คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 78 ทวาทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรมศุลกากรในการจัดเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลกรณีนำเข้าสินค้าและการคิดดอกเบี้ย
ในกรณีที่ผู้ประกอบการค้านำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรประมวลรัษฎากร มาตรา 78 เอกาทศ และมาตรา 78 ทวาทศ ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้กรมศุลกากรเรียกเก็บภาษีการค้าเพื่อกรมสรรพากรได้ ผลจึงเท่ากับว่าในกรณีที่ผู้ประกอบการค้านำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น กรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามกฎหมาย ซึ่งย่อมจะต้องรวมตลอดถึงการฟ้องร้องด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรและการอุทธรณ์ หากไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายแล้ว ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้ว มีความเห็นให้เรียกอากรขาเข้ากรมศุลกากรและภาษีการค้า เพิ่มแล้ว จำเลยก็ได้มีแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้าและภาษีการค้ารวม 10 ฉบับ แต่ละฉบับได้แจ้งผลการประเมินตามรายการภาษีอากรที่สำแดง ภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มแล้วมีรายการแยกรายละเอียดเป็นยอดเงินเพิ่มสำหรับอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไว้ กรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา18 ประกอบด้วยมาตรา 87(2) แล้วหากโจทก์เห็นว่า การประเมินไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 30 เสียก่อนเมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าวโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องคดีอันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้
กรณีที่ราคาอันแท้จริงของสินค้าในการซื้อขายหลายรายหรือในท้องตลาดหลายแห่งอาจไม่ตรงกัน กรณีเช่นนี้ตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 อธิบดีกรมศุลกากรย่อมมีอำนาจกำหนดราคาสินค้าในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยและเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ให้ถือราคานั้นเป็นเกณฑ์ในการประเมินอากร ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่จำเลยกำหนดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเฉพาะเครื่องสำอางโคซี่ที่โจทก์นำเข้าและสำแดงราคาคลาดเคลื่อนเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่ขัดต่อพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ. 2503 มาตรา 9 (หมายเหตุวรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่7/2529)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรและการอุทธรณ์ หากไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายแล้ว ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้ว มีความเห็นให้เรียกอากรขาเข้ากรมศุลกากรและภาษีการค้าเพิ่มแล้ว จำเลยก็ได้มีแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้าและภาษีการค้ารวม 10 ฉบับ แต่ละฉบับได้แจ้งผลการประเมินตามรายการภาษีอากรที่สำแดง ภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มแล้วมีรายการแยกรายละเอียดเป็นยอดเงินเพิ่มสำหรับอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไว้ กรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา18 ประกอบด้วยมาตรา 87 (2) แล้วหากโจทก์เห็นว่า การประเมินไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 30 เสียก่อน เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องคดีอันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้
กรณีที่ราคาอันแท้จริงของสินค้าในการซื้อขายหลายรายหรือในท้องตลาดหลายแห่งอาจไม่ตรงกัน กรณีเช่นนี้ตามมาตรา 9แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 อธิบดีกรมศุลกากรย่อมมีอำนาจกำหนดราคาสินค้าในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยและเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ให้ถือราคานั้นเป็นเกณฑ์ในการประเมินอากร ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่จำเลยกำหนดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเฉพาะเครื่องสำอางโคซี่ที่โจทก์นำเข้าและสำแดงราคาคลาดเคลื่อนเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่ขัดต่อพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ. 2503 มาตรา 9
(หมายเหตุ วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2529)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ภาษีเพิ่มเติมเกินกำหนด: สิทธิโต้แย้งสิ้นสุด, ฟ้องเรียกเก็บได้
จำเลยได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีเพิ่มเติมตามฟ้องแล้วยื่นอุทธรณ์การประเมินอากรขาเข้าต่ออธิบดีกรมศุลกากรเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินตามพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคท้ายและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร หรือหากจะถือว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ยื่นต่ออธิบดีกรมศุลกากรเป็นอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าด้วยในฐานะที่กรมศุลกากรเป็นเจ้าหน้าที่เรียกเก็บภาษีการค้าเพื่อกรมสรรพากร การยื่นอุทธรณ์ภาษีการค้าของจำเลยก็เกินกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 เช่นกัน อุทธรณ์การประเมินของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้วินิจฉัยไม่ได้จึงไม่มีข้อวินิจฉัยหรือผลการพิจารณาอุทธรณ์ที่จะแจ้งให้จำเลยทราบ และเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าอากรขาเข้าและภาษีการค้าตามที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์เรียกเก็บโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย จำเลยย่อมหมดสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านว่าการประเมินภาษีเพิ่มเติมของโจทก์ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ภาษีเพิ่มเติมเกินกำหนด ทำให้จำเลยหมดสิทธิโต้แย้งการประเมิน และโจทก์มีอำนาจฟ้องได้
จำเลยได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีเพิ่มเติมตามฟ้องแล้วยื่นอุทธรณ์การประเมินอากรขาเข้าต่ออธิบดีกรมศุลกากรเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินตามพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคท้าย และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากร หรือหากจะถือว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ยื่นต่ออธิบดีกรมศุลกากรเป็นอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าด้วยในฐานะที่กรมศุลกากรเป็นเจ้าหน้าที่เรียกเก็บภาษีการค้าเพื่อกรมสรรพากร การยื่นอุทธรณ์ภาษีการค้าของจำเลยก็เกินกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 เช่นกัน อุทธรณ์การประเมินของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้วินิจฉัยไม่ได้จึงไม่มีข้อวินิจฉัยหรือผลการพิจารณาอุทธรณ์ที่จะแจ้งให้จำเลยทราบ และเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าอากรขาเข้าและภาษีการค้าตามที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์เรียกเก็บโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย จำเลยย่อมหมดสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านว่าการประเมินภาษีเพิ่มเติมของโจทก์ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย