พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8172/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญากู้เงิน – การเริ่มต้นนับอายุความ – เหตุสะดุดอายุความ – การพิสูจน์หลักฐาน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินรวม 4 ฉบับ จำเลยให้การต่อสู้ว่า สัญญากู้ตามฟ้องไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันทำสัญญากู้แต่ละฉบับ โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ซึ่งภาระการพิสูจน์ในประเด็นข้อนี้ตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีสิทธินำสืบถึงเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
สัญญากู้เงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นระยะเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดอายุความการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
สัญญากู้เงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นระยะเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดอายุความการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7518/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากความเสียหายของพัสดุ: มูลละเมิด 1 ปี vs. การไม่คืนทรัพย์ 10 ปี
คำฟ้องของโจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสามเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ ปฏิบัติหน้าที่โดยบกพร่อง มิได้ใช้ความระมัดระวังในการเก็บรักษาพัสดุ ไม่ตรวจสอบพัสดุที่เก็บไว้ว่ามีจำนวนตรงกับที่ปรากฏในบัญชีคุมพัสดุหรือไม่ เป็นเหตุให้พัสดุที่เก็บรักษาไว้ในห้องเก็บพัสดุสูญหาย มิได้อ้างว่าจำเลยทั้งสามเอาทรัพย์ดังกล่าวไปในลักษณะแย่งการครอบครองแล้วไม่สามารถคืนทรัพย์ได้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องของการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง มิใช่มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7431/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินสงเคราะห์การทำสวนยาง การผิดสัญญาไม่ใช่ละเมิด
การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินที่ได้รับการสงเคราะห์การทำสวนยางจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางโจทก์ให้แก่ ว. โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากโจทก์เป็นการผิดคำรับรองข้อ 6 ถือว่าเป็นการทำผิดสัญญาต่อโจทก์ ไม่เป็นการทำละเมิด จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินสงเคราะห์และบรรดาวัสดุสงเคราะห์ที่ได้รับไปแล้ว โดยคิดเป็นตัวเงินตามราคาที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ไปให้แก่โจทก์ทั้งหมดตามคำรับรองข้อ 10 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
ฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์ฟ้องเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากผู้ที่ไม่มีอำนาจยึดถือครอบครอง สามารถเรียกคืนได้ตลอดเวลาไม่มีกำหนดอายุความ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์ฟ้องเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากผู้ที่ไม่มีอำนาจยึดถือครอบครอง สามารถเรียกคืนได้ตลอดเวลาไม่มีกำหนดอายุความ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6830/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการกู้ยืมเงิน เริ่มนับจากวันผิดสัญญาชำระดอกเบี้ย ไม่ใช่เมื่อครบกำหนดสัญญา
การกู้ยืมเงินกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และตามมาตรา 193/12 บัญญัติว่า "อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป" จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2539 ตามหนังสือสัญญากู้เงิน ข้อ 4 กำหนดให้จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทุกเดือน ซึ่งจะครบกำหนดชำระดอกเบี้ยเดือนแรกในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 การที่จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์จึงเป็นการผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยได้ทันทีตามสัญญาข้อ 6 โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้ ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2539 เป็นต้นไป โดยไม่จำต้องรอจนครบกำหนดชำระเงินคืนตามสัญญา อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งจะครบกำหนดอายุความ 10 ปี ในวันที่ 10 มิถุนายน 2549 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2550 เกินกว่า 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6474/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำฟ้องต้องดูเนื้อหาทั้งหมด ไม่ใช่แค่บางส่วน แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความ ยังต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืม
การพิจารณาถึงคำฟ้องของโจทก์ว่าประสงค์จะให้จำเลยชำระหนี้ตามมูลหนี้อะไรจะต้องพิจารณาถึงเนื้อหาของคำฟ้องทั้งหมดประกอบกับเอกสารท้ายฟ้องเป็นสำคัญ มิใช่พิจารณาแต่ถ้อยคำหรือข้อความเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดของคำฟ้องซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและตามตั๋วสัญญาใช้เงินในเวลาเดียวกัน เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธเกี่ยวกับมูลหนี้การกู้ยืมเงิน ดังนั้น แม้จะรับฟังได้ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองว่าสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความ จำเลยทั้งสองก็ยังคงต้องรับผิดตามมูลหนี้กู้ยืมเงินต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6159/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดสัญญาเช่าจากเหตุไฟไหม้: ผู้เช่าต้องรับผิดหากประมาทเลินเล่อในการดูแลทรัพย์สิน
โรงงานซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จำเลยเช่าถูกเพลิงไหม้ได้รับความเสียหายทั้งหลัง สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 567 เมื่อจำเลยไม่สามารถส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าได้ โจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องฟ้องจำเลยภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามมาตรา 563
คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโจทก์ได้แต่งตั้งขึ้นได้ทำรายงานผลการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งแจ้งแก่ผู้ว่าการของโจทก์ระบุว่าไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้และจะต้องรับผิดในทางแพ่ง แต่เห็นว่าจำเลยผู้เช่าเป็นผู้ผิดสัญญาโดยทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เช่า จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหาย ทั้งโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่า จำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าจะต้องส่งมอบโรงงานมาตรฐานที่เช่าจากโจทก์คืนในสภาพเรียบร้อย เมื่อคืนไม่ได้แล้วต้องชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี
คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโจทก์ได้แต่งตั้งขึ้นได้ทำรายงานผลการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งแจ้งแก่ผู้ว่าการของโจทก์ระบุว่าไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้และจะต้องรับผิดในทางแพ่ง แต่เห็นว่าจำเลยผู้เช่าเป็นผู้ผิดสัญญาโดยทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เช่า จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหาย ทั้งโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่า จำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าจะต้องส่งมอบโรงงานมาตรฐานที่เช่าจากโจทก์คืนในสภาพเรียบร้อย เมื่อคืนไม่ได้แล้วต้องชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6159/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากไฟไหม้โรงงานเช่า: สัญญาเช่าสิ้นสุดเมื่อทรัพย์สินเสียหายสิ้นเชิง ใช้ อายุความทั่วไป 10 ปี
เมื่อทรัพย์ที่เช่าคือโรงงานมาตรฐานทั้งสองหลังของโจทก์ได้รับความเสียหายทั้งหลัง สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 เมื่อทรัพย์ที่เช่าสูญหายหรือเสียหายไปโดยสิ้นเชิง จึงไม่สามารถที่จะส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าได้ ดังนั้น คดีโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องฟ้องจำเลยภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยว่า กระทำละเมิดเป็นเหตุให้โรงงานมาตรฐานทั้งสองหลังของโจทก์ได้รับความเสียหายถูกเพลิงไหม้ ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อปรากฏว่า คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งที่โจทก์ได้แต่งตั้งขึ้นได้ทำรายงานผลการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งแจ้งแก่ผู้ว่าการของโจทก์ระบุว่า ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดเกี่ยวข้องในทางที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้และจะต้องรับผิดในทางแพ่ง แต่เห็นว่าจำเลยผู้เช่าเป็นผู้ผิดสัญญาโดยทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เช่า จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่าจำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าจะต้องส่งมอบโรงงานมาตรฐานที่เช่าจากโจทก์คืนในสภาพเรียบร้อยเมื่อคืนไม่ได้แล้วต้องชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี
เหตุเกิดเพลิงไหม้โรงงานมาตรฐานของโจทก์ เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ การที่จำเลยไม่ดูแลให้ดีทำให้เกิดไฟไหม้ขึ้น จำเลยจึงต้องรับผิด เว้นแต่ว่าจำเลยจะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย เมื่อมิใช่เหตุสุดวิสัยและมิได้เกิดเพราะความผิดของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย จำเลยจึงปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
เหตุเกิดเพลิงไหม้โรงงานมาตรฐานของโจทก์ เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ การที่จำเลยไม่ดูแลให้ดีทำให้เกิดไฟไหม้ขึ้น จำเลยจึงต้องรับผิด เว้นแต่ว่าจำเลยจะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย เมื่อมิใช่เหตุสุดวิสัยและมิได้เกิดเพราะความผิดของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย จำเลยจึงปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5149/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีจ้างทำของ: พิจารณาจากสัญญาเกิดที่ไหน และเรียกค่าเสียหายหรือค่าจ้าง
แม้จำเลยจะสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์โดยใช้ใบสั่งซื้อ แต่โจทก์ก็ต้องใช้แม่พิมพ์ของจำเลยในการผลิตสินค้า หาใช่โจทก์ผลิตสินค้าเพื่อขายให้จำเลยโดยตรงไม่ จึงเป็นการจ้างทำของไม่ใช่ซื้อขาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่โจทก์ผลิตแล้วส่วนหนึ่ง กับค่าเสียหายในส่วนสินค้าที่ยังไม่ได้ผลิตอีกส่วนหนึ่ง แต่สินค้าในส่วนแรกจำเลยยังไม่ได้รับมอบไปจากโจทก์ จำเลยจึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระสินจ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 ในส่วนนี้จึงถือเป็นการเรียกค่าเสียหายเท่ากับราคาสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเรียกค่าเสียหายซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้จำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร แต่จำเลยทำใบสั่งซื้ออันเป็นคำเสนอให้โจทก์ผลิตสินค้าไปยังภูมิลำเนาของโจทก์ที่จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อโจทก์ผลิตสินค้าตามคำเสนอเท่ากับโจทก์สนองรับโดยปริยาย สัญญาจ้างทำของจึงเกิดขึ้น ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ดังกล่าวอันเป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ ถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดสมุทรปราการ
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่โจทก์ผลิตแล้วส่วนหนึ่ง กับค่าเสียหายในส่วนสินค้าที่ยังไม่ได้ผลิตอีกส่วนหนึ่ง แต่สินค้าในส่วนแรกจำเลยยังไม่ได้รับมอบไปจากโจทก์ จำเลยจึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระสินจ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 ในส่วนนี้จึงถือเป็นการเรียกค่าเสียหายเท่ากับราคาสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเรียกค่าเสียหายซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้จำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร แต่จำเลยทำใบสั่งซื้ออันเป็นคำเสนอให้โจทก์ผลิตสินค้าไปยังภูมิลำเนาของโจทก์ที่จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อโจทก์ผลิตสินค้าตามคำเสนอเท่ากับโจทก์สนองรับโดยปริยาย สัญญาจ้างทำของจึงเกิดขึ้น ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ดังกล่าวอันเป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ ถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดสมุทรปราการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์ดัดแปลง ผู้ขายมีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตเพื่อให้ผู้ซื้อจดทะเบียนได้
จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพที่เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน และมีที่นั่ง 7 ที่นั่ง ซึ่งเป็นรถยนต์ดัดแปลงอันจะต้องเสียภาษีสรรสามิตด้วย โดยจำเลยเป็นผู้ดำเนินการดัดแปลง จึงมีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าจากการดัดแปลงตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 144 เบญจ และต้องชำระภาษีดังกล่าวเมื่อการดัดแปลงสิ้นสุดลงตามมาตรา 144 จัตวา แม้หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์ระบุให้เป็นสิทธิของผู้ซื้อที่จะดำเนินการใด ๆ ในการยื่นคำร้องขอโอนทะเบียนและเปลี่ยนแปลงชื่อในใบคู่มือจดทะเบียนของทางราชการเอง ก็มิได้มีข้อตกลงว่าโจทก์จะเป็นผู้ชำระภาษีสรรพสามิตเอง โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระภาษีดังกล่าว แต่เป็นหน้าที่ของจำเลย ทั้งนี้เพื่อให้โจทก์สามารถจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถเป็นชื่อโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยดำเนินการโอนทะเบียนรถยนต์มาเป็นชื่อโจทก์ เพื่อให้โจทก์สามารถใช้รถยนต์ได้ตามวัตถุประสงค์ของการทำสัญญาซื้อขาย มิใช่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายเพราะความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 แต่ต้องอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามมาตรา 193/30 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยดำเนินการโอนทะเบียนรถยนต์มาเป็นชื่อโจทก์ เพื่อให้โจทก์สามารถใช้รถยนต์ได้ตามวัตถุประสงค์ของการทำสัญญาซื้อขาย มิใช่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายเพราะความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 แต่ต้องอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามมาตรา 193/30 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี