พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9823/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไม่มีรูปแบบ, ผิดสัญญา, อายุความ 10 ปี, การชดเชยค่าขนส่ง, สิทธิเรียกร้อง
การเข้าร่วมโครงการของจำเลยทั้งสองเป็นการเข้าทำสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสองในลักษณะสัญญาไม่มีรูปแบบซึ่งเงื่อนไขในสัญญาดังกล่าวกำหนดให้จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ขนส่งมันสำปะหลังไปยังผู้ส่งออกตามที่ได้ขึ้นทะเบียนผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรับอนุญาตปี 2540 เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นเงื่อนไขของสัญญาที่เป็นสาระสำคัญ การที่จำเลยทั้งสองขนส่งมันสำปะหลังไปยังบริษัท อ. ซึ่งมิใช่ผู้ส่งออกตามทะเบียนผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรับอนุญาตปี 2540 กรณีถือว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดสัญญาเพราะการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่นำมันสำปะหลังอัดเม็ดไปส่งให้บริษัทที่มิใช่ผู้ส่งออกตามทะเบียนผู้ส่งออก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรับอนุญาตปี 2540 ทำให้ปริมาณมันสำปะหลังยังคงหมุนเวียนอยู่ในตลาดภายในประเทศทำให้ราคาขายมันสำปะหลังไม่เพิ่มสูงขึ้นตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาลและการที่จำเลยทั้งสองรับเงินชดเชยค่าขนส่งจากโจทก์ทั้งสองทั้งสองครั้งไปโดยไม่ถูกต้องนั้น จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิรับเงินชดเชยค่าขนส่งดังกล่าวจากโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่รับไปจากโจทก์ทั้งสองพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด กรณีการฟ้องเรียกเงินคืนของโจทก์ทั้งสองมิใช่การเรียกคืนในฐานะลาภมิควรได้แต่เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ดังนั้นอายุความในคดีนี้จึงมีระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามสัญญา เมื่อโจทก์ที่ 2 มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 นำเงินดังกล่าวมาคืน และจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวในวันที่ 29 เมษายน 2541 โจทก์ทั้งสองนำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2546 จึงเป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8467/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากการรอนสิทธิที่ดิน: อายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
ความรับผิดของจำเลยเกิดจากที่ดินที่จำเลยขายให้แก่โจทก์ถูกรอนสิทธิ หาใช่เพราะจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ อันจะอ้างอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มาปรับใช้หาได้ไม่ ซึ่งอายุความในเรื่องการรอนสิทธิมีบัญญัติไว้ในมาตรา 481 เฉพาะกรณีที่ผู้ซื้อได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอก หรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง เมื่อที่ดินถูกเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จึงไม่เข้าบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มีกำหนดสิบปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7593/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญากู้ยืมเงินและค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็ม: ศาลฎีกาวินิจฉัยอายุความและขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันและทายาท
สัญญากู้กรุงไทยธนวัฏแม้จะมีข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิหักชำระหนี้จากเงินเดือนที่นายจ้างของจำเลยที่ 1 โอนเข้าบัญชีและเรียกค่าธรรมเนียมบัตรกรุงไทยเอทีเอ็มจากจำเลยที่ 1 เป็นรายปี ก็ไม่มีผลทำให้เงินที่จำเลยที่ 1 เบิกถอนจากบัญชีของจำเลยที่ 1 กลายเป็นเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายได้ ส่วนบัตรกรุงไทยเอทีเอ็มที่โจทก์ออกให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น ก็เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการเบิกถอนเงินหรือรับเงินกู้ของจำเลยที่ 1 จากเครื่องถอนเงินอัตโนมัติของโจทก์หรือของธนาคารอื่นที่มีข้อตกลงกับโจทก์ หากจำเลยที่ 1 มีเงินฝากอยู่ในบัญชีเพียงพอกับจำนวนที่เบิกถอนก็เป็นการเบิกถอนเงินฝาก แต่หากจำเลยที่ 1 มีเงินฝากอยู่ในบัญชีไม่เพียงพอกับจำนวนที่เบิกถอน เงินที่เบิกถอนเกินจากเงินฝากก็เป็นเงินกู้ที่ตกลงไว้กับโจทก์ตามสัญญากู้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยที่ 1 กู้ไปจึงมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อนแต่อย่างใด สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้รับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าวมิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 แต่ในส่วนค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเอทีเอ็มปีละ 100 บาท ถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันพึงได้รับในการนั้น ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากสัญญาจ้างทำไม้: อำนาจฟ้อง, สัญญาไม่เป็นโมฆะ, อายุความ 10 ปี
โจทก์ตั้งสิทธิฟ้องเรียกร้องคดีนี้สืบเนื่องจากการที่จำเลยผิดสัญญาจ้างทำไม้ต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จะต้องถูกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรียกร้องค่าปรับ ค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่า ไม่ใช่เรื่องการรับช่วงสิทธิที่โจทก์ต้องชำระค่าปรับก่อนแล้วจึงจะใช้สิทธิฟ้องบังคับเอาจากจำเลยได้ แม้ปรากฏว่าเคยมีมติคณะรัฐมนตรีไม่ให้หน่วยงานราชการฟ้องร้องกันก็ตาม แต่ก็ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการด้วยกันที่มีต่อกันระงับไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าปรับจากจำเลย
โจทก์ได้รับสัมปทานทำไม้จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แล้วโจทก์ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยทำไม้โดยจำเลยผู้รับจ้างได้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการที่โจทก์ผู้ว่าจ้างขายไม้ที่จำเลยทำได้นั้นให้จำเลยตามราคาที่ตกลงกัน ซึ่งถือเป็นสินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการทำไม้แก่จำเลย สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ไม่ใช่การขาย ให้เช่า มอบให้หรือโอนไปด้วยประการใดๆ ซึ่งสิทธิอันได้มาตามสัมปทานให้แก่จำเลย ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงไม่เป็นโมฆะ
สัญญาจ้างทำไม้ระบุว่า เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบอำนาจจากกรมป่าไม้ได้กำหนดจำนวนเงินเบี้ยปรับการทำผิดของผู้รับจ้างและได้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ว่าจ้างนำเงินเบี้ยปรับไปชำระ ผู้รับจ้างจะต้องนำเงินเบี้ยปรับไปชำระแทนภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง โจทก์ได้รับแจ้งให้นำเงินค่าปรับไปชำระเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2532 โจทก์จึงอาจทวงถามให้จำเลยนำเงินค่าปรับไปชำระได้ในวันนั้น และจำเลยต้องนำเงินค่าปรับไปชำระภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2532 หากจำเลยไม่นำเงินค่าปรับไปชำระภายในกำหนด จึงจะถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญานับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดให้จำเลยต้องชำระซึ่งถือเป็นวันเริ่มนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/13 เมื่อนับแต่วันเริ่มนับอายุความคือวันที่ 11 สิงหาคม 2532 ถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 22 กรกฎาคม 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 193/30
โจทก์ได้รับสัมปทานทำไม้จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แล้วโจทก์ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยทำไม้โดยจำเลยผู้รับจ้างได้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการที่โจทก์ผู้ว่าจ้างขายไม้ที่จำเลยทำได้นั้นให้จำเลยตามราคาที่ตกลงกัน ซึ่งถือเป็นสินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการทำไม้แก่จำเลย สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ไม่ใช่การขาย ให้เช่า มอบให้หรือโอนไปด้วยประการใดๆ ซึ่งสิทธิอันได้มาตามสัมปทานให้แก่จำเลย ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงไม่เป็นโมฆะ
สัญญาจ้างทำไม้ระบุว่า เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบอำนาจจากกรมป่าไม้ได้กำหนดจำนวนเงินเบี้ยปรับการทำผิดของผู้รับจ้างและได้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ว่าจ้างนำเงินเบี้ยปรับไปชำระ ผู้รับจ้างจะต้องนำเงินเบี้ยปรับไปชำระแทนภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง โจทก์ได้รับแจ้งให้นำเงินค่าปรับไปชำระเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2532 โจทก์จึงอาจทวงถามให้จำเลยนำเงินค่าปรับไปชำระได้ในวันนั้น และจำเลยต้องนำเงินค่าปรับไปชำระภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2532 หากจำเลยไม่นำเงินค่าปรับไปชำระภายในกำหนด จึงจะถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญานับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดให้จำเลยต้องชำระซึ่งถือเป็นวันเริ่มนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/13 เมื่อนับแต่วันเริ่มนับอายุความคือวันที่ 11 สิงหาคม 2532 ถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 22 กรกฎาคม 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11069/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 และผลกระทบต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องผ่อนชำระหนี้ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 โจทก์จะขอบังคับคดีได้หลังวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 ไปแล้ว กำหนดเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ย่อมเริ่มนับแต่วันที่โจทก์อาจขอดำเนินการบังคับคดีได้ คือวันที่ 1 สิงหาคม 2537 เป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนดภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 แม้ปรากฏว่า จ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้ไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538 เป็นผลให้แตกต่างไปจากคำพิพากษาตามยอมก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงข้อตกลงนอกศาลของคู่ความในชั้นบังคับคดีไม่อาจส่งผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาและกำหนดเวลาของการบังคับคดีแต่อย่างใด อีกทั้งกำหนดเวลาของการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ไม่ใช่อายุความ ดังนี้การที่โจทก์ไปยึดทรัพย์ของลูกหนี้มาชำระหนี้บางส่วนเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545 จึงไม่ทำให้กำหนดเวลาบังคับคดีสะดุดหยุดลงหรือขยายออกไปได้อีก โจทก์มีสิทธิบังคับคดีสำหรับหนี้ตามคำพิพากษาที่ยังค้างของ จ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาภายในกำหนด 10 ปี คือภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 และเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับเอากับ จ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาอีกต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 จำเลยทั้งสองและ ส. ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 698
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6806/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนของทางทะเล: อายุความ, ความรับผิดของตัวแทน, และอำนาจฟ้องของเจ้าของสินค้า
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันส่งมอบของจึงขาดอายุความ 1 ปี ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 ทั้งหากเป็นกรณีละเมิดคดีโจทก์ก็ขาดอายุความ 1 ปี แล้วเช่นเดียวกันนั้น คดีนี้ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า ตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าให้ผู้รับตราส่งโดยผู้รับตราส่งไม่ได้เวนคืนต้นฉบับใบตราส่ง เป็นการที่ผู้ขนส่งปฏิบัติผิดสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศจึงต้องรับผิด ซึ่งในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ใน พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 และใน ป.พ.พ. ว่าด้วยการรับขน คดีของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ดังนี้ อุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นข้อนี้มิได้โต้แย้งว่าคำวินิจฉัยของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดังกล่าวนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ทั้งคำวินิจฉัยของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ชอบแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ปัญหาว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท ส. ผู้ขนส่งตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่สิงค์โปร์หรือไม่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบโดยจำเลยมิได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นว่า ในการขนส่งสินค้าพิพาทโจทก์จะแจ้งชนิด ประเภท ปริมาณสินค้าให้จำเลยทราบเพื่อจองระวางเรือ จำเลยจะแจ้งชื่อเรือ วันและสถานที่รับสินค้าเพื่อให้โจทก์ส่งมอบสินค้าตามกำหนดโดยจำเลยออกใบตราส่งในนามของบริษัท ส. ผู้รับขนและออกหนังสือรับรองระวางหรือตู้สินค้าให้โจทก์ หลังจากส่งสินค้าแต่ละคราวให้จำเลยแล้ว โจทก์จะนำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเรียกเก็บเงินระหว่างประเทศจากผู้ซื้อผ่านธนาคาร ก. ตามวิธีสากลทั่วไป ซึ่งจำเลยเองนำสืบรับว่า จำเลยเป็นตัวแทนผู้ขนส่งติดต่อประสานงานกับโจทก์ จำเลยลงชื่อในใบตราส่งแทนผู้ขนส่ง จำเลยประกอบกิจการเป็นตัวแทนและนายหน้าให้ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าทางทะเลและเป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทะเล ดังนี้ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยทำสัญญารับขนของทางทะเลคดีนี้กับโจทก์แทนผู้ขนส่ง เมื่อปรากฏว่าผู้ขนส่งสินค้าพิพาทมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลแต่ลำพังตนเอง ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 824 แม้จำเลยจะไม่ใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิด
ปัญหาว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท ส. ผู้ขนส่งตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่สิงค์โปร์หรือไม่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบโดยจำเลยมิได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นว่า ในการขนส่งสินค้าพิพาทโจทก์จะแจ้งชนิด ประเภท ปริมาณสินค้าให้จำเลยทราบเพื่อจองระวางเรือ จำเลยจะแจ้งชื่อเรือ วันและสถานที่รับสินค้าเพื่อให้โจทก์ส่งมอบสินค้าตามกำหนดโดยจำเลยออกใบตราส่งในนามของบริษัท ส. ผู้รับขนและออกหนังสือรับรองระวางหรือตู้สินค้าให้โจทก์ หลังจากส่งสินค้าแต่ละคราวให้จำเลยแล้ว โจทก์จะนำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเรียกเก็บเงินระหว่างประเทศจากผู้ซื้อผ่านธนาคาร ก. ตามวิธีสากลทั่วไป ซึ่งจำเลยเองนำสืบรับว่า จำเลยเป็นตัวแทนผู้ขนส่งติดต่อประสานงานกับโจทก์ จำเลยลงชื่อในใบตราส่งแทนผู้ขนส่ง จำเลยประกอบกิจการเป็นตัวแทนและนายหน้าให้ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าทางทะเลและเป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทะเล ดังนี้ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยทำสัญญารับขนของทางทะเลคดีนี้กับโจทก์แทนผู้ขนส่ง เมื่อปรากฏว่าผู้ขนส่งสินค้าพิพาทมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลแต่ลำพังตนเอง ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 824 แม้จำเลยจะไม่ใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน - การรังวัด - การโต้แย้งสิทธิ - อายุความ - การไกล่เกลี่ย
โจทก์เพียงแต่ไม่ได้ไประวังแนวเขต เป็นเหตุให้ถูกผู้นำรังวัดชี้แนวเขตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินมีโฉนดส่วนของโจทก์ และเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดตามที่ถูกนำชี้และทำรูปแผนที่ในโฉนดรุกล้ำเข้าไปทับรูปแผนที่ในโฉนดของโจทก์เป็นเพียงความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์และโจทก์อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิที่จะต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล ไม่เป็นเหตุถึงขนาดทำให้โจทก์เสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ถูกรุกล้ำหรือไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินและแก้ไขรูปแผนที่ในที่ดินที่ถูกรุกล้ำ
กรมที่ดินจำเลยที่ 2 ออกรูปแผนที่โฉนดของจำเลยที่ 1 รุกล้ำที่ดินโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการแก้รูปแผนที่ในโฉนดให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้
กำหนดระยะเวลา 90 วัน ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 69 ทวิ วรรคห้า เป็นเพียงกำหนดระยะเวลาในกรณีที่คู่กรณีเข้าไปรับการไกล่เกลี่ยจากเจ้าพนักงานที่ดินและหากไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานที่ดินก็ให้นำคดีไปฟ้องต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลา 90 วัน หากไม่ไปยื่นฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาก็ให้ถือว่าผู้ขอรังวัดสอบเขตไม่ประสงค์ที่จะให้มีการรังวัดสอบเขตต่อไป แต่หากไปยื่นฟ้องต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลา ก็ให้เจ้าพนักงานที่ดินรอฟังคำวินิจฉัยของศาลเพื่อดำเนินการต่อไปจึงไม่ใช่กำหนดอายุความในการฟ้องคดี
โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินและให้แก้ไขรูปแผนที่โฉนดที่ดินให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความทั่วไปบังคับคือมีกำหนดระยะเวลา 10 ปี ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
กรมที่ดินจำเลยที่ 2 ออกรูปแผนที่โฉนดของจำเลยที่ 1 รุกล้ำที่ดินโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการแก้รูปแผนที่ในโฉนดให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้
กำหนดระยะเวลา 90 วัน ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 69 ทวิ วรรคห้า เป็นเพียงกำหนดระยะเวลาในกรณีที่คู่กรณีเข้าไปรับการไกล่เกลี่ยจากเจ้าพนักงานที่ดินและหากไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานที่ดินก็ให้นำคดีไปฟ้องต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลา 90 วัน หากไม่ไปยื่นฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาก็ให้ถือว่าผู้ขอรังวัดสอบเขตไม่ประสงค์ที่จะให้มีการรังวัดสอบเขตต่อไป แต่หากไปยื่นฟ้องต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลา ก็ให้เจ้าพนักงานที่ดินรอฟังคำวินิจฉัยของศาลเพื่อดำเนินการต่อไปจึงไม่ใช่กำหนดอายุความในการฟ้องคดี
โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินและให้แก้ไขรูปแผนที่โฉนดที่ดินให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความทั่วไปบังคับคือมีกำหนดระยะเวลา 10 ปี ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารไม่สมบูรณ์ ผู้ขายผิดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืน
แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารระบุให้ผู้จะซื้อคือโจทก์ชำระเงินงวดสุดท้ายในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533 และให้ผู้จะขายคือจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารให้แก่โจทก์ภายใน 30 วัน นับจากวันที่เงื่อนไขตามสัญญาจะซื้อจะขาย ข้อ 3 สำเร็จ แต่เมื่อถึงกำหนดเวลาดังกล่าวไม่ปรากฏว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการให้เงื่อนไขตามสัญญาจะซื้อจะขาย ข้อ 3 สำเร็จลงแต่อย่างใดแสดงว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างไม่ถือเอาเงื่อนเวลาดังกล่าวเป็นข้อสำคัญของการปฏิบัติตามสัญญา แต่ยึดถือหน้าที่และความรับผิดชอบของคู่สัญญาเป็นสำคัญ นั่นคือจำเลยต้องพร้อมที่จะส่งมอบที่ดินพร้อมอาคารในสภาพสมบูรณ์เรียบร้อยให้แก่โจทก์ได้ภายในเวลาอันสมควร และโจทก์ต้องพร้อมที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวและชำระเงินให้แก่จำเลย การที่จำเลยไม่ได้ดำเนินการแก้ไขอาคารให้เรียบร้อยก่อนส่งมอบ ถือได้ว่าการซ่อมแซมแก้ไขดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญของอาคารที่ซื้อขายตามสัญญาที่จำเลยผู้จะขายมีหน้าที่ต้องก่อสร้างและส่งมอบแก่โจทก์ผู้จะซื้อในสภาพเรียบร้อยไม่มีข้อบกพร่อง เมื่อจำเลยไม่แก้ไขให้เรียบร้อยก่อนส่งมอบถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิปฏิเสธไม่ชำระเงินงวดสุดท้ายและไม่รับโอนกรรมสิทธิ์ได้
เมื่อจำเลยยังไม่ได้แก้ไขอาคารให้เรียบร้อยก่อนการส่งมอบและจำเลยยังไม่ได้ก่อสร้างสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกบางประการอีกด้วย ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วสัญญาจึงเป็นอันเลิกกัน โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง และการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่ง ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
เมื่อจำเลยยังไม่ได้แก้ไขอาคารให้เรียบร้อยก่อนการส่งมอบและจำเลยยังไม่ได้ก่อสร้างสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกบางประการอีกด้วย ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วสัญญาจึงเป็นอันเลิกกัน โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง และการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่ง ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ สัญญาบัญชีเดินสะพัด อายุความ และดอกเบี้ย
สัญญาซิตี้แบงก์แชร์เพาเวอร์เอกสารหมาย จ.1 ระบุให้โจทก์เปิด "บัญชีทดรองจ่าย" ให้แก่จำเลย และทดรองจ่าย "เงินทดรอง" แทนจำเลยในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ในสัญญาข้อ 5 ข้อ 9 และข้อ 10 จำเลยตกลงให้สิทธิแก่โจทก์ในการนำเงินค่าขายหลักทรัพย์และดอกผลของหลักทรัพย์ที่จำเลยมีสิทธิได้รับไปหักทอนบัญชีหรือหักกลบลบหนี้เพื่อชำระหนี้ได้ทุกครั้ง ข้อตกลงซึ่งโจทก์จำเลยแสดงต่อกันเช่นนี้จึงต้องด้วยลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ส่วน "บัญชีทดรองจ่าย" และการทดรองจ่าย "เงินทดรอง" ในการซื้อขายหลักทรัพย์ของจำเลยผ่านบริษัทหลักทรัพย์ อ. เป็นเพียงวิธีการตามที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้บรรลุตามเจตนาของจำเลยที่มุ่งประสงค์จะทำธุรกรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น หาเกี่ยวกับข้อตกลงตามสัญญาซึ่งต้องด้วยลักษณะของบัญชีเดินสะพัดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค้ำประกัน, มูลหนี้ต่างกัน, สัญญาจำนองครอบคลุมหนี้ทุกประเภท
หนี้เงินลีร์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทครบกำหนดในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 และบริษัทลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดชำระหนี้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองในฐานะผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2539 ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี เมื่อโจทก์เพิ่งนำคดีเกี่ยวกับหนี้ส่วนนี้มาฟ้องในวันที่ 24 ตุลาคม 2549 ทั้งที่สิทธิเรียกร้องต่อผู้ค้ำประกันในหนี้เงินลีร์เกิดตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2539 เกินกำหนดเวลา 10 ปี สิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกันจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ มาตรา 193/30
มูลหนี้ตามฟ้องคดีนี้เป็นมูลหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งต่างจากมูลหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีประเด็นแห่งคดีในมูลหนี้ทั้งสองย่อมต่างกัน คดีนี้จึงไม่อาจเป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ไม่ว่าดอกเบี้ยจะค้างอยู่นานเท่าใด ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความคิดดอกเบี้ยไว้ โจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้องย้อนหลังไปได้เพียง 5 ปี เท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1)
มูลหนี้ตามฟ้องคดีนี้เป็นมูลหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งต่างจากมูลหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีประเด็นแห่งคดีในมูลหนี้ทั้งสองย่อมต่างกัน คดีนี้จึงไม่อาจเป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ไม่ว่าดอกเบี้ยจะค้างอยู่นานเท่าใด ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความคิดดอกเบี้ยไว้ โจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้องย้อนหลังไปได้เพียง 5 ปี เท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1)