คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 387

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 395 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1667/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขาย: จำเลยผิดสัญญาเมื่อไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้เนื่องจากติดจำนองและไม่มีเงินไถ่ถอน
สัญญาจะซื้อขายให้สิทธิแก่โจทก์ผู้จะซื้อที่จะขอชำระราคาทั้งหมดก่อนกำหนดพร้อมกับรับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้ทันที เมื่อโจทก์พร้อมจะชำระเงินที่เหลือทั้งหมดให้แก่จำเลยก่อนกำหนดโดยบอกกล่าวให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยไม่สามารถจะไถ่ถอนจำนองทรัพย์สินนั้นจากธนาคารเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ได้ทันที เพราะธนาคารต้องการให้จำเลยชำระหนี้จำนองทั้งหมด แต่จำเลยไม่มีเงินพอ จึงเป็นความผิดของจำเลยเอง จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้วจำเลยต้องคืนเงินค่าทรัพย์สินที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไว้แล้ว พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากจำนวนเงินที่จำเลยได้รับไว้แต่ละครั้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1213/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายและการชดใช้ค่าใช้ทรัพย์
โจทก์ได้รับรถแทรกเตอร์ที่ให้เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 24ธันวาคม 2528 เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนดเวลาในสัญญา และจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์ เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์รับรถคืน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ใช้รถแทรกเตอร์ที่เช่าซื้อมาตั้งแต่วันที่ทำสัญญาเช่าซื้อ คือ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2527 จนถึงวันที่ 24ธันวาคม 2528 โดยชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์เพียงบางส่วน โจทก์ย่อมเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้รถแทรกเตอร์ในระยะเวลานั้น จำเลยที่ 1จึงต้องชดใช้ค่าใช้ทรัพย์ดังกล่าวให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีกำหนดสัญญา กรณีขัดคำสั่งนายจ้าง สิทธิในการบอกกล่าวล่วงหน้าและสินไหมทดแทน
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอนระหว่างอายุสัญญาโจทก์ขัดคำสั่งของจำเลยคือเข้าอยู่อาศัยใน สำนักงานของจำเลยกับผู้หญิงอื่นซึ่งมิใช่ภรรยา จำเลยให้ย้ายออก ก็ไม่ย้าย ในทันที และไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของจำเลยที่ให้ลงชื่อ ในเช็คสองคนซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบในฐานะ พนักงานอาวุโสจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน หรือให้สินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 กรณีนี้ไม่อาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เรื่อง การเลิกสัญญามาใช้บังคับได้ เพราะการจ้างแรงงานเป็นเอกเทศสัญญา ในบรรพ 3 ที่มีบทบัญญัติ ไว้เป็นพิเศษในมาตรา 583 อยู่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีกำหนดสัญญาชัดเจน กรณีลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง สิทธิในการเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าว
ลูกจ้างขัดคำสั่งของนายจ้างโดยเข้าอยู่อาศัยในสำนักงานของนายจ้างกับผู้หญิงอื่นซึ่งมิใช่ภรรยาของตนโดยมิชอบ เมื่อนายจ้างสั่งให้ย้ายออกก็มิได้ย้ายออกไปในทันที กับไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของนายจ้างซึ่งให้ลงชื่อในเช็คสองคน แม้ลูกจ้างดังกล่าวจะเป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาการจ้าง นายจ้างก็เลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุดังกล่าวนั้นได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อนหรือให้สินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 กรณีเช่นนี้ไม่อาจนำมาตรา387 ซึ่งอยู่ในบรรพ 2 ลักษณะ 2 หมวดที่ 4 เรื่อง การเลิกสัญญามาใช้บังคับ เพื่อให้นายจ้างรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างได้เพราะการจ้างแรงงานเป็นเอกเทศสัญญาในบรรพ 3 ที่มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 583 อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างอาวุโส กรณีฝ่าฝืนคำสั่งและประพฤติมิชอบ
โจทก์ขัดคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงสองประการ กล่าวคือ เข้าอยู่อาศัยในสำนักงานของจำเลยที่ 1 กับผู้หญิงอื่นซึ่งมิใช่ภรรยาของตนโดย มิชอบ และเมื่อจำเลยที่ 1 สั่งให้ย้ายออกก็มิได้ย้ายออกไปในทันที กับไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของจำเลยที่ 1 ซึ่งให้ลงชื่อในเช็คสองคน ถือว่าเป็นการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบในฐานะพนักงานอาวุโสและ หัวหน้าสำนักงาน ดังนี้ จำเลยที่ 1 ชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยมิต้อง บอกกล่าวก่อนหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้ตามป.พ.พ. มาตรา 583 กรณี เช่นนี้ไม่อาจนำ มาตรา 387 ซึ่งอยู่ในบรรพ 2 ลักษณะ 2 หมวดที่ 4 เรื่องการเลิกสัญญามาใช้บังคับเพราะการจ้างแรงงานเป็นเอกเทศสัญญา ในบรรพ 3 ที่มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 583 อยู่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาซื้อขายโดยปริยายจากการไม่ชำระหนี้และรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง แม้ไม่เคร่งครัดกำหนดเวลา
แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน กำหนดเรื่องการชำระราคากันว่าโจทก์ชำระเงินให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาแล้ว 10,000 บาท ที่เหลือส่งชำระเป็นรายเดือน เดือนละ 500 บาท จนกว่าจะครบ 37,500 บาทจำเลยจึงจะโอนสิทธิให้ แม้โจทก์มิได้ชำระเงินทุกเดือนรวมหลาย ๆ เดือนชำระครั้งหนึ่ง ไม่ได้ถือกำหนดเวลาในสัญญาเป็นสำคัญก็ตาม แต่เมื่อต่อมาโจทก์รื้อบ้านของโจทก์ที่ปลูกไว้ออกจากที่ดินดังกล่าวไปแล้วไม่ได้ชำระเงินให้จำเลยนานถึง 4 ปีเศษ โดยจำเลยไม่เคยทวงถามให้โจทก์ชำระหนี้อีกเลย แสดงว่าโจทก์จำเลยเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายระงับสิ้นเมื่อผู้ซื้อไม่ชำระหนี้ตามกำหนด แม้จำเลยเสนอให้ชำระภายหลังก็ไม่ผูกพัน
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้าง เมื่อจำเลยผู้จะขายได้จัดการขนย้ายผู้เช่าเดิมออกไปจากที่ดินพิพาทแล้วตามสัญญา จำเลยแจ้งให้โจทก์ผู้จะซื้อนำค่าที่ดินงวดที่ 2 มาชำระ แต่โจทก์ก็หาได้ชำระไม่อ้างว่าจำเลยยังไม่ปฏิบัติตามสัญญา จำเลยจึงให้ทนายความมีหนังสือแจ้งต่อโจทก์โดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ หากไม่ชำระภายในเวลาที่กำหนดก็ให้ถือเป็นการบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำ ซึ่งโจทก์ทราบแล้วก็มิได้ชำระเงินให้แก่จำเลยตามเวลาที่กำหนด สัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงระงับสิ้นไป แม้ต่อมาทนายความของจำเลยจะได้มีหนังสือแจ้งต่อโจทก์ว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ชำระเงินตามสัญญาภายในวันที่ 7 พฤษภาคม2528 อีก หนังสือดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อเสนอที่จำเลยให้แก่โจทก์ใหม่ ภายหลังสัญญาเลิกกันแล้วเมื่อโจทก์ไม่ได้ตกลงสนองตอบ ย่อมไม่ก่อให้เกิดผลแต่อย่างใด จำเลยจึงหาจำต้องบอกเลิกสัญญาเมื่อพ้นกำหนดดังกล่าวอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายระงับสิ้นเมื่อผู้ซื้อไม่ชำระหนี้ตามกำหนด แม้จำเลยเสนอให้ผ่อนผันก็ไม่ผูกพัน
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเมื่อจำเลยผู้จะขายได้จัดการขนย้ายผู้เช่าเดิมออกไปจากที่ดินพิพาทแล้วตามสัญญา จำเลยแจ้งให้โจทก์ผู้จะซื้อนำค่าที่ดินงวดที่ 2มาชำระ แต่โจทก์ก็หาได้ชำระไม่อ้างว่าจำเลยยังไม่ปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจึงให้ทนายความมีหนังสือแจ้งต่อโจทก์โดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ หากไม่ชำระภายในเวลาที่กำหนดก็ให้ถือเป็นการบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำ ซึ่งโจทก์ทราบแล้วก็มิได้ชำระเงินให้แก่จำเลยตามเวลาที่กำหนด สัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงระงับสิ้นไป แม้ต่อมาทนายความของจำเลยจะได้มีหนังสือแจ้งต่อโจทก์ว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ชำระเงินตามสัญญาภายในวันที่ 7พฤษภาคม 2528 อีก หนังสือดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อเสนอที่จำเลยให้แก่โจทก์ใหม่ ภายหลังสัญญาเลิกกันแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ได้ตกลงสนองตอบ ย่อมไม่ก่อให้เกิดผลแต่อย่างใด จำเลยจึงหาจำต้องบอกเลิกสัญญา เมื่อพ้นกำหนดดังกล่าวอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2156/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาก่อสร้าง - การเปลี่ยนแปลงงาน - สิทธิในการรับเงินค่าจ้าง - การชำระหนี้
หลังจากครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามข้อตกลงหมาย ล.3จำเลยที่ 1 ยังก่อสร้างบ้านไม่เสร็จ แม้ว่าข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวจะกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ระบุให้สิทธิในการบอกเลิกสัญญา ทั้งโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงหมาย ล.11 ให้จำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างต่อไป แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างไม่ถือเอากำหนดเวลาในการก่อสร้างตาม ข้อตกลงเอกสารหมาย ล.3 เป็นข้อสำคัญ หากโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ก่อสร้างบ้านไม่ถูกแบบแปลนโจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ลงมือก่อสร้างโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยที่ 1 แก้ไข ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่แก้ไข โจทก์จึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การชำระเงินไม่ครบถ้วน การคำนวณผิดพลาด และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจากจำเลย และผ่อนชำระราคาเรื่อยมาจำเลยได้ออกหลักฐานการชำระเงินงวดสุดท้ายให้โจทก์ระบุว่า"จ่ายให้หมดแล้ว" ซึ่งความจริงเงินที่ต้องผ่อนชำระยังขาดอยู่อีก2,600 บาท แต่จำเลยคำนวณผิดพลาด จำนวนเงินที่ขาดนี้ไม่ใช่โจทก์ไม่ยินยอมชำระ แต่เนื่องจากโจทก์เข้าใจว่าได้ชำระครบถ้วนแล้วตามหลักฐานที่จำเลยทำให้และที่จำเลยทวงถามก็ให้โจทก์ชำระเงินถึง8,200 บาท ซึ่งมิใช่จำนวนเงินที่ค้างจริง ทั้งเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3พิพากษาให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่ค้างชำระจริง โจทก์ก็มิได้ฎีกาโต้แย้ง แสดงว่าโจทก์ยอมรับที่จะชำระเงินส่วนนี้ให้จำเลยให้ครบถ้วนตามสัญญา จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อไปเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินส่วนที่ยังขาดอยู่ให้ครบถ้วนแล้ว โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินให้จำเลยไปเพียง 45,000 บาท ถ้าจะบังคับให้จำเลยคืนเงินก็คงบังคับได้เฉพาะส่วนที่จำเลยได้รับชำระไปแล้วเท่านั้น จะบังคับให้คืนทั้งหมด 48,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อจะขาย โดยรวมส่วนที่ยังชำระไม่ครบด้วยนั้นไม่ชอบ เมื่อโจทก์ยังชำระค่าที่ดินขาดอยู่อีก 2,600 บาท ซึ่งแม้ในตอนแรกจะเกิดขึ้นจากการคำนวณผิดพลาดของจำเลยว่าชำระครบแล้วแต่ต่อมาเมื่อจำเลยทวงถาม โจทก์ก็ยังไม่ยอมชำระ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาที่ยังไม่โอนที่ดินให้โจทก์ โจทก์จึงไม่อาจจะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้.
of 40