พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,079 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7420/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประท้วงหยุดงานโดยมิชอบเป็นละเมิดสัญญาจ้าง
ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างตามสัญญาจ้าง การที่นายจ้างยังไม่ได้ประกาศจ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้าง ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้สิทธิแก่ลูกจ้างในการที่จะประท้วงด้วยการหยุดงาน การประท้วงหยุดงานของลูกจ้างจึงเป็นการผิดสัญญาจ้าง ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องระงับด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความ การฟ้องรื้อฟื้นสิทธิที่ระงับแล้ว
ปรากฎตามคำฟ้องว่า ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมานั้นเป็นเงินที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องมาก่อนวันที่โจทก์ทำข้อตกลงกับจำเลยตามเอกสารหมาย ล.6 แสดงว่าโจทก์จำเลยตกลงระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นและมีอยู่ก่อนวันทำเอกสารหมาย ล.6 ให้ถือตามข้อความที่ตกลงกันไว้ในเอกสารฉบับดังกล่าว โดยจำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยและเงินช่วยเหลืออื่นให้แก่โจทก์จำนวน 41,072.75 บาท และโจทก์ตกลงว่าจะไม่เรียกร้องประโยชน์หรือสิทธิอื่นใดจากจำเลยอีก เช่นนี้ข้อตกลงตามเอกสารหมาย ล.6 จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ ที่มีข้อพิพาทอยู่ก่อนวันทำข้อตกลงดังกล่าวเป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย ล.6 ตามมาตรา 852 โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะรื้อฟื้นสิทธิที่ระงับไปแล้วตามกฎหมายขึ้นมาฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลระงับสิทธิเรียกร้องทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง แม้แต่ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ปรากฏตามคำฟ้องว่า ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมานั้นเป็นเงินที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องมาก่อนวันที่โจทก์ทำข้อตกลงกับจำเลยตามเอกสารหมาย ล.6 แสดงว่าโจทก์จำเลยตกลงระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นและมีอยู่ก่อนวันทำเอกสารหมาย ล.6 ให้ถือตามข้อความที่ตกลงกันไว้ในเอกสารฉบับดังกล่าว โดยจำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยและเงินช่วยเหลืออื่นให้แก่โจทก์จำนวน41,072.75 บาท และโจทก์ตกลงว่าจะไม่เรียกร้องประโยชน์หรือสิทธิอื่นใดจากจำเลยอีก เช่นนี้ข้อตกลงตามเอกสารหมาย ล.6จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ ที่มีข้อพิพาทอยู่ก่อนวันวันทำข้อตกลงดังกล่าวเป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย ล.6 ตามมาตรา 852 โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะรื้อฟื้นสิทธิที่ระงับไปแล้วตามกฎหมายขึ้นมาฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่เป็นธรรมจากเหตุฝ่าฝืนระเบียบ และการหักเงินทดรองจ่ายจากค่าจ้าง
ข้อความในเอกสารที่เป็นปัญหา นอกจากจะมีคำรับของลูกจ้างว่ามาทำงานสายอันเป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างแล้ว ลูกจ้างยังให้สัญญาว่าจะไม่มาทำงานสายอีก หากไม่ปฏิบัติตามคณะกรรมการสอบสวนจะได้พิจารณาเสนอให้ออกก่อนโดยไม่ได้บำเหน็จก็ได้ ลูกจ้างและคณะกรรมการสอบสวนไม่ลงลายมือชื่อไว้ ข้อความตอนหลังที่แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการสอบสวนได้ตักเตือนไม่ให้ลูกจ้างกระทำซ้ำอีกซึ่งหากกระทำซ้ำอีก ก็จะได้รับโทษถึงกับให้ออก อันมีลักษณะเป็นหนังสือเดือนอยู่ในตัวด้วย และคณะกรรมการสอบสวนผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นได้รับการแต่งตั้งจากนายจ้างให้ดำเนินการในเรื่องนี้ต่อลูกจ้าง ย่อมมีอำนาจที่จะลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นแทนนายจ้างได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือเตือนของนายจ้างโดยชอบ เมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อนายจ้างมีเหตุเลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าว นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว เงินทดรองจ่ายที่ลูกจ้างได้ยืมนายจ้างไปอันเนื่องมาจากการทำงานมิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 นายจ้างมีสิทธินำเงินทดรองดังกล่าวมาหักจากค่าจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือเตือนการทำงานสายและการเลิกจ้างที่เป็นธรรม รวมถึงการหักเงินทดรองจ่าย
ข้อความในเอกสารที่เป็นปัญหา นอกจากจะมีคำรับของลูกจ้างว่ามาทำงานสายอันเป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างแล้ว ลูกจ้างยังให้สัญญาว่าจะไม่มาทำงานสายอีก หากไม่ปฏิบัติตามคณะกรรมการสอบสวนจะได้พิจารณาเสนอให้ออกก่อนโดยไม่ได้บำเหน็จก็ได้ ลูกจ้างและคณะกรรมการสอบสวนไม่ลงลายมือชื่อไว้ ข้อความตอนหลังที่แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการสอบสวนได้ตักเตือนไม่ให้ลูกจ้างกระทำซ้ำอีก ซึ่งหากกระทำซ้ำอีก ก็จะได้รับโทษถึงกับให้ออก อันมีลักษณะเป็นหนังสือเตือนอยู่ในตัวด้วย และคณะกรรมการสอบสวนผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นได้รับการแต่งตั้งจากนายจ้างให้ดำเนินการในเรื่องนี้ต่อลูกจ้าง ย่อมมีอำนาจที่จะลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นแทนนายจ้างได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือเตือนของนายจ้างโดยชอบ เมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง เมื่อนายจ้างมีเหตุเลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าว นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว
เงินทดรองจ่ายที่ลูกจ้างได้ยืมนายจ้างไปอันเนื่องมาจากการทำงานมิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 นายจ้างมีสิทธินำเงินทดรองจ่ายดังกล่าวมาหักจากค่าจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างได้
เงินทดรองจ่ายที่ลูกจ้างได้ยืมนายจ้างไปอันเนื่องมาจากการทำงานมิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 นายจ้างมีสิทธินำเงินทดรองจ่ายดังกล่าวมาหักจากค่าจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือเตือน, การเลิกจ้างที่เป็นธรรม, การหักกลบลบหนี้เงินทดรองจ่าย: สิทธิและหน้าที่นายจ้างลูกจ้าง
อุทธรณ์เรื่องการแปลความหมายแห่งเอกสารว่าเป็นหนังสือเตือนหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย เอกสารที่เป็นคำรับของโจทก์ว่ามาทำงานสายอันเป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลย และโจทก์ให้สัญญาว่าจะไม่มาทำงานสายอีกหากไม่ปฏิบัติตามคณะกรรมการสอบสวนจะได้พิจารณาเสนอให้ออกก่อนโดยไม่ได้บำเหน็จก็ได้ โจทก์และคณะกรรมการสอบสวนได้ลงลายมือชื่อไว้มีลักษณะเป็นหนังสือเตือนอยู่ในตัว และคณะกรรมการสอบสวนผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นได้รับการแต่งตั้งจากจำเลยให้ดำเนินการในเรื่องนี้ต่อโจทก์ ย่อมมีอำนาจที่จะลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นแทนจำเลยได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือเตือนของจำเลยโดยชอบเมื่อโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อจำเลยเลิกจ้างและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม การวินิจฉัยว่านายจ้างจะนำเงินทดรองจ่ายที่ลูกจ้างยืมไปอันเนื่องมาจากการทำงานมาหักชำระได้หรือไม่ ต้องวินิจฉัยจากข้อที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 ซึ่งถือได้ว่าเป็นกฎหมายพิเศษ ไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 346 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) ซึ่งบัญญัติไว้เป็นการทั่วไปมาวินิจฉัยได้ และเงินดังกล่าวมิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว จำเลยจึงมีสิทธินำเงินนั้นมาหักจากเงินค่าจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การด่าทอและฉีกบัตรเวลาถือเป็นการจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง ชอบธรรมที่นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าว
การที่ลูกจ้างด่าทอและฉีกบัตรบันทึกเวลาทำงาน ซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง ย่อมถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายด้วย นายจ้างจึงมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดวินัยร้ายแรง ด่าทอ ฉีกบัตรเวลา ถือเป็นการจงใจขัดคำสั่งนายจ้างชอบด้วยกฎหมาย ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
การที่ลูกจ้างด่าทอและฉีกบัตรบันทึกเวลาทำงาน ซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง ย่อมถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายด้วย นายจ้างจึงมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4736/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิจารณาจากเหตุผลเลิกจ้าง มิใช่กระบวนการสอบสวน
การที่จะพิจารณาว่าการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้นต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่และเหตุนั้นเป็นเหตุที่สมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ ส่วนกรณีที่จะต้องมีการสอบสวนถึงเหตุนั้นก่อนหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งจะนำมาเป็นหลักในการพิจารณาว่าถ้าไม่มีการสอบสวนตามระเบียบแล้วย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชามีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริต ทำให้จำเลยไม่อาจไว้วางใจโจทก์อีกต่อไป จำเลยจึงมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4736/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรายงานเท็จในการทำงานเป็นเหตุเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
โจทก์รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจบริหารสูงสุดของจำเลยในเรื่องที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบและโจทก์ก็มิได้ทำงานกับจำเลยจนเกษียณอายุโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องสิทธิประโยชน์ในเรื่องบัตรโดยสารเครื่องบิน