คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 75

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469-4476/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงานต่อเนื่องเกินสองปี สัญญาจ้างเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยที่2ถึงที่9เป็นคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่1มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ทั้งแปดเป็นผู้ช่วยชำระบัญชีทำหน้าที่ต่างๆในการชำระบัญชีตามคำสั่งของจำเลยแล้วแต่จะให้ทำงานอะไรและเป็นอำนาจของคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีที่จะเลิกจ้างโจทก์ทั้งแปดได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้ามีกำหนดเวลาจ้างครั้งละ1เดือนติดต่อกันเป็นเวลา9ปีเศษเห็นได้ว่าการจ้างโจทก์ทั้งแปดจำเลยมิได้มุ่งถึงผลสำเร็จของงานหากแต่โจทก์ทั้งแปดจะต้องทำงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีตามที่ได้รับคำสั่งจากจำเลยที่2ถึงที่9ตลอดเวลาการจ้างดังนั้นสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างแรงงาน การที่จำเลยต่อสัญญาจ้างโจทก์ทั้งแปดติดต่อกันครั้งละ1เดือนเป็นเวลานานถึง9ปีเศษโดยจำเลยมีคำสั่งจ้างโจทก์ทั้งแปดตามสัญญาจ้างแต่ละฉบับมีเงื่อนไขว่าหากพนักงานผู้ใดหมดหน้าที่หรือหมดความจำเป็นที่จะปฏิบัติงานต่อไปคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีจะเลิกจ้างเป็นรายบุคคลก่อนกำหนดสิ้นเดือนโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากรณีจึงถือไม่ได้ว่าสัญญาจ้างโจทก์ทั้งแปดมีลักษณะการจ้างเป็นครั้งคราวโดยมีกำหนดเวลาสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานไว้แน่นอนดังนั้นเมื่อจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ทั้งแปดติดต่อกันทุกเดือนและงานนั้นยังไม่แล้วเสร็จภายในเวลาสองปีจึงเป็นการจ้างแรงงานที่ไม่เข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191-3293/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจที่ถูกยุบเลิก ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน แม้จะบรรจุรายเดือน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่พ.ศ.2520การที่ได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่พ.ศ.2520พ.ศ.2528ใช้บังคับมีผลเพียงทำให้จำเลยต้องเลิกกิจการเพื่อสะสางกิจการของจำเลยให้สิ้นสภาพจากการเป็นนิติบุคคลต่อไปเท่านั้นหามีผลทำให้ลูกจ้างของจำเลยสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปในตัวไม่การที่จำเลยจะเลิกจ้างลูกจ้างจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582โดยต้องบอกกล่าวล่วงหน้า. โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวของจำเลยโดยจำเลยออกคำสั่งบรรจุโจทก์เป็นรายเดือนแต่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีจึงไม่ถือว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนเมื่อโจทก์ทำงานติดต่อกันมาเกิน120วันย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำจำเลยถูกยุบเลิกอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องเลิกจ้างโจทก์โดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยลูกจ้างชั่วคราว: ต้องทำงานต่อเนื่องหลังเปลี่ยนสถานะเป็นลูกจ้างประจำครบ 120 วัน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 75 วรรคแรก มิได้หมายความว่าเมื่อลูกจ้างชั่วคราวทำงานติดต่อกันเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วจะมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตั้งแต่วันเริ่มเข้าทำงานแต่หมายความว่าลูกจ้างจะมีฐานะเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตั้งแต่วันทำงานที่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันเป็นต้นไปโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวจำเลยรวม 154 วันจึงออกจากงานแสดงว่าโจทก์ทำงานในฐานะลูกจ้างประจำยังไม่ครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
of 12