พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,079 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างด้วยวาจาและสิทธิในการอ้างเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน นายจ้างต้องแจ้งเหตุขณะบอกเลิกจ้าง
การบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกสัญญาจ้างอาจทำเป็นหนังสือหรืออาจบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยวาจาก็ได้ แต่การบอกกล่าวล่วงหน้าที่ได้ทำเป็นหนังสือถูกจำกัดโดย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย ว่าไม่ให้ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 119 และ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583ซึ่งหมายความว่า ถ้ามีเหตุเลิกจ้างตามบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างล่วงหน้าเป็นหนังสือ แต่ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ว่าถ้านายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา119 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ขึ้นอ้างเป็นข้อปฏิเสธไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องแจ้งเหตุนั้นให้ลูกจ้างทราบขณะบอกเลิกจ้างด้วยวาจา
บทบัญญัติใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา17 วรรคสาม ที่ว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น คงมีความหมายเพียงว่า ในกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างโดยทำเป็นหนังสือ หากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องระบุเหตุดังกล่าวนั้นไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยมิฉะนั้นนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสามหาได้บังคับเด็ดขาดห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจาไม่ เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าขณะจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วถึงการกระทำความผิดของโจทก์อันเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 และในเรื่องนี้จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว จึงต้องให้มีการนำสืบพยานว่า ขณะที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งเหตุที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวแก่โจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลแรงงานงดสืบพยานโจทก์จำเลย และฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ
บทบัญญัติใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา17 วรรคสาม ที่ว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น คงมีความหมายเพียงว่า ในกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างโดยทำเป็นหนังสือ หากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องระบุเหตุดังกล่าวนั้นไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยมิฉะนั้นนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสามหาได้บังคับเด็ดขาดห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจาไม่ เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าขณะจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วถึงการกระทำความผิดของโจทก์อันเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 และในเรื่องนี้จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว จึงต้องให้มีการนำสืบพยานว่า ขณะที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งเหตุที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวแก่โจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลแรงงานงดสืบพยานโจทก์จำเลย และฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4042/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องมีเหตุอันสมควรตามสัญญาจ้าง การลืมเก็บเงินไม่ถือเป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริต
ตามสัญญาจ้างผู้จัดการร้านฉบับพิพาทกำหนดเหตุที่นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาว่า ผู้จัดการร้านละเลยงานที่ได้รับมอบหมายโดยเจตนาหรือกระทำการใด ๆ โดยเจตนาไม่สุจริตเกี่ยวกับงานสำคัญ ๆ เช่น การดูแลเงินสดและการจัดการลูกจ้าง ดังนั้น ผู้จัดการร้านจะมีความผิดตามสัญญาจ้างดังกล่าวฐานละเลยงานที่ได้รับมอบหมายก็ดี หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานสำคัญ ๆเช่น การดูแลเงินสดก็ดี ผู้จัดการร้านจะต้องกระทำโดยมีเจตนาหรือโดยเจตนาไม่สุจริต การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการร้านลืมนำเงินทอนที่แลกเป็นฉบับย่อยเข้าเก็บในตู้นิรภัยให้ครบ มิใช่เป็นการละเลยโดยเจตนาหรือโดยเจตนาไม่สุจริตการกระทำของโจทก์จึงมิได้ฝ่าฝืนสัญญาจ้างและไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4042/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการละเลยหน้าที่และการเลิกสัญญาจ้าง
ตามสัญญาจ้างผู้จัดการร้านฉบับพิพาทกำหนดเหตุที่นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาว่า ผู้จัดการร้านละเลยงานที่ได้รับมอบหมายโดยเจตนา หรือกระทำการใด ๆ โดยเจตนาไม่สุจริตเกี่ยวกับงานสำคัญ ๆ เช่น การดูแลเงินสดและการจัดการลูกจ้าง ดังนั้น ผู้จัดการร้านจะมีความผิดตามสัญญาจ้างดังกล่าวฐานละเลยงานที่ได้รับมอบหมายก็ดี หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานสำคัญ ๆ เช่น การดูแลเงินสดก็ดีผู้จัดการร้านจะต้องกระทำโดยมีเจตนาหรือโดยเจตนาไม่สุจริต การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการร้านลืมนำเงินทอนที่แลกเป็นฉบับย่อยเข้าเก็บในตู้นิรภัยให้ครบ มิใช่เป็นการละเลยโดยเจตนาหรือโดยเจตนาไม่สุจริต การกระทำของโจทก์จึงมิได้ฝ่าฝืนสัญญาจ้างและไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากธุรกิจคู่แข่ง โดยไม่แจ้งล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยและการลงโทษทางวินัยระบุไว้ว่า "แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานหรือเวลาปฏิบัติงานของบริษัท" ถือว่าเป็นการกระทำผิดร้ายแรง ดังนี้ การที่โจทก์เข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหนังสือพิมพ์ ส. โดยได้รับผลตอบแทนอันเป็นธุรกิจหนังสือพิมพ์เช่นเดียวกับที่จำเลยประกอบอยู่ และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลยในขณะที่โจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ ซึ่งตามหนังสือสัญญาจ้างที่หนังสือพิมพ์ ส. ทำไว้กับโจทก์นั้น โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากการที่โจทก์ให้คำปรึกษากับหนังสือพิมพ์ดังกล่าวซึ่งเป็นคู่แข่งกับหนังสือพิมพ์ของจำเลย กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานที่โจทก์ทำกับจำเลย โดยทำงานให้แก่ธุรกิจที่แข่งขันกับนายจ้างทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ประกอบธุรกิจแข่งขันกับนายจ้าง ถือเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยและการลงโทษทางวินัยระบุไว้ว่า "แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานหรือเวลาปฏิบัติงานของบริษัท" ถือว่าเป็นการกระทำผิดร้ายแรง ดังนี้ การที่โจทก์เข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหนังสือพิมพ์ ส.โดยได้รับผลตอบแทนอันเป็นธุรกิจหนังสือพิมพ์เช่นเดียวกับที่จำเลยประกอบอยู่ และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลยในขณะที่โจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ ซึ่งตามหนังสือสัญญาจ้างที่หนังสือพิมพ์ส.ทำไว้กับโจทก์นั้น โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากการที่โจทก์ให้คำปรึกษากับหนังสือพิมพ์ดังกล่าวซึ่งเป็นคู่แข่งกับหนังสือพิมพ์ของจำเลย กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานที่โจทก์ทำกับจำเลย โดยทำงานให้แก่ธุรกิจที่แข่งขันกับนายจ้างทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่งานและทำงานให้คู่แข่ง
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยและการลงโทษทางวินัยระบุไว้ว่า "แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานหรือเวลาปฏิบัติงานของบริษัท" ถือว่าเป็นการกระทำผิดร้ายแรง ดังนี้ การที่โจทก์เข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหนังสือพิมพ์ส. โดยได้รับผลตอบแทนอันเป็นธุรกิจหนังสือพิมพ์เช่นเดียวกับที่จำเลยประกอบอยู่และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลยในขณะที่โจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ซึ่งตามหนังสือสัญญาจ้างที่หนังสือพิมพ์ ส. ทำไว้กับโจทก์นั้น โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากการที่โจทก์ให้คำปรึกษากับหนังสือพิมพ์ดังกล่าวซึ่งเป็นคู่แข่งกับหนังสือพิมพ์ของจำเลย กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานที่โจทก์ทำกับจำเลยโดยทำงานให้แก่ธุรกิจที่แข่งขันกับนายจ้างทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้วจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากรายงานเท็จที่ไม่ร้ายแรงเพียงพอต่อการไม่จ่ายค่าชดเชย
การทำรายงานเท็จของโจทก์เกี่ยวกับการไปติดต่อประสานงานและเร่งรัดเก็บเงินค่าเช่าซื้อรถยนต์จากลูกค้าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเพียงทำให้จำเลยไม่ได้รับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวลูกค้าที่ถูกต้องแท้จริง รวมทั้ง ยังไม่ได้รับเงินค่างวดค่าเช่าซื้อรถยนต์จากลูกค้าทันที และจำเลยอาจได้รับชำระล่าช้าออกไปบ้างเท่านั้น แต่การกระทำ ของโจทก์ก็มิได้ทำให้หนี้ค่างวดดังกล่าวต้องระงับไปเพราะเหตุ ดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเสียหายอื่นใดจาก การทำรายงานเท็จดังกล่าวอีก ทั้งการกระทำความผิดครั้งก่อน ๆ ของโจทก์ซึ่งไม่ใช่กรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้ลงโทษโจทก์ไปแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำมาประกอบการ พิจารณาว่าการกระทำของโจทก์ครั้งนี้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรงที่จำเลย จะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ แต่พฤติการณ์ของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึง เลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จำต้อง จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: รายงานเท็จไม่ร้ายแรงพอที่จะเลิกจ้างโดยต้องจ่ายค่าชดเชย
การทำรายงานเท็จของโจทก์เกี่ยวกับการไปติดต่อประสานงานและเร่งรัดเก็บเงินค่าเช่าซื้อรถยนต์จากลูกค้าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเพียงทำให้จำเลยไม่ได้รับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวลูกค้าที่ถูกต้องแท้จริง รวมทั้งยังไม่ได้รับเงินค่างวดค่าเช่าซื้อรถยนต์จากลูกค้าทันที และจำเลยอาจได้รับชำระล่าช้าออกไปบ้างเท่านั้น แต่การกระทำของโจทก์ก็มิได้ทำให้หนี้ค่างวดดังกล่าวต้องระงับไปเพราะเหตุดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเสียหายอื่นใดจากการทำรายงานเท็จดังกล่าวอีก ทั้งการกระทำความผิดครั้งก่อน ๆ ของโจทก์ซึ่งไม่ใช่กรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้ลงโทษโจทก์ไปแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำมาประกอบการพิจารณาว่าการกระทำของโจทก์ครั้งนี้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ แต่พฤติการณ์ของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: รายงานเท็จไม่ร้ายแรงพอเลิกจ้าง แต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ไม่สุจริต
แม้การทำรายงานเท็จเกี่ยวกับการไปติดต่อประสานงานและ เร่งรัดเก็บเงินค่าเช่าซื้อรถยนต์จากลูกค้าของโจทก์จะทำให้ จำเลยได้รับความเสียหายอยู่บ้าง แต่เป็นเพียงทำให้จำเลย ไม่ได้รับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวลูกค้าที่ถูกต้องแท้จริง รวมทั้งยังไม่ได้รับเงินค่างวดค่าเช่าซื้อรถยนต์ จากลูกค้าทันที แต่อาจได้รับชำระล่าช้าออกไปบ้างเท่านั้น มิได้ทำให้หนี้ค่างวดดังกล่าวต้องระงับไปเพราะเหตุนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเสียหายอื่นใดจากการทำ รายงานเท็จดังกล่าว ทั้งการกระทำความผิดครั้งก่อน ๆ ของโจทก์ ซึ่งไม่ใช่กรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้ ลงโทษโจทก์ไปแล้วจึงไม่อาจนำมาประกอบการพิจารณาว่าการกระทำ ของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของ จำเลยอย่างร้ายแรงเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์อีกได้ ถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง แต่พฤติการณ์ ของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฎิบัติ หน้าที่ของตน ให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทำลายหนังสือตักเตือน ถือเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรง
เมื่อโจทก์กระทำผิดวินัยเกี่ยวกับการทำงาน จำเลย ผู้เป็นนายจ้างย่อมมีอำนาจออกหนังสือตักเตือนและมีอำนาจ นำหนังสือตักเตือนไปประกาศให้โจทก์และลูกจ้างอื่น ของจำเลยทราบได้ การที่โจทก์ไปฉีกทำลายประกาศหนังสือตักเตือน ของจำเลยโดยพลการ ทำให้ทรัพย์สินคือหนังสือตักเตือนของจำเลย ต้องสูญเสียหายและขาดประโยชน์ และอาจทำให้ลูกจ้างอื่น ของจำเลยเอาอย่าง ทำให้จำเลยไม่สามารถปกครองบังคับบัญชา ลูกจ้างได้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการกระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายเงิน ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า