พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีถอนชื่อออกจากทะเบียนคนญวนอพยพ และการถอนสัญชาติไทยของบุตรจากสถานะบิดามารดา
จำเลยเพิ่งมาดำรง ตำแหน่ง หัวหน้าสำนักงานกิจการญวนอพยพ จังหวัด อุบลราชธานี ภายหลังจากที่ได้ จดแจ้งชื่อ โจทก์ที่ 2 ถึง ที่ 5 ลงทะเบียนคนญวนอพยพแล้ว ตาม ฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึง ที่ 5 มีสาระสำคัญขอให้จำเลยซึ่ง เป็นหัวหน้าสำนักงานกิจการญวนอพยพ จังหวัด อุบลราชธานีคนปัจจุบันถอน ชื่อ โจทก์ที่ 2 ถึง ที่ 5 ออกจากทะเบียนคนญวนอพยพเพราะการลงชื่อโจทก์ที่ 2 ถึง ที่ 5 ไว้ในทะเบียนดังกล่าวไม่ชอบด้วย กฎหมาย ดังนั้นแม้จำเลยจะมิใช่ผู้จดแจ้งชื่อ โจทก์ที่ 2 ถึง ที่ 5 ไว้ในทะเบียน โจทก์ที่ 2 ถึง ที่ 5 มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ แม้อำนาจฟ้องจะเป็น ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลย มิได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การหากศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะไม่ วินิจฉัยให้ก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) นาย พ. คนสัญชาติไทยอยู่กินฉัน สามีภรรยากับโจทก์ที่ 1คนสัญชาติญวนโดย มิได้จด ทะเบียนสมรส และให้กำเนิดโจทก์ที่ 2 ต่อมานาย พ. กับโจทก์ที่ 1 ได้ จด ทะเบียนสมรสกันโจทก์ที่ 2 จึงไม่ใช่บุคคลที่จะถูก ถอน สัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2519ข้อ 1 เพราะโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่บุคคลตาม ข้อ 1(1)(2) และ (3)ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยของบุตรที่เกิดในไทยจากมารดาที่มีสัญชาติไทยและบิดาเป็นชาวต่างชาติ กรณีมิได้จดทะเบียนสมรส
นางป.มารดาโจทก์ทั้งสามเกิดที่จังหวัดอุบลราชธานีจึงได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2456 มาตรา 3 และนางป.เป็นบุตรคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง นางป.จึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 เมื่อนางป.คนสัญชาติไทยอยู่กินฉันสามีภรรยากับ ก. คนญวนอพยพโดยไม่จดทะเบียนสมรสโจทก์ทั้งสามจึงมีบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสามเกิดที่อำเภอเมืองอุบลราชธานีย่อมได้สัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) บุตรที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทยโดยเหตุที่บิดาเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 นั้น จะต้องปรากฏว่าคนต่างด้าวนั้นเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อนาง ป. มารดาของโจทก์ทั้งสามไม่ใช่คนต่างด้าวและนาย ก. ก็มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งสาม กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337อันจะเป็นผลให้โจทก์ทั้งสามถูกถอนสัญชาติไทย โจทก์ทั้งสามจึงยังคงมีสัญชาติไทย เมื่อ พ.ศ. 2522 มารดาโจทก์ทั้งสามได้ขอให้เจ้าหน้าที่เพิกถอนชื่อโจทก์ทั้งสามออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ แต่เจ้าหน้าที่ไม่จัดการให้โดยโต้แย้งว่าโจทก์ทั้งสามเป็นคนต่างด้าวเช่นนี้ แม้จำเลยเข้ารับตำแหน่งหัวหน้ากิจการคนญวนอพยพเมื่อเดือนพฤศจิกายน2525 ตลอดมาถึงวันฟ้องก็ตาม ตราบใดที่โจทก์ทั้งสามมีสัญชาติไทยแต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพได้ให้จำเลยถอนชื่อออกแต่จำเลยไม่จัดการให้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ทั้งสามถูกโต้แย้งสิทธิตลอดมา จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะหัวหน้าสำนักงานกิจการคนญวนอพยพจังหวัดอุบลราชธานี ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ให้ดุลพินิจศาลอุทธรณ์ที่จะพิพากษายกคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปเพื่อให้พิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่สุดแต่ว่าจะมีเหตอันสมควรหรือไม่ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุมขังเพื่อเนรเทศผู้เคยได้สัญชาติไทยโดยการเกิดเป็นโมฆะ การหลบหนีจึงไม่เป็นความผิด
จำเลยเคยได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ต่อมาจำเลยถูกเพิกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จึงไม่อาจเนรเทศจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. 2499 มาตรา 5 วรรคสอง ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานคุมขังจำเลยไว้เพื่อการเนรเทศจึงเป็นการคุมขังไว้โดยไม่ชอบ เมื่อจำเลยหลบหนีไประหว่างการคุมขังดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 190
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุมขังเพื่อเนรเทศผู้เคยมีสัญชาติไทยโดยการเกิดเป็นคุมขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การหลบหนีจึงไม่เป็นความผิด
จำเลยเคยได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ต่อมาจำเลยถูกเพิกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จึงไม่อาจเนรเทศจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. 2499 มาตรา 5 วรรคสอง ดังนี้การที่เจ้าพนักงานคุมขังจำเลยไว้เพื่อการเนรเทศจึงเป็นการคุมขังไว้โดยไม่ชอบเมื่อจำเลยหลบหนีไประหว่างการคุมขังดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 190
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228-2229/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดและการโต้แย้งสิทธิในทะเบียนบ้าน รวมถึงอายุความฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญชาติ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักรไทย เป็นบุตรของนาย ม. คนสัญชาติญวนกับนาง บ. คนสัญชาติไทย นาย ม. กับนาง บ. ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (3) กรณีจะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จะต้องปรากฏว่าบิดาของผู้ถูกถอนสัญชาติไทยเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนาย ม.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จึงนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมาปรับกับกรณีของโจทก์ไม่ได้
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้น เมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมา ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้น เมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมา ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228-2229/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดและการเพิกถอนสัญชาติกรณีบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและเป็นชาวต่างชาติ ฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักรไทย เป็นบุตรของนาย ม. คนสัญชาติญวนกับนาง บ. คนสัญชาติไทย นาย ม. กับนาง บ. ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) กรณีจะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จะต้องปรากฏว่าบิดาของผู้ถูกถอนสัญชาติไทยเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนาย ม.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จึงนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมาปรับกับกรณีของโจทก์ไม่ได้
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้นเมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมาฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้นเมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมาฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ และอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับสถานะบุคคล
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัด โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้สั่งการให้มีการถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านเนื่องจากโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นที่จะมีอำนาจถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านได้แสดงชัดว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น ส่วนที่โจทก์กล่าวในฟ้องถึงจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเขตจังหวัดนั้นมาด้วยแม้จะเป็นตำแหน่งที่ไม่มีในกฎหมาย ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเสียไป และการที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนท้องถิ่นทราบว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้สัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และสั่งให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการตามระเบียบ จำเลยที่ 2 จึงได้ดำเนินการถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้าน ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 เช่นนี้แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว แม้การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนก็ไม่ทำให้กลายเป็นไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ไปไม่.
โจทก์ทั้งสองมีมารดาเป็นคนญวนอพยพ ซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวโจทก์ที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2501 และโจทก์ที่ 2 เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2503 ในขณะที่โจทก์ทั้งสองเกิดไปปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย มารดาของโจทก์ทั้งสองเพิ่งจดทะเบียนสมรสกับ ส.ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยและโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาของโจทก์เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2504 ดังนั้น ในขณะเกิดเหตุมารดาโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราว และไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสองซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทย จึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แล้ว แม้ภายหลังที่โจทก์ทั้งสองเกิด โจทก์ทั้งสองจะมีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย คือ ส.ก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิที่จะได้สัญชาติไทยไม่ และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 เมื่อโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยดังกล่าว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิ่มชื่อโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนราษฎร์ได้
โจทก์ทั้งสองมีมารดาเป็นคนญวนอพยพ ซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวโจทก์ที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2501 และโจทก์ที่ 2 เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2503 ในขณะที่โจทก์ทั้งสองเกิดไปปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย มารดาของโจทก์ทั้งสองเพิ่งจดทะเบียนสมรสกับ ส.ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยและโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาของโจทก์เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2504 ดังนั้น ในขณะเกิดเหตุมารดาโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราว และไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสองซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทย จึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แล้ว แม้ภายหลังที่โจทก์ทั้งสองเกิด โจทก์ทั้งสองจะมีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย คือ ส.ก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิที่จะได้สัญชาติไทยไม่ และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 เมื่อโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยดังกล่าว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิ่มชื่อโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนราษฎร์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยตามประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337: ผลกระทบต่อสถานะบุคคลและการฟ้องร้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดแม้จะกล่าวในฟ้องถึงจำเลยที่1ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเขตจังหวัดด้วยก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเสียไป การที่จำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่2ปลัดเทศบาลในฐานะนายทะเบียนท้องถิ่นว่าโจทก์และบุตรทุกคนของส. ไม่ได้สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337ให้จำเลยที่2ถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านและจำเลยที่2ได้ดำเนินการตามคำสั่งจำเลยที่1แล้วถือว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์แม้การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนก็ตามโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์มีมารดาเป็นคนญวนอพยพขณะโจทก์เกิดไม่ปรากฏว่าโจทก์มีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหลังจากโจทก์เกิดแล้วมารดาโจทก์จึงจดทะเบียนสมรสกับส. คนสัญชาติไทยดังนั้นในขณะโจทก์เกิดมารดาโจทก์จึงเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวและไม่ปรากฏบิดาว่าด้วยกฎหมายโจทก์ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในอาณาจักรไทยจึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337แม้ภายหลังที่โจทก์เกิดแล้วบิดามารดาได้สมรสกันอันเป็นผลให้โจทก์มีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายก็หาทำให้โจทก์เกิดสิทธิที่จะได้สัญชาติไทยไม่จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิ่มชื่อโจทก์ลงในทะเบียนราษฎร์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ และอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้สั่งการให้มีการถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านเนื่องจากโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337และปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นที่จะมีอำนาจถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านได้แสดงชัดว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นส่วนที่โจทก์กล่าวในฟ้องถึงจำเลยที่1ในฐานะเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเขตจังหวัดนั้นมาด้วยแม้จะเป็นตำแหน่งที่ไม่มีในกฎหมายก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเสียไปและการที่จำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่2ในฐานะนายทะเบียนท้องถิ่นทราบว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337และสั่งให้จำเลยที่2ดำเนินการตามระเบียบจำเลยที่2จึงได้ดำเนินการถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านตามคำสั่งของจำเลยที่1เช่นนี้แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วแม้การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนก็ไม่ทำให้กลายเป็นไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ไปไม่. โจทก์ทั้งสองมีมารดาเป็นคนญวนอพยพซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวโจทก์ที่1เกิดเมื่อวันที่13ธันวาคม2501และโจทก์ที่2เกิดเมื่อวันที่15กรกฎาคม2503ในขณะที่โจทก์ทั้งสองเกิดไปปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายมารดาของโจทก์ทั้งสองเพิ่งจดทะเบียนสมรสกับส.ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยและโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาของโจทก์เมื่อวันที่16มีนาคม2504ดังนั้นในขณะเกิดเหตุมารดาโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวและไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์ทั้งสองซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทยจึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337แล้วแม้ภายหลังที่โจทก์ทั้งสองเกิดโจทก์ทั้งสองจะมีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายคือส.ก็ตามก็หาทำให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิที่จะได้สัญชาติไทยไม่และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142เมื่อโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิ่มชื่อโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนราษฎร์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้ถูกถอนสัญชาติไทย และการฟ้องจำเลยในฐานะนายทะเบียน
พันตำรวจตรี ส. ปฏิบัติงานในหน้าที่นายทะเบียนคนต่างด้าวแทนจำเลย ได้ปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ ขณะฟ้องคดีจำเลยยังดำรงตำแหน่งนายทะเบียนคนต่างด้าว มีหน้าที่ออกใบสำคัญประจำตัวให้คนต่างด้าวทั้งโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยในฐานะนายทะเบียนคนต่างด้าว หาได้ฟ้องในฐานะส่วนตัวไม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้ ไม่เป็นการผิดตัว และกรณีนี้ถือว่า นายทะเบียนคนต่างด้าวได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว
โจทก์ฟ้องตั้งรูปคดีเป็นเรื่องโจทก์ขอให้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ เพราะโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เกิดในประเทศไทยได้สัญชาติไทยตามกฎหมาย ต่อมาโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 โจทก์จึงไปยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แต่นายทะเบียนคนต่างด้าวปฏิเสธ แล้วมีคำขอให้บังคับจำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ ซึ่งมีความหมายเป็นการขอเพิกถอนคำสั่งเดิมของนายทะเบียนคนต่างด้าวไปในตัวอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องขอให้เพิกถอนคำสั่งกล่าวอีก เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว คำสั่งเดิมที่ปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์เพราะเหตุอะไร และสั่งไว้อย่างไร เป็นรายละเอียดที่จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้คดีเอง คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คนต่างด้าวจะขอมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวได้ 2 กรณีตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 7 และมาตรา 8 สำหรับกรณีตามมาตรา 7 เป็นเรื่องให้คนต่างด้าวที่มีอายุ 12 ปีบริบูรณ์หรือคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เป็นคนเข้าเมืองตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองไปขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวได้ ภายใน 7 วัน ฯลฯ ซึ่งไม่รวมถึงบุคคลที่เคยมีสัญชาติไทยมาก่อนแล้วเสียสัญชาติไทยไปในตอนหลังด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวจะต้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตามมาตรา 8 และการเสียสัญชาติไทยตามมาตรา 8 นี้ มิได้หมายความถึงเฉพาะการเสียสัญชาติไทย ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 เท่านั้น ต้องรวมถึงการเสียสัญชาติไทยในทุกกรณี โจทก์เสียสัญชาติไทยไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 เพราะโจทก์เกิดในประเทศไทยในขณะที่บิดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวและได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง จึงอยู่ในข่ายจะต้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตามมาตรา 5 เช่นกัน
โจทก์ทำหนังสือขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวยื่นมาโดยมิได้ส่งรูปถ่ายและยื่นเรื่องราวตามแบบ ท.ต. ของทางราชการ นายทะเบียนคนต่างด้าวปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ทันทีโดยมิได้บอกกล่าวให้ทราบว่าโจทก์ทำไม่ถูกต้องอย่างไร และไม่ได้ความว่าโจทก์ขัดขืนไม่ยอมยื่นเรื่องราวตามแบบ ท.ต. 1 ของทางราชการ จึงไม่ถูกต้อง เมื่อโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน มาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ย่อมมีสิทธิจะได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตาม มาตรา 9 นายทะเบียนคนต่างด้าวจะใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ ศาลสั่งให้จำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์เมื่อมีการยื่นคำขอใหม่ตามแบบ ท.ต. 1 แล้วได้ และไม่ถือว่าเกินคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์ฟ้องตั้งรูปคดีเป็นเรื่องโจทก์ขอให้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ เพราะโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เกิดในประเทศไทยได้สัญชาติไทยตามกฎหมาย ต่อมาโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 โจทก์จึงไปยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แต่นายทะเบียนคนต่างด้าวปฏิเสธ แล้วมีคำขอให้บังคับจำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ ซึ่งมีความหมายเป็นการขอเพิกถอนคำสั่งเดิมของนายทะเบียนคนต่างด้าวไปในตัวอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องขอให้เพิกถอนคำสั่งกล่าวอีก เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว คำสั่งเดิมที่ปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์เพราะเหตุอะไร และสั่งไว้อย่างไร เป็นรายละเอียดที่จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้คดีเอง คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คนต่างด้าวจะขอมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวได้ 2 กรณีตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 7 และมาตรา 8 สำหรับกรณีตามมาตรา 7 เป็นเรื่องให้คนต่างด้าวที่มีอายุ 12 ปีบริบูรณ์หรือคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เป็นคนเข้าเมืองตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองไปขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวได้ ภายใน 7 วัน ฯลฯ ซึ่งไม่รวมถึงบุคคลที่เคยมีสัญชาติไทยมาก่อนแล้วเสียสัญชาติไทยไปในตอนหลังด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวจะต้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตามมาตรา 8 และการเสียสัญชาติไทยตามมาตรา 8 นี้ มิได้หมายความถึงเฉพาะการเสียสัญชาติไทย ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 เท่านั้น ต้องรวมถึงการเสียสัญชาติไทยในทุกกรณี โจทก์เสียสัญชาติไทยไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 เพราะโจทก์เกิดในประเทศไทยในขณะที่บิดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวและได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง จึงอยู่ในข่ายจะต้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตามมาตรา 5 เช่นกัน
โจทก์ทำหนังสือขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวยื่นมาโดยมิได้ส่งรูปถ่ายและยื่นเรื่องราวตามแบบ ท.ต. ของทางราชการ นายทะเบียนคนต่างด้าวปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ทันทีโดยมิได้บอกกล่าวให้ทราบว่าโจทก์ทำไม่ถูกต้องอย่างไร และไม่ได้ความว่าโจทก์ขัดขืนไม่ยอมยื่นเรื่องราวตามแบบ ท.ต. 1 ของทางราชการ จึงไม่ถูกต้อง เมื่อโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน มาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ย่อมมีสิทธิจะได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตาม มาตรา 9 นายทะเบียนคนต่างด้าวจะใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ ศาลสั่งให้จำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์เมื่อมีการยื่นคำขอใหม่ตามแบบ ท.ต. 1 แล้วได้ และไม่ถือว่าเกินคำขอท้ายฟ้อง