คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7327/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธินายจ้างกำหนดโบนัสตามผลประกอบการ และเจตนาของข้อตกลงระยะสั้น
ข้อตกลงในคำชี้ขาดคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ 39/2519ข้อ 2 ซึ่งมีผลผูกพันโจทก์ทุกคนกับจำเลยทั้งสองตลอดมานับแต่ปี 2519 จนถึงปัจจุบันประกอบด้วยสาระสำคัญสองส่วน ส่วนแรกเป็นส่วนที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างปีละครั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสที่จำเลยทั้งสองแต่เพียงฝ่ายเดียวมีสิทธิกำหนด จำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายเงินโบนัสมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับผลประกอบการของจำเลยทั้งสองเป็นรายปี การจ่ายเงินโบนัสจึงมีลักษณะเฉพาะตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณในแต่ละปีไป หาได้มีบทบังคับจำเลยทั้งสองให้ต้องจ่ายเงินโบนัสเท่ากันทุกปีไม่ จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสของปีที่ผ่านมาใช้แก่การจ่ายเงินโบนัสในปีต่อไปได้เว้นแต่จำเลยทั้งสองและลูกจ้างจะตกลงให้เป็นเช่นนั้น และแต่ละปีที่ผ่านมามีการจ่ายเงินโบนัสไม่เท่ากันตามความแตกต่างของหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสของปีนั้น ๆ ที่จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายกำหนด เมื่อปรากฏว่าผลประกอบการของจำเลยทั้งสองในปี 2536 อยู่ในระดับต่ำกว่าผลประกอบการในปี 2535 จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างในปี 2536 น้อยกว่าที่เคยจ่ายในปี 2535 ได้ ที่จำเลยทั้งสองกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2536 โดยจ่ายเพียงอัตราร้อยละ 50 ของการจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2535 จึงเป็นสิทธิของจำเลยทั้งสองที่จะกระทำได้ จะถือว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติผิดข้อตกลงที่ทำกับผู้แทนสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมผ้าห่มไทยและสิ่งทอฉบับลงวันที่ 22 มกราคม 2537ข้อ 5 ที่กำหนดว่า สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ที่ฝ่ายจำเลยทั้งสองเคยให้แก่ลูกจ้างจำเลยทั้งสองจะปฏิบัติต่อไปตามเดิมทุกประการ หาได้ไม่ เพราะข้อตกลงนี้กำหนดขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงข้อ 2 ตามคำชี้ขาดคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ 39/2519 ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแล้วโดยจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2536 ให้แก่ลูกจ้างเช่นทุกปีที่ผ่านมาตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณที่จำเลยทั้งสองได้กำหนดขึ้น
สำหรับข้อตกลงข้อ 2 ตามคำชี้ขาดดังกล่าวในส่วนที่สองเป็นการกำหนดว่าหลังจากจำเลยทั้งสองใช้สิทธิวางหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณจ่ายเงินโบนัสประจำปีแล้ว จำเลยทั้งสองต้องมีหน้าที่ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวนั้นให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดจ่ายเงินโบนัสไม่น้อยกว่าสองเดือน ทั้งนี้เพื่อให้ลูกจ้างทราบถึงสิทธิของตนในการรับเงินโบนัสแต่ละปีว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด การประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสจึงมีผลเพียงว่า ทำให้ลูกจ้างแต่ละคนทราบถึงสิทธิในการรับเงินโบนัสของแต่ละปีเท่านั้น หามีผลกระทบต่อสิทธิของลูกจ้างในการรับเงินโบนัสไม่ ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับเงินโบนัสมากน้อยเพียงใดคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสที่จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายกำหนด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสแต่อย่างใด ซึ่งปรากฏว่าในแต่ละปีที่ผ่านมาจำเลยทั้งสองไม่เคยประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสให้ลูกจ้างทราบเลย แต่จำเลยทั้งสองก็ได้จ่ายเงินโบนัสให้ทุกปี และลูกจ้างก็ยอมรับมาโดยตลอด
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา12 วรรคสอง มีผลใช้บังคับแก่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยทั่วไปเท่านั้นหามีผลใช้บังคับแก่ข้อตกลงที่มีเจตนาให้ใช้บังคับชั่วระยะเวลาหนึ่งเวลาใดไม่เมื่อหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสประจำปีมีลักษณะเฉพาะให้ใช้บังคับในแต่ละปีไป จึงไม่อาจนำบทกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับในเรื่องการจ่ายเงินโบนัสเพื่อให้มีผลต้องนำหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2535 มาใช้บังคับแก่การจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2536 แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาชิกภาพสหภาพแรงงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจสิ้นสุดลงตามกฎหมายใหม่
โจทก์เป็นพนักงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจฟ้องขอให้บังคับ จำเลยรับจดทะเบียนให้โจทก์เป็นกรรมการของสหภาพแรงงานรวมพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ในมาตรา 4(4) เป็นว่าพระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่กิจการรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 95วรรคสอง เป็นว่า ห้ามมิให้พนักงานและฝ่ายบริหารตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน กับได้มีพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 55วรรคแรก บัญญัติว่า บรรดาสหภาพแรงงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ให้เป็นอันสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่อาจเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ คดีของโจทก์ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป จึงต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างในเงินกองทุนสงเคราะห์ – การแก้ไขข้อบังคับกระทบสิทธิเดิม – สิทธิเดิมยังคงใช้บังคับ
วัตถุประสงค์ของจำเลยตามที่ปรากฏเห็นได้ในตัวว่าเป็นการแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ เป็นการแปล กฎหมาย ไม่ใช่ข้อเท็จจริงศาลแรงงานกลางไม่ต้องฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่ข้อบังคับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 31 ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ พ.ศ. 2519 ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวโจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินจากกองทุนสงเคราะห์และค่าชดเชย ต่อมาจำเลยได้ปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ใหม่เป็นฉบับที่ 24 พ.ศ. 2525 ซึ่งกำหนดว่าพนักงานที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับนี้ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามข้อบังคับเดิมลดลงไป เมื่อจำเลยแก้ไขข้อบังคับโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงไม่ผูกพันโจทก์ สิทธิของโจทก์ในเรื่องเงินกองทุนสงเคราะห์จึงต้องบังคับตามฉบับที่ 31(ข้อบังคับทั้งสองฉบับมิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบังคับบริษัทที่ลดสิทธิลูกจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง สิทธิยึดตามข้อบังคับเดิม
วัตถุประสงค์ของจำเลยตามที่ปรากฏเห็นได้ในตัวว่าเป็นการแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ เป็นการแปล กฎหมาย ไม่ใช่ข้อเท็จจริงศาลแรงงานกลางไม่ต้องฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่ข้อบังคับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 31 ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ พ.ศ. 2519 ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวโจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินจากกองทุนสงเคราะห์และค่าชดเชย ต่อมาจำเลยได้ปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ใหม่เป็นฉบับที่ 24 พ.ศ. 2525 ซึ่งกำหนดว่าพนักงานที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับนี้ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามข้อบังคับเดิมลดลงไป เมื่อจำเลยแก้ไขข้อบังคับโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงไม่ผูกพันโจทก์ สิทธิของโจทก์ในเรื่องเงินกองทุนสงเคราะห์จึงต้องบังคับตามฉบับที่ 31(ข้อบังคับทั้งสองฉบับมิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคุ้มครองแรงงาน: การจ้างที่ไม่แสวงหากำไรและความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างภายใต้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เป็นบทกฎหมายที่กำหนดการคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้างเพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปโดยเหมาะสมเป็นกฎหมายคนละส่วนกับพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์รวมทั้งวิธีการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เป็นไปด้วยวิธีปรองดองและเป็นธรรม ดังนั้นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ จึงมิใช่กิจการที่ได้รับยกเว้นมิให้ใช้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์บังคับเช่นเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ กรณีจ้างงานที่ไม่แสวงหากำไร และอำนาจของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เป็นบทกฎหมายที่กำหนดการคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้างเพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปโดยเหมาะสม เป็นกฎหมายคนละส่วนกับพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์รวมทั้งวิธีการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เป็นไปด้วยวิธีปรองดองและเป็นธรรม ดังนั้นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ จึงมิใช่กิจการที่ได้รับยกเว้นมิให้ใช้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์บังคับเช่นเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน