คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 583

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,079 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการพักงาน: ศาลพิพากษาเกินคำขอในส่วนค่ารักษาพยาบาล
ระเบียบจำเลยว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพ.ศ.2521ตอนที่2ข้อ16มีว่าให้งดจ่ายเงินเดือนพนักงานระหว่างที่ถูกสอบสวนและข้อ16.3มีว่าถ้าได้ความเป็นสัตย์จริงและพนักงานถูกลงโทษถึงเลิกจ้างมิให้จ่ายเงินเดือนตลอดเวลาที่ถูกสั่งพักงานข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนและจำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์ตั้งแต่วันที่12เมษายน2536และเมื่อวันที่19พฤศจิกายน2536ผลการสอบสวนปรากฎว่าโจทก์กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่12เมษายน2536อันเป็นวันแรกที่พักงานได้โดยไม่จำต้องเลิกจ้างล่วงหน้าหรือบอกกล่าวล่วงหน้าแต่อย่างใดระเบียบจำเลยดังกล่าวข้อ16และข้อ16.3ใช้บังคับได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างถูกสั่งพักงานดังกล่าว ตามฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในค้าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างระหว่างถูกพักงานกับค่าทนายความที่จำเลยอ้างว่าออกให้โจทก์ซึ่งไม่เป็นความจริงและมีคำขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าว5รายการให้แก่โจทก์ไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้กล่าวอ้างและมีคำขอเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลรวมอยู่ด้วยเพิ่งจะกล่าวถึงค่ารักษาพยาบาลก็ต่อเมื่อศาลแรงงานนัดสอบข้อเท็จจริงโจทก์โดยในวันเวลาดังกล่าวโจทก์จำเลยได้แถลงสละข้ออ้างและข้อต่อสู้สำหรับประเด็นอื่นทั้งหมดคงติดใจเฉพาะที่โจทก์เรียกร้องเกี่ยวกับเงินค่าทนายความค่าเครื่องแต่งกายค่าเบี้ยเลี้ยงประจำวันค่ารักษาพยาบาลและค่าจ้างระหว่างถูกพักงานดังนั้นค่ารักษาพยาบาลจึงเป็นเรื่องที่โจทก์มาแถลงเพิ่มเติมในภายหลังโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องหรือมีคำขอให้จำเลยคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยคืนค่ารักษาพยาบาลให้แก่โจทก์จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่ขอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10158/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุงานเพื่อสิทธิค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีมีการนัดหยุดงานและปิดงาน
การปิดงานและการนัดหยุดงาน เป็นขั้นตอนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 บัญญัติขึ้นเพื่อให้มีการระงับกรณีพิพาทเกี่ยวกับปัญหาแรงงานการที่นายจ้างปิดงานจึงมิใช่เป็นเรื่องที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้างแม้ว่าจะมีบทบัญญัติในมาตรา 31 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง และกรณีที่มีการฝ่าฝืนมีโทษทางอาญาตามมาตรา 136 และความเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ก็ตาม ดังนี้ การที่ลูกจ้าง จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่จึงต้องเป็นไปตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดงานไปในวันที่มีการนัดหยุดงานและปิดงาน กรณีมิใช่วันหยุด วันลาหรือวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ ของนายจ้าง จึงไม่อาจนำระยะเวลาดังกล่าวมารวม คำนวณเป็นระยะเวลาทำงานของลูกจ้างได้ โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างทดลองงานของจำเลยทำหน้าที่พนักงานทั่วไป มีระยะเวลาจ้างไม่เกิน 120 วัน และขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โจทก์ยังเป็น ลูกจ้างทดลองงานอยู่ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิ เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9610-9623/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ทั้งสิบสี่และคนงานอื่นรวม190คนผละงานประท้วงเมื่อวันที่21กรกฎาคม2538เวลาประมาณ8นาฬิกาซึ่งเป็นวันทำงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือและไม่มีรายชื่อและลายมือชื่อของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องจึงไม่เป็นการแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา13พฤติการณ์เป็นการร่วมกันนัดหยุดงานโดยไม่ชอบแม้ต่อมาตัวแทนลูกจ้างและนายจ้างจะตกลงกันได้โดยนายจ้างไม่ถือว่าการผละงานประท้วงของลูกจ้างเป็นความผิดก็ตามแต่ตามบันทึกที่ทำขึ้นมีข้อความชัดเจนว่านายจ้างไม่ถือว่าการผละงานประท้วงเป็นความผิดเฉพาะลูกจ้างที่ลงชื่อขอโทษและรับว่าจะไม่ผละงานอีกเท่านั้นข้อตกลงดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจำเลยยอมยกเว้นไม่ถือว่าการหยุดงานเป็นความผิดต่อเมื่อลูกจ้างลงชื่อขอโทษและยอมรับว่าจะไม่ผละงานประท้วงอีกเสียก่อนจึงเป็นข้อตกลงที่มีเงื่อนไขว่าลูกจ้างต้องลงชื่อขอโทษและยอมรับว่าจะไม่ผละงานประท้วงอีกเสียก่อนจึงจะถือว่าการผละงานประท้วงของลูกจ้างไม่เป็นความผิดหาใช่เป็นเรื่องบังคับให้ลูกจ้างต้องลงลายมือชื่อขอโทษแต่ประการใดไม่ดังนั้นเมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่ได้ร่วมกันนัดหยุดงานโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้ลงลายมือชื่อยอมรับผิดและรับว่าจะไม่กระทำเช่นนั้นอีกจึงไม่เป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกข้อตกลงและการหยุดงานของโจทก์ทั้งสิบสี่เป็นการละเมิดต่อจำเลยจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ10.4เมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่นัดหยุดงานโดยไม่ชอบและจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสิบสี่กลับเข้าทำงานแต่โจทก์ทั้งสิบสี่ไม่กลับเข้าทำงานตามคำสั่งจำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสี่ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583และโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)(4)โจทก์ทั้งสิบสี่จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย โจทก์ทั้งสิบสี่อุทธรณ์ว่าการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสี่ในวันที่21กรกฎาคม2538เวลา18นาฬิกาเป็นการเลิกจ้างเมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่กลับบ้านไปแล้วจึงเป็นการประกาศเลิกจ้างนอกเวลาทำงานเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5192/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากละทิ้งหน้าที่ และการพิจารณาความรับผิดชอบของลูกจ้างในการลาหยุด
โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยมานานหลายปีในปีสุดท้ายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายบริหารซึ่งเป็นตำแหน่งชั้นสูงโจทก์ควรจะมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่การที่โจทก์ลากิจโดยไม่มีกำหนดเวลาแสดงให้เห็นถึงการขาดความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ของโจทก์ที่ปฏิบัติอยู่และเมื่อโจทก์ยื่นใบลาแล้วโจทก์หยุดงานทันทีโดยไม่รอฟังว่าจำเลยที่1อนุมัติหรือไม่เป็นการขัดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าด้วยการลาของจำเลยที่1ในที่สุดเมื่อจำเลยที่1ไม่อนุมัติการลาจึงต้องถือว่าโจทก์ขาดงานและโจทก์ก็ยังคงหยุดงานติดต่อกันมาจนจำเลยมีหนังสือเลิกจ้างหากโจทก์มิได้จงใจขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่โจทก์สามารถติดต่อแจ้งให้จำเลยที่1ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครทราบได้โดยสะดวกถึงความจำเป็นของโจทก์เพราะโจทก์ไปเฝ้าบุตรที่ป่วยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกันแต่โจทก์หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ตั้งแต่วันที่โจทก์หยุดงานจนถึงวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เคยติดต่อจำเลยพฤติการณ์ที่โจทก์ขาดงานติดต่อกันดังกล่าวเกิน3วันและเป็นเวลานานเกือบหนึ่งเดือนจนจำเลยมีหนังสือเลิกจ้างถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานไปเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าทั้งถือได้ว่าโจทก์จงใจละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา3วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(5)และกรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายและค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5141-5146/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การปฏิเสธคำสั่งทำงาน, การตักเตือน, และค่าชดเชย
ตามระเบียบข้อบังคับจำเลยอาจออกคำสั่งให้โจทก์ทั้งหกไปทำงานนอกสถานที่ได้จำเลยจึงออกคำสั่งให้โจทก์ทั้งหกไปทำงานที่บริษัทอ. ได้ส่วนในการไปทำงานที่บริษัทดังกล่าวของโจทก์ทั้งหกต้องเดินทางออกจากที่อ้อมน้อยเวลา6นาฬิกาและขากลับถึงที่อ้อมน้อยเวลา19นาฬิกานั้นเป็นเรื่องของเวลาเดินทางกรณีจะถือเอาเวลาเดินทางไปทำงานมารวมเป็นเวลาทำงานหาได้ไม่จึงถือไม่ได้ว่าคำสั่งของจำเลยขัดต่อเวลาทำงานตามที่จำเลยกับโจทก์ทั้งหกตกลงให้เข้าทำงานเวลา8.30นาฬิกาและเลิกงานเวลา17.30นาฬิกาคำสั่งของจำเลยชอบด้วยระเบียบข้อบังคับและกฎหมายแล้วการที่โจทก์ทั้งหกปฏิเสธไม่ไปทำงานตามคำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583โจทก์ทั้งหกไม่มีสิทธิเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้การที่โจทก์ทั้งหกปฏิเสธไม่ไปทำงานตามคำสั่งของจำเลยเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยแต่กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายและลำพังเหตุที่โจทก์ทั้งหกปฏิเสธไม่ไปทำงานตามคำสั่งของจำเลยก็ไม่ใช่กรณีร้ายแรงยังไม่อาจทำให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนายจ้างจะต้องตักเตือนเป็นหนังสือแล้วด้วยจึงจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5141-5146/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การปฏิเสธคำสั่งโอนย้ายงาน การตักเตือน และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
ตามระเบียบข้อบังคับจำเลยอาจออกคำสั่งให้โจทก์ทั้งหกไปทำงานนอกสถานที่ได้ จำเลยจึงออกคำสั่งให้โจทก์ทั้งหกไปทำงานที่บริษัท อ. ได้ ส่วนในการไปทำงานที่บริษัทดังกล่าวของโจทก์ทั้งหกต้องเดินทางออกจากที่อ้อมน้อยเวลา 6 นาฬิกาและขากลับถึงที่อ้อมน้อยเวลา 19 นาฬิกานั้น เป็นเรื่องของเวลาเดินทางกรณีจะถือเอาเวลาเดินทางไปทำงานมารวมเป็นเวลาทำงานหาได้ไม่จึงถือไม่ได้ว่าคำสั่งของจำเลยขัดต่อเวลาทำงาน ตามที่จำเลยกับโจทก์ทั้งหกตกลงให้เข้าทำงานเวลา 8.30 นาฬิกา และเลิกงานเวลา 17.30 นาฬิกา คำสั่งของจำเลยชอบด้วยระเบียบข้อบังคับและกฎหมายแล้ว การที่โจทก์ทั้งหกปฏิเสธไม่ไปทำงานตามคำสั่งของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 โจทก์ทั้งหกไม่มีสิทธิเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้การที่โจทก์ทั้งหกปฏิเสธไม่ไปทำงานตามคำสั่งของจำเลยเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย แต่กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายและลำพังเหตุที่โจทก์ทั้งหกปฏิเสธไม่ไปทำงานตามคำสั่งของจำเลยก็ไม่ใช่กรณีร้ายแรงยังไม่อาจทำให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องตักเตือนเป็นหนังสือแล้วด้วยจึงจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146-4147/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ชอบธรรมเนื่องจากผู้บริหารฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับทางการเงินและอนุมัติการเบิกจ่ายโดยมิชอบ
ระเบียบข้อบังคับเรื่องการอนุมัติค่าใช้จ่ายของจำเลยกำหนดว่าในการเบิกค่าใช้จ่ายระหว่างที่ทำงานให้บริษัทห้ามพนักงานอนุมัติค่าใช้จ่ายที่ตนเสนอเองเป็นอันขาดและบรรดาค่าใช้จ่ายทั้งหมดนั้นต้องให้ผู้ควบคุมดูแลงานที่ใกล้ชิดที่สุดของพนักงานนั้นพิจารณาตรวจสอบเสียก่อนและต้องได้รับอนุมัติจากบุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจให้อนุมัติรายงานค่าใช้จ่ายได้ตามรายชื่อผู้มีสิทธิอำนาจทางการเงินหมายความว่าการอนุมัติค่าใช้จ่ายห้ามมิให้อนุมัติข้ามสายงานทั้งจำเลยไม่เคยอนุมัติให้โจทก์ทั้งสองนำทรัพย์สินส่วนตัวมาใช้ในกิจการของจำเลยโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและไม่เคยมอบอำนาจให้โจทก์ที่1มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้ดังนั้นการที่โจทก์ที่1อนุมัติให้โจทก์ที่2นำรถยนต์และวิทยุติดตามตัวซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์ที่2ใช้ในกิจการของจำเลยและให้เบิกจ่ายค่าน้ำมันและค่าบริการสำหรับวิทยุติดตามตัวก่อให้เกิดความผูกพันต่อบุคคลภายนอกโดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเมื่อโจทก์ที่2อยู่ในสายงานบังคับบัญชาของผู้อื่นที่โจทก์ที่1อนุมัติให้โจทก์ที่2เบิกจ่ายค่าน้ำมันและค่าบริการวิทยุติดตามตัวจึงเป็นการอนุมัตินอกสายงานเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่จำเลยได้วางไว้แม้โจทก์ที่2มาช่วยทำงานในสายงานของโจทก์ที่1ก็เป็นอำนาจบังคับบัญชาในการปฏิบัติงานเท่านั้นส่วนอำนาจการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆโจทก์ที่2ยังต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานการที่โจทก์ที่1มีตำแหน่งหน้าที่ระดับผู้บริหารเป็นผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินควรที่จะต้องเคร่งครัดระมัดระวังต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแต่โจทก์ที่1กลับฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเสียเองถือได้ว่าเป็นการจงใจทำให้จำเลยเสียหายทั้งฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงจำเลยมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ที่1ได้จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการเบิกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ที่1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121-3461/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและสิทธิลูกจ้าง: การหยุดงานตามคำสั่งนายจ้าง ค่าชดเชย และความรับผิดของกรรมการ
ก่อนเลิกจ้างจำเลยที่1มีคำสั่งให้โจทก์ทั้งหมดไม่ต้องมาทำงานโดยจะจ่ายค่าจ้างให้โจทก์กึ่งหนึ่งแต่โจทก์ไม่พอใจจึงไปร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงานฯต่อมาจำเลยที่1มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์การที่โจทก์ทั้งหมดหยุดงานจึงเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่1ไม่ใช่เป็นการนัดหยุดงานเมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้การกระทำของโจทก์ดังกล่าวไม่เป็นการละทิ้งหน้าที่หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่อย่างใด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2นิยามคำว่านายจ้างว่ากรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลจำเลยที่2และที่3เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่1จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งหมดแต่กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1167เมื่อจำเลยที่2และที่3เลิกจ้างโจทก์โดยกระทำในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กรณีลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ 47 กำหนดเรื่องการขาดงานถือเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลที่สมควรจะถูกพิจารณาโทษทางวินัยคือขาดงานครั้งแรกไม่จ่ายค่าจ้างในวันขาดงานและออกหนังสือเตือนครั้งที่1การขาดงานครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 จะไม่จ่ายค่าจ้าง 2 เท่าและ 3 เท่าของค่าจ้างพร้อมกับออกหนังสือเตือนทั้งสองครั้งตามลำดับการขาดงานครั้งที่4จึงจะเลิกจ้างได้และข้อ5.24กำหนดว่าเจ้าหน้าที่ที่ฝ่าฝืนระเบียบของศูนย์ประกันสังคมของจำเลยจะถูกพิจารณาลงโทษดังนี้1.ตักเตือนด้วยวาจา 2.ออกจดหมายเตือนครั้งที่ 1 3. ออกจดหมายเตือนครั้งที่ 2 4.ออกจดหมายเตือนครั้งที่ 3 พักงานโดยมีกำหนดโดยไม่ได้รับค่าจ้างและ 5.เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยดังนั้นตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเจ้าหน้าที่ที่ขาดงานโดยละทิ้งหน้าที่จำเลยจะต้องเตือนด้วยวาจา 1ครั้งก่อนหากมีการกระทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมหลังจากนั้นจำเลยจะต้องออกหนังสือเตือนถึง 3 ครั้งเมื่อขาดงานครั้งที่ 5 จึงให้เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเมื่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยทั้งสองนี้ถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) และจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุในหนังสือเลิกจ้างว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานโดยในครั้งแรกโจทก์ได้รับคำสั่งของจำเลยให้โจทก์ไปทำงานเป็นแพทย์ประกันสังคมประจำโรงพยาบาลร.แต่โจทก์ไม่ยอมปฏิบัติตามจำเลยจึงได้ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงพยาบาลร.โจทก์รับทราบหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ยอมไปเมื่อตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจำเลยจะต้องตักเตือนด้วยวาจา 1 ครั้งและออกหนังสือเตือนอีก 3 ครั้งจึงจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้การที่จำเลยออกหนังสือเตือนโจทก์เพียงครั้งเดียวแล้วเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจึงเป็นการเลิกจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์แต่การที่โจทก์ได้รับคำสั่งจากศูนย์ประกันสังคมเอกชนในนามจำเลยที่1ให้ไปปฏิบัติงานเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลร.แต่โจทก์ก็ไม่ไปปฏิบัติงานตามคำสั่งเมื่อจำเลยมีหนังสือย้ำให้โจทก์ไปปฏิบัติงานภายในเวลาที่กำหนดโจทก์ก็ไม่ไปปฏิบัติงานตามหน้าที่อีกเช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยทั้งสองโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยทั้งจำเลยได้เตือนเป็นหนังสือแล้วจึงมีเหตุอันสมควรเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมส่วนลำดับขั้นตอนการลงโทษตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดให้จำเลยเตือนด้วยวาจาในครั้งแรกและออกหนังสือเตือนอีก3ครั้งจึงจะเลิกจ้างลูกจ้างได้นั้นเมื่อระเบียบดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดว่าให้ใช้แก่กรณีเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้นดังนี้จะนำระเบียบนี้มาใช้บังคับแก่กรณีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 49 ซึ่งมีหลักเกณฑ์การวินิจฉัยแตกต่างจากการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 และข้อ 47 หาได้ไม่และการที่โจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานเป็นการจงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างแล้วจำเลยจึงมีเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782-800/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดวินัยร้ายแรง และการจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย กรณีลูกจ้างขาดงาน
จำเลยรับโจทก์ทั้งหมดเข้าทำงานในตำแหน่งลูกจ้างในการผลิตสินค้าของจำเลยเป็นการทำงานโดยใช้แรงงานตามธรรมดาทั่วไปมิใช่จ้างให้ทำงานโดยอาศัยความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะทั้งตามสัญญาจ้างก็ระบุไว้ชัดว่าจำเลยสามารถย้ายโจทก์ทั้งหมดไปทำงานในสาขาอื่นของจำเลยได้ซึ่งโจทก์ทุกคนก็ทราบความข้อนี้ตั้งแต่วันทำสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยและตามสัญญาดังกล่าวก็ไม่มีข้อตกลงว่าการย้ายโจทก์ไปทำงานที่อื่นจำเลยจะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าก่อนเมื่อจำเลยมีความจำเป็นย้ายโจทก์ทั้งสิบเก้าให้ไปทำงานที่สาขาของจำเลยที่โรงงานอำเภอ ปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรีในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าเดิมและให้มีสิทธิและประโยชน์เท่าเดิมจำเลยจึงมีสิทธิย้ายโจทก์ทุกคนได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าและไม่ถือว่าเป็นการย้ายโดยกะทันหันและรวบรัดคำสั่งของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามสัญญาจ้างแรงงานและตามกฎหมายแพ่งจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามโดยไม่ไปทำงานเกินกว่า3วันทำงานจึงเป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้องและสุจริตเป็นการขาดงานติดต่อกัน3วันทำงานโดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งหมดโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าสำหรับค่าจ้างค้างที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยจ่ายแก่โจทก์นั้นเป็นค่าจ้างในระหว่างวันที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานที่อำเภอ ปากเกร็ด เมื่อโจทก์ทั้งหมดไม่ไปทำงานตามคำสั่งของจำเลยโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันที่ไม่ได้ทำงานเนื่องจากข้อบังคับการทำงานกำหนดว่าจำเลยจะจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างเฉพาะวันที่ลูกจ้างทำงานเท่านั้น
of 108