พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สหกรณ์แสวงหากำไร: การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
แม้จำเลยเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.สหกรณ์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2511 มาตรา 105 และปรากฏตามมาตรา 104 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวว่าจำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าแก่กิจการสหกรณ์ทุกประเภททั่วราชอาณาจักร อันมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันกันก็ตาม แต่ตามมาตรา 106 (5) จำเลยยังมีอำนาจซื้อ จัดหา จำหน่าย ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครองหรือทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน และอาจมีรายได้จากค่าตอบแทนในการบริการตลอดถึงผลประโยชน์จากทรัพย์สินของตนเองตามมาตรา 107 (5) และในทางปฏิบัติจำเลยมีงบรายได้และรายจ่าย หากรายได้สูงกว่ารายจ่ายจะตกเป็นทุนในการดำเนิน-งานต่อไป เช่นนี้ แสดงว่าการดำเนินกิจการของจำเลยมีลักษณะแสวงหาประโยชน์จากกิจการเหล่านั้น โดยมิใช่เป็นกิจการให้เปล่า กิจการของจำเลยจึงเป็นกิจการที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเนื่องจากมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการเงินและเศรษฐกิจของรัฐ ไม่แสวงหากำไร
ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นธนาคารกลางในการปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐดำเนินกิจการควบคุมการเงินและการคลังของรัฐให้ถูกต้อง เหมาะสมและมีเสถียรภาพ ธุรกิจที่ธนาคารนี้ประกอบก็กระทำไปในฐานะธนาคารกลาง มิได้เป็นการแข่งขันกับ ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น หากจะมีกำไรบ้างก็ เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้นถือไม่ได้ว่ามีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจจึงได้รับยกเว้นมิต้อง อยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของลูกจ้างในสัญญาชดใช้ค่าเสียหาย: ความรับผิดจำกัดเฉพาะกรณีที่อยู่ในวิสัยควบคุม
แม้ลูกจ้างจะมีข้อตกลงกับนายจ้างว่าลูกจ้างต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือสูญหายของสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้าก็ตาม แต่การตกลงเช่นนี้คู่กรณีย่อมคำนึงถึงความสามารถที่คู่กรณีจะรับผิดชอบได้ คงไม่มีเจตนาที่จะให้รับผิดชอบไม่ว่ากรณีใด ๆ ซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจและความสามารถของคู่กรณี เช่น อุบัติเหตุภัยพิบัติธรรมชาติโจรกรรมหรือเหตุสุดวิสัยด้วย ดังนั้น เมื่อสินค้าของนายจ้างหายไปโดยมิได้เกิดจากการยักยอกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างแล้วลูกจ้างก็ไม่ต้องรับผิดตามข้อตกลงนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ กรณีจ้างงานที่ไม่แสวงหากำไร และอำนาจของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เป็นบทกฎหมายที่กำหนดการคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้างเพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปโดยเหมาะสม เป็นกฎหมายคนละส่วนกับพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์รวมทั้งวิธีการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เป็นไปด้วยวิธีปรองดองและเป็นธรรม ดังนั้นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ จึงมิใช่กิจการที่ได้รับยกเว้นมิให้ใช้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์บังคับเช่นเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน