พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากการทำสัญญาร่วมชำระหนี้ และการไม่เป็นสัญญาแปลงหนี้
สัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ตกลงว่า การที่จำเลยที่ 1 ยอมเข้าร่วมชำระหนี้กับผู้เช่าใช้บริการโทรศัพท์ คู่สายโทรศัพท์ไม่ทำให้คู่สัญญาเดิมหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาเดิม และไม่ตัดสิทธิโจทก์จะระงับการให้บริการตามระเบียบขององค์การโทรศัพท์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิม เมื่อไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิมจึงไม่ใช่สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ สัญญาเดิมไม่ระงับ และการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์จึงไม่ใช่การรับสภาพหนี้ แต่เป็นสัญญาประเภทหนึ่งระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ซึ่งคู่สัญญาทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้และเมื่อหนี้ตามสัญญาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 แต่ดอกเบี้ยที่โจทก์ขอนับแต่วันผิดนัดตามสัญญาร่วมชำระหนี้ถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ยค้างชำระ มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์มีเงื่อนไข และการเลิกสัญญาโดยสมัครใจ สิทธิเรียกร้องเงินคืน
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า คำฟ้องโจทก์ซึ่งกล่าวถึงสภาพข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาโอนสิทธิเช่าซื้อ แต่คำขอบังคับให้จำเลยคืนเงินให้แก่โจทก์ จำเลยไม่อาจเข้าใจได้ว่าโจทก์ประสงค์สิ่งใดทำให้ไม่อาจสู้คดีได้ถูกต้อง คำให้การจำเลยดังกล่าวมิได้บรรยายให้เห็นว่า ฟ้องของโจทก์ส่วนใดเคลือบคลุมหรือไม่ชัดแจ้งอย่างไร หรือเนื้อหาในคำฟ้องขัดแย้งกันอย่างไร ซึ่งอ่านแล้วไม่อาจเข้าใจได้ ถือว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการซื้อขายรถยนต์พิพาทโดยจำเลยผู้ขายยอมให้โจทก์ผู้ซื้อผ่อนชำระราคาและมีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อโจทก์ผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้ว จึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงราคากันตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป แม้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่หากได้มีการวางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วคู่กรณีก็ย่อมฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ตามมาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม เมื่อจำเลยตกลงขายรถยนต์พิพาทให้โจทก์ในราคา 200,000 บาท โจทก์ได้ผ่อนชำระแล้วเป็นเงิน 95,000 จึงถือว่าโจทก์ได้วางประจำและชำระหนี้บางส่วนแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีได้
โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย ย่อมทำให้โจทก์และจำเลยกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เมื่อโจทก์ได้มอบรถยนต์พิพาทคืนแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ได้รับมาแก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ย โดยสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการซื้อขายรถยนต์พิพาทโดยจำเลยผู้ขายยอมให้โจทก์ผู้ซื้อผ่อนชำระราคาและมีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อโจทก์ผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้ว จึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงราคากันตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป แม้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่หากได้มีการวางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วคู่กรณีก็ย่อมฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ตามมาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม เมื่อจำเลยตกลงขายรถยนต์พิพาทให้โจทก์ในราคา 200,000 บาท โจทก์ได้ผ่อนชำระแล้วเป็นเงิน 95,000 จึงถือว่าโจทก์ได้วางประจำและชำระหนี้บางส่วนแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีได้
โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย ย่อมทำให้โจทก์และจำเลยกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เมื่อโจทก์ได้มอบรถยนต์พิพาทคืนแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ได้รับมาแก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ย โดยสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2244/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินโบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องอายุความ 10 ปี
เงินโบนัสไม่ใช่ค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (8) และ (9) การเรียกร้องเงินโบนัสจึงไม่อยู่ในบังคับกำหนดอายุความ 2 ปี ของบทบัญญัติดังกล่าว กำหนดอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องเงินโบนัสตามสัญญาจ้างแรงงานมิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(4) คือ 5 ปี
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องเงินค้างจ่าย คือ เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดู และเงินอื่นๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา ให้มีกำหนดอายุความ 5 ปี ดังนั้น การที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญจึงมีอายุความ 5 ปี ซึ่งไม่อาจนำอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับได้เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว โจทก์จึงต้องยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องขอรับเงินได้ แต่เมื่อโจทก์ยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) เกินกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากความผิดทางอาญาและอายุความค่าชดเชย แรงงานต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในอายุความ
ลูกหนี้เลิกจ้างเจ้าหนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2536 เจ้าหนี้จึงอาจบังคับเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันดังกล่าว และหนี้ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีขึ้นเนื่องจากการบอกเลิกสัญญาจ้างของลูกหนี้มิใช่เงินที่กำหนดจ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานหรือต้องจ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนแก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน หนี้ค่าชดเชยและสินค้าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงมิใช่ค่าจ้างและไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ส่วนหนี้ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นเงินที่ลูกหนี้จะต้องจ่ายเป็นค่าตอบแทนแก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นสินจ้างตามมาตรา 575 ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (9) เมื่อนับแต่วันที่ 30 มีนาคม 2536 ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 ซึ่งเป็นวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความแล้ว ไม่อาจขอรับชำระหนี้เฉพาะหนี้ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
มีคนร้ายลักทรัพย์เงินสดจำนวน 93,013 บาท ของลูกหนี้ไป ลูกหนี้ได้มอบอำนาจให้พนักงานการเงินและบัญชีไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ผลจากการสืบสวนได้ตรวจพบรอยนิ้วมือและฝ่ามือแฝงของเจ้าหนี้ในที่เกิดเหตุ เจ้าพนักงานตำรวจจึงดำเนินคดีแก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้จึงได้เลิกจ้างเจ้าหนี้ และต่อมาพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องเจ้าหนี้ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในความผิดข้อหาลักทรัพย์การที่เจ้าหนี้ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาล้วนมีขึ้นจากดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานอัยการ การที่ลูกหนี้ร้องขอจนศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ลูกหนี้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการล้วนเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายไม่เป็นการละเมิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่เจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนสอบสวนแล้วดำเนินคดีแก่เจ้าหนี้ย่อมบ่งชี้และทำให้ลูกหนี้เข้าใจได้ว่าเจ้าหนี้เป็นผู้ลักทรัพย์ของลูกหนี้ไป ซึ่งเป็นเหตุอันสมควรที่ลูกหนี้จะเลิกจ้างเจ้าหนี้ได้ แม้ต่อมาศาลอาญากรุงเทพใต้และศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง ก็ไม่มีผลทำให้การเลิกจ้างของลูกหนี้กลับเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นบทกฎหมายที่กำหนดให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ในขณะมีการเลิกสัญญาจ้างแรงงาน มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดชดใช้ให้แก่เจ้าหนี้ดังเช่น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ไว้โดยชัดแจ้ง ศาลล้มละลายกลางกำหนดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 จึงชอบแล้ว
เมื่อลูกหนี้เลิกจ้างเจ้าหนี้ ลูกหนี้จะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่เจ้าหนี้ทันที เมื่อไม่จ่ายให้ ลูกหนี้จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป แต่สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับย้อนหลังแต่วันยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 สิทธิเรียกร้องที่พ้นกำหนดอายุความดังกล่าวเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้มีการทวงถามก่อน ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดดอกเบี้ยให้นับถัดจากวันยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นต้นไป
มีคนร้ายลักทรัพย์เงินสดจำนวน 93,013 บาท ของลูกหนี้ไป ลูกหนี้ได้มอบอำนาจให้พนักงานการเงินและบัญชีไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ผลจากการสืบสวนได้ตรวจพบรอยนิ้วมือและฝ่ามือแฝงของเจ้าหนี้ในที่เกิดเหตุ เจ้าพนักงานตำรวจจึงดำเนินคดีแก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้จึงได้เลิกจ้างเจ้าหนี้ และต่อมาพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องเจ้าหนี้ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในความผิดข้อหาลักทรัพย์การที่เจ้าหนี้ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาล้วนมีขึ้นจากดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานอัยการ การที่ลูกหนี้ร้องขอจนศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ลูกหนี้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการล้วนเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายไม่เป็นการละเมิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่เจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนสอบสวนแล้วดำเนินคดีแก่เจ้าหนี้ย่อมบ่งชี้และทำให้ลูกหนี้เข้าใจได้ว่าเจ้าหนี้เป็นผู้ลักทรัพย์ของลูกหนี้ไป ซึ่งเป็นเหตุอันสมควรที่ลูกหนี้จะเลิกจ้างเจ้าหนี้ได้ แม้ต่อมาศาลอาญากรุงเทพใต้และศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง ก็ไม่มีผลทำให้การเลิกจ้างของลูกหนี้กลับเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นบทกฎหมายที่กำหนดให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ในขณะมีการเลิกสัญญาจ้างแรงงาน มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดชดใช้ให้แก่เจ้าหนี้ดังเช่น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ไว้โดยชัดแจ้ง ศาลล้มละลายกลางกำหนดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 จึงชอบแล้ว
เมื่อลูกหนี้เลิกจ้างเจ้าหนี้ ลูกหนี้จะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่เจ้าหนี้ทันที เมื่อไม่จ่ายให้ ลูกหนี้จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป แต่สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับย้อนหลังแต่วันยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 สิทธิเรียกร้องที่พ้นกำหนดอายุความดังกล่าวเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้มีการทวงถามก่อน ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดดอกเบี้ยให้นับถัดจากวันยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1498/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าซ่อมรถเช่าซื้อ, หน้าที่ส่งมอบรถสภาพเรียบร้อย, อายุความ 10 ปี
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในเงินค่าซ่อมรถยนต์ที่เช่าซื้อ และจำเลยที่ 1 แก้อุทธรณ์ว่าเงินค่าซ่อมขาดอายุความแล้ว คดีจึงมีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ตามคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์และคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ว่า โจทก์มีสิทธิเรียกเงินค่าซ่อมรถยนต์ที่เช่าซื้อหรือไม่ และฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ขาดอายุความแล้วหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามคำฟ้องอุทธรณ์โดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยที่ 1 แก้อุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกาในประเด็นนี้ ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3) ประกอบมาตรา 247
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตามสัญญาข้อ 5 (1) ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อย การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปซ่อมที่ศูนย์นิสสันแล้วไม่ชำระค่าซ่อม เป็นเหตุให้โจทก์ต้องจ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้ศูนย์ดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 ไปจึงจะยึดรถยนต์คืนมาได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมรถยนต์คืนจากจำเลยที่ 1 ได้ และในกรณีเช่นนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตามสัญญาข้อ 5 (1) ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อย การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปซ่อมที่ศูนย์นิสสันแล้วไม่ชำระค่าซ่อม เป็นเหตุให้โจทก์ต้องจ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้ศูนย์ดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 ไปจึงจะยึดรถยนต์คืนมาได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมรถยนต์คืนจากจำเลยที่ 1 ได้ และในกรณีเช่นนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันในคดีแรงงาน: อายุความ, อำนาจฟ้อง, และขอบเขตความรับผิด
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ในระหว่างทำงานให้แก่โจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานให้แก่โจทก์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หลายครั้ง โดยบรรยายรายละเอียดว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำความเสียหายเมื่อใด อย่างไร จำนวนเท่าใด พร้อมทั้งมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแทนโจทก์ตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธว่าใบมอบอำนาจดังกล่าวไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และศาลแรงงานกลางก็ไม่มีเหตุสงสัยว่า ไม่ใช่ใบอำนาจอันแท้จริงจึงเท่ากับจำเลยที่ 2 รับว่า ส. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 ประกอบมาตรา 47 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่ลูกจ้างยักยอกเงินของนายจ้างนอกจากเป็นการกระทำละเมิดต่อนายจ้างยังเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งการที่นายจ้างฟ้องเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแทนโจทก์ตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธว่าใบมอบอำนาจดังกล่าวไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และศาลแรงงานกลางก็ไม่มีเหตุสงสัยว่า ไม่ใช่ใบอำนาจอันแท้จริงจึงเท่ากับจำเลยที่ 2 รับว่า ส. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 ประกอบมาตรา 47 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่ลูกจ้างยักยอกเงินของนายจ้างนอกจากเป็นการกระทำละเมิดต่อนายจ้างยังเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งการที่นายจ้างฟ้องเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานและการกระทำละเมิดของลูกจ้าง
การที่ลูกจ้างกระทำละเมิดต่อนายจ้างในระหว่างการทำงานให้แก่นายจ้างนั้น นอกจากจะเป็นการกระทำละเมิดต่อนายจ้างแล้วยังเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาจ้างแรงงานอีกด้วย ซึ่งการที่นายจ้างฟ้องเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิดและการบังคับค้ำประกัน: เริ่มนับจากวันทำละเมิด ไม่ใช่แค่วันบอกกล่าวหนี้
อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ที่จำเลยที่ 2 ได้ยักยอกเงินของโจทก์ไป อันเป็นการรับผิดในมูลหนี้ละเมิด จึงถือว่าจำเลยที่ 2 ผิดนัดนับแต่วันทำละเมิดตามมาตรา 206 ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ผิดนัดตามมาตรา 686 อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อผู้ค้ำประกันกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
สำนักงานตรวจสอบภายในของโจทก์ได้ตรวจสอบบัญชีของสำนักงานการไฟฟ้าของโจทก์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีการทุจริตยักยอกเงินกระแสไฟฟ้าที่เก็บจากประชาชนจำนวนหนึ่งเมื่อปี 2541 ซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายครึ่งหนึ่งโดยโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2544 ดังนี้ เมื่อมีการยักยอกเงินค่ากระแสไฟฟ้าไปอันเป็นการกระทำละเมิดเมื่อปี 2541 ถือว่าผู้ที่ยักยอกเงินค่ากระแสไฟฟ้ารวมทั้งจำเลยที่ 2 ตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดคือปี 2541เป็นต้นไป อายุความที่จะฟ้องร้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 ผู้ค้ำประกันจึงเริ่มนับแต่เมื่อนั้น โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2545 ยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดเป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 มิจำต้องบังคับจากผู้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดทุกคนก่อนตามที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 อ้าง โจทก์จึงฟ้องร้องต่อศาลขอให้บังคับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ชำระหนี้อันเกิดจากค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 2 ได้
สำนักงานตรวจสอบภายในของโจทก์ได้ตรวจสอบบัญชีของสำนักงานการไฟฟ้าของโจทก์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีการทุจริตยักยอกเงินกระแสไฟฟ้าที่เก็บจากประชาชนจำนวนหนึ่งเมื่อปี 2541 ซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายครึ่งหนึ่งโดยโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2544 ดังนี้ เมื่อมีการยักยอกเงินค่ากระแสไฟฟ้าไปอันเป็นการกระทำละเมิดเมื่อปี 2541 ถือว่าผู้ที่ยักยอกเงินค่ากระแสไฟฟ้ารวมทั้งจำเลยที่ 2 ตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดคือปี 2541เป็นต้นไป อายุความที่จะฟ้องร้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 ผู้ค้ำประกันจึงเริ่มนับแต่เมื่อนั้น โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2545 ยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดเป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 มิจำต้องบังคับจากผู้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดทุกคนก่อนตามที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 อ้าง โจทก์จึงฟ้องร้องต่อศาลขอให้บังคับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ชำระหนี้อันเกิดจากค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้เดิม และอายุความของคดีเรียกเงินคืนจากสัญญาที่เลิกแล้ว
โจทก์เป็นลูกหนี้ค่าหุ้นที่โจทก์ซื้อจากจำเลย ส่วนบริษัท ส. ซึ่งจำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเป็นลูกหนี้ค่าปรับปรุงพัฒนาที่ดินกับบริษัท ว. บริษัท รก. และบริษัท รพ. ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์จำเลยตกลงกันให้นำเงินที่บริษัท ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้บริษัท ว. กับพวกมาหักชำระเป็นค่าหุ้นที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลย กรณีเช่นนี้เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำหนี้ที่ได้ตกลงไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าหุ้นที่จำเลยรับชำระไปแล้วคืนเนื่องจากสัญญาซื้อขายหุ้นเลิกกัน หาใช่เป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายหุ้นไม่ กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าหุ้นที่จำเลยรับชำระไปแล้วคืนเนื่องจากสัญญาซื้อขายหุ้นเลิกกัน หาใช่เป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายหุ้นไม่ กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30