คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/30

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7546/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา, ดอกเบี้ยผิดนัด, อายุความ 10 ปี, สิทธิเรียกร้องหนี้เบี้ยปรับ
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาระบุเพียงว่า หากผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดนัดยินยอมใช้เงิน 400,000 บาท โดยมิได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยไว้ด้วย แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาและจะต้องชำระเบี้ยปรับจำนวนดังกล่าวซึ่งเป็นหนี้เงินจึงอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับจำนวน 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในระหว่างผิดนัด เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามให้ชำระเงินในวันที่ 12 เมษายน 2542 จำเลยที่ 1 ไม่ชำระ จึงถือว่าผิดนัดต้องรับผิดดอกเบี้ยผิดนัดตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2542 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7546/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: การคิดดอกเบี้ยและอายุความ
แม้สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาระบุเพียงว่า หากผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดนัดยินยอมชดใช้เงิน 400,000 บาท โดยมิได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยไว้ด้วย แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาและจะต้องชำระเบี้ยปรับจำนวน 400,000 บาท หนี้เบี้ยปรับดังกล่าวเป็นหนี้เงินจึงต้องอยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 224 ซึ่งให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่หนี้เงินเบี้ยปรับนี้ จะถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดต้องรับผิด เมื่อโจทก์ได้ทวงถามแล้ว จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระเงินเบี้ยปรับ ซึ่งครบกำหนดเวลาชำระเงินตามหนังสือทวงถามในวันที่ 12 เมษายน 2542 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินเบี้ยปรับในวันดังกล่าว จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดต้องรับผิดดอกเบี้ยผิดนัดตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2542 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหากับโจทก์ แล้วไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด กรณีจึงเป็นเรื่องผิดสัญญา และกรณีนี้กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจ หากกิจการยังไม่ขาดทุน การเลิกจ้างเพราะกำไรลดลงถือว่าไม่สมควร
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ คดีนี้กิจการของจำเลยยังมีกำไรอยู่ เพียงแต่กำไรลดลงในปีที่ล่วงมาจำนวนมาก ยังไม่ได้ความว่าจำเลยขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่กำไรของจำเลยลดลง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุอันควร จึงถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมมิใช่เป็นการที่ลูกจ้างเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจ และอายุความของคดี
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่ง
การเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือเหตุสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ ดังนั้นเมื่อกิจการของจำเลยยังมีกำไรอยู่ เพียงแต่กำไรลดลงในปีที่ล่วงมาจำนวนมาก ยังไม่ได้ความว่าจำเลยขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุกำไรของจำเลยลดลง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุสมควร จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มิใช่ลูกจ้างเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำนวน 193,650 บาท แก่โจทก์โดยคำนวณตามระยะเวลาทำงานของโจทก์ แต่ไม่พิจารณาเรื่องค่าเสียหายที่จำเลยผิดสัญญาจ้างนั้นชอบหรือไม่ เป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง ถือเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจอย่างสมควร หากกำไรลดลงแต่ยังไม่ขาดทุน การเลิกจ้างถือว่าไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือเหตุสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ ปรากฏผลการดำเนินงานของจำเลยในปี 2543 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 26.8 ปี 2544 ถึง 2546 ผลการดำเนินงานเป็นกำไรอยู่ เพียงแต่ในปี 2546 กำไรลดลงมาก ยังไม่ได้ความว่าจำเลยขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่กำไรของจำเลยลดลง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควรจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มิใช่เป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6786/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง: สิทธิที่เกิดหลังสัญญาจ้างสิ้นสุดมีอายุความ 10 ปี
คำว่า "ค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่น" ที่ลูกจ้างใช้สิทธิเรียกร้องเอาจากนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) หมายถึงสินจ้างตามมาตรา 575 ซึ่งเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นตามสัญญาจ้าง แต่สิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่ลูกจ้างเรียกร้องเอาจากนายจ้าง อันเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการเลิกจ้างภายหลังสัญญาจ้างสิ้นสุดแล้ว ไม่ใช่สิทธิตามสัญญาจ้าง ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/34 (9) จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5178-5179/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดของบริษัทฟื้นฟูกิจการ, อายุความ, และดอกเบี้ยค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีผลประกอบการที่ดีและมีกำไรมาโดยตลอด แต่ต่อมาเมื่อกลางปี 2540 โจทก์เกิดขาดสภาพคล่องกะทันหันจนถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2541 และแต่งตั้งบริษัท พ. เป็นผู้ทำแผน เมื่อมีการตรวจสอบรายการทางการเงินของโจทก์พบว่า การรายงานสินทรัพย์สุทธิและกำไรสุทธิมีความคลาดเคลื่อน และระหว่างเดือนธันวาคม 2537 ถึงกรกฎาคม 2540 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นผู้บริหารงานของโจทก์ได้ร่วมกันชำระเงิน 3,950,000,000 บาทให้แก่บุคคลหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องโดยไม่ชอบ โดยโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยแต่ละคนโดยละเอียดถึงวันที่มีการเบิกถอนเงิน จ่ายเงิน และโอนเงินจำนวนเท่าใดจากธนาคารอะไร ให้ใคร ที่บัญชีเลขที่เท่าใด พร้อมรายละเอียดแห่งความเสียหายที่จำเลยแต่ละคนได้ก่อให้แก่โจทก์ตามเอกสารที่แนบมาท้ายฟ้อง เป็นคำฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยแต่ละคนทำผิดสัญญาโดยโอนเงินให้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกโดยไม่ชอบ พร้อมทั้งบรรยายว่าจำเลยแต่ละคนทำการอย่างไร เมื่อใด ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เท่าใด โดยแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องมาท้ายฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่บรรยายโดยชัดแจ้งแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ทำให้จำเลยสามารถเข้าใจและต่อสู้คดีได้แล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่แก้ไข มาตรา 90/25 บัญญัติว่า เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้ว ให้อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และบรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ยกเว้นสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลตกแก่ผู้ทำแผน และมาตรา 90/24 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน ให้ศาลแจ้งคำสั่งนั้นแก่ผู้ทำแผน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารของลูกหนี้ และผู้บริหารชั่วคราวโดยไม่ชักช้า อำนาจหน้าที่ของผู้ทำแผนให้เริ่มแต่วันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าว และให้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารของลูกหนี้ หรือผู้บริหารชั่วคราวสิ้นสุดลง หมายความว่า เมื่อศาลตั้งผู้ทำแผนแล้ว ให้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารลูกหนี้ และผู้บริหารชั่วคราวเป็นอันสิ้นสุดลง โดยให้ผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน การฟ้องคดีเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อให้การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้สำเร็จลุล่วง ผู้ทำแผนจึงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีนี้ได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ร่วมกันทำละเมิดในการทำงานตามหน้าที่ในทางการที่จ้าง อันถือว่าเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ร่วมทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนกรกฎาคม 2540 โดยนำคดีมาฟ้องในวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 ซึ่งไม่พ้นกำหนด 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นชดใช้ค่าเสียหายจากการทำละเมิดแก่โจทก์ด้วยการเบิกถอนเงินจากบัญชีธนาคารแล้วจ่ายให้แก่บริษัทและบุคคลอื่นโดยไม่ชอบตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นจำนวนเงิน 3,950,000,000 บาท ซึ่งเป็นการกระทำละเมิดหลายครั้ง แม้โจทก์จะได้นำเช็คและรายการที่เรียกเก็บเงินตามเช็คมาแสดงต่อศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นยอดรวมหลายครั้งว่าแต่ละครั้งเป็นเงินจำนวนเท่าใด แต่ไม่ได้แยกให้ชัดว่าจำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินตามเช็คแต่ละใบเมื่อใด จำนวนเท่าใด และจ่ายออกไปโดยไม่ชอบเมื่อใด จำนวนเท่าใด และศาลแรงงานกลางก็มิได้รับฟังข้อเท็จจริงโดยละเอียดดังกล่าว โจทก์นำสืบได้เพียงว่าโจทก์ทราบมูลเหตุที่ฟ้องร้องคดีนี้ในวันประชุมคณะกรรมการโจทก์เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2540 ดังนั้น แม้ว่ามูลหนี้จากการทำละเมิดให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันทำละเมิดและต้องคิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 ประกอบมาตรา 224 แต่โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดแต่ละครั้งเมื่อใด จำนวนเท่าใด การที่ศาลแรงงานกลางให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องนั้น จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4858/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าทดรองจ่ายในสัญญาจ้างทำของ: ผู้ว่าจ้างเรียกเงินจากผู้รับจ้าง ใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ว่าจ้างจำเลยให้ก่อสร้างถนน สัญญาดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของโจทก์ได้ออกเงินชำระ ค่าของที่ใช้ในการก่อสร้างให้แก่ร้านค้าแทนจำเลยไปก่อน แล้วโจทก์นำเงินดังกล่าวมาหักกับค่าจ้างที่จำเลยจะได้รับจากโจทก์ จำเลยยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ โจทก์จึงขอบังคับให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวคืน ดังนี้ มิใช่เรื่องที่โจทก์เป็น ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้รับจ้างเรียกเงินที่ตนได้ทดรองจ่ายไปในการทำงานให้แก่ผู้ว่าจ้างจาก ผู้ว่าจ้างตามมาตรา 193/34 (1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี แต่กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์เป็นผู้ว่าจ้างเรียกเงินที่ตนได้ทดรองจ่ายแทนผู้รับจ้างไปจากผู้รับจ้าง ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างแรงงานและการรับสภาพหนี้: การนับอายุความที่ถูกต้องและการขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำละเมิดต่อโจทก์และผิดหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งหากถือเอาอายุความเกี่ยวกับการละเมิดมาบังคับใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 โจทก์จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ทั้งนี้ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันทำละเมิด แต่เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานมาด้วย ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โดยนับจากวันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง คือวันที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน หาใช่นับแต่วันที่โจทก์ทราบการกระทำผิดไม่ ซึ่งระยะเวลาทั้ง 2 กรณี เมื่อนับถึงวันฟ้องเกินสิบปีแล้ว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงขาดอายุความ จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย
จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์ไว้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2544 อายุความจึงสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) เมื่อการรับสภาพหนี้ดังกล่าวเกิดจากสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2544 คิดถึงวันฟ้องยังไม่เกินสิบปี คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากการทำสัญญาร่วมชำระหนี้ และการไม่เป็นสัญญาแปลงหนี้
สัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ตกลงว่า การที่จำเลยที่ 1 ยอมเข้าร่วมชำระหนี้กับผู้เช่าใช้บริการโทรศัพท์ คู่สายโทรศัพท์ไม่ทำให้คู่สัญญาเดิมหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาเดิม และไม่ตัดสิทธิโจทก์จะระงับการให้บริการตามระเบียบขององค์การโทรศัพท์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิม เมื่อไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิมจึงไม่ใช่สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ สัญญาเดิมไม่ระงับ และการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์จึงไม่ใช่การรับสภาพหนี้ แต่เป็นสัญญาประเภทหนึ่งระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ซึ่งคู่สัญญาทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้และเมื่อหนี้ตามสัญญาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 แต่ดอกเบี้ยที่โจทก์ขอนับแต่วันผิดนัดตามสัญญาร่วมชำระหนี้ถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ยค้างชำระ มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (1)
of 211