คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 31กรกฎาคม พ.ศ.2521 ม. 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2629/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ่ายค่าชดเชยของนายจ้างผูกพันตามกฎหมาย แม้ลูกจ้างลาออกเอง แต่ไม่รวมถึงสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยประกาศสัญญาว่าจะจ่ายค่าชดเชยตามอายุการทำงานแก่ลูกจ้างซึ่งลาออกโดยสมัครใจ ถ้อยคำว่า 'ค่าชดเชย' ที่จำเลยใช้ในประกาศ ตรงกับถ้อยคำที่ใช้ในกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันดังนี้ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างที่สมัครใจลาออกให้ครบถ้วนตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
จำเลยมิได้ประกาศสัญญาจะจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่สมัครใจลาออก เมื่อลูกจ้างลาออกโดยจำเลยมิได้เลิกจ้างจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินประเภทนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างตามฤดูกาล: การเลิกจ้างก่อนครบกำหนดสัญญา ไม่กระทบสิทธิค่าชดเชย
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ติดต่อกันรวม 9 ครั้ง ครั้งละ3 เดือนบ้าง6 เดือนบ้าง ครั้งสุดท้ายมีกำหนด 1 เดือน ทั้งนี้เพราะมีความจำเป็นตามฤดูกาลทางเกษตรกรรม ซึ่งไม่แน่นอนว่าจะหมดเมื่อใด จึงเป็นการจ้างที่มิได้ ถือเอาระยะเวลาเป็นสำคัญ หากแต่ถือเอาความจำเป็นของจำเลยเป็นเหตุในการเลิกจ้าง ฉะนั้น กำหนดระยะเวลาการจ้างย่อมไม่มีผลบังคับอย่างแท้จริง เพราะจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้หากความจำเป็นหมดไป จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนอันจำเลยได้รับยกเว้นไม่จ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามกำหนดนั้น
การจ่ายค่าชดเชยเป็นหน้าที่ของนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหากฝ่าฝืนเป็นความผิดทางอาญาถือว่าเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนดังนั้น การที่ลูกจ้างทำหนังสือสละสิทธิไม่เรียกร้องค่าชดเชยจึงหาทำให้สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับค่าชดเชยระงับไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา การเลิกจ้างตามกำหนด ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยจ้างโจทก์โดยมีกำหนดระยะเวลาเป็นช่วงๆ ช่วงละ 6 เดือนครั้งสุดท้ายมีกำหนดระยะเวลา 4 เดือน สัญญาจ้างระบุวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้ทุกช่วงจึงถือว่าเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลานั้น จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังพักงานและอนุมัติใบลาออกย้อนหลัง ศาลสั่งชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์ ระหว่างสอบสวนโจทก์ยื่นใบลาออกจำเลยยังไม่อนุญาตเพราะการสอบสวนยังไม่เสร็จ หลังจากโจทก์ยื่นใบลาออก 5 เดือน จำเลยสั่งพักงานโจทก์และระงับการจ่ายเงินเดือนกับเงินอื่นใดของโจทก์ ต่อมาอีก 6 เดือน ก็ย้ายโจทก์ไปสำนักงานใหญ่ พฤติการณ์ดังนี้แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะให้โจทก์ลาออก หากแต่จะเอาตัวโจทก์ไว้สอบสวนหาความผิด ถ้าผิดก็จะลงโทษทางวินัย ใบลาออกของโจทก์จึงสิ้นผลโดยโจทก์ไม่จำต้องถอนใบลานั้น และเมื่อจำเลยมีคำสั่งลงโทษโจทก์ทางวินัยโดยตัดเงินเดือน 10% ของอัตราที่รอการพิจารณาไว้มีกำหนด 6 เดือน และในคำสั่งฉบับเดียวกันยังอนุญาตให้โจทก์ลาออกนับแต่วันที่จำเลยเริ่มตัดเงินเดือนโจทก์ คำสั่งนี้จึงขัดแย้งกันอยู่ในตัวเพราะหากโจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างไปแล้วจำเลยจะลงโทษโจทก์ได้อย่างไร ดังนี้ การที่จำเลยมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกย้อนไปถึงวันพักงานจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์ในวันที่จำเลยมีคำสั่งนั่นเอง เมื่อความผิดของโจทก์มีเพียงถูกตัดเงินเดือน 10% จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้ และจำเลยต้องจ่ายเงินประเภทต่าง ๆ ระหว่างที่โจทก์ถูกพักงานจนถึงเลิกจ้างด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลือกออกจากงานเมื่ออายุครบ 60 ปี ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย
นายจ้างมีข้อบังคับว่า ถ้าลูกจ้างคนใดมีอายุครบ 60 ปี ในระหว่างปี ลูกจ้างคนนั้นมีสิทธิที่จะเลือกออกจากงานในวันถัดจากวันที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือในวันสิ้นปีงบประมาณที่เกษียณอายุก็ได้ ดังนั้นการที่ลูกจ้างใช้สิทธิเลือกออกจากงานก่อนสิ้นปีงบประมาณเมื่อลูกจ้างอายุครบ 60 ปีแล้ว ซึ่งข้อบังคับของนายจ้างเปิดโอกาสให้ลูกจ้างเลือกทำได้ จึงเป็นการเลิกจ้างหาใช่เป็นลาออกจากงานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง กรณีฝ่าฝืนระเบียบและแสดงกิริยาไม่สุภาพ ไม่ถึงขั้นร้ายแรงเพียงพอต่อการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างเมาสุรา ไม่สวมเสื้อในขณะปฏิบัติงาน อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับนั้น หาเป็นกรณีฝ่าฝืนที่ร้ายแรงไม่ และเมื่อนายจ้างบอกให้ลูกจ้างสวมเสื้อก็พูดว่า "คุณไม่เกี่ยว" นายจ้างสั่งให้ออกไปจากโรงงานก็พูดว่า "กูจะอยู่ที่นี่ได้ไหม" และเมื่อออกไปหน้าโรงงานก็พูดว่า "กูจะเข้าไปไม่ได้หรือ" ถ้อยคำดังกล่าวเป็นเพียงคำไม่สุภาพและก้าวร้าวหาเป็นความผิดทางอาญาฐานดูหมิ่น ซึ่งหน้าอันจะเป็นข้อยกเว้นที่นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่