คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/30

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7198/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเช่าและค่าตอบแทนความถี่วิทยุ: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความหากเกิน 2 ปี แต่ค่าเสียหายจากเครื่องหายมีอายุความ 10 ปี
กรมไปรษณีย์โทรเลขโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ แต่การที่โจทก์จัดให้มีบริการเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ โดยผู้เช่าจะต้องเสียค่าเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พร้อมทั้งต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่ รวมทั้งต้องชำระค่าตอบแทนเพิ่มในกรณีไม่ชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่ภายในกำหนด ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ สิทธิเรียกร้องค่าเช่าใช้วิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6)
สิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนการใช้ความถี่วิทยุอันเป็นหนี้ประธานขาดอายุความ ค่าตอบแทนเพิ่มในกรณีไม่ชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่ซึ่งเป็นเบี้ยปรับและเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมขาดอายุความด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26
ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์อันเนื่องมาจากจำเลยไม่ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์คืนแก่โจทก์ อาศัยเหตุมาจากการที่จำเลยไม่ยอมส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ที่เช่าคืนโจทก์เมื่อสัญญาเช่าใช้เลิกกัน ถือว่าเป็นค่าเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการเลิกสัญญา ซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์จะกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 มิใช่เป็นการเรียกค่าเสียหายที่มีลักษณะเช่นเดียวกับการเรียกค่าเช่า เมี่อค่าเสียหายในส่วนนี้กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
จำเลยไม่สามารถส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์คืนโจทก์ผู้ให้เช่าได้เนื่องจากเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์สูญหายไป สัญญาเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ที่สูญหายย่อมเป็นอันระงับไปนับแต่วันที่สูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายในลักษณะเป็นค่าขาดประโยชน์ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7198/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช่าทรัพย์สินและค่าตอบแทนการใช้ความถี่วิทยุตามสัญญาเช่า
แม้โจทก์จะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่การที่โจทก์จัดให้มีบริการเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ โดยผู้เช่าจะต้องเสียค่าเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พร้อมทั้งต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่ภายในกำหนด ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ สิทธิเรียกร้องค่าเช่าใช้วิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6) ส่วนค่าตอบแทนรวมทั้งค่าตอบแทนเพิ่มที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยผู้ใช้ความถี่วิทยุก็มีลักษณะทำนองเดียวกับค่าเช่า เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์และเรียกค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุตามสัญญาเช่าใช้ทั้ง 4 ฉบับ เกินกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์สามารถทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ได้ สิทธิเรียกร้องค่าเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์และค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวจึงขาดอายุความ และเมื่อสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนการใช้ความถี่วิทยุอันเป็นหนี้ประธานขาดอายุความ ค่าตอบแทนเพิ่มซึ่งเป็นเบี้ยปรับและเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมขาดอายุความด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26 สำหรับค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์อันเนื่องมาจากจำเลยไม่ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์คืนแก่โจทก์เมื่อสัญญาเลิกกันนั้น เห็นว่า ค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นการเรียกร้องโดยอาศัยเหตุมาจากการที่จำเลยไม่ยอมส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ที่เช่าคืนโจทก์เมื่อสัญญาเช่าใช้เลิกกัน อันถือเป็นค่าเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการเลิกสัญญา ซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์จะกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 หาใช่เป็นการเรียกค่าเสียหายที่มีลักษณะเช่นเดียวกับการเรียกค่าเช่าตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยมาไม่ ซึ่งค่าเสียหายในส่วนนี้กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อนับตั้งแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจนถึงวันฟ้องยังไม่เกินกำหนด 10 ปี คดีโจทก์ในส่วนนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่, ตัวแทนเรียกเงินทดรองจ่ายจากตัวการ, และอายุความค่าเบี้ยประกันภัย
สัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยอมรับว่าในวันที่ 28 กันยายน 2544 จำเลยที่ 1 มียอดหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและเงินกู้ค้างชำระเป็นยอดหนี้ตามบัญชี 2,719,380 บาท และดอกเบี้ยนอกบัญชี 1,408,325.13 บาท ตกลงให้มีการเปลี่ยนแปลงการชำระหนี้โดยมีเงื่อนไขการผ่อนชำระคืนกับเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนด โดยให้ถือหลักประกันตามสัญญาเดิมเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามสัญญานี้เช่นนี้ แม้สัญญาระบุว่า "โดยมีเงื่อนไขการชำระคืนดังนี้..." ก็ไม่อยู่ในความหมายของการเพิ่มเติมเงื่อนไขเข้าในหนี้อันปราศจากเงื่อนไขที่จะทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 349 เพราะเป็นเพียงการกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ใหม่เท่านั้นกรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันทำให้หนี้เดิมระงับ
จำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ไปทำสัญญาประกันภัยทรัพย์สินที่จำนองแทนเมื่อโจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงมีฐานะเป็นตัวแทนย่อมฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระแทนได้ เป็นกรณีที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ทดรองจ่ายไปจากตัวการซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4539/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญากู้ยืมเงินกรุงไทยธนวัฏ และการพิสูจน์การรับเงิน
ข้อตกลงตามสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏเป็นเรื่องที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่เปิดไว้กับโจทก์และจำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ จำเลยที่ 1 จะถอนเงินกู้จากบัญชีเงินฝากดังกล่าววันใดก็ได้ จำนวนเท่าใดก็ได้ แต่ต้องไม่เกินวงเงินที่โจทก์และจำเลยตกลงกัน โดยจำเลยที่ 1 จะใช้สมุดบัญชีเงินฝากในการถอนเงินหรือใช้บัตรกรุงไทยเอทีเอ็มที่โจทก์ออกให้จำเลยที่ 1 ถอนเงินจากเครื่องถอนเงินอัตโนมัติก็ได้ จำเลยที่ 1 มีเงินเดือนเข้าฝากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดังกล่าวทุกเดือน เมื่อมีเงินเดือนเข้าฝาก โจทก์จะหักกลบกับเงินที่จำเลยที่ 1 ถอนไป หากจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ โจทก์จะคิดดอกเบี้ยภายในวันสิ้นเดือน ข้อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ไม่ใช่กรณีโจทก์ออกเงินทดรองไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1 ภายหลัง แต่เป็นกรณีที่กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3188/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายเช็คเดินทาง เริ่มนับแต่มีสิทธิเรียกร้อง ไม่ใช่วันที่เช็คหมดอายุ
เช็คเดินทางตามฟ้องโจทก์สามารถนำไปใช้จ่ายได้ หากไม่นำไปใช้ก็สามารถนำไปแลกคืนจากจำเลยได้ทันที ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับแต่โจทก์ซื้อเช็คเดินทางดังกล่าว อายุความจึงเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ความรับผิดตามสัญญาซื้อขายเช็คเดินทางดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีเกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีรับขน กรณีสัญญารับขนมีอายุความเฉพาะ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการรับขนจัดส่งพัสดุภัณฑ์ระหว่างประเทศแก่บุคคลทั่วไปเพื่อบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติ จำเลยได้ขนสินค้าผ่านทางจำเลยร่วมที่ 1 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ และตามเงื่อนไขจำเลยมีหน้าที่และรับผิดชอบมอบสินค้ายังสถานที่ปลายทาง แต่ปรากฏว่าสินค้าได้สูญหายไปทั้งหมด ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับสินค้า ถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตนดังกล่าว และให้จำเลยรับผิดในการที่ของสูญหาย จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญารับขน ต้องนำอายุความลักษณะรับขนตามมาตรา 624 มาใช้บังคับ มิใช่นำอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องชำระหนี้ค่าไฟฟ้า, สัญญาใช้ไฟฟ้า, การคำนวณค่าไฟฟ้าเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าไฟฟ้า เพราะเหตุเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเสียหายหรือแสดงหน่วยน้อยกว่าความเป็นจริง จึงเป็นการฟ้องให้ชำระหนี้ให้ถูกต้องหาใช่ฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานลาภมิควรได้ เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นกิจการสาธารณูปโภค โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าที่จะต้องฟ้องคดีภายใน 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่เป็นการฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าส่วนที่ขาดเพราะเหตุเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าบกพร่องซึ่งมิได้มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีจึงไม่อยู่ภายใต้กำหนดอายุความฐานลาภมิควรได้
การที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเสียหายหรือแสดงหน่วยน้อยกว่าความเป็นจริงเนื่องจากมีการตัดสายควบคุมกระแสไฟฟ้าเส้นสีเขียวที่คอสายในกล่องหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า แต่ไม่ได้ความว่าเป็นการกระทำของผู้ใด ทำให้การชำระค่าไฟฟ้าของจำเลยไม่ถูกต้อง เมื่อจำเลยเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าและได้ประโยชน์ในการชำระหนี้ค่าไฟฟ้าตั้งแต่เริ่มแรกใช้ไฟฟ้าตลอดมา แม้โจทก์จะมิได้ตรวจสอบเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าในเวลาอันสมควรก็ตาม แต่จำเลยได้ให้สัญญาในแบบขอใช้ไฟฟ้าว่า จำเลยยินยอมชำระเงินค่าไฟฟ้า ค่าเสียหาย เบี้ยปรับตามที่การไฟฟ้านครหลวงเรียกเก็บในกรณีที่มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเสียหายหรือแสดงหน่วยน้อยกว่าความเป็นจริงตามแบบขอใช้ไฟฟ้า จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าไฟฟ้าให้ถูกต้องตามข้อสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีรับประกันคุณภาพสินค้า: สัญญาพิเศษมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ซื้อสีจากจำเลยโดยจำเลยรับรองคุณภาพของสีไว้เป็นพิเศษเป็นเวลา 1 ปี จึงมิใช่การซื้อขายธรรมดา ทั้งตามคำฟ้องโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในค่าเสียหายที่เป็นค่าสีเสื่อมคุณภาพและค่าส่วนต่างที่โจทก์ต้องซื้อสีมาใช้ทดแทนสีที่เสื่อมคุณภาพตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญาซื้อขาย มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินซึ่งจะทำให้คดีโจทก์มีอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 474 แต่เป็นกรณีโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามข้อตกลงพิเศษแห่งสัญญาดังกล่าวข้างต้นซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าเสียหายจากสินค้าชำรุดที่มีการรับประกันพิเศษ: ไม่ผูกติดกับอายุความทั่วไป
การซื้อขายสีมีการรับรองคุณภาพของสีไว้เป็นพิเศษ โดยมีอายุการประกัน 1 ปี อันถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงในการซื้อขาย เมื่อการซื้อขายดังกล่าวมีการรับรองคุณภาพสินค้าไว้เป็นพิเศษจึงมิใช่การซื้อขายธรรมดา ทั้งโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในค่าเสียหายที่เป็นค่าสีเสื่อมคุณภาพและค่าส่วนต่างที่โจทก์ต้องซื้อสีมาใช้ทดแทนสีที่เสื่อมคุณภาพตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญาซื้อขาย มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินธรรมดาซึ่งจะทำให้คดีโจทก์มีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 อีกทั้งไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากจำเลยผู้เป็นลูกหนี้รับสภาพความรับผิดแต่ประการใดแต่เป็นกรณีโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามข้อตกลงพิเศษแห่งสัญญาดังกล่าวข้างต้น ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญากู้ยืมเงิน vs. ตั๋วสัญญาใช้เงิน: การฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากบริษัท ง. โดยวิธีออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 1,000,000 บาท จำเลยที่ 1 ได้รับเงินที่กู้ยืมไปครบถ้วนแล้ว มีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และจำเลยที่ 2 ได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นการประกันการชำระหนี้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ค้ำประกันและจำนอง การที่โจทก์อ้างถึงตั๋วสัญญาใช้เงินก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินและชำระหนี้เงินกู้ยืม กรณีจึงหาใช่ฟ้องบังคับตามตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ ซึ่งการกู้ยืมเงินไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อจำเลยที่ 1 ทำคำขอกู้เงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2540 โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2543 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานยังไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
of 211