คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 86

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสหภาพแรงงาน: คณะกรรมการชุดเดิมหมดวาระ ย่อมไม่มีอำนาจดำเนินการแทนสหภาพ
ตามข้อบังคับของสหภาพแรงงานฯ โจทก์มิได้มีข้อกำหนดให้คณะกรรมการสหภาพฯ ทำหน้าที่รักษาการต่อไปภายหลังสิ้นสุดวาระการดำรง ตำแหน่งลง คณะกรรมการสหภาพฯ จึงต้องสิ้นสุดสภาพการเป็นกรรมการนับแต่วันครบวาระการดำรง ตำแหน่งเป็นต้นไป และไม่มีอำนาจลงมติปลดสมาชิกภาพของผู้แทนสมาชิกใด ๆ อีก ประกอบกับข้อบังคับของสหภาพฯ กำหนดว่าการประชุมใหญ่คือการประชุมซึ่งผู้แทนสมาชิกทุกคนตามทะเบียนมีสิทธิเข้าประชุมได้ ฉะนั้นการที่คณะกรรมการซึ่งสิ้นสุดวาระการดำรง ตำแหน่งดังกล่าว ได้ลงมติปลดสมาชิกภาพของผู้แทนสมาชิก 15 คน และจัดประชุมใหญ่ โดยไม่ยอมให้ผู้แทนที่ถูกปลดเหล่านี้เข้าประชุมด้วย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของสหภาพฯ การเลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ในวันดังกล่าวต้องเสียไปไม่มีผลใช้บังคับ และคณะกรรมการสหภาพฯ ชุด ที่ได้รับเลือกในวันดังกล่าวซึ่งมี ส. ได้รับเลือกตั้งด้วยนั้น จึงมิได้มีฐานะเป็นกรรมการสหภาพฯ ดังนี้ การที่คณะกรรมการชุด นี้ได้ลงมติให้ ส. เป็นผู้แทนโจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอำนาจ ไม่มีผลทำให้สหภาพฯ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสมาชิกภาพสหภาพแรงงาน: คุณสมบัติสมาชิกต้องคงอยู่ขณะยื่นฟ้อง หากขาดคุณสมบัติแล้ว ไม่มีอำนาจฟ้อง
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ ศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ เอง ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่า สมาชิกจำเลยจะต้อง มีคุณสมบัติเป็นลูกจ้างประจำของบริษัท เนชั่นแนลไทย จำกัด หรือลูกจ้างประจำของบริษัทซึ่ง ทำกิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องได้ถูก นายจ้าง เลิกจ้างแล้ว ในขณะยื่นฟ้องโจทก์จึงไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นสมาชิกจำเลยได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่ามติของคณะกรรมการจำเลยที่ปลดโจทก์ออกจากสมาชิกจำเลยเป็นโมฆะ อันมีผลทำให้โจทก์กลับเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหยุดพักผ่อนประจำปีต้องจ่ายค่าจ้าง การยินยอมของสหภาพแรงงานต้องเป็นประโยชน์ต่อสมาชิก การไม่คัดค้านไม่ถือเป็นความยินยอม
แม้การกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีจะเป็นสิทธิของนายจ้างที่ จะเป็นผู้กำหนดก็ตาม แต่การหยุดนั้นนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้เท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ดังนั้น การที่นายจ้างประกาศหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างที่ยังไม่มีสิทธิหยุดกับลูกจ้างที่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไปแล้วให้ได้หยุดโดยไม่ได้รับค่าจ้างจึงไม่ชอบ
การที่สหภาพแรงงานยินยอมให้นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีได้โดยนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นประโยชน์แก่สมาชิกสหภาพแรงงานแต่อย่างใด การกระทำของสหภาพจึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้างผู้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานนั้น แม้ลูกจ้างจะไม่คัดค้านประกาศ และการประชุมชี้แจงของนายจ้างก็ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าลูกจ้างยินยอมที่จะไม่รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี แม้สหภาพยินยอม ก็ต้องจ่ายตามกฎหมาย
แม้การกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีจะเป็นสิทธิของนายจ้างที่ จะเป็นผู้กำหนดก็ตาม แต่การหยุดนั้นนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้เท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ดังนั้น การที่นายจ้างประกาศหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างที่ยังไม่มีสิทธิหยุดกับลูกจ้างที่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไปแล้วให้ได้หยุดโดยไม่ได้รับค่าจ้างจึงไม่ชอบ
การที่สหภาพแรงงานยินยอมให้นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีได้ โดยนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นประโยชน์แก่สมาชิกสหภาพแรงงานแต่อย่างใด การกระทำของสหภาพจึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้างผู้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานนั้น แม้ลูกจ้างจะไม่คัดค้านประกาศ และการประชุมชี้แจงของนายจ้างก็ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าลูกจ้างยินยอมที่จะไม่รับค่าจ้าง สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี