พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,079 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และสิทธิการได้รับค่าชดเชย
โจทก์ละทิ้งหน้าที่ในระหว่างเวลาทำงานและฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยการดื่มเบียร์ในระหว่างเวลาทำงาน ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่การงานไปเสียและเป็นการจงใจขัดคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ ลักษณะงานที่โจทก์ทำอยู่คือหน้าที่ขัดเงาในบริษัทจำเลยซึ่งประกอบกิจการผลิตเครื่องประดับกาย มิใช่งานที่หากผู้ปฏิบัติงานมึนเมาแล้วอาจจะเกิดความเสียหายร้ายแรงแก่นายจ้างหรือเป็นอันตรายต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด ทั้งเป็นการดื่มเบียร์ในขณะที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ที่ทำอยู่ไปและไม่ปรากฎว่าโจทก์มึนเมาหรือไม่เพียงใดการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ จึงมิใช่กรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) แม้จำเลยจะกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานว่าจำเลยจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยถ้าพนักงานเสพสุรามึนเมาในขณะปฏิบัติงาน ก็มิใช่จะต้องถือว่าการกระทำผิดวินัยดังกล่าวเป็นกรณีที่ร้ายแรงทุกเรื่องไป เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือในเรื่องดังกล่าวมาก่อน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ จึงต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่เลิกจ้างเป็นต้นไป ต้องชดใช้ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับและละทิ้งหน้าที่ โดยต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ละทิ้งหน้าที่ในระหว่างเวลาทำงานและฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยการดื่มเบียร์ในระหว่างเวลาทำงาน ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่การงานไปเสียและเป็นการจงใจขัดคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์
ลักษณะงานที่โจทก์ทำอยู่คือหน้าที่ขัดเงาในบริษัทจำเลยซึ่งประกอบกิจการผลิตเครื่องประดับกาย มิใช่งานที่หากผู้ปฏิบัติงานมึนเมาแล้วอาจจะเกิดความเสียหายร้ายแรงแก่นายจ้างหรือเป็นอันตรายต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด ทั้งเป็นการดื่มเบียร์ในขณะที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ที่ทำอยู่ไปและไม่ปรากฎว่าโจทก์มึนเมาหรือไม่เพียงใด การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ จึงมิใช่กรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) แม้จำเลยจะกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า จำเลยจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยถ้าพนักงานเสพสุรามึนเมาในขณะปฏิบัติงาน ก็มิใช่จะต้องถือว่าการกระทำผิดวินัยดังกล่าวเป็นกรณีที่ร้ายแรงทุกเรื่องไป เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือในเรื่องดังกล่าวมาก่อน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ จึงต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่เลิกจ้างเป็นต้นไป ต้องชดใช้ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว
ลักษณะงานที่โจทก์ทำอยู่คือหน้าที่ขัดเงาในบริษัทจำเลยซึ่งประกอบกิจการผลิตเครื่องประดับกาย มิใช่งานที่หากผู้ปฏิบัติงานมึนเมาแล้วอาจจะเกิดความเสียหายร้ายแรงแก่นายจ้างหรือเป็นอันตรายต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด ทั้งเป็นการดื่มเบียร์ในขณะที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ที่ทำอยู่ไปและไม่ปรากฎว่าโจทก์มึนเมาหรือไม่เพียงใด การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ จึงมิใช่กรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) แม้จำเลยจะกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า จำเลยจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยถ้าพนักงานเสพสุรามึนเมาในขณะปฏิบัติงาน ก็มิใช่จะต้องถือว่าการกระทำผิดวินัยดังกล่าวเป็นกรณีที่ร้ายแรงทุกเรื่องไป เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือในเรื่องดังกล่าวมาก่อน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ จึงต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่เลิกจ้างเป็นต้นไป ต้องชดใช้ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ละทิ้งหน้าที่และดื่มเบียร์ในเวลางาน: ค่าชดเชยและการจ่ายดอกเบี้ย
การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ในระหว่างเวลาทำงานและฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยการดื่มเบียร์ในระหว่างเวลาทำงานถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่การงาน และจงใจขัดคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ละทิ้งหน้าที่เฉพาะในวันที่ 16 ตุลาคม 2536 ตั้งแต่เวลา 16.20 นาฬิกา มิใช่ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) ลักษณะงานที่โจทก์ทำมิใช่งานที่หากผู้ปฏิบัติงานมึนเมาแล้วจะเกิดความเสียหายร้ายแรงแก่นายจ้าง และไม่ปรากฏว่าโจทก์มึนเมาเพียงใด แม้ตามข้อบังคับของจำเลยกำหนดให้เลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชยก็มิใช่จะต้องถือว่าการทำผิดวินัยดังกล่าวเป็นกรณีร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เคยตักเตือนจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างจำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ จึงต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่เลิกจ้างเป็นต้นไป จำเลยจึงต้องชดใช้ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: คำด่าที่ไม่ร้ายแรงและการจ่ายค่าชดเชย
ถ้อยคำที่โจทก์ด่านางวันทนีย์ว่า "อีหัวล้าน" เป็นเพียงคำไม่สุภาพ ไม่ถึงกับเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า ถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง การที่จำเลยระบุในคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์จงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของบริษัทอย่างร้ายแรงและกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างเท่านั้น เท่ากับจำเลยประสงค์จะถือเอาเหตุที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเหตุเลิกจ้าง ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย จำเลยจึงยกเหตุว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ การที่โจทก์กล่าวเพียงคำว่า "อีหัวล้าน" เท่านั้น มิได้กล่าววาจาหรือแสดงกริยาอื่นใดอีก เพียงถ้อยคำซึ่งกล่าวด้วยอารมณ์ผิดหวังและไม่พอใจจากการที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นความรับผิดจากละเมิดของลูกจ้างต่อนายจ้าง และการผูกพันคำพิพากษาในคดีก่อน
จำเลยให้การว่า ศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว แม้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้ จำเลยอุทธรณ์ว่า ฟ้องเคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าใครเป็นคนครอบครองเงิน เงินสูญหายอย่างไร และใครเป็นผู้รับผิดชอบจำเลยไม่เข้าใจคำฟ้องของโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินสดที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยสูญหายขาดบัญชีไปจำนวน 1,000,000 บาทโจทก์ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการสอบสวนผลการสอบสวนไม่สามารถหาสาเหตุแห่งการที่เงินสดสูญหายไป แต่จำเลยยอมรับว่าเงินสดที่ขาดบัญชีอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยเป็นคนครอบครองเงินเงินสูญหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ และจำเลยเป็นผู้รับผิดชอบซึ่งจำเลยก็ให้การว่าเงินได้ขาดหายไปขณะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้จัดการและสมุห์บัญชี ไม่ได้อยู่ในความครอบครองของจำเลยจำเลยมิได้ประมาทเลินเล่อหรือจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นพนักงานและลูกจ้างของโจทก์ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ คำสั่ง และข้อบังคับของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพนักงานที่ดีของโจทก์โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ตามคำฟ้องดังกล่าวนอกจากเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดแล้ว ยังเป็นคำฟ้องที่อ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำผิดหน้าที่ที่จำเลยต้องกระทำตามสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดอายุความเกี่ยวกับการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิมซึ่งกำหนดอายุความไว้ 10 ปี แม้คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ว่า โจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรมขอให้รับจำเลยกลับเข้าทำงานหรือใช้ชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินอื่น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประมาทเลินเล่อทำให้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยสูญหายไปจำนวน 1,000,000 บาท ขอให้จำเลยชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย แต่เหตุที่จำเลยอ้างในคดีก่อนว่าโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรมคือ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยจำเลยมิได้กระทำผิด ซึ่งโจทก์ก็ให้การในคดีดังกล่าวว่า โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยเพราะจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไปจำนวน 1,000,000 บาท ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นปัญหาเดียวกันว่า จำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไปหรือไม่ แม้คดีก่อนจำเลยจะเป็นฝ่ายฟ้องโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์เป็นฝ่ายฟ้องจำเลย แต่โจทก์จำเลยในคดีทั้งสองก็เป็นคู่ความเดียวกัน จำเลยจึงเถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ต้องฟังว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไป สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยที่มีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิม หมายถึง โจทก์จะเรียกร้องดอกเบี้ยที่ค้างส่งนับถึงวันฟ้องเกิน 5 ปี แล้วไม่ได้เท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างส่งก่อนวันฟ้องนับย้อนหลังไปไม่เกิน5 ปี โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องได้ หาใช่ว่าถ้าโจทก์ไม่ได้ฟ้องภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแล้ว สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยที่ค้างส่งจะขาดอายุความไปทั้งหมดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด, สัญญาจ้าง, การโต้แย้งข้อเท็จจริงในคดีก่อน, และการเรียกร้องดอกเบี้ย
จำเลยให้การว่า ศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว แม้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยอุทธรณ์ว่า ฟ้องเคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าใครเป็นคนครอบครองเงิน เงินสูญหายอย่างไร และใครเป็นผู้รับผิดชอบจำเลยไม่เข้าใจคำฟ้องของโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินสดที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยสูญหายขาดบัญชีไปจำนวน 1,000,000 บาท โจทก์ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการสอบสวนผลการสอบสวนไม่สามารถหาสาเหตุแห่งการที่เงินสดสูญหายไป แต่จำเลยยอมรับว่าเงินสดที่ขาดบัญชีอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยเป็นคนครอบครองเงิน เงินสูญหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ และจำเลยเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งจำเลยก็ให้การว่าเงินได้ขาดหายไปขณะอยู่ในความรับผิด-ชอบของผู้จัดการและสมุห์บัญชี ไม่ได้อยู่ในความครอบครองของจำเลย จำเลยมิได้ประมาทเลินเล่อหรือจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นพนักงานและลูกจ้างของโจทก์ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ คำสั่ง และข้อบังคับของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพนักงานที่ดีของโจทก์โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ตามคำฟ้องดังกล่าวนอกจากเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดแล้ว ยังเป็นคำฟ้องที่อ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำผิดหน้าที่ที่จำเลยต้องกระทำตามสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดอายุความเกี่ยวกับการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม ซึ่งกำหนดอายุความไว้ 10 ปี
แม้คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ว่า โจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรมขอให้รับจำเลยกลับเข้าทำงานหรือให้ชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินอื่น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประมาทเลินเล่อทำให้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยสูญหายไปจำนวน 1,000,000 บาท ขอให้จำเลยชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย แต่เหตุที่จำเลยอ้างในคดีก่อนว่าโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม คือ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยจำเลยมิได้กระทำผิด ซึ่งโจทก์ก็ให้การในคดีดังกล่าวว่า โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยเพราะจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไปจำนวน 1,000,000 บาท ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นปัญหาเดียวกันว่า จำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไปหรือไม่ แม้คดีก่อนจำเลยจะเป็นฝ่ายฟ้องโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์เป็นฝ่ายฟ้องจำเลย แต่โจทก์จำเลยในคดีทั้งสองก็เป็นคู่ความเดียวกัน จำเลยจึงเถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ต้องฟังว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไป
สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยที่มีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 166 เดิม หมายถึง โจทก์จะเรียกร้องดอกเบี้ยที่ค้างส่งนับถึงวันฟ้องเกิน5 ปี แล้วไม่ได้เท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างส่งก่อนวันฟ้องนับย้อนหลังไปไม่เกิน 5 ปีโจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องได้ หาใช่ว่าถ้าโจทก์ไม่ได้ฟ้องภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแล้ว สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยที่ค้างส่งจะขาดอายุความไปทั้งหมดไม่
จำเลยอุทธรณ์ว่า ฟ้องเคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าใครเป็นคนครอบครองเงิน เงินสูญหายอย่างไร และใครเป็นผู้รับผิดชอบจำเลยไม่เข้าใจคำฟ้องของโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินสดที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยสูญหายขาดบัญชีไปจำนวน 1,000,000 บาท โจทก์ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการสอบสวนผลการสอบสวนไม่สามารถหาสาเหตุแห่งการที่เงินสดสูญหายไป แต่จำเลยยอมรับว่าเงินสดที่ขาดบัญชีอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยเป็นคนครอบครองเงิน เงินสูญหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ และจำเลยเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งจำเลยก็ให้การว่าเงินได้ขาดหายไปขณะอยู่ในความรับผิด-ชอบของผู้จัดการและสมุห์บัญชี ไม่ได้อยู่ในความครอบครองของจำเลย จำเลยมิได้ประมาทเลินเล่อหรือจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นพนักงานและลูกจ้างของโจทก์ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ คำสั่ง และข้อบังคับของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพนักงานที่ดีของโจทก์โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ตามคำฟ้องดังกล่าวนอกจากเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดแล้ว ยังเป็นคำฟ้องที่อ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำผิดหน้าที่ที่จำเลยต้องกระทำตามสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดอายุความเกี่ยวกับการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม ซึ่งกำหนดอายุความไว้ 10 ปี
แม้คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ว่า โจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรมขอให้รับจำเลยกลับเข้าทำงานหรือให้ชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินอื่น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประมาทเลินเล่อทำให้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยสูญหายไปจำนวน 1,000,000 บาท ขอให้จำเลยชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย แต่เหตุที่จำเลยอ้างในคดีก่อนว่าโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม คือ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยจำเลยมิได้กระทำผิด ซึ่งโจทก์ก็ให้การในคดีดังกล่าวว่า โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยเพราะจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไปจำนวน 1,000,000 บาท ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นปัญหาเดียวกันว่า จำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไปหรือไม่ แม้คดีก่อนจำเลยจะเป็นฝ่ายฟ้องโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์เป็นฝ่ายฟ้องจำเลย แต่โจทก์จำเลยในคดีทั้งสองก็เป็นคู่ความเดียวกัน จำเลยจึงเถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ต้องฟังว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไป
สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยที่มีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 166 เดิม หมายถึง โจทก์จะเรียกร้องดอกเบี้ยที่ค้างส่งนับถึงวันฟ้องเกิน5 ปี แล้วไม่ได้เท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างส่งก่อนวันฟ้องนับย้อนหลังไปไม่เกิน 5 ปีโจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องได้ หาใช่ว่าถ้าโจทก์ไม่ได้ฟ้องภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแล้ว สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยที่ค้างส่งจะขาดอายุความไปทั้งหมดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1213/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบความปลอดภัยของนายจ้าง มิถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
แม้จำเลยจะพิสูจน์ไม่ได้ว่าการที่คนร้ายลักข้าวสารไปนั้นเพราะความผิดของโจทก์ แต่การที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบอันเกี่ยวกับความปลอดภัยในทรัพย์สินของจำเลยเป็นอาจิณและข้าวสารของจำเลยจำนวนมากถูกคนร้ายลักไปในระหว่างที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของโจทก์ ถือได้ว่า โจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้จำเลยขาดความเชื่อถือและไว้วางใจโจทก์ที่จะให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปแล้ว จำเลยจึงมีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบบริษัทและการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริต ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้า
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุห้ามใช้เวลาหรือทรัพย์สินของบริษัทฯ ไปทำงานส่วนตัวโดยมิได้รับอนุญาต การที่โจทก์ขายสินค้าบริษัทอื่นให้แก่ลูกจ้างจำเลยสองคน คนหนึ่งซื้อยาสระผมและครีมนวดผมอีกคนหนึ่งซื้อลิปสติกการซื้อขายสิ่งของจำนวนเล็กน้อยโดยปกติใช้เวลาเพียงครู่เดียวทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใดการกระทำของโจทก์จึงมิใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ร้ายแรง จำเลยไม่เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือมาก่อนจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ การที่โจทก์ขายสินค้าบริษัทอื่นแก่ลูกจ้างจำเลยย่อมเป็นเหตุให้ทั้งโจทก์และลูกจ้างต้องหยุดการทำงานเพื่อเจรจาและส่งมอบสินค้าที่โจทก์นำมาขาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่การงานของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องรับผิดชอบจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้สินค้าสูญหายแต่พิสูจน์ความประมาทเลินเล่อไม่ได้
โจทก์เกี่ยวข้องรับผิดชอบกับการเบิกจ่ายพัสดุโดยตรงเป็นผู้จ่ายตรวจ นับ คุมสินค้าอยู่ทุกวัน จำเลยผู้เป็น นายจ้างพิสูจน์ไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้เอาสินค้าไป และ ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้กระทำการใดในหน้าที่การงานโดยปราศจากความระมัดระวัง หรือละเลยการอันจักต้องกระทำ ตามหน้าที่ หรืองดเว้นการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง แม้โจทก์จะมี หน้าที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบกับการเบิกจ่ายพัสดุโดยตรงและ สินค้าได้หายไป ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย จำเลยก็ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้แก่โจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์กระทำการใดอันถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เพียงปรากฏข้อเท็จจริงว่าสินค้าที่อยู่ในสถานที่ที่โจทก์ทำงานอยู่หายไป ยังไม่พอให้ถือได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: เหตุผลความประมาทเลินเล่อ และการคืนเงินสะสม
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมาเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ แล้วนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมาย อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 44
การเลิกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่ และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรจะเลิกจ้างได้หรือไม่ คดีนี้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ข้อ 6 ทวิ และข้อ 7ระบุว่าในกรณีที่พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยมีกรณีต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวนหรือฟ้องคดีอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา จำเลยจะต้องรอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณา เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ดำเนินการสอบสวนตามขั้นตอนแล้วจึงมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เสียหายแก่กิจการจำเลยอย่างร้ายแรงเป็นคำสั่งที่ชอบและเป็นธรรม ซึ่งตามข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวไม่จำเป็นต้องรอฟังผลการพิจารณาคดีของศาลก่อน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างได้ทันที
คดีที่จำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ยังไม่ปรากฏผลของคดี ค่าเสียหายจึงยังไม่แน่นอน จำเลยจะนำเอาค่าเสียหายดังกล่าวมาหักจากเงินสะสมของโจทก์หาได้ไม่ และไม่มีเหตุที่จำเลยจะรอการจ่ายเงินสะสมไว้ได้ จึงต้องคืนเงินสะสมให้แก่โจทก์
การเลิกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่ และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรจะเลิกจ้างได้หรือไม่ คดีนี้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ข้อ 6 ทวิ และข้อ 7ระบุว่าในกรณีที่พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยมีกรณีต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวนหรือฟ้องคดีอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา จำเลยจะต้องรอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณา เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ดำเนินการสอบสวนตามขั้นตอนแล้วจึงมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เสียหายแก่กิจการจำเลยอย่างร้ายแรงเป็นคำสั่งที่ชอบและเป็นธรรม ซึ่งตามข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวไม่จำเป็นต้องรอฟังผลการพิจารณาคดีของศาลก่อน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างได้ทันที
คดีที่จำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ยังไม่ปรากฏผลของคดี ค่าเสียหายจึงยังไม่แน่นอน จำเลยจะนำเอาค่าเสียหายดังกล่าวมาหักจากเงินสะสมของโจทก์หาได้ไม่ และไม่มีเหตุที่จำเลยจะรอการจ่ายเงินสะสมไว้ได้ จึงต้องคืนเงินสะสมให้แก่โจทก์