พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์: การได้มาซึ่งสิทธิและการคุ้มครองทางกฎหมาย กรณีครอบครองปรปักษ์ไม่สามารถใช้ได้กับลิขสิทธิ์
เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างว่า โจทก์ขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทให้แก่ป. ต่อมา ป. ขายต่อให้จำเลยที่ 1 อีกทอดหนึ่ง แต่จำเลยทั้งสองไม่มีหลักฐานการซื้อขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทระหว่าง ป. กับโจทก์เป็นหนังสือมาแสดงต่อศาล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า ลิขสิทธิ์นั้นโอนได้ แต่การโอนสิทธิหรือใช้ประโยชน์เช่นนั้นไม่สมบูรณ์เว้นแต่จะได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อเจ้าของหรือตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจโดยชอบจากเจ้าของลิขสิทธิ์ จึงฟังได้ว่าโจทก์ขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทให้ ป. ไม่มีลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทที่จะขายให้จำเลย เพลงพิพาทยังเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์อยู่ เมื่อโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาท โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ในแผ่นเสียงที่ผลิตออกจำหน่ายก่อนจำเลยทั้งสองจะซื้อลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทจาก ป. ที่กระดาษกลางแผ่นเสียงมีข้อความระบุว่า เนื้อร้องและทำนองเป็นของผู้ใด ใครเป็นผู้ขับร้อง จำเลยทั้งสองจึงทราบดีว่าโจทก์เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องเพลงพิพาทจำเลยทั้งสองมิได้ซื้อลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทจาก ป. โดยสุจริตเพราะหากจำเลยทั้งสองสุจริตจริงก่อนซื้อจำเลยทั้งสองน่าจะให้ป. แสดงหลักฐานว่า ป. ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากโจทก์แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ขอให้ ป. แสดงหลักฐานดังกล่าวและจำเลยทั้งสองไม่มีหลักฐานการซื้อลิขสิทธิ์จากโจทก์มาแสดง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์แล้ว โจทก์เพิ่งทราบว่า จำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2529 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2529จึงเป็นการฟ้องคดีภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่นโดยอายุการครอบครองหรือการครอบครองปรปักษ์นั้น มีได้เฉพาะกับทรัพย์สินเพียง 2 ประเภท คือ อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ซึ่งบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4ทรัพย์สิน มุ่งให้ความคุ้มครองในเรื่องกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสำคัญ ส่วนลิขสิทธิ์แม้จะเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง แต่เป็นทรัพย์สินอีกประเภทหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ จนไม่อาจจัดเป็นทรัพย์สินในความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ได้ กล่าวคือลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "ลิขสิทธิ์""งาน" และ "ผู้สร้างสรรค์" กับมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้ให้ความหมายของคำว่า "สิทธิแต่ผู้เดียว" ไว้โดยเฉพาะแล้ว สิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายให้ความคุ้มครองจึงต่างกับสิทธิในกรรมสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1336 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิในลิขสิทธิ์เป็นสิทธิในนามธรรมซึ่งเป็นการให้ความคุ้มครองแก่รูปแบบของการแสดงออกซึ่งความคิดของผู้สร้างสรรค์ เป็นผลงาน 8 ประเภทตามคำจำกัดความของคำว่า"งาน" ดังกล่าวข้างต้น การจะได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์งานจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ส่วนผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้สร้างสรรค์ งานอาจได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8มาตรา 12 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น และลิขสิทธิ์มิได้มีอายุแห่งการคุ้มครองโดยไม่จำกัดเวลาอย่างกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 แต่มีอายุแห่งการคุ้มครองจำกัดและสิ้นอายุแห่งการคุ้มครองได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 ถึงมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์มิได้บัญญัติให้ผู้ใดอาจมีลิขสิทธิ์ได้โดยการครอบครองปรปักษ์ ทั้งสภาพของลิขสิทธิ์ก็ไม่อาจมีการครอบครองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 13 ดังเช่นสิทธิในกรรมสิทธิ์บนอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีการครอบครองได้ สิ่งที่จำเลยทั้งสองครอบครองไว้จึงเป็นเพียงการครอบครองแผ่นกระดาษที่มีเนื้อเพลงพิพาทอันเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น มิได้ก่อให้เกิดสิทธิในลิขสิทธิ์ได้แต่อย่างใด การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์จะได้มาโดยทางใดได้บ้างเป็นเรื่องที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วดังกล่าวข้างต้น เมื่อไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่ผู้ใดได้มาซึ่งลิขสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจอ้างว่าได้ลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะเรียกสำนวนคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลชั้นต้นมาเป็นพยานของศาลในคดีนี้ ซึ่งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 239 และ 240 แต่เท่าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาและพิพากษามา มิได้ใช้ข้อเท็จจริงอันเกิดจากสำนวนคดีดังกล่าวเลย ไม่ทำให้คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองต้องเสียไป คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญาลิขสิทธิ์: การฟ้องข้ามศาลไม่หยุดอายุความ และต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน
ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเรื่องอายุความคดีอาญาไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะแล้ว จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดอยู่หรือการขยายอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175,176มาใช้ในคดีอาญาไม่ได้ โจทก์ยื่นฟ้องคดีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ต่อศาลแขวงพระนครใต้ภายในกำหนดอายุความในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ศาลแขวงพระนครใต้เห็นว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงจึงสั่งจำหน่ายคดีให้โจทก์ไปฟ้องยังศาลที่มีอำนาจภายใน 7 วัน โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่ล่วงเลยกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์รู้เรื่องการกระทำผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำผิดแล้ว โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้ก่อน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีลิขสิทธิ์: การฟ้องภายใน 7 วันหลังศาลสั่งจำหน่ายคดี ไม่ทำให้เกินอายุความ 3 เดือนตามกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเรื่องอายุความคดีอาญาไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะแล้ว จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดอยู่หรือการขยายอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175, 176 มาใช้ในคดีอาญาไม่ได้
โจทก์ยื่นฟ้องคดีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ษ.2521 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ต่อศาลแขวงพระนครใต้ภายในกำหนดอายุความในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ศาลแขวงพระนครใต้เห็นว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงจึงสั่งจำหน่ายคดีให้โจทก์ไปฟ้องยังศาลที่มีอำนาจภายใน 7 วัน โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่ล่วงเลยกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์รู้เรื่องการกระทำผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำผิดแล้ว โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้ก่อน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์ยื่นฟ้องคดีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ษ.2521 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ต่อศาลแขวงพระนครใต้ภายในกำหนดอายุความในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ศาลแขวงพระนครใต้เห็นว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงจึงสั่งจำหน่ายคดีให้โจทก์ไปฟ้องยังศาลที่มีอำนาจภายใน 7 วัน โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่ล่วงเลยกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์รู้เรื่องการกระทำผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำผิดแล้ว โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้ก่อน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์และการฉายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยไม่มีอำนาจฟ้องและขาดองค์ประกอบความผิด
บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำฟิล์มภาพยนตร์ซึ่ง อ. และ ส. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ออกฉายเรียกเก็บเงินในการค้าโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์และมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ของผู้เสียหาย และเป็นการฉายภาพยนตร์โดยฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว ไม่จำต้องบรรยายว่าพนักงานเจ้าหน้าที่หมายถึงผู้ใดและภาพยนตร์ดังกล่าวสร้างขึ้นในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์เพราะเป็นข้อเท็จจริงในทางนำสืบ
ส. เป็นเพียงผู้เช่าลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จาก อ. จึงมิใช่เจ้าของลิขสิทธิ์และไม่มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีฐานละเมิดลิขสิทธิ์ และการที่ ส. ได้รับมอบอำนาจจาก อ. ให้ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา แต่ ส. ไปร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครราชสีมา ถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องทุกข์แทน อ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครราชสีมาจึงไม่มีอำนาจสอบสวนในข้อหาความผิดดังกล่าวซึ่งเป็นความผิด ยอมความได้ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ภาพยนตร์เรื่องใดได้รับอนุญาตจากกรมตำรวจให้นำออกฉายตามสถานที่มหรสพได้แล้ว ย่อมสามารถนำออกฉาย ณ สถานที่มหรสพใดได้ในภายหลังโดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานอื่นใดซ้ำอีก
ส. เป็นเพียงผู้เช่าลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จาก อ. จึงมิใช่เจ้าของลิขสิทธิ์และไม่มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีฐานละเมิดลิขสิทธิ์ และการที่ ส. ได้รับมอบอำนาจจาก อ. ให้ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา แต่ ส. ไปร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครราชสีมา ถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องทุกข์แทน อ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครราชสีมาจึงไม่มีอำนาจสอบสวนในข้อหาความผิดดังกล่าวซึ่งเป็นความผิด ยอมความได้ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ภาพยนตร์เรื่องใดได้รับอนุญาตจากกรมตำรวจให้นำออกฉายตามสถานที่มหรสพได้แล้ว ย่อมสามารถนำออกฉาย ณ สถานที่มหรสพใดได้ในภายหลังโดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานอื่นใดซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์และการฉายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต: ความถูกต้องของอำนาจฟ้องและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง
บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำฟิล์มภาพยนตร์ซึ่ง อ. และ ส. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ออกฉายเรียกเก็บเงินในการค้าโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ และมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ของผู้เสียหาย และเป็นการฉายภาพยนตร์โดยฝ่าฝืนกฎหมายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว ไม่จำต้องบรรยายว่าพนักงานเจ้าหน้าที่หมายถึงผู้ใดและภาพยนตร์ดังกล่าวสร้างขึ้นในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์เพราะเป็นข้อเท็จจริงในทางนำสืบ
ส. เป็นเพียงผู้เช่าลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จาก อ. จึงมิใช่เจ้าของลิขสิทธิ์และไม่มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีฐานละเมิดลิขสิทธิ์ และการที่ ส. ได้รับมอบอำนาจจาก อ. ให้ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา แต่ ส. ไปร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครราชสีมา ถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องทุกข์แทน อ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครราชสีมาจึงไม่มีอำนาจสอบสวนในข้อหาความผิดดังกล่าวซึ่งเป็นความผิด ยอมความได้ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ภาพยนตร์เรื่องใดได้รับอนุญาตจากกรมตำรวจให้นำออกฉายตามสถานที่มหรสพได้แล้ว ย่อมสามารถนำออกฉาย ณ สถานที่มหรสพใดได้ในภายหลังโดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานอื่นใดซ้ำอีก
ส. เป็นเพียงผู้เช่าลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จาก อ. จึงมิใช่เจ้าของลิขสิทธิ์และไม่มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีฐานละเมิดลิขสิทธิ์ และการที่ ส. ได้รับมอบอำนาจจาก อ. ให้ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา แต่ ส. ไปร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครราชสีมา ถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องทุกข์แทน อ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครราชสีมาจึงไม่มีอำนาจสอบสวนในข้อหาความผิดดังกล่าวซึ่งเป็นความผิด ยอมความได้ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ภาพยนตร์เรื่องใดได้รับอนุญาตจากกรมตำรวจให้นำออกฉายตามสถานที่มหรสพได้แล้ว ย่อมสามารถนำออกฉาย ณ สถานที่มหรสพใดได้ในภายหลังโดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานอื่นใดซ้ำอีก