คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยของบุตรผู้เกิดจากบิดามารดาต่างด้าวที่เข้ามาในไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะเกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ก็เป็นบุตรนายย. ซึ่งเป็นคนญวนอพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิชอบแล้วได้อยู่กินเป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสกับนาง ว.ซึ่งเกิดที่จังหวัดสกลนครและมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแม้โจทก์ที่1ถึงที่8และโจทก์ที่9ถึงที่12จะมิได้ถูกถอนสัญชาติไทยและมิได้ถูกจำกัดมิให้ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337แต่โจทก์ทั้งสิบสองก็เป็นผู้ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามมาตรา7ทวิวรรคหนึ่ง(3)แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา5เพราะพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา11บัญญัติให้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7376/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดภายใต้ประกาศและ พ.ร.บ.สัญชาติ กรณีบิดา/มารดาเป็นคนต่างด้าวหรือถูกถอนสัญชาติ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 ข้อความที่ว่า"บิดาเป็นคนต่างด้าว" นั้น คำว่า "บิดา" หมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และข้อความที่ว่า "ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง" คำว่า "ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย" หมายถึงผู้ที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทยแต่เดินทางเข้ามาเพื่อพักอาศัยในราชอาณาจักรไทย เมื่อ ล.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งหกเพราะมิได้จดทะเบียนสมรสกับ จ. มารดาโจทก์ทั้งหก และ จ.เป็นคนเกิดในราชอาณาจักรไทย แม้จะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 (3) และกลายเป็นคนต่างด้าวซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จ.ก็ไม่ใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 (3)โจทก์ทั้งหกจึงไม่ใช่เป็นบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะเกิดบิดาหรือมารดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ดังนั้น การที่ จ.ถูกถอนสัญชาติไทยไม่ทำให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 (3) ไปด้วย และไม่ทำให้โจทก์ที่ 6 ซึ่งเกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับเข้ากรณีไม่ได้สัญชาติไทยตามข้อ 2 ของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 10 บัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับด้วย และขณะที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 เกิด จ.ยังไม่ถูกถอนสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 จึงเป็นผู้เกิดโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามบทบัญญัติมาตรา 7 (1) ดังกล่าว และ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535มาตรา 11 บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับด้วย แม้เป็นผลให้ จ.ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา7 (2) ประกอบมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง กลายเป็นบุคคลที่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม แต่บทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม ก็ต้องใช้บังคับกับจ.ตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับเป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่โจทก์ที่ 6 เกิด ขณะโจทก์ที่ 6 เกิด จ.ยังไม่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม อีกทั้ง ล.บิดาโจทก์ที่ 6 เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดา ล.เป็นคนสัญชาติญวนซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ล.จึงมิใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามาตรา 7 ทวิ วรรคสาม เมื่อถือไม่ได้ว่าในขณะโจทก์ที่ 6 เกิด บิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้สมรสกับมารดาหรือมารดาของโจทก์ที่ 6 เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 6 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา 7 (2) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 4 ดังนั้นโจทก์ทั้งหกไม่เสียสัญชาติไทยเพราะการประกาศใช้ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7376/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดและการไม่เสียสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 ข้อความที่ว่า "บิดาเป็นคนต่างด้าว" นั้น คำว่า "บิดา" หมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และข้อความที่ว่า "ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง" คำว่า "ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย"หมายถึงผู้ที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทยแต่เดินทางเข้ามาเพื่อพักอาศัยในราชอาณาจักรไทย เมื่อ ล.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งหกเพราะมิได้จดทะเบียนสมรสกับ จ. มารดาโจทก์ทั้งหก และ จ.เป็นคนเกิดในราชอาณาจักรไทย แม้จะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) และกลายเป็นคนต่างด้าวซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จ.ก็ไม่ใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) โจทก์ทั้งหกจึงไม่ใช่เป็นบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและในขณะเกิดบิดาหรือมารดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ดังนั้นการที่ จ.ถูกถอนสัญชาติไทยไม่ทำให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 1(3) ไปด้วย และไม่ทำให้โจทก์ที่ 6 ซึ่งเกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับเข้ากรณีไม่ได้สัญชาติไทยตามข้อ 2 ของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 10บัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา 7(1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วยและขณะที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 เกิด จ. ยังไม่ถูกถอนสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 จึงเป็นผู้เกิดโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามบทบัญญัติมาตรา 7(1) ดังกล่าว และพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 11 บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย แม้เป็นผลให้ จ.ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา 7(2) ประกอบมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง กลายเป็นบุคคลที่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ตามมาตรา 7 ทวิวรรคสาม แต่บทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม ก็ต้องใช้บังคับกับ จ. ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2535 ใช้บังคับเป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่โจทก์ที่ 6 เกิด ขณะโจทก์ที่ 6 เกิด จ.ยังไม่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วย คนเข้าเมือง ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม อีกทั้ง ล.บิดาโจทก์ที่ 6 เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดา ล.เป็นคนสัญชาติญวนซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ล. จึงมิใช่ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม เมื่อถือไม่ได้ว่าในขณะโจทก์ที่ 6เกิด บิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้สมรสกับมารดาหรือมารดาของโจทก์ที่ 6 เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 6 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ดังนั้น โจทก์ทั้งหกไม่เสียสัญชาติไทยเพราะประกาศใช้พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7227/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยของบุตรจากมารดาคนต่างด้าว: การพิจารณาการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาและผลต่อการได้สัญชาติ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อปี2524โดยเป็นบุตรนาย ช.ซึ่งมีสัญชาติไทยกับนาง ล. ซึ่งเป็นคนญวนอพยพกรณีไม่ต้องด้วยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่337ลงวันที่13ธันวาคม2515ซึ่งเป็นเรื่องของผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยมีมารดาเป็นคนต่างด้าวโดยไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายแต่ต้องด้วยพระราชบัญญัติสัญชาติฯมาตรา7(1)ที่แก้ไขเพิ่มเติมโจทก์จึงมีสัญชาติไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญชาติและการจำกัดสิทธิการเดินทางของคนญวนอพยพที่เกิดในไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ประกาศ ณ วันที่ 13ธันวาคม พุทธศักราช 2515 กำหนดหลักเกณฑ์การเพิกถอนกับการไม่ให้สัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดก่อนและหลังประกาศใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว เมื่อจำเลยมีบิดามารดาเป็นคนญวนอพยพและจำเลยเกิดในราชอาณาจักรเมื่อ พ.ศ. 2494 จำเลยจึงถูกเพิกถอนสัญชาติไทยไปแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว จำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดเสียก่อนจึงออกนอกเขตจังหวัดได้ เมื่อจำเลยออกนอกเขตโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญชาติและการกระทำผิดฐานหลบหนีเขตควบคุม: จำเลยถูกเพิกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ จึงต้องได้รับอนุญาตก่อนออกจากเขตควบคุม
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 13ธันวาคม พ.ศ. 2515 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเพิกถอนสัญชาติไทยกับการไม่ให้สัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดก่อนและหลังการประกาศใช้เมื่อจำเลยมีบิดามารดาเป็นคนญวนอพยพและจำเลยเกิดในราชอาณาจักรเมื่อ พ.ศ. 2494 จำเลยจึงถูกเพิกถอนสัญชาติไทยไปแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6434/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยของบุตรที่เกิดจากมารดาถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ
มารดาโจทก์เกิดโดยบิดามารดาเป็นคนสัญชาติญวนซึ่งเป็นคนต่างด้าว มารดาโจทก์จึงต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม2515 ข้อ 1 และถือได้ว่ามารดาโจทก์เป็นคนต่างด้าว การที่นายทะเบียนไม่ออกบัตรประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่มารดาโจทก์ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 มาตรา 5และ 8 ก็ไม่ทำให้มารดาโจทก์เป็นคนมีสัญชาติไทย
ขณะโจทก์เกิดบิดามารดาโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดาโจทก์ถูกถอนสัญชาติเป็นคนต่างด้าว โจทก์เกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ใช้บังคับ แม้จะเกิดในราชอาณาจักร โจทก์ก็ไม่ได้สัญชาติไทย และถึงแม้บิดามารดาโจทก์จดทะเบียนสมรสกันในภายหลังก็มีผลเพียงให้โจทก์เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1547 ไม่ทำให้โจทก์ได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6184/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเรื่องสัญชาติไทยของบุคคลที่มีมารดาเป็นคนต่างด้าวและการถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ
การที่โจทก์ทั้งสิบสามไปรายงานตัวต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพจังหวัดอุบลราชธานีว่าเป็นคนญวนอพยพ ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศให้คนญวนอพยพที่มีอายุ 12 ปี ขึ้นไปมารายงานตัวต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพก็เพราะกลัวว่าจะถูกจับกุม และก่อนฟ้องคดีนี้บิดาของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 และเป็นตา ของโจทก์ที่ 12 ถึงที่ 13ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดว่าโจทก์ทั้งสิบสามเป็นคนสัญชาติไทย ขอให้เพิกถอนชื่อโจทก์ทั้งสิบสามออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพ แต่ได้รับการปฏิเสธ แสดงว่าจำเลยทั้งสองยืนยันว่าโจทก์ดังกล่าวยังเป็นคนสัญชาติญวนอยู่ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นบุตรของนาง จ. โจทก์ที่ 9 ถึงที่ 11เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 ซึ่งนาง จ. และโจทก์ที่ 1 เป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและไม่ปรากฏบิดา ที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8จะได้สัญชาติไทยโดยการเกิด สัญชาติไทยของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ก็ต้องถูกถอนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 จึงมิใช่ผู้ที่มีสัญชาติไทย
โจทก์ที่ 12 และที่ 13 เกิดในราชอาณาจักรโดยมีโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เป็นมารดาโจทก์ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) ถึงแม้โจทก์ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นมารดาจะได้ถูกถอนสัญชาติไทย แต่มารดาโจทก์ก็เกิดในราชอาณาจักรมิใช่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงมิใช่บุคคลที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3860/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทย แม้บิดามารดาถูกถอนสัญชาติภายหลัง สิทธิสัญชาติของบุตรยังคงอยู่
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า โจทก์ที่ 1 เป็นคนต่างด้าว ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นบุตร จึงถูกถอนสัญชาติไทยด้วย และไม่ยอมออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่โจทก์ที่ 4 ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิเรื่องสัญชาติของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 แล้ว โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5จึงมีอำนาจฟ้อง บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 นั้นจะต้องปรากฏว่าบุคคลนั้นมีบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยขณะที่เกิดนั้นโจทก์ที่ 1 ผู้เป็นมารดาเป็นคนสัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทยด้วย แม้ภายหลังโจทก์ที่ 1 ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ก็หาเป็นผลให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ต้องถูกถอนสัญชาติไทยไปด้วยไม่ การจะออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ผู้ใดนั้นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องพิจารณาว่าผู้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน มีหลักเกณฑ์ครบถ้วนตามกฎหมายเสียก่อนศาลจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นพนักงานผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่โจทก์ที่ 4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3633/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสัญชาติ: การออกบัตรคนญวนอพยพด้วยความสมัครใจ ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิหรือเพิกถอนสัญชาติ
ตามประกาศของจำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมที่ให้คนญวนอพยพในเขตจังหวัดนครพนมผู้ที่มีอายุครบ 12 ปีขึ้นไปและผู้ที่มีบัตรประจำตัวคนญวนอพยพอยู่แล้วไปทำบัตรหรือเปลี่ยนบัตรที่ครบอายุ 2 ปีแล้วนั้น มีลักษณะเป็นประกาศทั่ว ๆ ไปไม่ใช่คำสั่งเฉพาะเจาะจง บังคับให้โจทก์ทั้งสี่ทำบัตรหรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวญวนอพยพ และจำเลยมิได้มีคำสั่งถอนสัญชาติไทยของโจทก์ทั้งสี่ การที่โจทก์ทั้งสี่ไปเปลี่ยนหรือทำบัตรประจำตัวญวนอพยพก็ด้วยความสมัครใจเอง และเข้าใจเอาเองว่าถูกจำเลยออกคำสั่งถอนสัญชาติไทย จำเลยมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 4