คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/30

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6784/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับโอนบัตรภาษีจากทุจริตในการขอรับเงินชดเชยฯ และอายุความของสิทธิเรียกร้อง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 ความตกลงทำใว้ล่วงหน้าที่จะตกเป็นโมฆะจะต้องมีข้อความยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดต่อโจทก์กรณีเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดๆ จึงมิใช่สัญญาที่ยกเว้นให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นโมฆะ และเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษี เนื่องจากกระทำการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนบัตรภาษีจึงต้องรับผิดตามที่ให้สัญญาแก่โจทก์ไม่จำต้องนำบทบัญญัติ มาตรา 412 ถึง 418 แห่ง ป.พ.พ.ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม เพราะกรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดตามสัญญาที่ให้ไว้แก่โจทก์โดยเฉพาะอันเป็นนิติกรรมแล้ว
ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาในคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีนั้นไม่ปรากฏว่า ป.พ.พ. กับ พ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรฯ ได้มีบัญญัติอายุความกรณีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่นนี้ไว้โดยเฉพาะ กรณีจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5994/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิมอายุความ 10 ปี
การที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างให้ชำระหนี้ที่เกิดจากการที่จำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเบิกสินค้าของโจทก์ไปแล้วไม่ส่งคืนแล้วทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงาน มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ เพียงแต่อ้างว่าจำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐานประกอบว่าจำเลยได้กระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานไว้ด้วยเท่านั้น หนี้ดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4644/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: ไม่ใช่ค่าเช่า, ใช้ อายุความ 10 ปี
สัญญาเช่าซื้อกำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดและเมื่อผู้ให้เช่าซื้อเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้ว ถ้าขายได้ราคาไม่พอชำระค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อยังคงต้องชำระตามสัญญารวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดหักด้วยค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระแล้ว ผู้เช่าซื้อตกลงจะชดใช้เงินจำนวนที่ขาดนั้นให้แก่เจ้าของ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อ การฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวมิใช่เป็นการเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ และไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า จึงไม่ตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6) ทั้งไม่ใช่เป็นคดีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าที่อยู่ในอายุความ 6 เดือน เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4644/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: พิจารณาจากลักษณะข้อตกลงและค่าเสียหายที่แท้จริง
สัญญาเช่าซื้อได้กำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดและเมื่อผู้ให้เช่าซื้อเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้ว ถ้าขายได้ราคาไม่พอชำระค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อยังคงต้องชำระตามสัญญา รวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดหักด้วยค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระแล้ว ผู้เช่าซื้อตกลงจะชดใช้เงินจำนวนที่ขาดนั้นให้แก่เจ้าของ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อในลักษณะเป็นค่าขาดราคารถยนต์หาใช่เป็นการเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระแล้วมาหักจากค่าเช่าซื้อทั้งหมดตามสัญญา และไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า จึงไม่ตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6) ทั้งไม่ใช่เป็นคดีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าที่อยู่ในอายุความ 6 เดือน การฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4206/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากตัวแทน กรณีไม่ได้ฟ้องในฐานะผู้ขนส่งตามกฎหมายรับขนของทางทะเล
บทบัญญัติมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ที่ว่า สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ นั้นเป็นเรื่องที่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้ส่งของหรือผู้รับตราส่งฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ส่งของว่าจ้างจำเลยดำเนินการจัดส่งสินค้าของโจทก์ไปให้ลูกค้าของโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งที่ต่างประเทศ โดยโจทก์ฟ้องอ้างเหตุว่าจำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์ ให้จำเลยรับผิดเพราะจัดส่งเอกสารการขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้าของโจทก์ที่ปลายทางตามข้อตกลงล่าช้า ทำให้ลูกค้าของโจทก์ไม่ยอมรับสินค้า เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หาได้ฟ้องอ้างว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่งทางทะเล และให้จำเลยรับผิดเพราะเหตุการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งสินค้าที่รับขนเกิดขึ้นในระหว่างสินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยในฐานะจำเลยเป็นผู้ขนส่งทางทะเลตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น จึงจะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามมาตรา 46 ดังกล่าวมาใช้บังคับมิได้ เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ ก็ต้องนำบทบัญญัติเรื่องความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการเพราะไม่ทำการเป็นตัวแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 812 และบทบัญญัติเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ. มาใช้บังคับ แต่เมื่อ ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2 ว่าด้วยอายุความมิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องถือว่ากรณีนี้มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4206/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีตัวแทนจัดส่งสินค้าล่าช้า: ใช้กฎหมายแพ่ง 10 ปี หาก พ.ร.บ.รับขนทางทะเล ไม่ได้บัญญัติ
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้รับตราส่งหรือผู้ส่งของฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในค่าเสียหายเพื่อความสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น
โจทก์ฟ้องว่าจ้างจำเลยดำเนินการจัดส่งสินค้าของโจทก์ไปให้ลูกค้าของโจทก์ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยจำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์ ให้จำเลยรับผิดเพราะจัดส่งเอกสารไปให้แก่ลูกค้าที่ปลายทางตามข้อตกลงล่าช้า ทำให้ลูกค้าไม่ยอมรับสินค้าเท่านั้น โจทก์ไม่ได้อ้างว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่งของทางทะเลและให้จำเลยรับผิดเพราะเหตุการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งสินค้าที่รับขนเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยตามมาตรา 39 ของ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ที่จะนำบทบัญญัติมาตรา 46 มาใช้บังคับได้ แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติเรื่องความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการตาม ป.พ.พ. มาใช้บังคับ แต่ ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2 ว่าด้วยอายุความก็มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้โดยเฉพาะอีกเช่นกัน จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์ทราบในวันที่ 8 ธันวาคม 2544 ว่าจำเลยกระทำผิดข้อตกลงทำให้ลูกค้าไม่สามารถรับสินค้าได้ทันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย จึงถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ และนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3807/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าขาดประโยชน์เช่าซื้อรถ และสิทธิริบเงินดาวน์เมื่อผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่เช่าซื้อหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติอายุความในกรณีนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันวันที่ 30 พฤษภาคม 2541 โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 10 กันยายน 2544 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อายุความ 6 เดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 นั้น เป็นเรื่องเช่าทรัพย์ จะเอามาใช้กับสิทธิเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่เช่าซื้อไม่ได้
ผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีสิทธิริบเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์ไว้แล้วรวมทั้งเงินดาวน์ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่, การไล่เบี้ย, อายุความ, ผลผูกพันคำพิพากษา, การกระทำตามหน้าที่
ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์กับโจทก์ร่วมกันคืนเป็ดแก่ ป. หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน โจทก์ได้นำเงินไปวางศาลชำระหนี้แก่ ป. ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 ซึ่ง ป. ได้รับเงินแล้วโจทก์จึงฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งสองก่อนที่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ใช้บังคับเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 อายุความที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสอง จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ. ดังกล่าว แต่อยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. ซึ่งการฟ้องของโจทก์ ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
ศาลฎีกาวินิจฉัยในคดีก่อนว่า จำเลยทั้งสองยึดเป็ดของ ป. ไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการกระทำละเมิดต่อ ป. แม้โจทก์กับจำเลยทั้งสองจะเป็นจำเลยด้วยกันในคดีก่อนก็ตาม ก็ต้องถือว่า โจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีก่อนด้วย คำพิพากษาของศาลฎีกาจึงมีผลผูกพันโจทก์กับจำเลยทั้งสองด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองไม่อาจกล่าวอ้างข้อเท็จจริงโต้แย้งให้ฟังเป็นอื่นได้อีก
จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อ ป. เป็นการกระทำตามหน้าที่ของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ที่เป็นนิติบุคคล โจทก์ได้นำเงินไปวางศาลเพื่อใช้ราคาเป็ดแก่ ป. ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องตั๋วสัญญาใช้เงิน: ผู้รับอาวัลต้องฟ้องผู้ออกภายใน 3 ปี ตามมาตรา 1001 พ.ร.บ.แพ่งและพาณิชย์
ป.พ.พ. มาตรา 1001 บัญญัติให้ฟ้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินภายในกำหนดเวลาสามปี นับแต่วันที่ตั๋วถึงกำหนด โดยไม่ได้บัญญัติว่าผู้ใดเป็นผู้ฟ้องดังเช่นมาตรา 1002 ที่บัญญัติให้ผู้ทรงตั๋วเงินฟ้องผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่าย ดังนั้นการที่โจทก์ในฐานะผู้รับอาวัลจะฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน โจทก์จึงต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความตาม มาตรา 1001 มิใช่ภายในอายุความสิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความ, สัญญาทรัสต์รีซีท, อัตราดอกเบี้ย, ข้อพิพาททางการค้า
ลายมือชื่อผู้แทนจำเลยที่ 2 ในช่องผู้ค้ำประกันคือลายมือชื่ออันแท้จริงของจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 2 ตามหนังสือรับรองของนายทะเบียน จึงเชื่อได้ว่าผู้ที่ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 2 ลงในช่องผู้ค้ำประกันในสัญญาค้ำประกันคือ จำเลยที่ 6 มีผลเท่ากับจำเลยที่ 2 เป็นผู้ประทับตราสำคัญดังกล่าวเอง ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าตราสำคัญที่นำมาประทับดังกล่าวมิใช่ตราสำคัญที่จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนไว้ ถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 5 จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวมาเป็นข้อต่อสู้เพื่อปัดความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้
การที่จำเลยที่ 1 ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ และให้โจทก์ให้สินเชื่อแก่จำเลยที่ 1 โดยชำระค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ไปก่อนนั้น เป็นการให้บริการสินเชื่อประเภทหนึ่งของธนาคารพาณิชย์เท่านั้น หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์เข้าเป็นผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นผู้ดูแลกิจการของจำเลยที่ 1 หรือรับทำการงานต่าง ๆ แทนจำเลยที่ 1 ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) ไม่ จึงไม่อาจนำเอาอายุความ 2 ปี ตามบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับในคดีได้ และการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต จึงได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อขอรับเอกสารสิทธิจากโจทก์ไปรับสินค้าก่อน แล้วจะชำระเงินแก่โจทก์ในภายหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 รับสินค้าไปแล้วไม่ชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทอันเป็นสัญญาซึ่งต่อเนื่องกับสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต สำหรับหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความโดยเฉพาะ ย่อมมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
สัญญาทรัสต์รีซีทในข้อ 4 ได้ระบุไว้ว่า จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายสัญญาในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดนับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่าสัญญาทรัสต์รีซีทมิได้กำหนดจำนวนดอกเบี้ยไว้แน่นอนตายตัว ดอกเบี้ยในข้อ 4 นี้ ย่อมหมายถึงดอกเบี้ยลอยตัวในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าที่มิได้ผิดนัดชำระหนี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญาต่อโจทก์ แต่ตามสัญญาทรัสต์รีซีทดังกล่าวในข้อ 7 กลับระบุว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ค้างชำระในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4 นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ตามข้อสัญญาดังกล่าวย่อมหมายความว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์จะคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดจากจำเลยที่ 1 ได้นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเสร็จสิ้นโดยต้องย้อนไปใช้อัตราตามที่ระบุในข้อ 4 ของสัญญา คืออัตราดอกเบี้ยและส่วนลดสูงสุดที่ใช้กับลูกค้าที่ยังไม่ผิดนัดผิดสัญญาเท่านั้น
of 211