คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 583

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,079 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166-167/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งย้ายงานที่ไม่เป็นธรรมและการเลิกจ้างโดยปริยาย: อำนาจฟ้องและการพิจารณาข้อเท็จจริง
แม้สิทธิในการย้ายตำแหน่งหน้าที่การงานของลูกจ้าง บริษัทจำเลยในฐานะนายจ้างสามารถกระทำได้ตามความเหมาะสมเพราะเป็นอำนาจในการบริหารจัดการภายในองค์กรของจำเลยก็ตาม แต่การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ทั้งสองซึ่งมีรายได้น้อยให้ไปทำงานในโรงงานที่ห่างจากสถานที่ทำงานเดิมถึง 120 กิโลเมตร โดยไม่จัดที่พักหรือหารถรับส่งในการไปทำงานให้ อีกทั้งโจทก์ทั้งสองไม่สามารถเบิกค่าเช่าบ้านได้คำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายและก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่โจทก์ทั้งสองอย่างยิ่ง ยากที่โจทก์ทั้งสองจะปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยได้ จึงมีลักษณะเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสอง คำสั่งของจำเลยดังกล่าวแม้จะชอบด้วยกฎหมายแต่ก็เป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม ฉะนั้น การที่โจทก์ทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยจึงยังถือไม่ได้ว่าจงใจขัดคำสั่งของจำเลยและละทิ้งหน้าที่และแม้คำสั่งของจำเลยจะไม่เป็นธรรม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ออกคำสั่งย้ายโดยเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ทั้งสองทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยปริยาย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ จำเลยยังไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง แต่เพิ่งมีคำสั่งเลิกจ้างหลังจากมีการฟ้องคดีนี้แล้ว ฉะนั้น ขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้จึงยังไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายในเรื่องที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์ แต่อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6642/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กรณีสมาชิกสหภาพแรงงาน และการจ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ย
แม้บันทึกที่บริษัทจำเลยที่ 1 มีถึงพนักงานทุกคนให้ละเว้นการออกเงินกู้ด้วยดอกเบี้ยสูงจะมิใช่ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับทำงาน แต่บันทึกดังกล่าวมีสภาพเป็นคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์นำเงินมาให้เพื่อนพนักงานซึ่งมีหน้าที่เก็บเงินจากลูกค้ากู้ยืมและเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงจึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยที่ 1แต่มิใช่เป็นกรณีที่ร้ายแรง เพราะมิได้ทำให้มีผลกระทบต่อกิจการของจำเลยที่ 1 ให้เสียหายอย่างชัดแจ้ง เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าได้มีการตักเตือนเป็นหนังสือและโจทก์กระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ แต่การที่โจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ทั้งเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 มีเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ จึงไม่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ เพราะโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์ที่มีบทบาทในการต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมในบริษัทจำเลยที่ 1 อันเป็นการบรรยายว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโดยฝ่าฝืนมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องมาด้วยว่า การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาการกระทำอันไม่เป็นธรรม แต่โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องในข้อหาว่า จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมได้
แม้โจทก์จะขอให้จำเลยที่ 1 จ่ายดอกเบี้ยสำหรับค่าชดเชยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กำหนดถึงกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาที่ผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมศาลจึงเห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 เสียดอกเบี้ยในค่าชดเชยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันฟ้องให้แก่โจทก์ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ: เหตุผลเพียงพอ, การพักงาน, ค่าชดเชย, และสิทธิลูกจ้าง
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย โจทก์และจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ
โจทก์ทำสัญญาจ้างกับจำเลยหลายฉบับ และโจทก์ลาออกเพื่อรับบรรจุเป็นพนักงาน แต่โจทก์ก็ทำงานกับจำเลยต่อเนื่องมาตลอดโดยมิได้เว้นช่วงระยะเวลาใดตั้งแต่วันที่จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในวันแรกของสัญญาจ้างฉบับแรก จนถึงวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์จึงเป็นพนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปีขึ้นไป จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ
การพิจารณาว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 หรือไม่นั้นโดยทั่วไปต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างนั้นมีเหตุผลเพียงพอหรือไม่เป็นสำคัญ แม้จำเลยระบุในหนังสือเลิกจ้างว่าเลิกจ้างโจทก์ระหว่างทดลองงาน แต่ก็ระบุถึงเหตุผลในการเลิกจ้างไว้ด้วยว่า โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฯ ซึ่งจำเลยได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างในคำให้การด้วย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างและตามคำให้การจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทราบเหตุการณ์ที่ ธ. ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานร่วมกันรื้อค้นกระเป๋าของผู้โดยสารแล้วกลับนิ่งเสียไม่รายงานผู้บังคับบัญชา นับว่าเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่และเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การที่จำเลยเลิกจ้างมีเหตุผลเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และพฤติกรรมของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6067/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงานอิสระ: การพิจารณาความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง ต้องดูอำนาจบังคับบัญชา
การพิจารณาว่าโจทก์และจำเลยเป็นลูกจ้างและนายจ้างหรือไม่นั้น นอกจากจะพิจารณาว่าโจทก์และจำเลยมีความสัมพันธ์กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 575 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 แล้ว ยังต้องปรากฏว่าโจทก์อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาโดยต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ด้วย คดีนี้โจทก์รับจ้างจำเลยทำงานตำแหน่งมัคคุเทศก์อิสระ อัตราค่าจ้างขึ้นกับการทำงานแต่ละครั้งโดยนำนักท่องเที่ยวไปตามตารางทัวร์ที่กำหนดไว้ หากไม่มาทำงานก็จะไม่ได้ค่าจ้าง กำหนดวันทำงานไม่แน่นอน ไม่มีการกำหนดวันหยุดวันลาและสวัสดิการสำหรับโจทก์ แสดงว่าโจทก์มีอิสระในการทำงานกับจำเลยไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ใช่การจ้างแรงงานหรือเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันตามบทกฎหมายข้างต้นโจทก์ไม่เป็นลูกจ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5222/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือเตือนต้องมีลักษณะตักเตือนชัดเจน การเลิกจ้างฐานลูกจ้างละเลยคำสั่งนายจ้าง
หนังสือเตือนนอกจากจะมีข้อความซึ่งแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างให้เพียงพอที่ลูกจ้างจะเข้าใจการกระทำนั้นของตนได้แล้ว ก็จะต้องมีข้อความที่มีลักษณะเป็นการเตือนโดยห้ามไม่ให้ลูกจ้างกระทำการเช่นนั้นซ้ำอีกด้วย แม้หนังสือเตือนของจำเลยจะมีข้อความแสดงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับการที่โจทก์ฝ่าฝืนหรือขัดคำสั่งของจำเลยเพียงพอที่โจทก์จะเข้าใจการกระทำของโจทก์ได้ แต่ไม่มีข้อความที่มีลักษณะเป็นการเตือนโดยห้ามไม่ให้โจทก์กระทำเช่นนั้นซ้ำอีก คงมีแต่คำว่า "ใบเตือนครั้งที่ 1" และ "ใบเตือนครั้งที่ 2"อยู่ด้านบนของเอกสาร เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงหนังสือของจำเลยที่แจ้งการฝ่าฝืนหรือขัดคำสั่งของโจทก์ให้โจทก์ทราบเท่านั้น ไม่เป็นหนังสือเตือนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(4)
จำเลยสั่งให้โจทก์ขับรถยนต์บรรทุกไปรับสินค้าที่อาคารเกษรพลาซ่า แต่โจทก์เดินทางไปไม่ถึงเพราะเหลือเวลาอีกประมาณ 43 นาที ก็จะติดเวลาห้ามรถยนต์บรรทุกแล่นในเขตกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงนำรถยนต์กลับมาที่สำนักงานของจำเลย เมื่อจำเลยมีระเบียบว่าในกรณีที่พนักงานขับรถไม่สามารถขับรถยนต์ไปถึงที่หมายปลายทางได้ทันเวลาและจะต้องนำรถยนต์กลับมาที่สำนักงาน พนักงานขับรถจะต้องแจ้งให้ผู้มีอำนาจของจำเลยทราบก่อน แต่โจทก์ไม่ได้แจ้งให้ผู้มีอำนาจของจำเลยทราบก่อน การกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือขัดคำสั่งของจำเลยอันไม่ใช่กรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวโดยไม่ได้ตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือมาก่อน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์แต่เมื่อโจทก์ได้เคยฝ่าฝืนระเบียบหรือขัดคำสั่งของจำเลยในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ขับรถมาแล้วถึง 2 ครั้ง ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเป็นอาจิณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: กรณีลูกจ้างถูกกล่าวหาทุจริต แต่ศาลพิพากษาว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่เข้าข่ายทุจริต
โจทก์ได้รับมอบหมายให้เปลี่ยนอะไหล่คอนโซลหน้าปัทม์รถยนต์ที่ลูกค้าซื้อจากบริษัทจำเลยที่ 2 โจทก์จึงเบิกอะไหล่คอนโซลหน้าปัทม์ทั้งชุดซึ่งมีกล่องเก๊ะรวมอยู่ด้วยโจทก์ถอดคอนโซลหน้าปัทม์ที่ชำรุดออกจากรถยนต์ลูกค้าแล้วใส่คอนโซลหน้าปัทม์อันใหม่แทน แต่ไม่ได้เปลี่ยนกล่องเก๊ะอันใหม่ให้ โดยไม่ได้แจ้งให้หัวหน้างานทราบกล่องเก๊ะอันใหม่ที่เบิกมาแล้วไม่ได้ใช้ โจทก์มิได้นำไปคืนศูนย์อะไหล่เพราะเป็นเวลาเลิกงานประกอบกับโจทก์หลงลืมด้วย พฤติการณ์ของโจทก์จึงเป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง แม้จะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างแต่ก็เป็นกรณีที่ไม่ร้ายแรงทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำการใดหรือมีพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นเจตนาที่จะเอากล่องเก๊ะไปเป็นของตน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างหรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายเมื่อจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 และมาตรา 67

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ทางการแพทย์ ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแก่โรงพยาบาล
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ (วิทยาศาสตร์การแพทย์) มีหน้าที่ในการตรวจผลเลือด ผลทางเคมี อุจจาระ และปัสสาวะ เพื่อส่งให้แพทย์วินิจฉัยและทำการรักษาโรคแก่ผู้ป่วยต่อไป หน้าที่ของโจทก์จึงเป็นหน้าที่อันสำคัญที่ช่วยให้แพทย์สามารถรักษาโรคแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง อันจะส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โจทก์นำเลือดของผู้ป่วยโรคไตไปตรวจ แต่ผลการตรวจเลือดไม่สอดคล้องกับอาการของผู้ป่วย เมื่อแพทย์สั่งให้โจทก์ตรวจเลือดของผู้ป่วยรายนี้อีกครั้ง ผลการตรวจเลือดในครั้งที่สองซึ่งเป็นผลการตรวจที่ถูกต้อง ได้ผลเลือดที่มีค่าแตกต่างจากที่ตรวจในครั้งแรกมาก และในวันที่เป็นเวรของโจทก์ที่จะต้องเตรียมเลือดให้ผู้ป่วย โจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานตามหน้าที่อ้างว่าสั่งให้พยาบาลปฏิบัติหน้าที่แทน นอกจากนี้เมื่อแพทย์สั่งให้โจทก์หาผลเลือดทางเคมี 2 ชนิด แต่โจทก์ตรวจหาให้เพียงชนิดเดียว ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ไม่ครบถ้วน จึงต้องสั่งให้โจทก์ตรวจหาค่าที่ยังไม่ได้ตรวจอีกชนิดหนึ่ง การที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะดังกล่าว จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ ขาดความเอาใจใส่ และความรับผิดชอบในหน้าที่ ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ไม่ครบถ้วน ล่าช้า ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และชีวิตของผู้ป่วย อันมีผลกระทบถึงชื่อเสียงของโรงพยาบาลจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์เป็นอย่างมาก จึงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง และยังถือว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยสุจริตอีกด้วย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (3) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
การพิจารณาว่าการเลิกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่ามีเหตุอันสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างหรือเหตุอื่นก็ได้ เมื่อปรากฏว่าการกระทำของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยเสียชื่อเสียงในการประกอบกิจการโรงพยาบาลเอกชนเป็นอย่างมาก และเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงนับว่ามีเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ทางการแพทย์จนโรงพยาบาลได้รับความเสียหาย ถือเป็นการเลิกจ้างชอบธรรม
โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ มีหน้าที่ในการตรวจผลเลือด ผลทางเคมีอุจจาระ และปัสสาวะ เพื่อส่งให้แพทย์วินิจฉัยช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคได้อย่างถูกต้อง อันจะส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย การที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ ขาดความเอาใจใส่และความรับผิดชอบในหน้าที่ ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ไม่ครบถ้วน ล่าช้า ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ป่วย อันมีผลกระทบถึงชื่อเสียงของโรงพยาบาลจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเป็นอย่างมากจึงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง และยังถือว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไป โดยถูกต้องและสุจริตอีกด้วย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 119(3) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
เมื่อการกระทำของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยเสียชื่อเสียงในการประกอบกิจการโรงพยาบาลเอกชนเป็นอย่างมาก และเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงจึงนับว่ามีเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ทางการแพทย์ ส่งผลเสียต่อความปลอดภัยผู้ป่วยและชื่อเสียงโรงพยาบาล
โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ มีหน้าที่ตรวจผลเลือด ผลทางเคมีเพื่อส่งให้แพทย์วินิจฉัยและทำการรักษาโรคแก่ผู้ป่วย หน้าที่ของโจทก์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องอันจะส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย การที่โจทก์ตรวจผลเลือดของผู้ป่วยไม่ถูกต้องจนต้องนำเอาเลือดผู้ป่วยไปตรวจใหม่และไม่เตรียมเลือดให้ผู้ป่วยในขณะที่เป็นเวรของโจทก์แต่กลับให้พยาบาลปฏิบัติหน้าที่แทน ทั้งต่อมาแพทย์สั่งให้โจทก์ตรวจหาผลเลือดทางเคมี 2 ชนิดโจทก์ก็ตรวจหาผลทางเคมีให้เพียงชนิดเดียวทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคไม่ครบถ้วนนั้น จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ ขาดความเอาใจใส่และความรับผิดชอบในหน้าที่อันเป็นความบกพร่องอย่างยิ่ง ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ป่วย ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชื่อเสียงของโรงพยาบาลจำเลยเป็นอย่างมาก จึงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงและยังเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตอีกด้วย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(3) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าหยุดพักผ่อนประจำปี และความผิดตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท
คำว่า สุจริต ในป.พ.พ. มาตรา 583 มิได้หมายความว่าโจทก์จะต้องกระทำการโดยไม่ทุจริต แต่กรณีนี้มีความหมายว่า โจทก์ทราบถึงเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างแล้ว แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความรอบคอบเต็มความสามารถ โดยมิได้แจ้งพนักงานรักษาความปลอดภัยทั้งหมดให้เข้มงวดตรวจตราคนเข้าออกภายในอาคารจึงเกิดความเสียหายขึ้น เป็นความประพฤติที่ไม่ชอบด้วยหน้าที่หัวหน้าแผนกรักษาความปลอดภัยของโจทก์ตามความหมายคำว่า "สุจริต" ในบทกฎหมายดังกล่าวจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และแม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก็ตาม แต่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวโดยไม่ปรากฎว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49
โจทก์กระทำผิดเพียงแต่ไม่ได้กำชับให้พนักงานรักษาความปลอดภัยทุกคนตรวจตราเคร่งครัดมิให้ผู้ไม่มีสิทธิใช้ลิฟต์ของผู้บริหารขึ้นไปบนอาคาร ชั้น 8 อันเป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ประกอบกับจำเลยได้รับความเสียหายเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์หายไป 2 เครื่องเท่านั้น การกระทำผิดของโจทก์จึงมิใช่การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับกรณีร้ายแรง ตามพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 119(3)
ข้อมูลที่บันทึกอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกลักไป เป็นข้อมูลความลับทางการค้าของจำเลย หากถูกเปิดเผยไปยังบริษัทคู่แข่งทางการค้าจำเลยจะได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คู่มือพนักงานของจำเลยระบุว่า เงินบำเหน็จ คือเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานโดยไม่มีความผิดตามข้อกำหนด ส่วนมากเงินดังกล่าวนายจ้างจะจ่ายให้เพื่อตอบแทนที่ลูกจ้างทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตลอดมาจนออกจากงานข้อกำหนดดังกล่าวย่อมรวมถึงข้อกำหนดหน้าที่การงานของโจทก์ การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อกำหนดดังกล่าวทำให้คนร้ายขึ้นไปลักเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยไปได้ 2 เครื่อง กรณีจึงถือได้ว่า โจทก์กระทำผิดตามข้อกำหนด จึงไม่มีสิทธิได้เงินบำเหน็จ
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2542 ซึ่งโจทก์ทำงานไม่ครบปี การจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2542 จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 67 ปรากฎว่า โจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี 7 วัน แต่โจทก์ทำงานในปี 2542 เพียง 6 เดือน 15 วัน ซึ่งคำนวณตามส่วนแล้ว โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2542 จำนวน 3.79 วัน เมื่อรวมกับปี 2541 แล้วโจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีรวม 10.79 วัน คิดเป็นเงินจำนวน 7,328.20 บาท
of 108