พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิดและสัญญาประกันภัยแยกกันได้ โดยพิจารณาจากฐานความรับผิดของจำเลยแต่ละคน
รถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยค้ำจุนพุ่งชนได้รับความเสียหาย โจทก์ได้เสียเงินซ่อมแซมรถยนต์เก๋งไปแล้วจึงขอรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันมาฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในฐานะนายจ้างของผู้ขับรถยนต์คันที่ก่อเหตุละเมิด และให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน ดังนั้นการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงแตกต่างกันจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิด ซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคแรก ส่วนจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาประกันวินาศภัยมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย ตามมาตรา882 วรรคแรก อายุความฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อตาม ป.พ.พ.มาตรา 295 บัญญัติให้เรื่องอายุความเป็นคุณหรือเป็นโทษเฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น ฉะนั้น การฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดขาดอายุความ 1 ปี จึงย่อมเป็นคุณเฉพาะแต่จำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยคดีนี้ความรับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2536 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2537 เป็นการฟ้องภายในเวลา 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยการฟ้องร้องจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีประกันภัยและความรับผิดของนายจ้างผู้ทำละเมิดแยกกันได้
รถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยค้ำจุนพุ่งชนได้รับความเสียหาย โจทก์ได้เสียเงินซ่อมแซมรถยนต์เก๋งไปแล้วจึงขอรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันมาฟ้องจำเลยที่ 1ให้รับผิดในฐานะนายจ้างของผู้ขับรถยนต์คันที่ก่อเหตุละเมิดและให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนดังนั้นการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงแตกต่างกันจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิด ซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก ส่วนจำเลยที่ 2จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาประกันวินาศภัยมีอายุความ2 ปี นับแต่วันวินาศภัย ตามมาตรา 882 วรรคแรก อายุความฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 295 บัญญัติให้เรื่องอายุความเป็นคุณหรือเป็นโทษเฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น ฉะนั้น การฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดขาดอายุความ1 ปี จึงย่อมเป็นคุณเฉพาะแต่จำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยซึ่งมีอายุความ 2 ปีนับแต่วันวินาศภัยคดีนี้ความรับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2536 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2537เป็นการฟ้องภายในเวลา 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยการฟ้องร้องจำเลยที่ 2จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีประกันภัยแยกจากความรับผิดนายจ้าง ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดในสัญญาประกันภัย
รถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกรถยนต์ที่จำเลยที่2รับประกันภัยค้ำจุนพุ่งชนได้รับความเสียหายโจทก์ได้เสียเงินซ่อมแซมรถยนต์เก๋งไปแล้วจึงขอรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันมาฟ้องจำเลยที่1ให้รับผิดในฐานะนายจ้างของผู้ขับรถยนต์คันที่ก่อเหตุละเมิดและให้จำเลยที่2ร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนดังนั้นการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของจำเลยที่1และที่2จึงแตกต่างกันจำเลยที่1จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดซึ่งมีอายุความ1ปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคแรกส่วนจำเลยที่2จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาประกันวินาศภัยมีอายุความ2ปีนับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา882วรรคแรกอายุความฟ้องจำเลยที่1และที่2สามารถแยกออกจากกันได้เมื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา295บัญญัติให้เรื่องอายุความเป็นคุณหรือเป็นโทษเฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้นฉะนั้นการฟ้องร้องให้จำเลยที่1รับผิดในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดขาดอายุความ1ปีจึงย่อมเป็นคุณเฉพาะแต่จำเลยที่1ไม่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องให้จำเลยที่2รับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยซึ่งมีอายุความ2ปีนับแต่วันวินาศภัยคดีนี้ความรับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยเกิดขึ้นเมื่อวันที่24ตุลาคม2536โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่27ตุลาคม2537เป็นการฟ้องภายในเวลา2ปีนับแต่วันวินาศภัยการฟ้องร้องจำเลยที่2จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7034/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีประกันภัย: ผลของการยอมรับสภาพหนี้โดยตัวแทนและผลของการสะดุดหยุดอายุความ
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยได้ชำระค่าเสียหายแก่บุคคลผู้ต้องเสียหาย แล้วฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาประกันภัย จึงต้องอยู่ภายใต้อายุความ 2 ปีนับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคแรก พนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้ตรวจความเสียหายและได้เรียกเก็บเงินค่าแจ้งเหตุจากโจทก์กับออกเอกสารให้โจทก์ถือไว้เป็นหลักฐาน ทั้งยังได้นำรถคันดังกล่าวไปตีราคาค่าซ่อมอีกด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้อง อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 เดิม (มาตรา 193/14(1) ที่แก้ไขใหม่) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ได้ล่วงไปก่อนนั้น ย่อมไม่นับเข้าในอายุความ จนเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นได้สิ้นสุดซึ่งในกรณีนี้ได้แก่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือปฏิเสธความรับผิดจากจำเลยซึ่งถือเป็นวันที่เป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง จึงเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่แต่เวลานั้นสืบไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 181 เดิม(มาตรา 193/15 ที่แก้ไขใหม่) ส่วนประเด็นข้อพิพาทอื่น ๆ ที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยมาแม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปเสียเองได้ก็ตามแต่เมื่อฎีกาของโจทก์มิได้กล่าวถึงประเด็นพิพาทอื่นมาด้วยเช่นนี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจที่จะวินิจฉัยไปเสียทีเดียวได้ ต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7034/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาประกันภัยค้ำจุน และผลของการยอมรับสภาพหนี้โดยตัวแทน
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยได้ชำระค่าเสียหายแก่บุคคลผู้ต้องเสียหายแล้วฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาประกันภัยจึงต้องอยู่ภายใต้อายุความ2ปีนับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา882วรรคแรก พนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้ตรวจความเสียหายและได้เรียกเก็บเงินค่าแจ้งเหตุจากโจทก์กับออกเอกสารให้โจทก์ถือไว้เป็นหลักฐานทั้งยังได้นำรถคันดังกล่าวไปตีราคาค่าซ่อมอีกด้วยพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา172เดิม(มาตรา193/14(1)ที่แก้ไขใหม่) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้วระยะเวลาที่ได้ล่วงไปก่อนนั้นย่อมไม่นับเข้าในอายุความจนเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นได้สิ้นสุดซึ่งในกรณีนี้ได้แก่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือปฏิเสธความรับผิดจากจำเลยซึ่งถือเป็นวันที่เป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลงจึงเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่แต่เวลานั้นสืบไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา181เดิม(มาตรา193/15ที่แก้ไขใหม่) ส่วนประเด็นข้อพิพาทอื่นๆที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยมาแม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปเสียเองได้ก็ตามแต่เมื่อฎีกาของโจทก์มิได้กล่าวถึงประเด็นพิพาทอื่นมาด้วยเช่นนี้ศาลฎีกาจึงไม่อาจที่จะวินิจฉัยไปเสียทีเดียวได้ต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องอายุความและประเด็นที่ต้องยกขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า โจทก์สามารถตรวจสอบทะเบียนรถคันที่ชนรถของโจทก์ได้ว่าเป็นใคร มิใช่โจทก์เพิ่งทราบตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อกลางปี 2530 คดีจึงขาดอายุความ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้ยกอายุความเรื่องการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 3 จึงฎีกาต่อมาไม่ได้ เพราะไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้ยกอายุความเรื่องการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 3 จึงฎีกาต่อมาไม่ได้ เพราะไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุน แม้ไม่ได้ฟ้องผู้เอาประกันภัยโดยตรง และอายุความฟ้องร้องตามสัญญาประกันภัย
แม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องห้างฯ น.ผู้เอาประกันภัยเป็นจำเลยด้วยแต่เมื่อได้ความว่าผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดแล้ว จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน เพราะโจทก์ชอบจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยได้โดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 โจทก์ที่ 9 ที่ 10 ฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนให้รับผิดโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัย จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรกจะนำอายุความ 1 ปี ตาม มาตรา 448 วรรคแรก มาบังคับไม่ได้ จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2ถึงที่ 10 รวม ๆ กันมาโดยไม่ใช่ค่าเสียหายที่แท้จริง จำเลยที่ 3ไม่ได้ยกเหตุขึ้นอ้างอิงว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องด้วยเหตุใดและค่าเสียหายที่แท้จริงของโจทก์แต่ละคนควรจะเป็นเท่าใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีประกันภัยค้ำจุน: นับแต่วันเกิดวินาศภัย ไม่ใช่อายุความละเมิด
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัย ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่ชนรถยนต์ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยของโจทก์ไปแล้วนั้น เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนอันเป็นมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัย มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรกจะนำเอาอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 วรรคแรกมาบังคับใช้ไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า รถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยค้ำจุนไว้เป็นฝ่ายทำละเมิด แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องค่าเสียหายเพราะเห็นว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เมื่อโจทก์จำเลยได้สืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ, อายุความประกันภัยรถยนต์, การเปลี่ยนแปลงคำฟ้องในชั้นฎีกา
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ไม่มีการตกเติมข้อความโดยไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับดังที่จำเลยอ้าง เพราะไม่มีการตกเติมแต่ประการใด การเขียนด้วยปากกาหรือน้ำหมึกลงในช่องว่างที่เว้นไว้เพื่อระบุชื่อคนที่ถูกต้อง ไม่ต้องด้วยความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสอง
จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมด้วยเหตุว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์แฉลบล้ำเข้าไปชนรถยนต์ฝ่ายโจทก์ในทางเดินรถของฝ่ายโจทก์ แต่กลับนำสืบว่ารถยนต์ฝ่ายโจทก์เป็นฝ่ายวิ่งเข้ามาในทางเดินรถของฝ่ายจำเลยและชนกันเป็นข้อเท็จจริงที่ต่างกับคำฟ้องแต่กลับหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา ทั้งที่ในศาลชั้นต้นจำเลยให้การเพียงว่าโจทก์มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่ารถยนต์บรรทุกส่วนใดไปชนถูกส่วนใดของรถยนต์เก๋ง และเสียค่าซ่อมรถยนต์เก๋งส่วนใดเป็นจำนวนเท่าใด ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป.พ.พ. มาตรา 880 บัญญัติให้ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกได้ ดังนั้นถ้าผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกในอายุความอย่างใด ผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิก็ย่อมจะมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกภายในอายุความอย่างเดียวกัน ซึ่งผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดได้ภายในหนึ่งปีนับแต่รู้ถึงการละเมิด และมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนได้ภายในสองปีนับแต่วันวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก และมาตรา 882 วรรคแรก ตามลำดับ แม้เกิดเหตุรถยนต์ชนกันเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2525 แต่ได้ความว่าเกิดเหตุแล้วคนขับรถยนต์บรรทุกหลบหนีหลังเกิดเหตุประมาณ 1 เดือน พนักงานสอบสวนจึงทราบจากนายทะเบียนยานพาหนะว่ารถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวเป็นของใคร จึงได้ออกหมายเรียกจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาสอบปากคำ จึงถือได้ว่าผู้ต้องเสียหายซี่งเป็นผู้เอาประกันภัยรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยที่ 1และที่ 2 ประมาณวันที่ 2 ตุลาคม 2525 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2526 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมด้วยเหตุว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์แฉลบล้ำเข้าไปชนรถยนต์ฝ่ายโจทก์ในทางเดินรถของฝ่ายโจทก์ แต่กลับนำสืบว่ารถยนต์ฝ่ายโจทก์เป็นฝ่ายวิ่งเข้ามาในทางเดินรถของฝ่ายจำเลยและชนกันเป็นข้อเท็จจริงที่ต่างกับคำฟ้องแต่กลับหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา ทั้งที่ในศาลชั้นต้นจำเลยให้การเพียงว่าโจทก์มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่ารถยนต์บรรทุกส่วนใดไปชนถูกส่วนใดของรถยนต์เก๋ง และเสียค่าซ่อมรถยนต์เก๋งส่วนใดเป็นจำนวนเท่าใด ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป.พ.พ. มาตรา 880 บัญญัติให้ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกได้ ดังนั้นถ้าผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกในอายุความอย่างใด ผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิก็ย่อมจะมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกภายในอายุความอย่างเดียวกัน ซึ่งผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดได้ภายในหนึ่งปีนับแต่รู้ถึงการละเมิด และมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนได้ภายในสองปีนับแต่วันวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก และมาตรา 882 วรรคแรก ตามลำดับ แม้เกิดเหตุรถยนต์ชนกันเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2525 แต่ได้ความว่าเกิดเหตุแล้วคนขับรถยนต์บรรทุกหลบหนีหลังเกิดเหตุประมาณ 1 เดือน พนักงานสอบสวนจึงทราบจากนายทะเบียนยานพาหนะว่ารถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวเป็นของใคร จึงได้ออกหมายเรียกจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาสอบปากคำ จึงถือได้ว่าผู้ต้องเสียหายซี่งเป็นผู้เอาประกันภัยรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยที่ 1และที่ 2 ประมาณวันที่ 2 ตุลาคม 2525 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2526 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ, อายุความ, และการรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัย
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ไม่มีการตกเติมข้อความโดยไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับดังที่จำเลยอ้าง เพราะไม่มีการตกเติมแต่ประการใด การเขียนด้วยปากกาหรือน้ำหมึกลงในช่องว่างที่เว้นไว้เพื่อระบุชื่อคนที่ถูกต้อง ไม่ต้องด้วยความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 46วรรคสอง จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมด้วยเหตุว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์แฉลบล้ำเข้าไปชนรถยนต์ฝ่ายโจทก์ในทางเดินรถของฝ่ายโจทก์ แต่กลับนำสืบว่ารถยนต์ฝ่ายโจทก์เป็นฝ่ายวิ่งเข้ามาในทางเดินรถของฝ่ายจำเลยและชนกันเป็นข้อเท็จจริงที่ต่างกับคำฟ้องแต่กลับหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา ทั้งที่ในศาลชั้นต้นจำเลยให้การเพียงว่าโจทก์มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่ารถยนต์บรรทุกส่วนใดไปชนถูกส่วนใดของรถยนต์เก๋ง และเสียค่าซ่อมรถยนต์เก๋งส่วนใดเป็นจำนวนเท่าใด ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ป.พ.พ. มาตรา 880 บัญญัติให้ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกได้ ดังนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกในอายุความอย่างใด ผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิก็ย่อมจะมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกภายในอายุความอย่างเดียวกัน ซึ่งผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดได้ภายในหนึ่งปีนับแต่รู้ถึงการละเมิด และมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 3ผู้รับประกันภัยค้ำจุนได้ภายในสองปีนับแต่วันวินาศภัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคแรก และมาตรา 882 วรรคแรก ตามลำดับ แม้เกิดเหตุรถยนต์ชนกันเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2525 แต่ได้ความว่าเกิดเหตุแล้วคนขับรถยนต์บรรทุกหลบหนีหลังเกิดเหตุประมาณ 1 เดือนพนักงานสอบสวนจึงทราบจากนายทะเบียนยานพาหนะว่ารถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวเป็นของใคร จึงได้ออกหมายเรียกจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาสอบปากคำ จึงถือได้ว่าผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยที่ 1 และที่ 2ประมาณวันที่ 2 ตุลาคม 2525 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2526จึงไม่ขาดอายุความ.