คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 583

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,079 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4736/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่รายงานเท็จและกระทำการทุจริต สิทธิในการเรียกร้องค่าชดเชยและสิทธิประโยชน์หลังเกษียณ
โจทก์รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจบริหารสูงสุดของจำเลยในเรื่องที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบและโจทก์ก็มิได้ทำงานกับจำเลยจนเกษียณอายุโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องสิทธิประโยชน์ในเรื่องบัตรโดยสารเครื่องบิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3723/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่รับเงินจากผู้สมัครงาน ถือเป็นการประพฤติชั่วและจงใจทำให้องค์กรเสียหาย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย แม้โจทก์จะไม่มีอำนาจหน้าที่ในการรบบุคคลภายนอกเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยก็ตามแต่การที่โจทก์เรียกและรับเงินจาก พ.กับว.ผู้สมัครเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย ทำให้เห็นได้ว่าโจทก์อาศัยตำแหน่งความเป็นลูกจ้างไปแอบอ้างผลประโยชน์จากบุคคลภายนอกทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าการเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยจะต้องมีการวิ่งเต้นเสียเงินตอบแทน ทำให้จำเลยเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3723/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ใช้อำนาจหน้าที่แอบอ้างผลประโยชน์จากผู้สมัครงาน ทำให้จำเลยเสื่อมเสียชื่อเสียง
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย แม้โจทก์จะไม่มีอำนาจหน้าที่ในการรับบุคคลภายนอกเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์เรียกและรับเงินจาก พ.กับ ว.ผู้สมัครเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย ทำให้เห็นได้ว่าโจทก์อาศัยตำแหน่งความเป็นลูกจ้างของจำเลยไปแอบอ้างผลประโยชน์จากบุคคลภายนอกทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าการเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยจะต้องมีการวิ่งเต้นเสียเงินตอบแทน ทำให้จำเลยเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3723/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เรียกรับเงินจากผู้สมัครงาน เป็นการประพฤติชั่วร้ายและจงใจทำให้จำเลยเสียหาย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย แม้โจทก์จะไม่มีอำนาจหน้าที่ในการรับบุคคลภายนอกเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยก็ตามแต่การที่โจทก์เรียกและรับเงินจากผู้สมัครเข้าทำงานเป็น ลูกจ้างของจำเลยทำให้เห็นได้ว่าโจทก์อาศัยตำแหน่งความเป็น ลูกจ้างของจำเลยไปแอบอ้างผลประโยชน์จากบุคคลภายนอก ทำให้ บุคคลภายนอกเข้าใจว่าการเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย จะต้องมีการวิ่งเต้นเสียเงินตอบแทน ทำให้จำเลยเสื่อมเสีย ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับ ความเสียหาย ทั้งถือได้ว่าเป็นการประพฤติผิดข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้าง โจทก์ได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้าง โดยไม่เป็นธรรม และจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตลอดจนเงิน บำเหน็จและดอกเบี้ยแก่โจทก์อีกด้วย ทั้งนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 และข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3723/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เรียกรับเงินจากผู้สมัครงาน แม้ไม่มีอำนาจหน้าที่ เป็นเหตุเลิกจ้างชอบธรรม
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย แม้โจทก์จะไม่มีอำนาจหน้าที่ในการรับบุคคลภายนอกเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่เมื่อโจทก์เรียกและรับเงินจากผู้สมัครเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย ทำให้เห็นได้ว่าโจทก์อาศัยตำแหน่งความเป็นลูกจ้างของจำเลยไปแอบอ้างผลประโยชน์จากบุคคลภายนอก ทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าการเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยจะต้องมีการวิ่งเต้นเสียเงินตอบแทนทำให้จำเลยเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ทั้งถือได้ว่าเป็นการประพฤติผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิใช่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม และจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายและศีลธรรม แม้นายจ้างไม่ได้สั่ง การด่าทอถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบและเป็นเหตุเลิกจ้างได้
ลูกจ้างมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีในขณะปฏิบัติหน้าที่ แม้นายจ้างไม่มีคำสั่งข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานห้ามไว้ ถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ก็ต้องถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานแล้ว โจทก์ด่าว่าส.ซึ่งเป็นยามขณะที่ส. ปฏิบัติการตามหน้าที่เป็นการกระทำผิดอาญาฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าย่อม ถือว่าโจทก์ได้กระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการ ทำงานแล้ว แม้จะไม่มีคำสั่ง ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานห้ามไว้ จำเลยจึงมีสิทธิลงโทษโจทก์โดยตักเตือนเป็น หนังสือ เมื่อโจทก์ได้ด่าว่าส. อีกจึงถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้อง จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครอง แรงงานข้อ 47(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและกระทำผิดซ้ำ
โจทก์ด่าว่า ส.ซึ่งเป็นยามขณะที่ ส.ปฏิบัติการตามหน้าที่ย่อมถือว่าโจทก์ได้กระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิลงโทษโจทก์โดยตักเตือนเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์ได้ด่าว่า ส.อีก จึงถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยยึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดระเบียบบริษัท แม้ไม่มีข้อบังคับห้ามชัดแจ้ง ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายและศีลธรรม
โจทก์ด่าว่า ส.ซึ่งเป็นยามขณะที่ส. ปฏิบัติการตามหน้าที่ย่อมถือว่าโจทก์ได้กระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิลงโทษโจทก์โดยตักเตือนเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์ได้ด่าว่า ส. อีก จึงถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดซ้ำคำเตือนจำเลยยังมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การนับอายุงานต่อเนื่อง และการจ่ายค่าชดเชย/สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
เวลาส่วนใหญ่ที่โจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานเป็นระหว่างเวลา 11 นาฬิกาเศษและ 13 นาฬิกา และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยให้พนักงานหยุดพักได้วันละ 1 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 11.30-13.30 นาฬิกาตามแต่ผู้บังคับบัญชาจะเห็นสมควรโจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้นเมื่อพิจารณาประกอบกับวินัยพนักงานที่เกี่ยวกับการละทิ้งหน้าที่ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ซึ่งระบุว่า"พนักงานต้องไม่ละทิ้งหน้าที่ของตนหรือขาดงานหรือไม่ปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร" แล้ว โจทก์จึงหาได้กระทำผิดวินัยพนักงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในข้อดังกล่าวไม่ จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คดีก่อน โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหายรวมทั้งเงินสะสมด้วย ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับข้อหาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับเงินสะสมแต่อย่างใด โจทก์มาฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหาย รวมทั้งเงินสะสมด้วย คำฟ้องในส่วนของเงินสะสมคดีนี้จึงอาศัยเหตุเลิกจ้างคนละคราวกับคดีก่อนและยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดที่ศาลได้วินิจฉัยไว้โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้างแม้มิได้กำหนดให้นับอายุงานต่อเนื่องไว้แต่ตามผลและรูปคดีย่อมแสดงว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนการเลิกจ้าง การนับอายุงานจึงต้องนับต่อเนื่องจากอายุงานเดิมมิใช่เริ่มนับอายุงานใหม่ เมื่อศาลแรงงานกลางฟังว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ไม่อยู่ที่โต๊ะทำงานย่อมถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งการงานไปเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การนับอายุงานต่อเนื่อง และสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างหลังกลับเข้าทำงาน
เดิมโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์นำคดีไปสู่ศาลแรงงาน ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้างคำขออื่นให้ยก คำพิพากษาของศาลแรงงานดังกล่าวแม้มิได้กำหนดให้นับอายุงานต่อเนื่องไว้แต่ตามผลและรูปคดีที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานดังกล่าว ย่อมแสดงว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนการเลิกจ้าง การนับอายุงานจึงต้องนับต่อเนื่องจากอายุงานเดิม มิใช่เริ่มนับอายุงานใหม่หลังจากที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน เมื่อจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์อีกครั้งด้วยเหตุละทิ้งหน้าที่ตามรายงานลับของพนักงานของจำเลยคนหนึ่ง ซึ่งกล่าวว่าโจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานแต่ปรากฏว่าเวลาส่วนใหญ่ที่โจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานนั้นเป็นระหว่างเวลา 11 นาฬิกาเศษ และ 13 นาฬิกา และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่า "ให้พนักงานหยุดพักได้วันละ1 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 11.30-13.30 น." การที่โจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานจึงเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เมื่อพิจารณาประกอบกับวินัยพนักงานที่เกี่ยวกับการละทิ้งหน้าที่ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งระบุว่า "พนักงานต้องไม่ละทิ้งหน้าที่ของตน หรือขาดงานหรือไม่ปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 วัน ทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร" แล้ว โจทก์มิได้กระทำผิดวินัยพนักงานตามข้อดังกล่าว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุเพียงเท่าที่ปรากฏในรายงานลับจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ไม่อยู่ที่โต๊ะทำงานย่อมถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งการงานไปเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า คดีเดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2533โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหากศาลเห็นว่าโจทก์ไม่อาจทำงานร่วมกับจำเลยได้ขอให้ศาลกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายและเงินต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างรวมทั้งเงินสะสมจำนวน 68,312.24 บาท ด้วย ศาลแรงงานวินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับข้อหาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม และพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง โดยมิได้วินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับเงินสะสมแต่อย่างใด โจทก์มาฟ้องคดีใหม่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2534 โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายและจ่ายเงินต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างรวมทั้งเงินสะสมจำนวน 125,274.33 บาท ด้วยคำฟ้องในส่วนของเงินสะสมคดีหลังจึงอาศัยเหตุเลิกจ้างคนละคราวกับคดีก่อน และยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดที่ศาลได้วินิจฉัยไว้โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
of 108