไปตามสัญญาไม่ได้ กรณีเช่นนี้หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาโจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาที่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เสียก่อน เมื่อจำเลยที่ 1ไม่ชำระโจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ อย่างไรก็ตามการที่โจทก์ยึดรถยนต์คืนจากจำเลยที่ 1 เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเช่าซื้อในงวดต่อมา และจำเลยที่ 1 ก็ยินยอมให้ยึดโดยไม่โต้แย้ง เป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญากันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์พิพาทคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการถือเอากำหนดเวลาชำระเงินเป็นสาระสำคัญของสัญญาซื้อขาย และสิทธิในการบอกเลิกสัญญา
ทางปฏิบัติของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขายสินค้าที่ถือปฏิบัติต่อกันมาไม่ได้ถือเอากำหนดเวลาการชำระเงินที่ได้ตกลงกันไว้ตามใบสั่งโดยเคร่งครัด แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดระยะเวลาในการชำระเงินเป็นสาระสำคัญตามสัญญาดังที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 388 ทั้งข้อสัญญาตามใบสั่งครั้งแรกก็ไม่ได้ระบุชัดแจ้งว่าหากโจทก์ไม่ชำระเงินภายใน 7 วัน นับจากวันที่รับของ สัญญาซื้อขายเป็นอันเลิกกันทันที ฉะนั้นจำเลยที่ 1 จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ก็ต่อเมื่อได้แจ้งให้โจทก์ชำระเงินภายใน 7 วัน นับจากวันที่รับของตามใบสั่งครั้งแรกในงวดต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 และจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสิทธิเลิกสัญญาตามใบสั่งครั้งที่สองและครั้งที่สาม เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยจะกล่าวอ้างว่าฐานะทางการเงินของโจทก์ไม่ดี เกรงว่าจะไม่ได้รับชำระเงินมาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอาคารพาณิชย์ตามคำโฆษณา: การนำสืบข้อความในสัญญา และสิทธิของโจทก์เมื่อจำเลยผิดสัญญา
จำเลยโฆษณาขายอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินว่าเป็นศูนย์รวมรถเมล์โรงแรม โรงภาพยนตร์ และตลาดสด โครงการจะสร้างเสร็จภายใน 1 ปีต่อมาโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อขายอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินจากจำเลยแม้จะไม่มีข้อความตามคำโฆษณาดังกล่าวในสัญญานั้นก็ตาม แต่แผนผังแนบท้ายสัญญาซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเป็นแผนผังศูนย์การค้าที่จำเลยจะสร้าง แสดงที่ตั้งของอาคารพาณิชย์ ศูนย์รวมรถเมล์โรงแรม โรงภาพยนตร์ ตลาดสด และอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินที่โจทก์ตกลงจะซื้อ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคำโฆษณาเสนอขายของจำเลยตอนทำสัญญาจะซื้อจะขายมาสืบได้เพราะเป็นการนำสืบอธิบายข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขาย มิใช่การนำสืบเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญา ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ตามสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยจำเลยมีหน้าที่ต้องสร้างศูนย์รวมรถเมล์ โรงแรม โรงภาพยนตร์และตลาดสดในบริเวณศูนย์การค้าภายในเวลา 1 ปี ตราบใดที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้โดยไม่สร้างศูนย์การค้าภายในกำหนดเวลาดังกล่าวอันถือว่าผิดสัญญา โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าซื้อก็ไม่จำต้องชำระเงินค่าซื้อต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 369 และยังมีสิทธิเลิกสัญญาต่อจำเลยได้ตามมาตรา 387เมื่อโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้ว จำเลยก็มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าซื้อที่โจทก์ชำระแล้วให้โจทก์ตามมาตรา 391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอาคารพาณิชย์ตามโฆษณา คำโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา การผิดสัญญาและสิทธิในการเลิกสัญญา
เอกสารที่จำเลยโฆษณาขายอาคารพร้อมที่ดินปรากฏใจความและรูปภาพแสดงว่าจำเลยได้โฆษณาเสนอขายอาคารพาณิชย์มากกว่า 800 ห้องโดยระบุว่าเป็นโอกาสทองของผู้ลงทุนเพราะเป็นศูนย์รวมรถเมล์ โรงแรมโรงภาพยนตร์ และตลาดสด ทั้งกำหนดโครงการสร้างเสร็จภายใน 1 ปีซึ่งต่อมาโจทก์จำเลยได้เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคาร 5 ห้อง พร้อมที่ดิน แม้จะไม่ปรากฏข้อความตามคำโฆษณาดังกล่าวสัญญานั้นก็ตาม แต่แผนผังแนบท้ายสัญญาซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเป็นแผนผังศูนย์การค้าที่จำเลยจะสร้าง แสดงที่ตั้งของอาคารพาณิชย์ศูนย์รวมรถเมล์ โรงแรม โรงภาพยนตร์ ตลาดสด และอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินที่โจทก์ตกลงจะซื้อ ดังนี้ ศูนย์การค้าตามแผนผังจะมีรายละเอียดอย่างไร กำหนดสร้างเสร็จเมื่อไร โจทก์ย่อมมีสิทธินำคำโฆษณาเสนอขายของจำเลยตอนทำสัญญาจะซื้อจะขายมานำสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบอธิบายข้อความในเอกสาร สัญญาจะซื้อจะขาย มิใช่การนำสืบเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาดังกล่าว ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องสร้างศูนย์รวมรถเมล์ โรงแรมโรงภาพยนตร์ และตลาดสดในบริเวณศูนย์การค้าดังกล่าวภายในเวลา 1 ปี ตราบใดที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้โดยไม่สร้างศูนย์การค้าภายในกำหนดเวลาดังกล่าวอันถือว่าผิดสัญญา โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าซื้อก็ไม่จำต้องชำระเงินค่าซื้อต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 และยังมีสิทธิเลิกสัญญาต่อจำเลยได้ตามมาตรา 387 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้ว จำเลยก็มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าซื้อที่โจทก์ชำระแล้วให้โจทก์ตามมาตรา 391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายตามคำโฆษณา: คำโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา หากไม่สร้างตามโฆษณา ถือผิดสัญญา
เอกสารที่จำเลยโฆษณาขายอาคารพร้อมที่ดินปรากฏใจความและรูปภาพ แสดงว่าจำเลยได้โฆษณาเสนอขายอาคารพาณิชย์มากกว่า 800 ห้องโดยระบุว่าเป็นโอกาสทองของผู้ลงทุนเพราะเป็นศูนย์รวมรถเมล์โรงแรม โรงภาพยนตร์และตลาดสด ทั้งกำหนดโครงการสร้างเสร็จภายใน 1 ปี ซึ่งต่อมาโจทก์จำเลยได้เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคาร5 ห้องพร้อมที่ดิน แม้จะไม่ปรากฏข้อความตามคำโฆษณาดังกล่าวในสัญญานั้นก็ตาม แต่แผนผังแนบท้ายสัญญาซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเน้น แผนผังศูนย์การค้าที่จำเลยจะสร้าง แสดงที่ตั้งของอาคารพาณิชย์ ศูนย์รวมรถเมล์ โรงแรมโรงภาพยนตร์ ตลาดสด และอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินที่โจทก์ตกลงจะซื้อ ดังนี้ ศูนย์การค้าตามแผนผังจะมีรายละเอียดอย่างไร กำหนดสร้างเสร็จเมื่อไร โจทก์ย่อมมีสิทธินำคำโฆษณาเสนอขายของจำเลยตอนทำสัญญาจะซื้อจะขายมานำสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบอธิบายข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขาย มิใช่การนำสืบเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาดังกล่าว ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องสร้างศูนย์รวมรถเมล์ โรงแรม โรงภาพยนตร์และตลาดสดในบริเวณศูนย์การค้าดังกล่าวภายใน 1 ปี ตราบใดที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้โดยไม่สร้างศูนย์การค้าภายในกำหนดเวลาดังกล่าวอันถือว่าผิดสัญญา โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าซื้อก็ไม่จำต้องชำระเงินค่าซื้อต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 และยังมีสิทธิเลิกสัญญาต่อจำเลยได้ ตามมาตรา 387 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้ว จำเลยก็มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าซื้อที่โจทก์ชำระแล้วให้โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขาย การสร้างศูนย์การค้าตามโฆษณาเป็นหน้าที่ของจำเลย หากไม่ทำตามโจทก์มีสิทธิเลิกสัญญา
เอกสารที่จำเลยโฆษณาขายอาคารพร้อมที่ดินปรากฏใจความและรูปภาพแสดงว่าจำเลยได้โฆษณาเสนอขายอาคารพาณิชย์มากกว่า 800 ห้อง โดยระบุว่าเป็นโอกาสทองของผู้ลงทุนเพราะเป็นศูนย์รวมรถเมล์ โรงแรม โรงภาพยนตร์ และตลาดสด ทั้งกำหนดโครงการสร้างเสร็จภายใน 1 ปี ซึ่งต่อมาโจทก์จำเลยได้เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคาร 5 ห้อง พร้อมที่ดิน แม้จะไม่ปรากฏข้อความตามคำโฆษณาดังกล่าวสัญญานั้นก็ตาม แต่แผนผังแนบท้ายสัญญาซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเป็นแผนผังศูนย์การค้าที่จำเลยจะสร้าง แสดงที่ตั้งของอาคารพาณิชย์ ศูนย์รวมรถเมล์โรงแรม โรงภาพยนตร์ ตลาดสด และอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินที่โจทก์ตกลงจะซื้อ ดังนี้ ศูนย์การค้าตามแผนผังจะมีรายละเอียดอย่างไร กำหนดสร้างเสร็จเมื่อไร โจทก์ย่อมมีสิทธินำคำโฆษณาเสนอขายของจำเลยตอนทำสัญญาจะซื้อจะขายมานำสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบอธิบายข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขาย มิใช่การนำสืบเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาดังกล่าวไม่ต้องห้าม ป.วิ.พ. มาตรา 94 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องสร้างศูนย์รวมรถเมล์ โรงแรม โรงภาพยนตร์และตลาดสดในบริเวณศูนย์การค้าดังกล่าวภายในเวลา 1 ปี ตราบใดที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้โดยไม่สร้างศูนย์การค้าภายในกำหนดเวลาดังกล่าวอันถือว่าผิดสัญญา โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าซื้อก็ไม่จำต้องชำระเงินค่าซื้อต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 569 และยังมีสิทธิเลิกสัญญาต่อจำเลยได้ตามมาตรา 387 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้ว จำเลยก็มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าซื้อที่โจทก์ชำระแล้วให้โจทก์ตามมาตรา 391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1667/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขาย: สิทธิการชำระราคาก่อนกำหนดและการโอนกรรมสิทธิ์เมื่อจำเลยไม่สามารถไถ่ถอนจำนองได้
สัญญาจะซื้อขายให้สิทธิแก่โจทก์ผู้จะซื้อที่จะขอชำระราคาทั้งหมดก่อนกำหนดพร้อมกับรับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้ทันทีเมื่อโจทก์พร้อมจะชำระเงินที่เหลือทั้งหมดให้แก่จำเลยก่อนกำหนดโดยบอกกล่าวให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยไม่สามารถจะไถ่ถอนจำนองทรัพย์สินนั้นจากธนาคารเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ได้ทันทีเพราะธนาคารต้องการให้จำเลยชำระหนี้จำนองทั้งหมด แต่จำเลยไม่มีเงินพอ จึงเป็นความผิดของจำเลยเอง จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้วจำเลยต้องคืนเงินค่าทรัพย์สินที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไว้แล้ว พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากจำนวนเงินที่จำเลยได้รับไว้แต่ละครั้ง
of 40