คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 583

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,079 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238-7239/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นโทษโดยไม่ได้รับความยินยอม ไม่อาจเลิกจ้างได้
จำเลยประกอบกิจการขายเครื่องประดับเพชรพลอย โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นลูกจ้างมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายมีอำนาจบังคับบัญชาและให้คำแนะนำแก่พนักงานขายซึ่งมีจำนวนประมาณ 150 คน จำเลยมีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายและมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองไปทำหน้าที่ในการขายและช่วยเหลือการขายของพนักงาน การที่จำเลยมีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขาย ซึ่งโจทก์ทั้งสองทำงานในตำแหน่งดังกล่าวและมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองไปทำงานในหน้าที่พนักงานขายทั้งให้ลดเงินเดือนโจทก์ทั้งสอง เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นโทษแก่โจทก์ทั้งสอง เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวได้ตามลำพังเนื่องจากมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง คำสั่งของจำเลยที่ให้ยกเลิกตำแหน่งของโจทก์ทั้งสองและให้ไปทำงานในหน้าที่พนักงานขายจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามนัย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ทั้งสอง แม้โจทก์ทั้งสองไม่ยินยอมปฏิบัติตาม คำสั่งดังกล่าวก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนต่อคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยในกรณีร้ายแรง หรือโจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเพราะเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7038/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง: ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง ไม่ถือเป็นลูกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2 และข้อ 47 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 583 หมายความว่า ลูกจ้างคือผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยรับค่าจ้าง ทั้งนี้ ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืนนายจ้างมีสิทธิลงโทษลูกจ้างได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือนายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชา สามารถออกคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานให้เป็นไปตามข้อบังคับการทำงานหรือระเบียบของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืน นายจ้างมีสิทธิลงโทษลูกจ้างได้
โจทก์มีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทจำเลยมีหน้าที่บริหารงานและควบคุมดูแลการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามนโยบายของจำเลย โจทก์ไม่ต้องไปนั่งทำงานประจำดังเช่นพนักงานทั่วไป คงไปประชุมเพียงเดือนละ 1 ครั้ง นอกนั้นจะสั่งการทางโทรศัพท์หรือเรียกพนักงานของจำเลยไปพบที่บริษัทที่โจทก์นั่งทำงานอยู่ โจทก์มีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดและไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยแสดงว่าโจทก์ไม่ต้อง ไปทำงานภายใต้บังคับบัญชาของจำเลย โจทก์จึงมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6791/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยต้องพิจารณาความร้ายแรงของความผิด การทำงานบกพร่องตามปกติไม่ใช่เหตุเลิกจ้าง
ก่อนเกิดเหตุโจทก์เคยฝังเพชรฝังพลอยเครื่องประดับรุ่นอื่น ๆ บกพร่องมาแล้ว จำเลยมิได้ถือเป็นเหตุเลิกจ้างเพียงแต่ตักเตือนโจทก์ด้วยวาจา เมื่อโจทก์ทำงานฝังเพชรแหวนรุ่น อาร์ - 173 บกพร่อง จำเลยก็ยังยอมรับในคุณภาพฝีมือของโจทก์ การทำงานบกพร่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องปกติของช่างฝังทุกคน และโจทก์ไม่ได้พลิกแพลงวิธีการทำงานให้ผิดไปจากปกติที่เคยปฏิบัติ การที่โจทก์เจาะรูตัวเรือนแหวนกว้างเท่ากันตลอดก็มิได้เพื่อจะให้ได้เศษทองมากขึ้น ดังนี้ พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าการทำงานบกพร่องของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต หรือเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย แม้การกระทำของโจทก์จะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัย แต่ความผิดที่โจทก์กระทำล้วนไม่ใช่ความผิดที่จำเลยจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แสดงว่าจำเลยมิได้ถือว่าความผิดดังกล่าวเป็นความผิดร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676-5677/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง การพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการยกเหตุขัดคำสั่งเพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
แม้ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงสองข้อ คือ ข้อ 1. โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ และข้อ 2. โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ เพียงใด แต่คำให้การของจำเลยนอกจากจะทำให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่แล้ว จำเลยยังให้การว่าโจทก์ยังฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงอีกด้วย ดังนั้นในประเด็นข้อ 2. นอกจากจะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่แล้วยังต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้องบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยหรือไม่ด้วยเมื่อศาลแรงงานพิพากษาคดีโดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นหลัง จึงเป็นการพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังเป็นยุติธรรมมาแล้วเพียงพอที่จะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวได้ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นนี้เสียเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยอีก
ตามคำสั่งที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์อ้างเหตุเลิกจ้างเพียงเหตุเดียวว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยยกเหตุอื่นเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม และมาตรา 119 ข้อห้ามดังกล่าวจำกัดอยู่เฉพาะไม่ให้นายจ้างยกขึ้นต่อสู้เพื่อให้พ้นความรับผิดไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น ไม่รวมถึงสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ในคำสั่งที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์จะอ้างเหตุเลิกจ้างเพียงเหตุเดียวว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยก็สามารถยกเหตุว่าโจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยขึ้นต่อสู้ในภายหลังเพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ได้
การที่โจทก์ทำการตรวจซ่อมรถให้แก่ผู้อื่นในเต็นท์หลังศูนย์บริการของจำเลย ย่อมมีเหตุอันควรที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานอยู่ในศูนย์บริการของจำเลยแห่งเดิมอีกต่อไป การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานที่สาขาอื่นไม่ปรากฏว่ามีการลดตำแหน่งและเงินเดือนของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทการเลิกจ้างและการทุจริตต่อหน้าที่ ศาลแรงงานมีอำนาจวินิจฉัยปรับบทความผิดอาญาฐานปลอมเอกสารได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยให้การว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ ข้ออ้างและข้อเถียงที่คู่ความไม่รับกันจึงอยู่ที่ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลแรงงานกลางจดไว้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ทำการทุจริต จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ผลแห่งการเลิกจ้างจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 และ ป.พ.พ. มาตรา 583 การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์อันเป็นผลการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้จึงไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
ในคดีแรงงานได้มี พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 บัญญัติเรื่องประเด็น ข้อพิพาทไว้แล้วโดยเฉพาะ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้
จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่าการที่โจทก์ทำบันทึกขอเบิกเงินค่ามัดจำเสื้อฟอร์มของ น. คืนและทำใบเบิกจ่ายเงินเสนอผู้บังคับบัญชาระบุว่า น.ขอเบิกเงินค่ามัดจำเสื้อฟอร์มคืนโดยลงชื่อ น. ในใบเบิกจ่ายเงินช่องผู้ขอเบิกทั้ง ๆ ที่ น. ไม่มีสิทธิเบิกและไม่ได้ขอเบิกเงินดังกล่าว เป็นทั้งการทุจริตต่อหน้าที่และการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่ นายจ้างโดยการปลอมเอกสารใบเบิกจ่ายเงิน เมื่อศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้กระทำการตามที่จำเลยกล่าวอ้างจึงชอบที่จะต้องวินิจฉัยปรับบทด้วยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการปลอมเอกสารใบเบิกจ่ายเงินอันเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้หรือไม่ด้วย การที่ศาลแรงงานกลางไม่วินิจฉัยปรับบทดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาเรื่องการวินิจฉัยปรับบทเป็นปัญหาข้อกฎหมายและคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียเลยว่าการกระทำของโจทก์เป็นความผิดอาญาฐานปลอมเอกสารหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2418/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: การปฏิบัติงานอิสระ, ไม่มีการบังคับบัญชา, และฐานะผู้ถือหุ้น/กรรมการ ไม่ถือเป็นลูกจ้าง
โจทก์เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งบริษัทจำเลยตั้งแต่เริ่มแรก โดยเป็นกรรมการมาตลอดและเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลย โจทก์ไม่อยู่ภายใต้ระเบียบบังคับในการทำงานของบริษัทจำเลย เมื่ออายุเกิน 60 ปีก็ไม่ถูกปลดเกษียณไม่ต้องมาทำงานทุกวัน ไม่มีผู้ใดบังคับบัญชาโจทก์ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทจำเลยกับโจทก์หาได้มีลักษณะเป็นนายจ้างกับลูกจ้างไม่ เพราะโจทก์มิได้อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับของจำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์ปฏิบัติงานโดยอิสระ ไม่ต้องมาทำงานทุกวันและไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลย อันเป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 แม้จะได้รับเงินเดือนจากบริษัทจำเลย ก็ยังถือไม่ได้ว่าบริษัทจำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง: ผู้ถือหุ้นและประธานกรรมการไม่อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของบริษัท จึงไม่เป็นลูกจ้าง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2 และข้อ 47 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 583 บทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว หมายความว่า ลูกจ้างคือผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง ทั้งนี้ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืน นายจ้างมีสิทธิลงโทษลูกจ้างได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ นายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาสามารถออกคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานให้เป็นไปตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืน นายจ้างมีสิทธิลงโทษลูกจ้างได้
เมื่อฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและประธานกรรมการของบริษัทจำเลย โจทก์เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของพนักงานในบริษัทจำเลยรองจากประธานกิตติมศักดิ์ โจทก์ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับการทำงานของบริษัทจำเลย อีกทั้งไม่มี ผู้ใดในบริษัทจำเลยสามารถสั่งการหรือบังคับบัญชาโจทก์ได้ โจทก์จึงมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: เจตนาทำความเสียหาย vs. ละเลยหน้าที่ และข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย
กรณีที่ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอันจะเป็นเหตุให้นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119(2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541นั้น หมายถึงลูกจ้างกระทำโดยตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างหรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างกระทำโดยรู้ถึงผลเสียหายที่จะเกิดแก่นายจ้าง
พนักงานแผนกซ่อมบำรุงของจำเลยรายงานโจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานว่าเครื่องเติมอากาศบ่อบำบัดน้ำเสียมีเสียงดังผิดปกติแต่โจทก์ไม่พูดอะไรและไม่ได้ไปดู ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง จึงมิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์แต่การกระทำดังกล่าวของโจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานเป็นการละเลยต่อหน้าที่อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบโดยเคร่งครัด ถือว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497-528/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกด้วยความสมัครใจ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนกำหนดเมื่อวันที่ 21มกราคม 2542 สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ 22 มกราคม 2542 เป็นต้นไป แม้สัญญาจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน จำเลยก็คงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เพียงวันที่ 21 มกราคม 2542 เท่านั้น ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันที่ 22ถึงวันที่ 31 มกราคม 2542 ให้แก่โจทก์อีก
กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเฉพาะกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวแก่ลูกจ้างล่วงหน้า ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด แม้จะขอให้จำเลยอนุมัติให้ลาออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 และจำเลยเพิ่งจะอนุมัติให้ลาออกในวันที่ 21 มกราคม 2542 ก็เป็นการยื่นคำขอและการอนุมัติให้ลาออกตามโครงการดังกล่าวนั่นเอง อันเป็นการอนุมัติให้ลาออกตามคำขอของโจทก์ จึงถือว่าเป็นการขอลาออกจากงานด้วยความสมัครใจของโจทก์มิใช่เป็นการเลิกจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
โจทก์ยื่นคำขอเกษียณอายุก่อนกำหนด แม้ไม่มีข้อความที่แสดงว่า โจทก์ยินยอมสละสิทธิการเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและ วันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมตามที่โจทก์มีสิทธิอยู่แล้ว แต่พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 67 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้แก่ ลูกจ้างนั้นจะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มี ความผิดตามมาตรา 119 ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายลาออกเอง จำเลย จึงไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497-528/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีและสะสมเฉพาะกรณีนายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้างลาออกเองนายจ้างไม่ต้องจ่าย
จำเลยอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนกำหนดเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2542 สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ 22 มกราคม 2542 เป็นต้นไป แม้สัญญาจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน จำเลยก็คงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เพียงวันที่ 21 มกราคม 2542 เท่านั้น
กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเฉพาะกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวแก่ลูกจ้างล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด แม้จะขอให้จำเลยอนุมัติให้ลาออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 และจำเลยเพิ่งอนุมัติให้ลาออกตามโครงการดังกล่าวนั่นเองอันเป็นการอนุมัติให้ลาออกตามคำขอของโจทก์ จึงถือว่าเป็นการขอลาออกจากงานด้วยความสมัครใจของโจทก์มิใช่เป็นการเลิกจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้แก่ลูกจ้าง จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามมาตรา 119 เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายลาออกเองจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์
of 108