พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,079 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประมาทเลินเล่อ และสิทธิในการได้รับเงินสะสมหลังถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมาเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ แล้วนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมาย อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 การเลิกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่ และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรจะเลิกจ้างได้หรือไม่ คดีนี้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ข้อ 6 ทวิ และข้อ 7 ระบุว่าในกรณีที่พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยมีกรณีต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวนหรือฟ้องคดีอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา จำเลยจะต้องรอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณาเมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ดำเนินการสอบสวนตามขั้นตอนแล้วจึงมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เสียหายแก่กิจการจำเลยอย่างร้ายแรงเป็นคำสั่งที่ชอบและเป็นธรรมซึ่งตามข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวไม่จำเป็นต้องรอฟังผลการพิจารณาคดีของศาลก่อน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างได้ทันที คดีที่จำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ยังไม่ปรากฏผลของคดี ค่าเสียหายจึงยังไม่แน่นอน จำเลยจะนำเอาค่าเสียหายดังกล่าวมาหักจากเงินสะสมของโจทก์หาได้ไม่ และไม่มีเหตุที่จำเลยจะรอการจ่ายเงินสะสมไว้ได้ จึงต้องคืนเงินสะสมให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายพนักงานข้ามแผนกไม่ถือเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้าง หากไม่มีข้อตกลงผูกมัดและงานอยู่ในระดับเดียวกัน
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาหรือมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งของโจทก์ทั้งหก แม้ตามสำเนาใบสมัครงานของโจทก์ที่ 1โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 และโจทก์ที่ 5 จะระบุว่าโจทก์ที่ 1 สมัครทำงานในตำแหน่งพนักงานห้องซักผ้า โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 และโจทก์ที่ 5 สมัครทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ก็ตาม ก็เป็นเรื่องโจทก์แสดงความประสงค์จะทำงานในตำแหน่งดังกล่าวเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ประกาศรับสมัครพนักงานในตำแหน่งดังกล่าว เมื่อจำเลยรับโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เข้าทำงานและให้ทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทำสัญญาว่าจะให้โจทก์ทั้งสี่ดังกล่าวทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่อย่างเดียว เช่นเดียวกับเมื่อจำเลยรับโจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 6 เข้าทำงาน โดยเฉพาะโจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 6 นั้นเมื่อสมัครเข้าทำงานกับจำเลยก็มิได้ระบุว่าจะขอทำงานในตำแหน่งใดแผนกใด ดังนี้ การที่จำเลยจะรับโจทก์ทั้งหกเข้าทำงานและให้ทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ตลอดมา ก็ไม่เป็นการผูกมัดจำเลยว่าจะต้องให้โจทก์ทั้งหกทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ตลอดไป นอกจากนี้งานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่แผนกห้องผ้าหรือซักรีด และงานตำแหน่งพนักงานทำความสะอาด แผนกทำความสะอาด ต่างก็อยู่ในระดับเดียวกัน และเป็นงานที่ไม่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเป็นพิเศษ พนักงานในแผนกหนึ่งย่อมสามารถสับเปลี่ยนไปทำงานในอีกแผนกหนึ่งได้ และเหตุที่จำเลยย้ายโจทก์ไปอยู่แผนกทำความสะอาดก็เพราะพนักงานรีดผ้าโดยเครื่องรีดและพับผ้าอัตโนมัติที่จำเลยติดตั้งใหม่ไม่ต้องใช้ความชำนาญมากดังแต่ก่อน และเป็นเรื่องที่จำเลยจัดการบริหารงานบุคคลเพื่อลดค่าใช้จ่ายของจำเลย ส่วนค่าจ้างและผลประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ทั้งหกเมื่อย้ายไปอยู่แผนกทำความสะอาดก็มิได้ลดลงกว่าเดิม ทั้งจำเลยย้ายโจทก์ทั้งหกไปอยู่แผนกทำความสะอาดนี้มิได้เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหก การที่จำเลยย้ายโจทก์ทั้งหกจากแผนกห้องผ้าหรือซักรีดไปอยู่แผนกทำความสะอาดจึงไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างของโจทก์ทั้งหก จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีอำนาจกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายงานพนักงานระดับเดียวกัน ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้าง นายจ้างมีอำนาจบริหารจัดการ
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาหรือมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งของโจทก์ทั้งหกแม้ตามสำเนาใบสมัครงานของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3และโจทก์ที่ 5 จะระบุว่าโจทก์ที่ 1 สมัครทำงานในตำแหน่งพนักงานห้องซักผ้า โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 และโจทก์ที่ 5สมัครทำงานในตำแหน่งพนักงานซักรีดผ้าเครื่องใหญ่ก็ตามก็เป็นเรื่องโจทก์แสดงความประสงค์จะทำงานในตำแหน่งดังกล่าว เท่านั้น และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ประกาศรับสมัครพนักงาน ในตำแหน่งดังกล่าว เมื่อจำเลยรับโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3และที่ 5 เข้าทำงานและให้ทำงานในตำแหน่ง พนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทำสัญญา ว่าจะให้โจทก์ทั้งสี่ดังกล่าวทำงานในตำแหน่ง พนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่อย่างเดียว เช่นเดียวกับเมื่อจำเลย รับโจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 6 เข้าทำงาน โดยเฉพาะ โจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 6 นั้นเมื่อสมัครเข้าทำงานกับจำเลย ก็มิได้ระบุว่าจะขอทำงานในตำแหน่งใดแผนกใด ดังนี้ การที่จำเลยจะรับโจทก์ทั้งหกเข้าทำงานและให้ทำงานในตำแหน่ง พนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ตลอดมา ก็ไม่เป็นการผูกมัดจำเลย ว่าจะต้องให้โจทก์ทั้งหกทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ตลอดไป นอกจากนี้ งาน ใน ตำแหน่งรีดผ้าเครื่องใหญ่แผนกห้องผ้าหรือซักรีด และงานตำแหน่งพนักงานทำความสะอาด แผนกทำความสะอาด ต่างก็อยู่ในระดับเดียวกัน และเป็นงานที่ไม่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถเป็นพิเศษ พนักงานในแผนกหนึ่งย่อมสามารถสับเปลี่ยน ไป ทำงานในอีกแผนกหนึ่งได้ และเหตุที่จำเลยย้ายโจทก์ ไปอยู่แผนกทำความสะอาดก็เพราะพนักงานรีดผ้า โดยเครื่องรีดและพับผ้าอัตโนมัติที่จำเลยติดตั้งใหม่ ไม่ต้องใช้ความชำนาญมากดังแต่ก่อน และเป็นเรื่องที่จำเลย จัดการบริหารงานบุคคลเพื่อลดค่าใช้จ่ายของจำเลย ส่วนค่าจ้างและผลประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ทั้งหก เมื่อย้ายไปอยู่แผนกทำความสะอาดก็มิได้ลดลงกว่าเดิม ทั้งจำเลยย้ายโจทก์ทั้งหกไปอยู่แผนกทำความสะอาดนี้ มิได้เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหก การที่จำเลย ย้ายโจทก์ทั้งหกจากแผนกห้องผ้าหรือซักรีดไปอยู่แผนกทำความสะอาดจึงไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างของโจทก์ทั้งหก จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีอำนาจกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบ และการจ่ายค่าชดเชย/บำเหน็จ
โจทก์ใช้ให้ ส.ตอกบัตรลงเวลาทำงานแทนให้แก่โจทก์ ซึ่งฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่โจทก์ก็ได้เข้าทำงานก่อนเวลาทำงานปกติ ดังนั้นโจทก์มิได้มาทำงานสายในวันเกิดเหตุ จึงไม่ทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างและอาจต้องจ่ายรางวัลในการทำงานของโจทก์ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยเท่านั้น การกระทำผิดของโจทก์ดังกล่าวมิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 47 (3) ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยจึงต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46
โจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 583
โจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างแรงงาน: การตอกบัตรแทนไม่ใช่ความผิดร้ายแรง แต่จงใจขัดคำสั่งนายจ้างเป็นเหตุเลิกจ้างได้
การที่โจทก์ได้ใช้ผู้อื่นตอกบัตรลงเวลาทำงานแทนให้แก่โจทก์แต่โจทก์ก็ได้เข้าทำงานก่อนเวลาทำงานปกตินั้น มิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ ในข้อ 47(3) ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 แต่เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จงใจขัดคำสั่งดังกล่าวจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิ พักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 583.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างผิดสัญญาจ้างจากไม่ปฏิบัติตามระเบียบ/คำสั่งของนายจ้าง อายุความตาม ปพพ. มาตรา 193/30
การที่จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ย่อมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งของโจทก์ไม่ว่าจะเป็นระเบียบที่มีอยู่เดิมหรือที่ออกในภายหลัง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ จำเลยจึงผิดสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลย
คำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องให้จำเลยรับผิดเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์จงใจฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และโจทก์ได้มีคำสั่งปลดจำเลยออกจากธนาคารโจทก์แล้วฐานปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์และประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และขาดความไว้วางใจนั้น เป็นการฟ้องในมูลผิดสัญญาจ้างแรงงานจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องให้จำเลยรับผิดเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์จงใจฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และโจทก์ได้มีคำสั่งปลดจำเลยออกจากธนาคารโจทก์แล้วฐานปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์และประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และขาดความไว้วางใจนั้น เป็นการฟ้องในมูลผิดสัญญาจ้างแรงงานจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างต่อการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งนายจ้าง รวมถึงอายุความฟ้องในกรณีผิดสัญญาจ้าง
การที่จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ย่อมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งของโจทก์ไม่ว่าจะเป็นระเบียบที่มีอยู่เดิมหรือที่ออกในภายหลัง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ จำเลยจึงผิดสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลย คำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องให้จำเลยรับผิดเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์จงใจฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และโจทก์ได้มีคำสั่งปลดจำเลยออกจากธนาคารโจทก์แล้วฐานปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์และประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และขาดความไว้วางใจนั้นเป็นการฟ้องในมูลผิดสัญญาจ้างแรงงานจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2866/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริง และยืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเรื่องดอกเบี้ย
อุทธรณ์ที่ว่าเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกเนื่องจากจำเลยประสบปัญหาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตราคาสูงและขาดแคลน ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงจำเป็นต้องยุบแผนกที่โจทก์ทั้งหกทำงานอยู่ โดยยินยอมจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ทุกคน จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโดยกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหก การเลิกจ้างของจำเลยจึงมีเหตุอันควร ไม่ใช่เลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมนั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง อุทธรณ์ที่ว่าการที่ศาลแรงงานกลางรับฟังพยานโจทก์แล้ววินิจฉัยว่าพยานโจทก์เบิกความตรงกันว่าจำเลยไม่ได้ยุบแผนกแปรรูปโลหะ 2 อย่างจริงจังและการที่ศาลแรงงานกลางแปลความหมายคำให้การพยานจำเลยผิดไปจากข้อเท็จจริง เป็นการรับฟังพยานหลักฐานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการชั่งน้ำหนักคำพยาน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ค่าชดเชยนั้น ต้องจ่ายทันทีเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัด ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้นแม้กฎหมายไม่ได้กำหนดให้จ่ายตั้งแต่วันเลิกจ้าง แต่สินจ้างส่วนดังกล่าวก็เป็นหนี้เงินอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ขณะเลิกจ้างโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม แม้จำเลยจะอ้างว่าได้ปิดประกาศให้โจทก์ทุกคนไปรับก็ตาม จำเลยก็ไม่พ้นจากความรับผิดที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเลิกจ้างลูกจ้างต้องมาจากกรรมการผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจ
ร.เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยภรรยาของร.ไม่ใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่จะมีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยได้ และภรรยาของ ร. ไม่ได้รับมอบหมายจากร. ผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยให้มีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย ภรรยาของ ร.จึงไม่มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ การที่ภรรยาของ ร.ให้ส. บอกโจทก์ไม่ให้มาทำงานกับจำเลยอีกต่อไป ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชักชวนพนักงานของจำเลยไปทำงานที่อื่น แม้ไม่สำเร็จ หรือไม่ทำให้เสียหาย ไม่ถือเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ หรือฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับร้ายแรง
การที่โจทก์ชักชวนพนักงานของจำเลยให้ไปทำงานที่สถานประกอบการอื่นที่ประกอบกิจการอย่างเดียวกับจำเลย โดยกล่าวลอย ๆ ไม่มีข้อเสนอที่แน่นอน ผู้ที่ถูกชักชวนก็มิได้ลาออกไปทำงานที่สถานประกอบการอื่น และไม่ปรากฏว่าจำเลยเสียหายการกระทำของโจทก์จึงไม่ถึงขั้นเป็นการสนทนาให้ร้ายเป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจของจำเลยหรือดำเนินการแข่งขันกับจำเลยซึ่งถือว่าเป็นการปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลย มิใช่การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงและไม่ถือว่าโจทก์กระทำการอื่นไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปถูกต้องและสุจริตด้วย