คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 583

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,079 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ - การประเมินความร้ายแรงของการกระทำและสิทธิในการรับค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายผลิต ส. ผู้จัดการโรงงานเรียกโจทก์มาพบแจ้งว่าจะย้ายโจทก์ โจทก์ถามเหตุผลว่า"ทำได้แค่นี้เองหรือนึกอยู่แล้วว่าจะทำอย่างนี้" ต่อมาโจทก์ได้พูดกับ พ. ผู้จัดการฝ่ายที่ห้องของ พ. เรื่องที่จะย้ายโจทก์ว่า "เลว เลวกว่าที่คิดไว้เสียอีก ตัวถ่วงความเจริญบริษัท หน้าหนากว่ากระจกแผ่นนี้" แล้วโจทก์ใช้มือทุบกระจกโต๊ะทำงาน ก่อนเดินออกจากห้องพูดว่า "เมื่อวันเสาร์นี้ไปไหน น่าจะให้ ม. ตบหน้าเสีย 1 ครั้ง" การกระทำดังกล่าวเป็นการ เสียดสีสบประมาทและแสดงกิริยาก้าวร้าวต่อผู้บังคับบัญชา อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ 37.3 แต่สาเหตุเนื่องมาจากโจทก์ถูกย้าย เพื่อมิให้เกิดการเผชิญหน้ากับ พ. ที่โจทก์ไม่นับถือและเคลือบแคลงใจจึงไม่ถึงขนาดเป็นการปฏิบัติเลวทรามเพราะจงใจฝ่าฝืนศีลธรรมหรือจารีตประเพณีไม่เป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามข้อ 37.6 และตามข้อบังคับมิได้กำหนดว่าการฝ่าฝืนข้อ 37.3 เป็นกรณีร้ายแรงการกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย แต่ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7980/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุมัติสินเชื่อเกินอำนาจถือเป็นความผิดร้ายแรงทางวินัยของพนักงานธนาคาร
การที่โจทก์ในขณะดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาและผู้จัดการสำนักงานเขต มีอำนาจอนุมัติให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายเดียวกันได้ไม่เกินวงเงิน 4,000,000 บาท แต่โจทก์อนุมัติให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายนาง ธ. กับนาย ส. ซึ่งเป็นสามีภริยาที่มิได้จดทะเบียนสมรสอันถือเป็นลูกค้ารายเดียวกันตามระเบียบข้อบังคับ ข้อ 1.5.1 กู้รวมแล้วเกินกว่า 4,000,000 บาท และอนุมัติให้สินเชื่อแก่นาย ค. กับนาง น. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ธ. อันถือเป็นลูกค้ารายเดียวกันตามระเบียบข้อบังคับข้อ 1.5.3 เป็นจำนวนเงินกว่า 4,000,000 บาท การอนุมัติสินเชื่อของโจทก์มีลักษณะเป็นการกระจายหนี้ซึ่งเกินอำนาจอนุมัติของโจทก์เพื่อให้อยู่ในอำนาจอนุมัติของโจทก์ จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยที่ 1 และการที่จำเลยที่ 1 ออกระเบียบกำหนดวงเงินอนุมัติสินเชื่อตามตำแหน่งรับผิดชอบของผู้บริหารแต่ละระดับนั้นก็เพื่อกลั่นกรองป้องกันความเสี่ยงอันเกิดจากการใช้อำนาจของพนักงานของจำเลยที่ 1 โจทก์เป็นพนักงานธนาคารอันเป็นสถาบันการเงินที่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิประโยชน์ของประชาชน มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอันเกี่ยวกับการเงินของจำเลยที่ 1 โดยเคร่งครัดด้วยความระมัดระวังและสุจริต มิฉะนั้นแล้วจะส่งผลกระทบกระเทือนไปถึงความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อกิจการของธนาคารจนอาจทำให้ธนาคารไม่อาจดำรงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ทำงานกับจำเลยที่ 1 มากว่า 20 ปี ย่อมรู้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ดี กลับหาช่องทางหลีกเลี่ยงระเบียบข้อบังคับด้วยวิธีการกระจายหนี้ที่เกินอำนาจอนุมัติของโจทก์เป็นหนี้หลายรายแล้วโจทก์อนุมัติให้สินเชื่อไปจนทำให้จำเลยที่ 1 เสียหายจำนวนมากเช่นนี้ นับว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ในกรณีร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7767/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างครู การจ่ายค่าชดเชย และการประเมินความร้ายแรงของพฤติกรรมผิดวินัย
โจทก์และจำเลยต่างเป็นเอกชนที่ตกลงทำสัญญาจ้างกัน โดยจำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำงานเป็นครู และให้ค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดเวลาที่ทำงานให้จำเลย จึงเป็นการจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 หาใช่เป็นสัญญาทางการปกครองไม่
แม้กฎกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ (1) จะกำหนดมิให้ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู แต่เมื่อสัญญาการเป็นครูเป็นสัญญาจ้างแรงงาน คู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 เพียงแต่ศาลแรงงานจะนำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาบังคับใช้แก่คดีไม่ได้ และสิทธิของคู่สัญญาย่อมเป็นไปตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่น
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีวัตถุประสงค์ควบคุมโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพเท่านั้น มิใช่กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่นายจ้างลูกจ้าง หรือกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง หรือแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างลูกจ้าง อันเป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วย แรงงานสัมพันธ์ แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครู โดยมีคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานเป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายที่จะขจัดข้อพิพาทระหว่างครูใหญ่หรือครูกับ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 จึงมิใช่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ การฟ้องคดีจึงไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 กำหนดไว้ก่อน
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายคุ้มครองแรงงานก็ตาม แต่การฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้น หาจำต้องอ้างบทกฎหมายที่กำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินตามฟ้องมาด้วยไม่ หรือถ้าอ้างบทกฎหมายมาด้วย ศาลก็มีอำนาจนำบทกฎหมายนอกเหนือจากที่โจทก์อ้างมาปรับกับข้อเท็จจริงตามฟ้องได้ เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ที่ศาลแรงงานนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 มาปรับแก่คดีนี้ จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 34 จะได้กำหนดให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกสัญญาการเป็นครูในกรณี (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่ผู้รับใบอนุญาต (2) จงใจทำให้ผู้รับใบอนุญาตได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้รับใบอนุญาตได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (4) ฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยจรรยา มรรยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครูตามที่คุรุสภากำหนด (5) ฝ่าฝืนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยจรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2526 และ (7) มีความประพฤติไม่เหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่ แต่ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการสั่งลงโทษครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2526 ข้อ 2 กำหนดการลงโทษครูใหญ่หรือครูไว้ 5 สถานได้แก่ (1) ตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษร (2) ภาคฑัณฑ์ (3) ตัดเงินเดือน (4) ลดเงินเดือนและ (5) ให้พ้นจากหน้าที่ ข้อ 3 กำหนดให้การสั่งลงโทษต้องให้เหมาะสมกับความผิด อย่าให้เป็นไปโดยพยาบาทหรือโดยโทสะจริต ข้อ 5 กำหนดว่า ถ้าปรากฏว่าเป็นการประพฤติผิดจรรยา มรรยาท หรือไม่ปฏิบัติตามวินัยหรือหน้าที่ ซึ่งเป็นความผิดเล็กน้อยไม่ถึงกับจะถูกลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน ก็ให้ผู้มีอำนาจลงโทษโดยการตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษรหรือภาคฑัณฑ์ตามควรแก่กรณี และข้อ 7 กำหนดว่า ในกรณีที่ครูประพฤติผิดจรรยา มรรยาท หรือไม่ปฏิบัติตามวินัยหรือหน้าที่ซึ่งผู้มีอำนาจเห็นควรลงโทษร้ายแรงถึงขั้นให้พ้นจากหน้าที่ครู ให้ทำการสอบสวนและเสนอให้คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานพิจารณาวินิจฉัยก่อน เห็นได้ชัดแจ้งว่า การประพฤติผิดจรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่ หรือประพฤติที่ไม่เหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่ มีระดับความร้ายแรงแตกต่างกันตามข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป จึงกำหนดให้ลงโทษแตกต่างกันไปตามระดับของความร้ายแรงนั้น
การที่จำเลยจะให้โจทก์พ้นหน้าที่ครูโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยต่อเมื่อการกระทำของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการและระเบียบคุรุสภา ว่าด้วยจรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่ของครูโรงเรียนเอกชนและวินัยตามระเบียบประเพณีครู ต้องเป็นกรณีที่ร้ายแรงในระดับที่ใกล้เคียงกับการกระทำความผิดตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 34 (1) (2) และ (3) โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ไม่ใช้ความระมัดระวังปล่อยให้นักศึกษาลอกคำตอบข้อสอบกันซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวที่ยังไม่ร้ายแรงถึงขนาดที่จำเลยจะมีสิทธิเลิกสัญญาการเป็นครูโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ในการคุมสอบ ปล่อยให้นักศึกษาลอกคำตอบข้อสอบกัน ถือได้ว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7767/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างครูโรงเรียนเอกชนเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ฟ้องศาลแรงงานได้ แม้มีกฎกระทรวงคุ้มครองเฉพาะ
โจทก์และจำเลยต่างเป็นเอกชนที่ตกลงทำสัญญาจ้างกัน โดยจำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำงานเป็นครู และให้ค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดเวลาที่ทำงานให้จำเลย สัญญาจ้างเป็นครูดังกล่าวจึงเป็นการจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 แต่มิใช่สัญญาทางการปกครองแม้กฎกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 1)ฯ ข้อ (1) จะกำหนดมิให้ใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู แต่เมื่อสัญญาการเป็นครูเป็นสัญญาจ้างแรงงานโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยใช้เงินอันเนื่องมาจากสัญญาจ้างแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 8 เพียงแต่ศาลแรงงานกลางจะนำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาบังคับใช้แก่คดีนี้ไม่ได้เท่านั้น พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนฯ มีวัตถุประสงค์ควบคุมโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพ มิใช่กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่นายจ้างและลูกจ้างหรือกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง หรือแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างลูกจ้างอันเป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานเป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ใช่กฎหมายที่ขจัดข้อพิพาทระหว่างครูใหญ่หรือครูกับผู้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนฯ จึงไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ที่โจทก์จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าวก่อนฟ้องคดี โจทก์มีอำนาจฟ้อง
ในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้นไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายที่กำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินตามฟ้องมาด้วย ศาลก็มีอำนาจนำบทกฎหมายที่นอกเหนือจากที่โจทก์อ้างมาปรับกับข้อเท็จจริงตามฟ้องได้เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ที่ศาลแรงงานกลางนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ มาปรับแก่คดีนี้ จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7766/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน ค่าจ้าง และค่าชดเชย: การจ่ายค่าจ้างถึงวันสุดท้ายที่ทำงาน และการคำนวณค่าชดเชยตามระยะเวลาทำงาน
สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทน โดยนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ และลูกจ้างก็มีหน้าที่ตอบแทนคือต้องทำงานให้แก่นายจ้างเช่นเดียวกัน นายจ้างได้บอกเลิกสัญญาจ้างแก่ลูกจ้างเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2542 โดยให้ลูกจ้างหยุดทำงานตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2542 เป็นต้นไป ฉะนั้นนายจ้างจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเพียงวันที่ 20 มกราคม 2542 เท่านั้น ไม่จำต้องจ่ายค่าจ้างหลังจากนั้นอีกเพราะสัญญาแรงงาน สิ้นสุดลงและลูกจ้างพ้นจากฐานะการเป็นลูกจ้างและไม่ได้ทำงานให้แก่นายจ้างแล้ว
จำเลยแสดงเจตนาเลิกจ้างโจทก์โดยทำเป็นหนังสือเลิกจ้างระบุให้มีผลเป็นการเลิกจ้างนับตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2542 เป็นต้นไป โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2542 สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงสิ้นสุดในวันที่ระบุไว้
การที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้ชอบด้วยกฎหมาย ก็มีผลเพียงทำให้ นายจ้างต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างเท่านั้น และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ก็มิใช่ค่าจ้าง เมื่อสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง การนับระยะเวลาทำงานของลูกจ้างก็สิ้นสุดลงด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการคำนวณค่าชดเชยภายใต้กฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับ ณ ขณะเลิกจ้าง
นายจ้างบอกเลิกจ้างลูกจ้างตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2541 และไม่ให้ลูกจ้างทำงานตั้งแต่วันดังกล่าว คงจ่ายแต่เฉพาะสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้าง เงินดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน หรือในวันหยุดซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานและในวันลา สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงไม่เป็นค่าจ้าง
นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2541 และไม่จ่ายค่าจ้างให้ตั้งแต่วันดังกล่าว การเลิกจ้างจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2541 เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2541 ในวันที่จำเลยเลิกจ้าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ยังไม่มีผลใช้บังคับ การที่ลูกจ้างจะได้ค่าชดเชยเพียงใด จึงเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 (3) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7264/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงบัตรจอดรถโดยมิได้แจ้งข้อเท็จจริง ไม่ถึงขั้นฉ้อโกง แม้จำเลยจะเสียหาย
โจทก์ (ลูกจ้าง) ขับรถยนต์ของโจทก์ลงจากอาคารจอดรถของจำเลย (นายจ้าง) แล้วแสดงบัตรจอดรถที่มีตราประทับว่าบริการแผนกจัดเลี้ยง 14 ต่อ น. พนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งทำหน้าที่เก็บค่าบริการจอดรถ โจทก์จึงไม่เสียค่าจอดรถแก่จำเลย โจทก์ทราบดีว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีข้อห้ามมิให้พนักงานนำรถขึ้นไปจอดบนอาคารจอดรถ และโจทก์ทราบอยู่แล้วว่าวันเกิดเหตุมีการนำรถขึ้นไปจอดโดยไม่มีสิทธิและไม่ได้รับการยกเว้น และโจทก์ควรจะแจ้งความจริงดังกล่าวให้ น. ทราบขณะยื่นบัตรจอดรถนั้น เป็นกรณีที่โจทก์แสดงบัตรจอดรถที่มีตราประทับว่าบริการแผนกจัดเลี้ยง 14 ต่อ น. เพื่อจอดรถโดยไม่ต้องเสียค่าจอดรถเท่านั้น โจทก์ได้รับผลเพียงการบริการจอดรถจากจำเลย โจทก์หาได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากจำเลยไม่ การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกงและมิได้เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างครูเนื่องจากทุจริตหน้าที่: การตีความคำว่า 'ทุจริต' และข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 34 กำหนดว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ครูซึ่งเลิกสัญญาการเป็นครูในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (1) ทุจริตต่อหน้าที่ ฯลฯ และระเบียบดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ ทั้งมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต"ตามที่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่ว โกงไม่ซื่อตรง
การที่โจทก์อนุญาตให้นักศึกษานำเอกสารที่เป็นธงคำตอบของข้อสอบคัดลอกตอบข้อสอบ โดยเอกสารดังกล่าวมิใช่เป็นตำราทั่วไป ถือได้ว่าโจทก์ประพฤติไม่ซื่อตรง การกระทำของโจทก์จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าว ข้อ 34(1) ทั้งการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 อีกด้วย จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างครูเอกชนเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่ และการใช้ความหมายของคำว่า 'ทุจริต' ตามพจนานุกรม
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ข้อ 34 กำหนดว่า ผู้รับใบอนุญาตไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ครูซึ่งเลิกสัญญาการเป็นครูในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (1)ทุจริตต่อหน้าที่ ฯลฯ และระเบียบดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ทั้งมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่มีบัญญัติไว้ใน ป.อ.มาตรา 1 (1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง
การที่โจทก์อนุญาตให้นักศึกษานำเอกสารที่เป็นธงคำตอบของข้อสอบคัดลอกตอบข้อสอบ โดยเอกสารดังกล่าวมิใช่เป็นตำราทั่วไป ถือได้ว่าโจทก์ประพฤติไม่ซื่อตรง การกระทำของโจทก์จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าว ข้อ 34 (1) ทั้งการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 อีกด้วย จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5201-5202/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานละทิ้งหน้าที่จนเกิดเหตุร้ายแรง ผู้ร้องมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องว่าด้วยการสิ้นสุดสภาพการจ้างในเรื่องการเลิกจ้าง กำหนดให้ผู้ร้องเลิกจ้างพนักงานที่ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบวินัยการทำงานกรณีร้ายแรงได้ทันที โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และบทที่ 8 ว่าด้วยวินัยในการทำงานและการดำเนินการทางวินัย ข้อ 8.2.1 ในเรื่องลักษณะความผิดวินัยว่าด้วยการปฏิบัติงานข้อ 3 กำหนดว่า การละทิ้งหน้าที่เป็นการผิดวินัยในการปฏิบัติงาน เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองมีหน้าที่ดูแลเตาอบโฮโมจิไนซ์ซึ่งใช้อบแท่งอะลูมิเนียม ต้องคอยกดปุ่มนำแท่งอะลูมิเนียมที่อบได้ขนาดตามกำหนดเวลาแล้วออกจากเตาอบ เมื่อมีเสียงสัญญาณเตือนดังขึ้นและรู้อยู่แล้วว่า หากเปิดเตาอบทิ้งไว้ในขณะที่มีอะลูมิเนียมอยู่ในเตาอบ โดยไม่มีคนคอยดูแลนำอะลูมิเนียมที่อบได้ขนาดแล้วออกจากเตาอบ อะลูมิเนียมอาจจะละลายและอาจเกิดไฟไหม้ได้ การที่ผู้คัดค้านทั้งสองละทิ้งหน้าที่ไปอยู่ที่โรงอาหาร โดยไม่ปิดวาล์วหรือที่ปิดเปิดแก๊สของเตาอบ จนเป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้บริเวณเตาอบทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าผู้คัดค้านทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบวินัยเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องเป็นกรณีร้ายแรง ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างและกรรมการลูกจ้างได้
of 108